เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: PHAPHOOM ที่ กันยายน 30, 2012, 03:30:06 PM



หัวข้อ: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PHAPHOOM ที่ กันยายน 30, 2012, 03:30:06 PM
ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์
แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง


(http://image.ohozaa.com/i/892/ATOB1P.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wmwWnDaDB3wE2ECm)

นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กองศิลปกรรมได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ เนื่องจากพบว่ามีคำศัพท์ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทย และการอ่านออกเสียง ที่ผ่านมามีหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมคำคำนี้ เขียนแบบนี้ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย หรือว่าฝึกอ่านภาษาไทย ซึ่งได้เรียนวิธีการเขียนและอ่านอย่างถูกต้องมาแล้ว เมื่อมาเจอคำศัพท์บางคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ ก็เกิดความสับสน และอ่านไม่ออก

นางกาญจนากล่าวต่อว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการถอดคำ หรือว่ายืมคำมาจากภาษาอังกฤษ เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทย ไม่ได้เติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย อย่างคำว่า “แคลอรี” การเขียนให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็น “แคลอรี่” หรือว่าคำว่า “โควตา” ถ้าจะให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็นคำว่า “โควต้า” รวมทั้ง “เรดาร์” ต้องเป็นคำว่า “เรด้าร์” เพื่อให้ตรงตามเสียงของคำนี้ เป็นต้น

“ที่หลายคนกังวลว่าการเปลี่ยนวิธีการเขียนคำครั้งนี้ อาจทำให้สับสน หรือว่าเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเขียนศัพท์ต่างๆ นั้น ไม่น่าจะสับสน เพราะถ้าอ่านภาษาไทยก็ไม่น่าสับสน คำศัพท์หลายๆ คำในปัจจุบันมีคนเขียนตามคำศัพท์ที่จะเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ถ้าใครจะเขียนแบบเดิมๆ ก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ที่เสนอให้แก้ไข เพื่อให้เขียนถูกต้องตามเสียงของคำนั้นๆ แม้ว่าหลายคนอาจมองว่าแปลก และไม่ควรแก้ไข” นางกาญจนากล่าว

นางกาญจนากล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้สอบถามความเห็นจากสภาราชบัณฑิต ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเติมวรรณยุกต์ และเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ทั้ง 176 คำ เพื่อเขียนให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งว่าส่วนใหญ่จะเห็นด้วยทุกคำ หรือเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ซึ่งตามกำหนดเวลาแล้ว ภายในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ทุกคนต้องส่งแบบสอบถามดังกล่าวกลับที่กองศิลปกรรม เพื่อประมวลผลความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ และมีข้อเสนออะไร ทั้งนี้ การขอปรับแก้คำศัพท์ทั้ง 176 คำนั้น หากเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรเปลี่ยน ก็จะนำไปบรรจุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ.2554 ซึ่งกำลังดำเนินการปรับปรุงเพื่อจัดพิมพ์เล่มใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำศัพท์ที่อยู่ในแบบสำรวจ เพื่อขอความเห็นในการเปลี่ยนแปลงการเขียนใหม่ ดังนี้

1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น
ได้แก่ ซีเมนต์ เปลี่ยนเป็น ซีเม็นต์, เซต-เซ็ต, เซนติกรัม-เซ็นติกรัม, เซนติเกรด-เซ็นติเกรด, เซนติลิตร-เซ็นติลิตร, ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก, เทนนิส-เท็นนิส, นอต-น็อต, นิวตรอน-นิวตร็อน, เนตบอล-เน็ตบอล, เนปจูน-เน็ปจูน, เบนซิน-เบ็นซิน, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี, เมตริก-เม็ตตริก, เมตริกตัน- เม็ตริกตัน, แมงกานิน-แม็งกานิน, อิเล็ก ตรอน-อิเล็กตร็อน, เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม, เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร

2.คำที่เปลี่ยนตัวพยัญชนะเป็นอักษรสูง
ได้แก่ คอร์ด-ขอร์ด, แคโทด-แคโถด, ซัลเฟต-ซัลเฝต, ไทเทรต-ไทเถรต, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, พาร์เซก-พาร์เส็ก, แฟลต-แฝล็ต, สเปกโทร สโกป-สเป็กโทรสโขป, ไอโซโทป-ไอโซโถป

3.คำที่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เอก
ได้แก่ กอริลลา-กอริลล่า, แกโดลิเนียม-แกโดลิ เนี่ยม, แกมมา-แกมม่า, แกลเลียม-แกลเลี่ยม, คูเรียม-คูเรี่ยม, แคดเมียม-แคดเมี่ยม, แคลเซียม-แคลเซี่ยม, แคลอรี-แคลอรี่, โครเมียม-โครเมี่ยม, ซิงโคนา-ซิงโคน่า, ซิลิคอน-ซิลิค่อน, ซีเซียม-ซีเซี่ยม, ซีนอน-ซีน่อน, ซีเรียม-ซีเรี่ยม, โซลา-โซล่า, ดอลลาร์-ดอลล่าร์, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทนทาลัม-แทนทาลั่ม, ไทเทเนียม-ไทเท เนี่ยม, เนบิวลา-เนบิวล่า, ไนลอน-ไนล่อน, แบเรียม-แบเรี่ยม, ปริซึม-ปริซึ่ม, ปิโตรเลียม-ปิโตรเลี่ยม, แพลทินัม-แพลทินั่ม, ฟังก์ชัน-ฟังก์ชั่น, ฟาทอม-ฟาท่อม, ไมครอน-ไมคร่อน, ยิปซัม-ยิปซั่ม, ยูเรเนียม-ยูเรเนี่ยม, เลเซอร์-เลเซ่อร์, วอลเลย์บอล-วอลเล่ย์บอล, อะลูมิเนียม-อะลูมิเนี่ยม, อีเทอร์-อีเท่อร์, เอเคอร์-เอเค่อร์, แอลฟา-แอลฟ่า, ฮาห์เนียม-ฮาห์เนี่ยม, ฮีเลียม-ฮีเลี่ยม

4.คำที่ใส่ ห นำเพื่อแสดงเสียงวรรณยุกต์เอก
ได้แก่ กะรัต-กะหรัต, แกรนิต-แกรหนิต, คลินิก-คลิหนิก, คาทอลิก-คาทอหลิก, คาร์บอเนต-คาร์บอเหนต, คาร์บอลิก-คาร์บอหลิก, โคออร์ดิเนต-โคออร์ดิเหนต, รูเล็ตต์- รูเหล็ตต์,

5.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์โท
ได้แก่ กลูโคส-กลูโค้ส, กิโลไซเกิล-กิโลไซเกิ้ล, กิโลเมตร-กิโลเม้ตร, กิโลเฮิรตซ์-กิโลเฮิ้รตซ์, กีตาร์-กีต้าร์, แกรไฟต์-แกรไฟ้ต์, คาร์บอน-คาร์บ้อน, คาร์บูเรเตอร์-คาร์บูเรเต้อร์, เคเบิล-เคเบิ้ล, โควตา-โควต้า, ชอล์ก-ช้อล์ก, ซอส-ซ้อส, โซเดียม-โซเดี้ยม, ไดนาไมต์-ไดนาไม้ต์, แทนเจนต์-แทนเจ้นต์, แทรกเตอร์-แทรกเต้อร์, นิกเกิล-นิกเกิ้ล, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, ไนโตรเจน-ไนโตรเจ้น, บารอมิเตอร์-บารอมิเต้อร์, บีตา-บีต้า, ปาทังกา-ปาทังก้า, ปาร์เกต์-ปาร์เก้ต์, พลาสติก-พล้าสติก, ฟาสซิสต์- ฟ้าสซิสต์, มอเตอร์-มอเต้อร์, เมตร-เม้ตร, ไมกา-ไมก้า, ยีราฟ-ยีร้าฟ, เรดอน-เรด้อน, เรดาร์-เรด้าร์, เรเดียม-เรเดี้ยม, ลิกไนต์- ลิกไน้ต์, แวนดา-แวนด้า, อาร์กอน-อาร์ก้อน, แอนติบอดี-แอนติบอดี้, เฮิรตซ์-เฮิ้รตซ์, ไฮดรา-ไฮดร้า, ไฮโดรเจน-ไฮโดรเจ้น

6.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์ตรี
ได้แก่ กราฟ-กร๊าฟ, ก๊อซ-ก๊อซ, กอล์ฟ-ก๊อล์ฟ, เกาต์-เก๊าต์, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, โคบอลต์- โคบ๊อลต์, ดราฟต์-ดร๊าฟต์, ดัตช์-ดั๊ตช์, ดิสโพรเซียม-ดิ๊สโพรเซี่ยม, เดกซ์โทรส-เด๊ก โทรัส, เต็นท์-เต๊นท์, บาสเกตบอล-บ๊าสเก้ต บอล, บิสมัท-บิ๊สมั้ท, แบงก์-แบ๊งก์, โบต-โบ๊ต, ปลาสเตอร์-ปล๊าสเต้อร์, ปิกนิก-ปิ๊กหนิก, ออกซิเจน-อ๊อกซิเย่น, ออกซิเดชัน-อ๊อก ซิเดชั่น, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, อาร์ต-อ๊าร์ต, เอกซเรย์-เอ๊กซเรย์, แอสไพริน-แอ๊สไพริน, แอสฟัลต์-แอ๊สฟัลต์, โอ๊ด-โอ๊ต

และ 7.คำที่มีหลายพยางค์
ได้แก่ คอนเดนเซอร์-ค็อนเด็นเซ่อร์, คอนแวนต์-ค็อนแว็นต์, คอนเสิร์ต-ค็อนเสิร์ต, คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์, คอมมานโด-ค็อมมานโด, คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์, คูปอง- คูป็อง, เครดิตฟองซิเอร์-เครดิตฟ็องซิเอร์, แคดเมียม-แค็ดเมี่ยม, แคปซูล-แค็ปซูล, แคลเซียมไซคลาเมต-แคลเซี่ยมไซคลาเมต, ช็อกโกเลต/ ช็อกโกแลต-ช็อกโกแล็ต, เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร, โซเดียมคาร์บอเนต-โซเดี้ยมคาร์บอเหนต, โซเดียมไซคลาเมต-โซเดี้ยมไซคลาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นกลูตาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต-โซเดี้ยมไฮโดร เจ้นคาร์บอเหนต, ดีเปรสชัน-ดีเปร๊สชั่น, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทรกเตอร์-แทร็ก เต้อร์, แบดมินตัน-แบ็ดมินตั้น, แบตเตอรี่-แบ็ตเตอรี่, พลาสมา-พล้าสม่า, โพแทสเซียม-โพแท้สเซี่ยม, เมนทอล-เม็นท่อล, แมงกานีส-แม็งกานี้ส, แมกนีเซียม-แม็กนีเซี่ยม, รีดักชัน-รีดั๊กชั่น, ลอการิทึม-ล็อกการิทึ่ม, สเปกตรัม-สเป๊กตรั้ม, สเปกโทรสโกป-สเป็กโตรสโขป, ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น, อัลตราไวโอเลต-อัลตร้าไวโอเหล็ต, แอกทิเนียม-แอ๊กทิเนี่ยม, แอนติอิเล็ก ตรอน-แอ็นติอิเล็กตร็อน, เฮกตาร์-เฮ็กต้าร์ และเฮกโตเมตร- เฮ็กโตเม้ตร

ขอบคุณข้อมูลจาก มติชนออนไลน์


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ กันยายน 30, 2012, 03:44:16 PM
หาคำว่า คอ-นก-รีต เจอบ้างไหมครับ ;D ;D ;D วัสดุสร้างเขื่อนสร้างบ้านแบบใหม่


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ กันยายน 30, 2012, 03:47:53 PM
ที่ผ่านมามีหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมคำคำนี้ เขียนแบบนี้ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย หรือว่าฝึกอ่านภาษาไทย ซึ่งได้เรียนวิธีการเขียนและอ่านอย่างถูกต้องมาแล้ว เมื่อมาเจอคำศัพท์บางคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ ก็เกิดความสับสน และอ่านไม่ออก

คุณป้าขา........ไม่ต้องไปห่วงชาวต่างชาติให้มากมายนักหรอก  ดูว่าคนในชาติสะกดคำเดิมที่ยืมเขามาเนี่ยถูกต้องกันหรือยัง........  ::010::

2.คำที่เปลี่ยนตัวพยัญชนะเป็นอักษรสูง
ได้แก่ คอร์ด-ขอร์ด, แคโทด-แคโถด, ซัลเฟต-ซัลเฝต, ไทเทรต-ไทเถรต, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, พาร์เซก-พาร์เส็ก, แฟลต-แฝล็ต, สเปกโทร สโกป-สเป็กโทรสโขป, ไอโซโทป-ไอโซโถป

เปลี่ยนแล้วดูเพี้ยนพิลึกยังไงไม่รู้ หรือว่าเราเก่าเกินไปที่จะเปลี่ยน......... 


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ กันยายน 30, 2012, 03:49:28 PM
เห็นด้วยครับ น่าจะทำตั้งนานแล้ว


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กันยายน 30, 2012, 03:52:56 PM
กว่ารู้สึกตัว  ::005::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ กันยายน 30, 2012, 03:54:07 PM
เปลี่ยนแล้วดูเพี้ยนพิลึกยังไงไม่รู้ หรือว่าเราเก่าเกินไปที่จะเปลี่ยน......... 

หรือว่าไม่ชินครับ ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ กันยายน 30, 2012, 04:02:36 PM
เปลี่ยนแล้วดูเพี้ยนพิลึกยังไงไม่รู้ หรือว่าเราเก่าเกินไปที่จะเปลี่ยน......... 

หรือว่าไม่ชินครับ ;D ;D ;D

น่าจะใช่ครับน้าคาร์.... ดูคำข้างล่างนี่ซิครับ ไม่ชินแน่.........

คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์, คอมมานโด-ค็อมมานโด, คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Wachira1973 ที่ กันยายน 30, 2012, 04:05:41 PM
ศัพท์ของประเทศทางแถบเอเชียเราก็ควรเปลี่ยน หรืออ่านให้ถูกกันหลายๆคำนะครับ ตัวอย่างเช่น..."ขนมโดโซะ"ดันอ่าน"โดโสะ"...จังหวัด"มิยางิ"ดันไปอ่าน"มิยาหงิ" เป็นต้น บางทีสื่อหรือผู้ประกาศสมัยนี้อาจเข้าไปทำงานได้เพราะ "เส้น" หรือเปล่าก็ไม่รู้ ???


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ กันยายน 30, 2012, 04:17:19 PM
แต่ก่อนรับรองออกเอ็นทรานซ์ภาษาไทยแน่นอน ;D ;D ;D แต่คำว่า เม้ตร ไม่คุ้นเลย


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ENOLA GAY ที่ กันยายน 30, 2012, 04:31:25 PM
อีกเรื่องที่ควรจะสังคายนากันหน่อยก็คือ ชื่อเมืองชื่อถนนในบ้านเราที่เป็นภาษาอังกฤษครับ เช่น ph นั้นออกเสียงเป็น ฟ ฟัน ไม่ใช่ พ พาน Philips Philippines Philadelphia ออกเสียง ฟ ฟัน ทั้งนั้น บางคนใช้ Phaiboon Phonchai ฝรั่ง(หรือไม่ฝรั่งที่เป็นต่างชาติ)เลยเรียก ไฟบูลย์ ฟอนชัย ไปเลย  ;D

ชื่อเมือง ชื่อถนนก็เช่นกันครับ Onnut ออกเสียง อ่อนนัท ฝรั่งถามหาถนนอ่อนนุชคงเจอยาก ฮ่าๆๆ ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นคือ ถนนเดียวกัน เมืองเดียวกัน บางที่สะกดอย่างนึง อีกบางที่สะกดอีกอย่างนึง เช่น ในแผนที่สะกดอย่างนึง พอขับไปบนถนนเห็นป้ายสะกดอีกอย่างนึง เค้าเลยงงว่า มันคือที่เดียวกันรึเปล่า  ;D


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ กันยายน 30, 2012, 05:04:09 PM
ไพบูลย์ พรชัย 

งั้นให้สะกดภาษาอังกฤษว่าอย่างไรดีครับ ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ กันยายน 30, 2012, 05:11:07 PM
Paiboon ,Pornchai

แบบนี้มั้ง........


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กันยายน 30, 2012, 05:15:58 PM
บางคนไม่ชอบ  "พร" เขียนเป็น "porn" ครับ   เขาว่ามันเข้าข่าย  porno    ::008::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ENOLA GAY ที่ กันยายน 30, 2012, 05:16:48 PM
ไพบูลย์ พรชัย 

งั้นให้สะกดภาษาอังกฤษว่าอย่างไรดีครับ ;D ;D ;D

Paiboon Pornchai น่าจะใกล้เคียงสุดแล้วคับ แต่ Porn มันไปตรงความหมายประมาณว่าโป๊ๆเข้าสิครับ เคยฟัง CD อจ.คริส บอกให้ใช้ Pon ไปเลยครับ ภาษาไทยเรามีพยัญชนะถึง 44 ตัว ทำให้ออกเสียงได้หลากหลายกว่าภาษาอื่น อย่างเช่น ป กับ พ ภาษาอังกฤษ มีแค่ P มาแทน บางครั้งเลยยังเพี้ยนไปอยู่ หรืออย่าง ต กับ ท ภาษาอังกฤษมีแต่ T สิงคโปร์ชอบออกเป็น ต ไปหมดเลยโดนล้ออยู่เหมือนกันครับ การออกเสียงตามสำเนียงอเมริกันและอังกฤษก็ยังต่างกันอีก หรือแม้แต่ในอเมริกาเอง ต่างภาคก็ยังต่างไปอีก ภาษานี่เป็นอะไรที่ดิ้นไปได้เรื่อยจริงๆครับ แสลงในวันนี้อาจจะกลายเป็นคำที่ใช้กันอย่างถาวรในวันหน้าได้เหมือนกันครับ  :)

ทางที่ดีให้พี่ๆที่อยู่เมกาช่วยสะกดน่าจะเป๊ะกว่านะครับ  :)  


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: NAPALM ที่ กันยายน 30, 2012, 05:17:04 PM
รำคาญหู  กับนักข่าวภาคสนามทางโทรทัศน์ ยังไงไม่รู้ซิ

กับคำว่า   " ดินสไลด์ "   เหมือนไม่สามารถหาคำภาษาไทยมาใช้ได้ยังนั้นแหละ.....


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ENOLA GAY ที่ กันยายน 30, 2012, 05:26:48 PM
รำคาญหู  กับนักข่าวภาคสนามทางโทรทัศน์ ยังไงไม่รู้ซิ

กับคำว่า   " ดินสไลด์ "   เหมือนไม่สามารถหาคำภาษาไทยมาใช้ได้ยังนั้นแหละ.....

ฮ่าๆๆ ครับ เรื่องนี้ก็เถียงกันไม่จบครับ เรื่องควรบัญญัติคำไทยขึ้นมาแทนทับศัพท์ บ้านเรายังยอมรับการใช้ทับศัพท์เยอะกว่าบางชาติอีกครับ อย่างจีนนี่แปลงเป็นภาษาจีนหมด Computer Software Hardware Server แปลงหมด แม้แต่ชื่อหนังทุกเรื่องนี่แปลงหมด AVENGER , Prometheus เค้าแปลงเป็นภาษาจีนหมด ของเรา Hardware กระด้างภัณฑ์ Software ละมุนภัณฑ์ บัญญิติมา ตายสนิท ไม่มีใครใช้เลย ฮ่าๆๆ ผมชอบคุณอภิสิทธิ์อยู่เรื่องนึงที่แม้จบนอกเรียนมาตั้งแต่เด็ก แต่ท่านไม่พูดไทยคำอังกฤษคำ  ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ กันยายน 30, 2012, 05:27:40 PM
บางคนไม่ชอบ  "พร" เขียนเป็น "porn" ครับ   เขาว่ามันเข้าข่าย  porno    ::008::
ทำนองนั้นแหละครับน้าปู.... Porn แปลว่าสื่อลามก คนเลยเลี่ยง...

 ขำๆเกี่ยวกับคำไม่สุภาพในภาษาอังกฤษ......

 นางสาวสมศรี ไปขอวีซ่าเข้าประเทศอเมริกาที่สถานทูต แต่ จนท. ไม่อนุมัติวีซ่า ด้วยเหตุผลว่านามสกุลเธอไม่สุภาพ......
เธอจึงตัดสินใจไปยื่นเรื่อง ขอเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ.......

เจ้าหน้าที่ : คุณสมศรี จะเปลี่ยนนามสกุลเหรอครับ ด้วยเหตุใดครับ....
สมศรี      : มันไม่สุภาพค่ะ
เจ้าหน้าที่ : ยังไงครับ ก็ไม่เห็นว่า จะมีคำหยาบเลยนี่ครับ
สมศรี      : ก็นามสกุล "ฟักมี" นี่แหละค่ะ ที่ไม่สุภาพ เจ้าหน้าที่สถานทูตเมกา บอกให้เปลี่ยน
เจ้าหน้าที่ : อ่อ เข้าใจแล้วครับ แล้วจะเปลี่ยนเป็นอะไรหละครับ
สมศรี      : "ฟักมีพลีส" น่าจะสุภาพพอแล้วนะคะ
เจ้าหน้าที่ :  ::007:: ::007::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 30, 2012, 05:34:36 PM
ราชบัณฑิตไม่เข้าท่าอีกแล้วครับ... เสียงสูงเสียงต่ำในคำศัพท์ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ได้ฟิกซ์(Fixed) หรือไม่ได้กำหนดเสียงสูงต่ำครับ มันแล้วแต่สำเนียงของคนพูด, ตัวอย่างเช่นคนอเมริกันเหมือนกัน แต่สำเนียงคนขาวกับคนดำก็สำเนียงไม่เหมือนกันแล้วครับ, แล้วทั้งคู่ก็เป็นคนอเมริกันของแท้เหมือนกัน พูดแบบนี้มาตั้งแต่เกิดเสียด้วยซิ...

คนดำพูดอะไรจะออกท้ายเสียงยกสูงอยู่เรื่อง เสียงสูงเกือบทุกคำ, แต่คนขาวบางทีก็ออกเสียงสูงเพื่อเน้นว่าเป็นคำถามก็ได้... ตัวอยากเช่นคำว่า"ปิกนิก"ที่ออกเสียงใหม่ว่า"ปิ๊กหนิก", หากฝรั่งมันคุยกันใช้ประโยคย่อๆถามเพื่อนที่สนิทว่าที่กำลังหิ้วของอยู่น่ะ เพื่อนจะไปปิกนิกหรือเปล่าล่ะ? มันจะถามด้วยการออกเสียงว่า"ปิกนิ๊ก?"(ทำเสียงสูง) แล้วมองหน้าเชิงถามว่าออกไปปิกนิกหรือเปล่า?...

นี่ยังไม่ได้พูดเรื่องคำอื่นอีกมากมายครับ... ตัวอย่างแถมอีกก็เช่น(ไอสกรีม)"วานิลา" ฝรั่งมันไม่ได้ออกเสียง"วอแหวน"แต่ออกเสียง"ฟอฟัน"สั้นๆเบาๆแค่ครึ่งลมว่า"ฟะนิลา", หรือ"พายุ"ทอร์นาโด ฝรั่งมันออกเสียงว่า"โทเนโด"ก็ได้ หรือ"โถ่เน๊โด"ก็ได้ครับ...

สรุปว่านายสมชายว่าราชบัณฑิตไม่น่าจะพยายาม"เอาผ้าขาวบางกรองน้ำกลั่น"เลยครับ... คือมันไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาค้นหามวลสารอะไรให้เจอ เพราะมันเป็นเรื่องของสำเนียงนั่นเอง, นี่ยังไม่นับเรื่องคนแถว Oklahoma หรือ Texas สำเนียงเหน่อๆแบบหนังเคาบอย แต่อเมริกันทางเหนือๆสำเนียงเป็นอีกแบบนึง...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 30, 2012, 05:37:56 PM
มีแถมอีก... หลุยส์เซียน่าที่เป็นชื่อรัฐ นายสมชายได้ยินฝรั่งออกเสียง"โหล่ยู่สิอ้าหนา"บ่อยไปครับ, แล้วจะแก้การออกเสียงทับศัพท์ไปทำไมเล่าหนอ... ฮา...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 30, 2012, 05:38:56 PM
แต่ตรงข้ามกับภาษาไทย คำว่า"ขมขื่น"มีความหมายแตกต่างกับ"ข่มขืน"โดยสิ้นเชิง... ฮา...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กันยายน 30, 2012, 05:45:22 PM
Paiboon ,Pornchai

แบบนี้มั้ง........
Paiboon ,Pornchai

แบบนี้มั้ง........


Ha Ha Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  พี่อินเดีย  เก่งจัง  ฮา

งั้นช่วย  " สะกด  "  ชื่อ  รรร  = ระรันรอน  เป็นภาษาอั่งม้อ ให้หน่อยอ่ะ จิ  ฮา
ต้องเข้าใจด้วย  อั่งม้อ มันไม่รู้จัก  ระรันรอน  น๊า  ฮา  ::007::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ กันยายน 30, 2012, 05:46:56 PM
คำที่ยอมรับมาแล้ว  ไม่น่าเปลี่ยน

จะมีปัญหาเวลาย้อนกลับไปอ่านหนังสือเก่า

น่าจะเข้าใจว่ามันเป็นคำมาจากภาษาต่างประเทศ  อนุโลมให้เขียนได้สองอย่าง

เขียนตามแบบเดิม   หรือเขียนตามแบบใหม่   ถูกทั้งสองอย่าง



หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ กันยายน 30, 2012, 05:48:30 PM
Paiboon ,Pornchai

แบบนี้มั้ง........
Paiboon ,Pornchai

แบบนี้มั้ง........


Ha Ha Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  พี่อินเดีย  เก่งจัง  ฮา

งั้นช่วย  " สะกด  "  ชื่อ  รรร  = ระรันรอน  เป็นภาษาอั่งม้อ ให้หน่อยอ่ะ จิ  ฮา
ต้องเข้าใจด้วย  อั่งม้อ มันไม่รู้จัก  ระรันรอน  น๊า  ฮา  ::007::

รรรรรร  ถึงจะอ่านว่า  ระ-รัน-รอน   

ยายตกไปสามรอ


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ กันยายน 30, 2012, 05:52:42 PM
 ยายก้อ "อินเดีย" จำเขามาเล่าอีกที  ::005::... เจ้า "รรรรรร" (ระรันรอน) ของยายคงไม่ต้องสะกดเป็นภาษาอั้งม้อหรอก  หลุดจากคุกคดีปืนหรือยังก็ไม่รู้.........

พวกตั้งชื่อแปลกๆมีเยอะ ล่าสุด ชื่อนาย"ตายแน่แล้ว" นามสกุล "ลืมจำไม่ได้"  :OO


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กันยายน 30, 2012, 06:02:51 PM
Paiboon ,Pornchai

แบบนี้มั้ง........
Paiboon ,Pornchai

แบบนี้มั้ง........


Ha Ha Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  พี่อินเดีย  เก่งจัง  ฮา

งั้นช่วย  " สะกด  "  ชื่อ  รรร  = ระรันรอน  เป็นภาษาอั่งม้อ ให้หน่อยอ่ะ จิ  ฮา
ต้องเข้าใจด้วย  อั่งม้อ มันไม่รู้จัก  ระรันรอน  น๊า  ฮา  ::007::

รรรรรร  ถึงจะอ่านว่า  ระ-รัน-รอน   

ยายตกไปสามรอ


Ha Ha Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  ขอบคุณ  พี่ป้อม  อ่ะ ฮา

ยายคิดว่าป้า  กาญจนา  เธอว่างมากอ่ะ ฮา
เอา "วรรณยุกต์"  มาใช้  ซี้ซั้ว  เขียนและอ่าน  ดูยุ่งเหยิง อ่ะ ฮา

เช่น
กะรัต-กะหรัต, แกรนิต-แกรหนิต, คลินิก-คลิหนิก, คาทอลิก-คาทอหลิก,
คาร์บอเนต-คาร์บอเหนต, คาร์บอลิก-คาร์บอหลิก, โคออร์ดิเนต-โคออร์ดิเหนต, รูเล็ตต์- รูเหล็ตต์,

ยุ่งเหมือน "ฝอยขัดหม้อ"  อ่ะ  ฮา

สำนักงานราชบัณฑิต  เนี่ยะ  เป็นออฟฟิส  เล็กๆ
ตั้งอยู่ข้างตึก  ส่วนยานพาหนะ ของ "กรมราชองค์รักษ์"  สนามเสือป่า อ่ะ ฮา
กรป.กลาง สนามเสือป่า  ถ้ายืนหันหน้าเข้า "พระรูป" ประตูทางเข้าอยู่ตรง ตูดม้า อ่ะ ฮา

ยายคิดว่า  เป็นเรื่อง  "กระแดะ" โดยสิ้นเชิงอ่ะ ฮา
ยายไม่เปลี่ยน  ทั้งวิธีเขียน และวิธีสะกด หรอก ฮา

ยายแก่แล้ว  อยู่อีก  สี่ห้าสิบปี ก็ "ม่องเท่ง"  แล้วอ่ะ ฮา  ::007:: ::007:: ::007::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ กันยายน 30, 2012, 06:03:25 PM
คำที่ยอมรับมาแล้ว  ไม่น่าเปลี่ยน

ผมรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน เขียน 100 เม็ตร ;D ;D ;D ไม่รู้จะเขียนเพื่ออะไรมันต่างกับ 100 เมตร หรือ


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กันยายน 30, 2012, 06:04:30 PM
ยายแก่แล้ว  อยู่อีก  สี่ห้าปี ก็ "ม่องเท่ง"  แล้วอ่ะ ฮา  ::007:: ::007:: ::007::
                               ::002::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 30, 2012, 06:09:48 PM
ยายแก่แล้ว  อยู่อีก  ไม่เกินปี ก็ "ม่องเท่ง"  แล้วอ่ะ ฮา  ::007:: ::007:: ::007::
                               ::002::
                               ::002::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กันยายน 30, 2012, 06:12:07 PM
(http://upic.me/i/8w/oba41.gif)         (http://upic.me/i/8w/oba41.gif)         (http://upic.me/i/8w/oba41.gif)


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กันยายน 30, 2012, 06:14:40 PM
ยายแก่แล้ว  อยู่อีก  ไม่เกินปี ก็ "ม่องเท่ง"  แล้วอ่ะ ฮา  ::007:: ::007:: ::007::
                               ::002::
                               ::002::


Ha Ha Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  อ่ะ ฮา

555 พวกป้า กาญจนา  มาทำให้สาระสำคัญ  ของข้อมูล  "เพี้ยน"  อีกแล้วอ่ะ ฮา

ไอ้ภาษา  อังกฤษ เวลาเราเขียนเป็นไทย  แล้วมันขัดหูขัดตา เนี่ยะ
ยายชอบเขียน  "ทับ"  เป็นภาษาไทย  ลงไปเลย  อ่านง่าย เข้าใจสะดวก อ่ะ ฮา

การเพิ่ม วรรณยุกต์  เอก โท ตรี จัตวา  แบบป้ากาญจนา ยายไม่เห็นด้วยอ่ะ ฮา  ::007:: ::007::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กันยายน 30, 2012, 06:36:15 PM
คำที่ยอมรับมาแล้ว  ไม่น่าเปลี่ยน

ผมรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน เขียน 100 เม็ตร ;D ;D ;D

ไม่รู้จะเขียนเพื่ออะไรมันต่างกับ 100 เมตร หรือ

็Ha Ha Ha   ฮา  "ฮั่นแน่"  พี่  carrera อ่ะ  ฮา

ไอ้  "ร้อยเม็ด"  เนี่ยะ  ยาวกว่า  100 เมตร  แน่นวล  อ่ะ ฮา  ::007:: ::007::

ก็เหมือนกับคำว่า  "ร้อยรู" ของนักกีฬายิงปืน  มันใหญ่กว่า "รูเดียว" นัดเดียว  อ่ะ ฮา

5555  ไอ้คำว่า  "รูเดียว"  เมื่อก่อน  มันก็เล็ก อ่ะ  ฮา
พอใช้ไปนานๆ    มันก็   "ทั้งใหญ่   ทั้งบาน" อ่ะ  จิงแมะ  ฮา


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Songchart ที่ กันยายน 30, 2012, 07:37:40 PM
ขอบวกหนึ่งให้พี่สมชายฮาครับ
ผมเองอ่านแล้วยังติดกับคำที่บัญญัติใหม่หลายคำ เช่น

คอมมานเดอร์ เป็น ค็อมมานเดอร์
อเมริกันอ่าน คอม+แมน+เด้อ
อังกฤษอ่าน คอม+มาน+เด้อ
แต่ทำไมแก้โดยเพิ่มไม้ไต่คู้ ให้อ่านออกเสียงสั้นๆ ทั้งๆ ที่ฝรั่งเค้าไม่ถนัดอ่านออกเสียงสั้นๆ

อีกคำคือ กอล์ฟ แก้เป็นก๊อล์ฟ
คำว่าก๊อล์ฟ ถ้าอ่านแบบคนไทย ต้องอ่านว่าก๊อบ เพราะเราไม่มีแม่กฟ มีแต่แม่กบ

ส่งชาติ ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 30, 2012, 08:45:36 PM
ขอบวกหนึ่งให้พี่สมชายฮาครับ
ผมเองอ่านแล้วยังติดกับคำที่บัญญัติใหม่หลายคำ เช่น

คอมมานเดอร์ เป็น ค็อมมานเดอร์
อเมริกันอ่าน คอม+แมน+เด้อ
อังกฤษอ่าน คอม+มาน+เด้อ
แต่ทำไมแก้โดยเพิ่มไม้ไต่คู้ ให้อ่านออกเสียงสั้นๆ ทั้งๆ ที่ฝรั่งเค้าไม่ถนัดอ่านออกเสียงสั้นๆ

อีกคำคือ กอล์ฟ แก้เป็นก๊อล์ฟ
คำว่าก๊อล์ฟ ถ้าอ่านแบบคนไทย ต้องอ่านว่าก๊อบ เพราะเราไม่มีแม่กฟ มีแต่แม่กบ

ส่งชาติ ::014::

ทอนคืนคุณส่งชาติครับ... เย้...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Easy ที่ ตุลาคม 01, 2012, 11:44:59 AM
แค่เริ่มแนวคิดมันก็ผิดแล้ว คนต่างชาติที่อยากเรียนภาษาไทยเขาไม่สนใจหรอกว่าภาษาไทยจะออกเสียงอย่างนั้นอย่างนี้ ถึงจะพูดให้ถูกต้องตามวรรณยุกต์ มันสำคัญที่ว่าสื่อความหมายแล้วคนฟัง หรืออ่านเข้าใจหรือไม่ ทำไมคนไทยต้องให้ความสำคัญกับคนต่างชาติมากกว่าคนไทยด้วยกันเอง


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 01, 2012, 12:10:32 PM
ไม่เห็นด้วยครับคำยืมมาใช้ คนไทยเราก็ออกเสียงได้ถูกต้องแม้จะสะกดตามแบบไทยแล้วต้องออกเสียงRestaurantไปอีกอย่าง ความรู้ภาษาน้อยครับแต่ขอยกตัวอย่างคำที่ภาษาอังกฤษยืมมาใช้คือ Restaurant ผมว่าราชบัญฑิตควารเข้ามาในเรื่องการเรียนภาษาไทย หรือหลักสูตรการเรียนภาษาไทยในระดับประถม และมัธยมจะดีกว่าครับ จะเป็นรากฐานให้เด็กไทยเข้าใจภาษาไทยมากขึ้น ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Ghostreporting ที่ ตุลาคม 01, 2012, 12:49:25 PM
ก๋วยเตี๋ยว มีใครสักคนจะอ่านได้ตรงดั่งเขียน


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Major ที่ ตุลาคม 01, 2012, 01:28:44 PM
หน่าย....ใจ...กับพวกนั่งโต๊ะ...คิด...

ความจริงน่าจะเอา... ฅ....กับ ฃ กลับมาใช้ ดีกว่า

เสียดาย อย่างน้อย ใช้ ฅ กับ คำว่า ฅน  แล้ว ฃ กับ คำว่า ฃวด ก็ยังดี

ด้วยความเคารพ

ปล. แล้วเปลี่ยนไปแล้วเนี่ย มันจะทำให้ผลการเรียนเด็กนักเรียนดีขึ้น หรือ ด้อยลงอีกล่ะเนี่ย คราวก่อน แทบ เล็ด ก็ยังได้ไม่ครบ ทุกโรงเรียนเลย นี่ บัญญัติ ศัพท์ใหม่กันอีกแล้วววว


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PHAPHOOM ที่ ตุลาคม 01, 2012, 02:06:04 PM
ราชบัณฑิตแจงเขียนคำศัพท์ใหม่เอาตามเสียงส่วนใหญ่

จากกรณีกองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถานเตรียมสำรวจความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ 176 คำ เนื่องจากเห็นว่ามีการเขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขระวิธีไทยและการอ่านออกเสียง โดยจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยขณะนี้มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำศัพท์ดังกล่าว

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่มีคนออกมาคัดค้านการขอเปลี่ยนการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ทั้ง 176 คำ ขอชี้แจงเจตนาอีกครั้งว่าเพื่อให้คำศัพท์ดังกล่าวเขียนตรงกับเสียงวรรณยุกต์และการอ่านออกเสียง และถ้าเปลี่ยนแล้วใครไม่เขียนตามราชบัณฑิตก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะทุกวันนี้ก็มีคำศัพท์หลายคำที่ไม่ได้เขียนตามแบบราชบัณฑิตอยู่แล้ว แต่การเสนอให้เปลี่ยนเพราะเมื่อออกเสียงอย่างไรก็ควรเขียนอย่างนั้น

ราชบัณฑิต กล่าวต่อว่า ทั้งนี้คำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษแล้วได้เขียนตามเสียงวรรณยุกต์ถูกต้อง เช่น ประชุมอังค์ถัด ดาวน์โหลด และคำว่าโหวต ดังนั้นเมื่อหลายคำเขียนถูกที่เหลือก็ควรเปลี่ยนให้ถูกต้องด้วย อย่างไรก็ตามต้องรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ และถ้าเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ก็ปรับแก้เฉพาะที่เห็นด้วย ซึ่งตนก็ไม่คัดค้านอะไร ซึ่งก็จะปรับแก้ตามข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่

นายวัฒนะ บุญจับ นักอักษรศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า น่าเห็นใจและน่าเป็นห่วงพอๆ กัน ในส่วนที่น่าเห็นใจก็คืออิทธิพลของการยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการยืมคำจากภาษาที่ไม่ใช่ภาษาวรรณยุกต์มาใช้ด้วยวิธีทับศัพท์ เพราะเมื่อถอดถ่ายอักษรมาเป็นภาษาไทยนั้นถือกติกาว่าไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เนื่องจากผู้รู้ภาษารู้ดีว่าจะอ่านออกเสียงสูงต่ำอย่างไรก็ไม่กระทบกับความหมาย แต่พอเวลาอ่านออกเสียงกันจริงๆ กลับใช้อีกกติกาหนึ่ง คือกลุ่มคนที่รณรงค์การใช้ภาษาแบบบ้าคลั่งเกิดมาบังคับว่าเขียนอย่างไรต้องออกเสียงอย่างนั้น ดังนั้น เมื่อไม่มีวรรณยุกต์กำกับก็ต้องไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ หากออกเสียงแปรไปจากรูปเขียนก็มาถือว่าผิดเสียด้วย ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ หากจะเปลี่ยนกันจริงๆ ควรเปลี่ยนทั้งระบบ ซึ่งคงเกิดปัญหายุ่งยากในวงการภาษาอีกไม่ใช่น้อย

ที่มา เนชั่น


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 01, 2012, 02:43:38 PM
ราชบัณฑิตแจงเขียนคำศัพท์ใหม่เอาตามเสียงส่วนใหญ่

จากกรณีกองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถานเตรียมสำรวจความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ 176 คำ เนื่องจากเห็นว่ามีการเขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขระวิธีไทยและการอ่านออกเสียง โดยจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยขณะนี้มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำศัพท์ดังกล่าว

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่มีคนออกมาคัดค้านการขอเปลี่ยนการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ทั้ง 176 คำ ขอชี้แจงเจตนาอีกครั้งว่าเพื่อให้คำศัพท์ดังกล่าวเขียนตรงกับเสียงวรรณยุกต์และการอ่านออกเสียง และถ้าเปลี่ยนแล้วใครไม่เขียนตามราชบัณฑิตก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะทุกวันนี้ก็มีคำศัพท์หลายคำที่ไม่ได้เขียนตามแบบราชบัณฑิตอยู่แล้ว แต่การเสนอให้เปลี่ยนเพราะเมื่อออกเสียงอย่างไรก็ควรเขียนอย่างนั้น

ราชบัณฑิต กล่าวต่อว่า ทั้งนี้คำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษแล้วได้เขียนตามเสียงวรรณยุกต์ถูกต้อง เช่น ประชุมอังค์ถัด ดาวน์โหลด และคำว่าโหวต ดังนั้นเมื่อหลายคำเขียนถูกที่เหลือก็ควรเปลี่ยนให้ถูกต้องด้วย  อย่างไรก็ตามต้องรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ และถ้าเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ก็ปรับแก้เฉพาะที่เห็นด้วย ซึ่งตนก็ไม่คัดค้านอะไร ซึ่งก็จะปรับแก้ตามข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่

นายวัฒนะ บุญจับ นักอักษรศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า น่าเห็นใจและน่าเป็นห่วงพอๆ กัน ในส่วนที่น่าเห็นใจก็คืออิทธิพลของการยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการยืมคำจากภาษาที่ไม่ใช่ภาษาวรรณยุกต์มาใช้ด้วยวิธีทับศัพท์ เพราะเมื่อถอดถ่ายอักษรมาเป็นภาษาไทยนั้นถือกติกาว่าไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เนื่องจากผู้รู้ภาษารู้ดีว่าจะอ่านออกเสียงสูงต่ำอย่างไรก็ไม่กระทบกับความหมาย แต่พอเวลาอ่านออกเสียงกันจริงๆ กลับใช้อีกกติกาหนึ่ง คือกลุ่มคนที่รณรงค์การใช้ภาษาแบบบ้าคลั่งเกิดมาบังคับว่าเขียนอย่างไรต้องออกเสียงอย่างนั้น ดังนั้น เมื่อไม่มีวรรณยุกต์กำกับก็ต้องไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ หากออกเสียงแปรไปจากรูปเขียนก็มาถือว่าผิดเสียด้วย ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ หากจะเปลี่ยนกันจริงๆ ควรเปลี่ยนทั้งระบบ ซึ่งคงเกิดปัญหายุ่งยากในวงการภาษาอีกไม่ใช่น้อย

ที่มา เนชั่น

คือตามตัวแดงมันไม่รู้ว่าของใครผิดของใครถูกนี่ซิครับ เพราะต้นฉบับเจ้าของภาษาก็ออกเสียงได้หลายแบบ แล้วเขาก็ว่าของเขาถูกทั้งหมด เพราะภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาเสียงดนตรี สามารถออกเสียงสูงก็ถูกต่ำก็ถูก ไม่ต้องมีวรรณยุกต์กำกับครับ...

นายสมชายยกตัวอย่างเล่นๆ รับรองว่าออกเสีงสูงต่ำถูกต้องแน่ๆ แต่ไม่รู้ว่าถูกต้องแบบคนขาวหรือคนดำ ซึ่งอเมริกันก็ไม่เคยเถียงกันนี่ซิครับ ก็เลยไม่รู้ว่าถูกจริงหรือเปล่าในความหมายของราชบัณฑิตฯ(ฮา)... คือนายสมชายจบการศึกษามาทางด้าน"อิ๊นโฝ่เม๊ฉั่น เท๊คโหน่โล๊จี่"ครับ หรือสะกดภาษาอังกฤษว่า Information Technolygy โดยนายสมชายเรียนเน้นมาทางด้านซิสเต็มอ๊ะหน่าไล๊สิส(System Analysis) โดยมีโปรเจคจบ คือออกแบบระบบฐานข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ครับ... ฮา...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: cwattapol ที่ ตุลาคม 01, 2012, 02:55:35 PM
ถ้าราชบัณฑิต ชุดนี้ไม่มีอะไรทำ ก็กลับไปเลี้ยงหลานที่บ้านก็ได้ครับ
สมัยเรียนชั้นประถม ครูภาษาไทยเคยสอนว่า
"คำที่ยืมจากภาษาอื่น ให้ถอดรูปตัวอักษร โดยไม่ต้องผันวรรณยุกต์"
สาเหตุก็เรื่องการเน้นเสียงของเขาดังที่อ.สมชายว่าไว้แล้วนั่นแหละครับ


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 01, 2012, 03:08:32 PM
ราชบัณฑิตไม่เข้าท่าอีกแล้วครับ... เสียงสูงเสียงต่ำในคำศัพท์ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ได้ฟิกซ์(Fixed) หรือไม่ได้กำหนดเสียงสูงต่ำครับ มันแล้วแต่สำเนียงของคนพูด, ตัวอย่างเช่นคนอเมริกันเหมือนกัน แต่สำเนียงคนขาวกับคนดำก็สำเนียงไม่เหมือนกันแล้วครับ, แล้วทั้งคู่ก็เป็นคนอเมริกันของแท้เหมือนกัน พูดแบบนี้มาตั้งแต่เกิดเสียด้วยซิ...

คนดำพูดอะไรจะออกท้ายเสียงยกสูงอยู่เรื่อง เสียงสูงเกือบทุกคำ, แต่คนขาวบางทีก็ออกเสียงสูงเพื่อเน้นว่าเป็นคำถามก็ได้... ตัวอยากเช่นคำว่า"ปิกนิก"ที่ออกเสียงใหม่ว่า"ปิ๊กหนิก", หากฝรั่งมันคุยกันใช้ประโยคย่อๆถามเพื่อนที่สนิทว่าที่กำลังหิ้วของอยู่น่ะ เพื่อนจะไปปิกนิกหรือเปล่าล่ะ? มันจะถามด้วยการออกเสียงว่า"ปิกนิ๊ก?"(ทำเสียงสูง) แล้วมองหน้าเชิงถามว่าออกไปปิกนิกหรือเปล่า?...

นี่ยังไม่ได้พูดเรื่องคำอื่นอีกมากมายครับ... ตัวอย่างแถมอีกก็เช่น(ไอสกรีม)"วานิลา" ฝรั่งมันไม่ได้ออกเสียง"วอแหวน"แต่ออกเสียง"ฟอฟัน"สั้นๆเบาๆแค่ครึ่งลมว่า"ฟะนิลา", หรือ"พายุ"ทอร์นาโด ฝรั่งมันออกเสียงว่า"โทเนโด"ก็ได้ หรือ"โถ่เน๊โด"ก็ได้ครับ...

สรุปว่านายสมชายว่าราชบัณฑิตไม่น่าจะพยายาม"เอาผ้าขาวบางกรองน้ำกลั่น"เลยครับ... คือมันไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาค้นหามวลสารอะไรให้เจอ เพราะมันเป็นเรื่องของสำเนียงนั่นเอง, นี่ยังไม่นับเรื่องคนแถว Oklahoma หรือ Texas สำเนียงเหน่อๆแบบหนังเคาบอย แต่อเมริกันทางเหนือๆสำเนียงเป็นอีกแบบนึง...

ถ้างั้น  Coke จะเขียนว่า "โค๊ก" หรือ "โคก"  ดีครับ


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 01, 2012, 03:10:36 PM
ราชบัณฑิตไม่เข้าท่าอีกแล้วครับ... เสียงสูงเสียงต่ำในคำศัพท์ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ได้ฟิกซ์(Fixed) หรือไม่ได้กำหนดเสียงสูงต่ำครับ มันแล้วแต่สำเนียงของคนพูด, ตัวอย่างเช่นคนอเมริกันเหมือนกัน แต่สำเนียงคนขาวกับคนดำก็สำเนียงไม่เหมือนกันแล้วครับ, แล้วทั้งคู่ก็เป็นคนอเมริกันของแท้เหมือนกัน พูดแบบนี้มาตั้งแต่เกิดเสียด้วยซิ...

คนดำพูดอะไรจะออกท้ายเสียงยกสูงอยู่เรื่อง เสียงสูงเกือบทุกคำ, แต่คนขาวบางทีก็ออกเสียงสูงเพื่อเน้นว่าเป็นคำถามก็ได้... ตัวอยากเช่นคำว่า"ปิกนิก"ที่ออกเสียงใหม่ว่า"ปิ๊กหนิก", หากฝรั่งมันคุยกันใช้ประโยคย่อๆถามเพื่อนที่สนิทว่าที่กำลังหิ้วของอยู่น่ะ เพื่อนจะไปปิกนิกหรือเปล่าล่ะ? มันจะถามด้วยการออกเสียงว่า"ปิกนิ๊ก?"(ทำเสียงสูง) แล้วมองหน้าเชิงถามว่าออกไปปิกนิกหรือเปล่า?...

นี่ยังไม่ได้พูดเรื่องคำอื่นอีกมากมายครับ... ตัวอย่างแถมอีกก็เช่น(ไอสกรีม)"วานิลา" ฝรั่งมันไม่ได้ออกเสียง"วอแหวน"แต่ออกเสียง"ฟอฟัน"สั้นๆเบาๆแค่ครึ่งลมว่า"ฟะนิลา", หรือ"พายุ"ทอร์นาโด ฝรั่งมันออกเสียงว่า"โทเนโด"ก็ได้ หรือ"โถ่เน๊โด"ก็ได้ครับ...

สรุปว่านายสมชายว่าราชบัณฑิตไม่น่าจะพยายาม"เอาผ้าขาวบางกรองน้ำกลั่น"เลยครับ... คือมันไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาค้นหามวลสารอะไรให้เจอ เพราะมันเป็นเรื่องของสำเนียงนั่นเอง, นี่ยังไม่นับเรื่องคนแถว Oklahoma หรือ Texas สำเนียงเหน่อๆแบบหนังเคาบอย แต่อเมริกันทางเหนือๆสำเนียงเป็นอีกแบบนึง...

ถ้างั้น  Coke จะเขียนว่า "โค๊ก" หรือ "โคก"  ดีครับ

แฮ่ๆ...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Ghostreporting ที่ ตุลาคม 01, 2012, 04:06:53 PM
ราชบัณฑิตไม่เข้าท่าอีกแล้วครับ... เสียงสูงเสียงต่ำในคำศัพท์ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ได้ฟิกซ์(Fixed) หรือไม่ได้กำหนดเสียงสูงต่ำครับ มันแล้วแต่สำเนียงของคนพูด, ตัวอย่างเช่นคนอเมริกันเหมือนกัน แต่สำเนียงคนขาวกับคนดำก็สำเนียงไม่เหมือนกันแล้วครับ, แล้วทั้งคู่ก็เป็นคนอเมริกันของแท้เหมือนกัน พูดแบบนี้มาตั้งแต่เกิดเสียด้วยซิ...

คนดำพูดอะไรจะออกท้ายเสียงยกสูงอยู่เรื่อง เสียงสูงเกือบทุกคำ, แต่คนขาวบางทีก็ออกเสียงสูงเพื่อเน้นว่าเป็นคำถามก็ได้... ตัวอยากเช่นคำว่า"ปิกนิก"ที่ออกเสียงใหม่ว่า"ปิ๊กหนิก", หากฝรั่งมันคุยกันใช้ประโยคย่อๆถามเพื่อนที่สนิทว่าที่กำลังหิ้วของอยู่น่ะ เพื่อนจะไปปิกนิกหรือเปล่าล่ะ? มันจะถามด้วยการออกเสียงว่า"ปิกนิ๊ก?"(ทำเสียงสูง) แล้วมองหน้าเชิงถามว่าออกไปปิกนิกหรือเปล่า?...

นี่ยังไม่ได้พูดเรื่องคำอื่นอีกมากมายครับ... ตัวอย่างแถมอีกก็เช่น(ไอสกรีม)"วานิลา" ฝรั่งมันไม่ได้ออกเสียง"วอแหวน"แต่ออกเสียง"ฟอฟัน"สั้นๆเบาๆแค่ครึ่งลมว่า"ฟะนิลา", หรือ"พายุ"ทอร์นาโด ฝรั่งมันออกเสียงว่า"โทเนโด"ก็ได้ หรือ"โถ่เน๊โด"ก็ได้ครับ...

สรุปว่านายสมชายว่าราชบัณฑิตไม่น่าจะพยายาม"เอาผ้าขาวบางกรองน้ำกลั่น"เลยครับ... คือมันไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาค้นหามวลสารอะไรให้เจอ เพราะมันเป็นเรื่องของสำเนียงนั่นเอง, นี่ยังไม่นับเรื่องคนแถว Oklahoma หรือ Texas สำเนียงเหน่อๆแบบหนังเคาบอย แต่อเมริกันทางเหนือๆสำเนียงเป็นอีกแบบนึง...

ถ้างั้น  Coke จะเขียนว่า "โค๊ก" หรือ "โคก"  ดีครับ
ขืนเขียนแบบหลังมีหวังขายไม่ออกพอดี


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ ตุลาคม 01, 2012, 04:09:31 PM
ฮ่าๆ....ดื่ม  Coke (โคก) เย็นชื่นใจ..........  ;D

ถ้าแช่แข็งจนเป็นแท่งไอติม(ไอศกรีม) ต้องร้องว่า "เลียโคก" เย็นชื่นใจ.... :OO


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Nat_usp ที่ ตุลาคม 01, 2012, 04:33:10 PM
บางคนไม่ชอบ  "พร" เขียนเป็น "porn" ครับ   เขาว่ามันเข้าข่าย  porno    ::008::

ผมพิมพ์คำว่า porn ในกูเกิ้ลทำไมมันอะหือ อะหือ...................... :D~  :D~  :D~  :D~


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 01, 2012, 04:59:42 PM
ขอบคุณอาจารย์กาญจนา นาคสกุลครับ... ::014::
 
ส่วนตัวผมมองว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตาย...

ดังนั้น...จึงต้องมีการแก้ไขและพัฒนาให้เหมาะสมไปเรื่อยๆ...

ราชบัณฑิตเป็นหน่วยงานที่สมควรทำในสิ่งที่ถูกที่ตรง...

เพื่อให้เราสามารถใช้อ้างอิงได้ครับ... ::002::
 


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: NAPALM ที่ ตุลาคม 01, 2012, 05:14:27 PM
หน่าย....ใจ...กับพวกนั่งโต๊ะ...คิด...

ความจริงน่าจะเอา... ฅ....กับ ฃ กลับมาใช้ ดีกว่า

เสียดาย อย่างน้อย ใช้ ฅ กับ คำว่า ฅน  แล้ว ฃ กับ คำว่า ฃวด ก็ยังดี

ด้วยความเคารพ

ปล. แล้วเปลี่ยนไปแล้วเนี่ย มันจะทำให้ผลการเรียนเด็กนักเรียนดีขึ้น หรือ ด้อยลงอีกล่ะเนี่ย คราวก่อน แทบ เล็ด ก็ยังได้ไม่ครบ ทุกโรงเรียนเลย นี่ บัญญัติ ศัพท์ใหม่กันอีกแล้วววว

เห็นด้วย  ครับท่าน........ ::002::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PHAPHOOM ที่ ตุลาคม 01, 2012, 09:07:34 PM
ชินภัทรแนะราชบัณทิตชำระคำสะกด เพิ่มพยางค์เน้นด้วย

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)กล่าวถึงกรณีที่ราชบัณฑิตเสนอให้มีการแก้ไขคำศัพท์ ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้น ๆ ตามอักขระวิธีไทย โดยระบุว่าปัญหานี้เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการถอดคำ หรือว่ายืมคำมาจากภาษาอังกฤษ เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทย ไม่ได้เติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย ว่า เห็นด้วยกับความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่หากจะเปลี่ยนแล้วก็อยากให้แก้คำสะกดในภาษาไทยให้ถูกต้องกับการออกเสียงที่ถูกต้องเลย

นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน เราเขียนคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีถอดตัวสะกดมาคำนั้นๆ ในภาษาอังกฤษออกมา ซึ่งที่ราชบัณฑิตจะเปลี่ยนเข้าใจว่าเพื่อการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งอยากให้ข้อสังเกตว่า แม้จะเปลี่ยนโดยเพิ่มวรรณยุกต์ให้การอ่านออกเสียงมีความใกล้เคียงกับภาษาที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่ 100% เพราะภาษาอังกฤษจะมีตัวสเตรท หรือพยางค์ที่เน้น อยู่ด้วย ถ้าหากเราออกเสียงสเตรทผิดพยางค์แล้ว เจ้าของภาษาก็จะฟังเราพูดภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ดังนั้นหากจะเปลี่ยนแล้วก็ควรเพิ่มเรื่องจุดเน้นและการออกเสียงสั้น เสียงยาว เพื่อให้เด็กได้อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องด้วย

"ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ควรจะไปให้สุดทางคือเน้นตรงพยางค์ที่ควรต้องเน้น รวมถึงการออกเสียงสั้นยาวเพื่อทำให้เด็กสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องมากขึ้น และหากจะเป็นเช่นนี้ได้ก็น่าจะมีการประชุมระดมความคิดเห็น แม้ราชบัณฑิตจะเป็นผู้ทรงความรู้ แต่ก็ต้องรับฟังเสียงจากคนภายนอกด้วย เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง จะกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นหากจะปรับจริง ก็ควรจะให้สมประโยชน์กับทุกฝ่าย" นายชินภัทรกล่าว

เนขั่น


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: zamphol ที่ ตุลาคม 01, 2012, 10:23:34 PM
ผมว่าว่างมากไปไร้สาระ  ไม่เปลี่ยนก็ไม่มีใครเสียหายอะไร ???

เหมือนกับครั้งหนึ่งที่กรมอุทยาน เสนอเปลี่ยนชื่อ เหี้ย เป็น วรนุช

ทำเอากระแสน้องนุ่น วรนุช ดังขึ้นมาเยอะเลย


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Jedth ที่ ตุลาคม 01, 2012, 10:51:30 PM
ฮ่าๆ....ดื่ม  Coke (โคก) เย็นชื่นใจ..........  ;D

ถ้าแช่แข็งจนเป็นแท่งไอติม(ไอศกรีม) ต้องร้องว่า "เลียโคก" เย็นชื่นใจ.... :OO

 :OO  (แล้วใครจะกล้าพูดครับ)  ::005::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Easy ที่ ตุลาคม 02, 2012, 01:05:38 PM
(http://pics.manager.co.th/Images/555000012708901.JPEG)


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: khwanphet_NAVY 39 ที่ ตุลาคม 02, 2012, 02:12:33 PM
....................................เป็นผมคงงงไปอีกนานครับท่าน.......................... ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Easy ที่ ตุลาคม 03, 2012, 12:48:45 PM
(http://pics.manager.co.th/Images/555000012754401.JPEG)

      โล่งอก! กันไปทั้งประเทศเมื่อท้ายที่สุดทางราชบัณฑิตยสถานก็ยอมล่าถอย หยุดโปรเจกต์ "แก้ไขคำยืมทั้งหมด 176 คำ" ลงเสียที เนื่องจากทานกระแสคัดค้านอย่างหนักหน่วงจากภาคประชาชนไม่ไหว หลายคนรับไม่ได้ที่ต้องเห็นคำที่เขียนกันจนคุ้นชินอย่าง "คอมพิวเตอร์" ต้องแปรเปลี่ยนเป็น "ค็อมพิ้วเต้อร์", "คอร์ด" ต้องกลายเป็น "ขอร์ด" หรือคำว่า "เทคโนโลยี" ที่ต้องเติมแต่งเครื่องหมายให้ออกเสียงได้อย่างถูกต้องตามหลักเป็น "เท็คโนโลยี่" ฯลฯ
      พานให้เกิดกระแสสังคมตอบกลับมาแรงๆ ว่า "ทำไปเพื่ออะไร-ไร้สาระ-เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่าไหม?" วันนี้คนต้นคิดอย่าง ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตฯ สำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย พร้อมเปิดใจ ถามตอบทุกข้อสงสัยอยู่ตรงนี้แล้ว
    
    
      จู่ๆ อะไรดลใจให้ลุกขึ้นมาปฏิวัติการเขียนครั้งใหญ่ขนาดนี้?
      ไม่ใช่ว่าเพิ่งลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงนะคะ จริงๆ แล้วกรรมการราชบัณฑิตฯ มีมติเรื่องนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2550 แล้ว เพียง แต่ว่าเรายังไม่ได้พิมพ์พจนานุกรมเล่มใหม่ ก็เลยยังไม่ได้แก้ไขอย่างเป็นทางการ แต่ในพจนานุกรมฉบับเดิมนั้นก็มีคำทับศัพท์กว่า 200 คำแล้วที่ใส่วรรณยุกต์และเขียนได้ถูกต้อง นี่ก็เหลือแค่คำไม่กี่คำที่ยังไม่ได้แก้ ยังไม่ได้ใส่วรรณยุกต์ ก็เลยคิดว่าจะแก้ให้เสร็จไป ทางเราเองทำงานตรวจสอบและแก้ไขคำผิดมาตลอด ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเพิ่งจะมาเป็นประเด็นอะไรกันในสังคมตอนนี้ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถึงได้มีคนลุกขึ้นมาโวยวายอะไรกันนักกันหนา ก็แปลกดีเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย แค่เรื่องเขียนหนังสือให้ถูกต้อง
    
      ทำไมไม่บัญญัติคำที่ถูกต้องไปตั้งแต่แรก มาแก้ให้จำใหม่ทีหลังยิ่งยาก?
      ตอนแรกเรายัง ไม่แน่ใจไงคะว่าจะเขียนยังไงจึงจะถูกต้อง เพราะมันเป็นคำที่รับมาจากต่างประเทศ เลยใช้แบบนั้นไปพลางๆ ก่อน แต่ยอมรับว่าก็ใช้กันมานานพอสมควร มาถึงตอนนี้ ทุกคนสามารถออกเสียงได้ตรงกันแล้ว เสียงไม่เปลี่ยนแล้ว ก็ควรจะเขียนให้ถูกด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ คำว่า "เฟซบุ๊ก" ทุกคนก็ออกเสียงได้ตรง ไม่มีใครออกว่า "เฝด-บุก" ในเมื่อเรามีระบบการเขียนตามอักขรวิธีที่ถูกต้องของเราอยู่ เราก็แค่เขียนให้มันตรงกับที่ออกเสียงมา มันก็เท่านั้นเอง
      
    
      เราเป็น มนุษย์นี่คะ จะให้เรารู้ทุกอย่างทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์มันคงเป็นไปไม่ได้ เราไม่ใช่พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ทุกอย่าง มันก็ต้องมีผิดบ้าง-พลาดบ้าง ตอน ที่ยังไม่รู้ว่าผิดก็ทำตามที่เข้าใจว่าถูกไปก่อน แต่พอเวลามันผ่านไป รู้แล้วว่ามันไม่ถูกต้อง เราก็ลงมือแก้ไข มันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนี่คะ ไม่ใช่ว่ารู้ว่าผิดแล้วยังจะดึงดันไม่แก้ ถ้าเป็นอย่างนั้นน่ะเสียหาย
      อย่างคำว่า "วงศ์" เมื่อก่อนก็มีทั้งคนที่เขียนว่า "วงษ์" และ "วงศ์" เราก็ประกาศแก้ไขให้เขียนว่า "วงศ์" เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดและใช้กันมาถึงทุกวันนี้ ครั้งนี้ก็เหมือนกันค่ะ คำ ยืมที่ประกาศก็มีแค่ร้อยกว่าคำ คนอาจจะตกใจว่ามันเยอะ แต่จริงๆ แล้วเทียบกับคำทั้งหมดเป็นหมื่นๆ คำในภาษาไทย มันแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เลยด้วยซ้ำ
    
      ถ้าประกาศใช้ตามนั้นจริงๆ ก็จะสร้างความสับสนให้สังคมอย่างมาก เพราะทุกคนเขียนแบบเดิมจนชินแล้ว
      ถึงใช้กันมานานแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามันถูกต้องนี่คะ ต้องถามว่าคุณจะเลือก "ความเคยชิน" หรือ "ความถูกต้อง" ถ้าใช้ด้วยความเคยชินแต่มันผิด แล้วทำไมไม่แก้ให้มันถูกล่ะคะ เคยทำมาผิดๆ แล้วจะปล่อยให้ผิดต่อไปอย่างนั้นหรือ หรือว่าเห็นว่าผิดแล้วก็ควรแก้ให้ถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น
      ถ้าเรายังจะ ใช้แบบผิดๆ กันต่อไปแบบนี้อีกไม่รู้นานเท่าไหร่ เด็กเล็กที่ต้องเรียนหนังสือก็จะอ่านคำผิดๆ เหล่านั้นไม่ถูก อ่านไม่ออก เราจะปล่อยให้เด็กๆ จดจำสิ่งผิดๆ จากที่ผู้ใหญ่ทำเอาไว้และใช้กันต่อไปอย่างนั้นเหรอคะ สำหรับคนที่คัดค้าน อยากให้ลองถามตัวเองดูสิคะว่า มีเหตุผลดีๆ สักข้อไหมที่จะไม่แก้ไขให้ถูกต้อง
    
      ที่เห็น-ที่เป็น-ที่ใช้กันอยู่ มันผิดตรงไหน?
      ถ้าคุณออกเสียงว่า "สะ-นุ้ก-เก้อ" คุณก็ต้องเขียนว่า "สะนุ้กเก้อร์" จะมาเขียน "สนุกเกอร์" มันก็ออกเสียงว่า "สะ-หนุก-เกอ" น่ะสิคะ มันไม่ถูกต้อง ภาษาเรามีกฎของเราอยู่ อาจารย์ท่านวางรูปแบบไว้ตั้งแต่โบราณกาลแล้ว มีทั้งอักษรสูง-กลาง-ต่ำ มีสระสั้น-ยาว มีวรรณยุกต์ที่ผสมออกมาเป็นคำ ถ้าผสมอย่างถูกต้อง ทุกคนก็สามารถออกเสียงได้เหมือนกันหมด จะอยู่เหนือจดใต้ อยู่สุไหงโก-ลก ก็ออกเสียงเหมือนกันได้หมด แล้วทำไมเราไม่รักษากฎกันล่ะคะ ทำไมไปเอาความเคยชินที่ผิดๆ มาเป็นบรรทัดฐาน
      
    
      มันเป็นหน้าที่ของราชบัณฑิตฯ อยู่แล้วที่จะต้องคอยดูแลภาษาให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนไปในทางเสื่อม แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเขียนภาษาต่างประเทศโดยไม่ใส่เครื่องหมายกำกับ ทั้งการสะกดการันต์ การใส่พยัญชนะ วรรณยุกต์ทั้งหมด เขียน ผิดๆ ก็เป็นการทำลายระบบอักขรวิธีของเราเอง ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้เราทุกคนเรียนกันมาตั้งแต่ ป.1-ป.2 แล้ว อ่านออก-สะกดถูก-ผันวรรณยุกต์กันได้ แต่พอมาเขียนกลับเขียนไม่ถูก เขียนไม่ตรงกับเสียง เราใช้แบบผิดๆ กันมานานมากแล้ว มันก็น่าจะปรับให้ถูกต้อง แค่นั้นเอง
      
    
      อย่างคำว่า "คอมพิวเตอร์" ถึงจะมาจากภาษาอังกฤษ แต่เมื่อเอามาเขียนด้วยตัวอักษรไทย ในประโยคภาษาไทย ก็ต้องเขียนให้ถูกตามหลักภาษาไทย ถ้าออกเสียงว่า "ค็อม-พิ้ว-เต้อ" ก็ต้องเขียนว่า "ค็อมพิ้วเต้อร์" หรือถ้าออกเสียงว่า "คอม-พิว-เตอ" ก็ต้องเขียนว่า "คอมพิวเตอร์" ถ้าเขียนกันถูกต้องตามเสียงที่ออกมา มันจะทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นด้วย
    
      คนส่วนใหญ่ก็รู้อยู่แล้วว่าคำคำนั้นออกเสียงยังไง จะเขียนเหมือนเดิมหรือเขียนแบบใหม่ ก็ไม่น่าจะใช่ประเด็น
      แล้วคนที่เขาไม่รู้คำภาษาอังกฤษล่ะคะ เขาไม่รู้หรอกว่าคำว่า "คอมพิวเตอร์" ต้องออกเสียงว่า "ค็อม-พิ้ว-เต้อ" เขาก็จะอ่านตามตัวสะกดเป็น "คอม-พิว-เตอ" ไป โดยเฉพาะเด็กต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย เขาเจอคำแบบนี้เยอะมากแล้วเขาก็อ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ อ่านออกมาก็ผิดหมด เด็กต่างชาติหลายคนถามเลยว่า เขียนว่า "เรดาร์" ทำไมให้อ่านว่า "เร-ด้า" ทำไมไม่ให้อ่านว่า "เร-ดา" ตามตัว เขาเรียนมาว่า "ด เด็ก + สระอา" ต้องอ่านว่า "ดา" มันก็เลยเป็นปัญหามากสำหรับเด็กต่างชาติ
    
      พูดอย่างนี้ อาจถูกมองว่าใส่ใจความรู้สึกชาวต่างชาติมากกว่าคนไทยด้วยกันเอง?
      ไม่ใช่ว่า สนใจเด็กต่างชาติมากกว่าเด็กไทยนะคะ นั่นเป็นแค่เหตุผลหนึ่ง เพราะวัตถุประสงค์หลักของเราก็คือภาษาไทยเพื่อคนไทย เพื่อคนที่ใช้ภาษาไทยนี่แหละค่ะ เราต้องรักษาไว้ไม่ให้ภาษาถูกทำลาย ซึ่งเขียนกันอย่างทุกวันนี้มันคือการทำลาย มันป่วนไปหมด เขียนอีกแบบแล้วไปออกเสียงอีกแบบ คนที่ไม่เข้าใจก็จะสับสนว่าเมื่อไหร่จะต้องออกเสียงโท-เสียงเอก เขียนโดยที่ไม่บอกวรรณยุกต์ ไม่บอกอะไรเลย แล้วให้รู้ให้จำเองเนี่ย มันจะถูกได้ยังไงล่ะคะ
      
    
      ก็เหมือนเรามีช้อนส้อมวางอยู่ที่โต๊ะ มีเครื่องมือให้พร้อมอยู่แล้วทุกอย่างในการกิน แต่ถ้าคุณอยากลำบาก คุณก็เปิบมือ ใช้ปากกินไปก็ได้ค่ะ แต่ถามว่าในเมื่อเรามีเครื่องมือทางภาษาที่ดีอยู่แล้ว แล้วทำไมเราต้องหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ด้วยล่ะคะ พอไม่ใช้แล้วมันก็ป่วนไปหมด เขียนก็ไม่ถูก อ่านก็ไม่ถูก แล้วยังจะดื้อใช้ต่อไปอีก ทำไมยังต้องดื้อแพ่งต่อไปอีก ก็อยากรู้เหมือนกันค่ะว่ามีเหตุผลอะไรที่จะไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้อง ขอเหตุผลดีๆ สักข้อหนึ่งสิคะ อยากรู้จริงๆ
      
    
      ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ เรา จะไปเขียนตามภาษาอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์ ไม่มีสระที่แน่นอน จะไปเขียนเละเทะตามเขา ให้ทำลายภาษาของเราเองทำไม เรามีหลักของเราอยู่ เราก็ควรจะรักษาหลักเอาไว้ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องยากเลย
    
      แต่อาจจะยากสำหรับเด็กไทย เพราะเด็กไทยอ่อนเรื่องการผันวรรณยุกต์มาก เขียน "นะคะ" กับ "ค่ะ" ยังสลับกันเป็น "นะค่ะ" อยู่เลย
      แต่ยิ่งคุณไปเอาภาษาเละๆ มาใช้ในภาษาเรา มันก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การรักษากฎภาษาเราเอง มันไม่ยากหรอกค่ะ วรรณยุกต์ไทยมันก็มีแค่ 5 เสียงเท่านั้น จะจำไม่ได้กันเลยหรือ มันยากนักหนาหรือสำหรับเด็กไทยที่จะเรียน มันไม่ยากหรอกค่ะ แต่ในทางตรงข้าม ยิ่งเราไปเขียนไม่ตรงวรรณยุกต์ มันยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เด็กก็ยิ่งจะไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง จะออกเสียงกันยังไง ยิ่งเสียหายไปกันใหญ่เลยคราวนี้
    
      ที่คนส่วนใหญ่รับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะมองว่าใส่วรรณยุกต์กำกับมากไป ทำให้ดูรก บั่นทอนความสวยงามของภาษาลงไปอีก
      คำทับศัพท์ ที่ตั้งใจจะให้เขียนแบบใหม่ทั้งหมด 176 คำ มันก็เหมือนคำทุกคำที่อยู่ในภาษาไทยนั่นแหละค่ะ คำว่า "แม่" "บ้าน" "พี่น้อง" ก็มีวรรณยุกต์ทั้งนั้น แค่เพิ่มคำเหล่านี้เข้าไปในประโยคนิดหน่อย มันคงไม่ทำให้ดูรกเพิ่มขึ้นหรอกค่ะ ถ้า บอกว่าใส่ไม้เอก-ไม้โท เพิ่มลงไปในคำฝรั่งพวกนี้แล้วมันไม่สวย มันรกหูรกตา ก็แสดงว่าคุณต้องเลิกใช้วรรณยุกต์ทั้งหมดทุกคำที่มีอยู่สิคะ ส่วน ตัวแล้วมองว่ามันสวยจะตาย มันคือเครื่องมือทางภาษาของเรา ทำไมเราต้องไปตามชาติอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์กำกับด้วยล่ะคะ มันเรื่องอะไร
    
      สุดท้ายแล้ว สังคมก็ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และราชบัณฑิตฯ ก็ยุติการแก้แล้ว รู้สึกอย่างไรบ้าง?
      ส่วนตัวก็ไม่ ได้รู้สึกอะไรกับกระแสสังคมอยู่แล้ว รู้สึกเฉยๆ ค่ะ ภาษาเนี่ยนะคะ มันเป็นเรื่องของสังคม สังคมคือคนส่วนใหญ่ คนทุกคนไม่ได้พูดเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีถูกบ้าง-ผิดบ้าง ทุกคนก็มีความเห็นของตัว

      แต่ เราแค่ออกมาบอกสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเราบอกแล้ว คุณยังไม่อยากรับเอาสิ่งที่ถูกต้อง มันก็เป็นเรื่องของคุณ ทุกวันนี้ก็มีคนเขียนหนังสือผิดอีกมากมาย ตามหน้าหนังสือพิมพ์เองก็มีออกเยอะแยะไป ถ้าคุณอยากทำตามสิ่งที่ถูก ก็ทำตาม แต่ถ้าไม่อยากทำตาม ก็ทำสิ่งที่ผิดไป ก็เท่านั้นเอง มันเป็นเรื่องของคุณค่ะ




เหอๆ จะบ้าตาย เกิดมาเพื่อแก่อย่างเดียว


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Ghostreporting ที่ ตุลาคม 03, 2012, 02:03:40 PM
สงสัยป้าแกอยากเอาอย่าง รงค์ วงษ์สวรรค์


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: คนตัวอ้วน+ผมรักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2012, 02:09:46 PM
ผมว่าว่างมากไปไร้สาระ  ไม่เปลี่ยนก็ไม่มีใครเสียหายอะไร ???

เหมือนกับครั้งหนึ่งที่กรมอุทยาน เสนอเปลี่ยนชื่อ เหี้ย เป็น วรนุช

ทำเอากระแสน้องนุ่น วรนุช ดังขึ้นมาเยอะเลย

นั่นแหล่ะ...แฟนผมเขายังไงก็ก็ไม่ยอมครับ...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Songchart ที่ ตุลาคม 03, 2012, 02:54:56 PM
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ :)



หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2012, 03:29:01 PM
 
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ :)



snooker  ออกเสียงสั้นนี่ครับ...

ต้องใช้สระอุถูกแล้ว...

อาทิ... book = บุ้ค ไงครับ... 

ถ้าหากใช้สระอูต้องลากเสียงยาวครับ...

อาทิ... boot = บู้ท ครับ... ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ ที่ ตุลาคม 03, 2012, 03:33:15 PM
หน่าย....ใจ...กับพวกนั่งโต๊ะ...คิด...

ความจริงน่าจะเอา... ฅ....กับ ฃ กลับมาใช้ ดีกว่า

เสียดาย อย่างน้อย ใช้ ฅ กับ คำว่า ฅน  แล้ว ฃ กับ คำว่า ฃวด ก็ยังดี

ด้วยความเคารพ
ผมว่าไม่ค่อยจำเป็นหรอกครับสำหรับพยัญชนะสองตัวนี้เพราะมีคำที่ใช้พยัญชนะ 2 ตัวนี้แค่ไม่กี่คำ แล้วหลักการใช้ที่ถูกต้องในปัจจุบันก็ยังไม่มีการชำระที่แน่นอนว่าใช้อย่างไรกันแน่

อย่างตัวพยัญชนะ ฅ คน ผมเคยลองหาอ่านในหนังสือโบราณหรือคำภีร์ใบลานก็พบว่าเวลาเขียนคำว่า "คน" ที่หมายถึงมนุษย์ก็เขียนด้วยพยัญชนะ ค ควาย เหมือนปัจจุบันนี่เอง แต่พอเขียนถึงอวัยวะที่อยู่ระหว่างหัวกับร่างกายใช้พยัญชนะ ฅ คน เขียนว่า "ฅอ" แบบนี้ซะงั้น ผมว่าถ้านำพยัญชนะสิองตัวนี้กลับมาใช้จริง ราชบัณฑิตยสภาต้องชำระหลักการใช้ให้แน่นอนก่อนว่าใช้แบบไหนถึงจะถูกต้องครับ ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ ที่ ตุลาคม 03, 2012, 03:36:54 PM
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ :)


ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ใช้ จะออกเสียงสั้นยาวหรือเหน่อแบบไหนก็ความหมายเดียวกันครับ

ดูคำว่า Carbine ที่แปลว่าปืนเล็กสั้น นักเลงปืนยังเถียงกันไม่จบว่าออกเสียงว่า "คาร์ไบน์" หรือ "คาร์บิน" กันแน่ ทั้งที่สองเสียงนี้มันก็แค่สำเนียงอเมริกันกับสำเนียงบริติชเองครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 03, 2012, 04:01:42 PM
อ่านที่ อ.กาญจนาฯ ให้สัมภาษณ์แล้ว ก็เลยรู้ว่าท่าน"ไม่รู้"ว่าอย่างไรผิดอย่างไรถูกน่ะครับ... เอาตัวอย่างคำว่า Computer หากไปได้ยินอเมริกันคนดำ(Black American) ออกเสียง ก็มักจะออกเสียงว่า"ข่อม-พิว-เต๊อะ" ซึ่งเขาก็ว่าของเขาถูกต้อง, แล้วหากภาษาไทยกำหนดให้ต้องออกเสียงอย่างโน้นอย่างนี้ถึงจะถูกต้อง มันก็กลายเป็นภาษาอังกฤษอีกสำเนียงหนึ่งไปอีก กลายเป็นสำเนียงไทย...

เอาตัวอย่างอีก คำว่า"ภาษาไทยวันละคำ", ไม่รู้ว่ามีใครจำได้หรือเปล่าว่า เคยมีอยู่ท่านหนึ่งออกเสียงทางรายการโทรทัศน์สมัยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วว่า "สวัสดีค่ะ รายการพัสสะไทยวันละคำ"... สมัยโน้นมีรายการซูโม่สำอางค์เอามาล้อเลียนเป็นเรื่องตลก แล้วก็เหล่าซูโม่ฯ ไม่ลืมขมวดท้ายรายการว่านั่นคือ"สำเนียง"ครับ แบบเดียวกับคนไทยเหนือ คนไทยใต้ คนไทยกลางออกเสียงไม่เหมือนกันในคำที่สะกดเหมือนกัน...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 03, 2012, 04:11:28 PM
ที่นายสมชายอยากให้ราชบัณฑิตเข้าไปดูแลมากกว่าเรื่องนี้ก็คือ อยากให้ไปจัดหลักสูตรการใช้ภาษาไทยเรื่อง"การย่อความ/สรุปความ การเรียงความ และการอ่านเอาเรื่อง"ครับ... เพราะคนไทยสื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่องแยะ เรื่องที่ควรอธิบายจบในสามประโยค กลายเป็นอธิบายสามนาที แล้วก็ไม่รู้ว่าอยากจะบอกอะไรเสียด้วยซิ...

สมัยก่อนนายสมชายเคยเรียนวิธีเล่าเรื่องในวิชาลูกเสือสำรอง โดยครูจะให้เด็กมายืนเล่าเรื่องหน้าห้อง แล้วแต่ว่าโจทย์วันนั้นกำหนดให้เล่าเรื่องอะไร... แต่ในวันนี้นายสมชายเชื่อว่ามีผู้ใหญ่หลายคนอธิบาย/เล่าเรื่องง่ายๆไม่ได้ เช่นอธิบายว่าผูกเชือกรองเท้ายังไง... ไม่ฮาครับ...


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Songchart ที่ ตุลาคม 03, 2012, 04:26:12 PM
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ :)



snooker  ออกเสียงสั้นนี่ครับ...

ต้องใช้สระอุถูกแล้ว...

อาทิ... book = บุ้ค ไงครับ...  

ถ้าหากใช้สระอูต้องลากเสียงยาวครับ...

อาทิ... boot = บู้ท ครับ... ::014::


ครับพี่หมอ

อ่านจากพี่หมอ ทำให้ผมต้องไปลองฟัง pronunciation ในเว็บดิกฯ  search คำว่า  snooker ผมฟังดูก็ยังเข้าข้างตัวเอง ::005:: ว่าเครื่องมันอ่านเป็นเสียงสระอูว่า สะ+นู้ก+เก่อ อ่ะครับ

http://oald8.oxfordlearnersdictionaries.com/dictionary/snooker_1

แต่ที่จริงแล้ว ผมแค่อยากจะบอกว่า การเขียนตามเสียงที่อ่าน มันจะสับสน เพราะแต่ละชาติออกเสียงต่างกันครับ

หากผิดพลาดไปต้องขออภัยครับ

บวกให้พี่หมอ 1 ครับ

ส่งชาติ :D



หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Songchart ที่ ตุลาคม 03, 2012, 04:28:16 PM
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ :)


ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ใช้ จะออกเสียงสั้นยาวหรือเหน่อแบบไหนก็ความหมายเดียวกันครับ

ดูคำว่า Carbine ที่แปลว่าปืนเล็กสั้น นักเลงปืนยังเถียงกันไม่จบว่าออกเสียงว่า "คาร์ไบน์" หรือ "คาร์บิน" กันแน่ ทั้งที่สองเสียงนี้มันก็แค่สำเนียงอเมริกันกับสำเนียงบริติชเองครับ  ::014::

 ::002::
บวกให้พี่ระพินทรนาถ ครับ

ส่งชาติ


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 03, 2012, 04:31:00 PM
ในดิกฯ ส.เศรษฐบุตร ออกเสียงยาวครับ แต่ประสบการณ์ตรงของนายสมชายว่าออกเสียงสั้น ฝรั่งก็เข้าใจครับ... สรุปว่าถูกทั้งคู่... แฮ่ๆ...

(http://upload.armuay.com/img/2012-10-03/08-32-03_0.172173.jpg) (http://upload.armuay.com/2012-10-03_08-32-03_0.172173.jpg)


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Ghostreporting ที่ ตุลาคม 03, 2012, 04:40:44 PM
แห่ม เบอ เก๊อ
แฮม เบ๊อ เก่อ
แฮ๊ม เบอ เก๋อ
ท่านคิดว่าแบบไหนน่าเขียนกว่ากัน


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 03, 2012, 05:01:08 PM
"ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ"

 :OOเพราะคิดผิดอย่างนี้นี่เอง ::006::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ ที่ ตุลาคม 03, 2012, 05:04:46 PM
"ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ"

 :OOเพราะคิดผิดอย่างนี้นี่เอง ::006::
ผมเห็นด้วยเลยครับพี่ต็อก ว่าอาจารย์คนนี้ต้องเข้าใจอะไรผิดแน่ๆ

เอาแค่สำเนียงการพูดภาษาไทยแต่ละท้องที่มีตั้งหลายสำเนียงที่เราเรียกว่าพูด "เหน่อ" นั่นแหละครับ บางท้องถิ่นก็ออกเสียงพยัญชนะบางตัวไม่เหมือนกับภาคอื่น บางท้องถิ่นเหมือนมีวรรณยุกต์เสียงที่ 6 เพิ่มเข้ามาด้วย แล้วสำเนียงเหน่อแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน ทางแถบสุพรรณบุรี-อยุธยา-นครปฐมก็เหน่อไปอีกแบบ ทางสุโขทัย-พิษณุโลก-กำแพงเพชรก็มีสำเนียงเหน่ออีกแบบ แต่คำเขียนก็ยังเขียนเหมือนกันทั้งประเทศ ถ้าขืนให้คนแต่ละท้องที่เขียนสำเนียงพูดของตัวเองแล้วลงวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วย ผมว่าเวลาอ่านออกมาสำเนียงคงทั้งแปร่งทั้งเพี้ยนแน่เลยครับ ขนาดผมคนอุทัยฯเวลาพูดเหน่อคนทางสุพรรณฯยังบอกว่าสำเนียงมันทำไมแปร่งหูจัง ::012::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 03, 2012, 05:14:04 PM
ครับ อย่าว่าแต่ใช้ภาษาไทยเขียนภาษาต่างชาติแล้วอ่านได้ไม่ผิดเลยครับ ขนาดให้เจ้าของภาษาพูดให้ฟังต่อหน้าต่อตา ปากถึงหู แล้วให้คนไทยเลียนเสียง ยังทำไม่ได้เลย  อาจพอรู้ว่าคำอะไร แต่ไม่ใช่ว่าไม่ผิดเพี้ยน



หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: kpai ที่ ตุลาคม 03, 2012, 09:16:43 PM
น่าสงสารครู (แก่ ๆ ) ที่เป็นครูสอนภาษาไทย  ไม่รู้จะแก้วตัวกับลูกศิษย์ว่าอย่างไร   :~)


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: cwattapol ที่ ตุลาคม 04, 2012, 12:09:49 AM
วัยวุฒิสูง ตุณวุฒิก็สูงด้วย
ก็รั้นสูงอย่างนี้แหละ


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2012, 12:23:29 AM
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ :)



snooker  ออกเสียงสั้นนี่ครับ...

ต้องใช้สระอุถูกแล้ว...

อาทิ... book = บุ้ค ไงครับ... 

ถ้าหากใช้สระอูต้องลากเสียงยาวครับ...

อาทิ... boot = บู้ท ครับ... ::014::


ครับพี่หมอ

อ่านจากพี่หมอ ทำให้ผมต้องไปลองฟัง pronunciation ในเว็บดิกฯ  search คำว่า  snooker ผมฟังดูก็ยังเข้าข้างตัวเอง ::005:: ว่าเครื่องมันอ่านเป็นเสียงสระอูว่า สะ+นู้ก+เก่อ อ่ะครับ

http://oald8.oxfordlearnersdictionaries.com/dictionary/snooker_1

แต่ที่จริงแล้ว ผมแค่อยากจะบอกว่า การเขียนตามเสียงที่อ่าน มันจะสับสน เพราะแต่ละชาติออกเสียงต่างกันครับ

หากผิดพลาดไปต้องขออภัยครับ

บวกให้พี่หมอ 1 ครับ

ส่งชาติ :D



+1 ขอบคุณครับท่านส่งชาติ...

เข้าไปลองฟังตามลิ้งค์แล้วครับ...

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้จะจับผิดนะครับ...

แค่ถกตามประสาเพื่อนฝูงร่วมวงสนทนากันเฉยๆครับ...  ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: telekbook - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2012, 08:12:30 AM
คนคิดเรื่องนี้ คงว่างจัด  ;D


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Songchart ที่ ตุลาคม 04, 2012, 08:55:13 AM
อาจารย์ท่านยกตัวอย่างคำว่า สนุกเกอร์ ควรเขียน สนุ้กเกอร์ เพื่ออ่านเป็น สะ+นุ้ก+เก้อ
ผมสงสัยว่า แล้วทำไมไม่เขียน สนู้กเกอร์ แล้วอ่าน สะ+นู้ก+เก้อ หล่ะครับ

ก็มันมาจากคำว่า Snooker นี่นา

อยากจะบอกว่า ภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เค้าใช้กันแพร่หลาย
คำๆ เดียว แต่ละท้องถิ่นก็ออกเสียงต่างกันแล้วครับ อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ล้วนใช้ภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงต่างกันในหลายๆ คำนะครับ
เช่น anti virus จะอ่าน แอนตี้ไวรัส หรือ  แอนไทไวรัส

เอาแบบไหนดีเอ่ย

ส่งชาติ :)



snooker  ออกเสียงสั้นนี่ครับ...

ต้องใช้สระอุถูกแล้ว...

อาทิ... book = บุ้ค ไงครับ... 

ถ้าหากใช้สระอูต้องลากเสียงยาวครับ...

อาทิ... boot = บู้ท ครับ... ::014::


ครับพี่หมอ

อ่านจากพี่หมอ ทำให้ผมต้องไปลองฟัง pronunciation ในเว็บดิกฯ  search คำว่า  snooker ผมฟังดูก็ยังเข้าข้างตัวเอง ::005:: ว่าเครื่องมันอ่านเป็นเสียงสระอูว่า สะ+นู้ก+เก่อ อ่ะครับ

http://oald8.oxfordlearnersdictionaries.com/dictionary/snooker_1

แต่ที่จริงแล้ว ผมแค่อยากจะบอกว่า การเขียนตามเสียงที่อ่าน มันจะสับสน เพราะแต่ละชาติออกเสียงต่างกันครับ

หากผิดพลาดไปต้องขออภัยครับ

บวกให้พี่หมอ 1 ครับ

ส่งชาติ :D



+1 ขอบคุณครับท่านส่งชาติ...

เข้าไปลองฟังตามลิ้งค์แล้วครับ...

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้จะจับผิดนะครับ...

แค่ถกตามประสาเพื่อนฝูงร่วมวงสนทนากันเฉยๆครับ...  ::014::

ครับพี่หมอ ขอบพระคุณพี่หมอครับ  ::014:: ::002::

ส่งชาติ :D


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: powerboy ที่ ตุลาคม 04, 2012, 10:48:46 AM
ใช้กับคำใหม่จะไม่ว่าเลย
มาใช้กับคำเก่าที่ใช้กันมาเป็นสิบปี
ว่างงานหรือไง หรือกลัวไม่มีอะไรทำ มีคนที่โดนผลกระทบนี้กี่สิบล้านคน
หนังสือตำราเรียนก็ต้องแก้ใหม่หมด พิมพ์ใหม่หมด ไอ้คนอายุเยอะ ๆ ก็ต้องปรับใหม่
คนเขียนตำรากำลังส่งโรงพิมพ์ ก็โดนเีขียนใหม่อีกรอบ
ไม่ใช่่ว่ากลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ก่อนจะเปลี่ยนแปลงอะไรคิดให้มากกว่านี้ได้มั้ย
กลัวแต่จะตอบฝรั่งไม่ได้ เลยเอาคนไทยมารองรับงั้นหรือ

ส่วนไอ้ที่เพิ่มอีกก็ไม่รุ้จะวิจาร์ณยังงัย "ขออภัยมณีศรีสุวรรณ" "โนเวย์สเตชั่น"
ต่อไปคงมีภาษา สก๊อย์ เข้ามาอีก ตอนนี้ภาษาวิบัติไม่มากพอใช่มั้ย
ไปถาม ครู อาจาร์ย บ้าง ว่ามันควรหรือไม่ อย่ามีสมองไว้กันหู


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ ตุลาคม 04, 2012, 11:32:35 AM
สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครั้งใหญ่....รวมทั้งตัวสะกดในภาษาไทยด้วย เช่น "กระทรวงศึกษาธิการ" ก็เปลี่ยนเป็น "กระซวงสึกสาธิการ"

เอาแบบนี้ดีไหมหละคุณป้า ต่างชาติจะได้ไม่สงสัยว่า ทำไมคำว่า "ทรวง" ต้องสะกดแบบนี้   ::005::

 


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ตุลาคม 04, 2012, 11:48:19 AM
"ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ"

 :OOเพราะคิดผิดอย่างนี้นี่เอง ::006::
ผมเห็นด้วยเลยครับพี่ต็อก ว่าอาจารย์คนนี้ต้องเข้าใจอะไรผิดแน่ๆ


เข้าใจผิดตรงพยายามทำให้คำเขียน-คำอ่าน ตรงกัน
อย่าลืมว่าภาษาไทยส่วนใหญ่รับมาจากบาลี  สันสกฤติ มาแต่ไหนแต่ไร ก่อนภาษาอังกฤษเสียอีก

บางทีรูปการเขียนกับการออกเสียงของสันสกฤติ ก็ไม่ค่อยตรงกันอยู่แล้ว ต้องมากำกับการอ่านออกเสียงอีกที
มีทั้งรูปการเขียนและบอกการอ่านออกเสียงกำกับ ภาษาอังกฤษเข้ามาทีหลังแต่ก็ดำเนินตามรอยบาลี สันสกฤติ
มาเนิ่นนาน

การเปลี่ยนความเคยชินของคนที่เรียนรู้และกระทำมานับชั่วอายุคน ไม่ใช่เรื่องง่าย
ประเทศCanada(แคนาดา) เมื่อสัก30กว่าปีที่แล้วเคยรณรงค์ให้ประชาชนชาวแคเนเดี้ยนออกเสียงชื่อประเทศ
ตัวเองว่า Kanada(คานาดา) ซึ่งมาจากภาษาIroquois  ซึ่งแปลว่าชุมชนหรือหมู่บ้าน แต่การรณรงค์ระดับชาติ
ดังกล่าวก็ประสบกับความล้มเหลว เนื่องจากพลเมืองชาวแคนาดา ต่างออกเสียงเรียกแคนาดาตามแบบอเมริกันจน
ติดปากมาหลายชั่วอายุคน

ส่วนภาษา Iroquoisนั้นคือภาษารากเหง้าของแคนาดานั้น ได้มาจากการผสมภาษาของอินเดียนแดง6เผ่าใน
ทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งจัดเป็น Iroquois League ขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่18  ภาษาของชนพื้นเมือง6 เผ่าประกอบ
ด้วยเผ่า Mohawk, Oneida, Cayuga, Onondaga, Seneca และเผ่า Tuscarora



อ้อ.....ที่บ้านผมที่ตจว.จำได้ว่า พ่อเคยซื้อแผนที่โลกมาไว้ ในช่วงเวลาที่แคนาดารณรงค์เรื่องเรียกชื่อประเทศดังกล่าว
ทำให้ประเทศที่อยู่เหนืออเมริกา แผนที่แผ่นนั้นพิมพ์ชื่อไว้ว่าKanada เล่นเอาเคยงงอยู่พักหนึ่ง กว่าจะรู้ก็ตอนโตขึ้นมา
แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าแผนที่ดังกล่าวไปอยู่ที่ไหนแล้ว ทราบว่าแผนที่ ที่มีชื่อKanada(ไม่ใช่Canada) มีคุณค่าสำหรับ
นักสะสมพอควร  ;D


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ ที่ ตุลาคม 04, 2012, 12:00:48 PM
"ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ"

 :OOเพราะคิดผิดอย่างนี้นี่เอง ::006::
ผมเห็นด้วยเลยครับพี่ต็อก ว่าอาจารย์คนนี้ต้องเข้าใจอะไรผิดแน่ๆ


เข้าใจผิดตรงพยายามทำให้คำเขียน-คำอ่าน ตรงกัน
อย่าลืมว่าภาษาไทยส่วนใหญ่รับมาจากบาลี  สันสกฤติ มาแต่ไหนแต่ไร ก่อนภาษาอังกฤษเสียอีก

ภาษาไทยที่เป็นคำไทยแท้มีประมาณแค่ร้อยละ 20 นอกนั้นเป็นคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาเขมร และภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าจะออกเสียงคำตามแบบดั้งเดิมลิ้นคนไทยจะต้องพริ้วกว่านี้อีกครับน้าซับ ยกตัวอย่างคำว่า "สวรรค์" คนไทยอ่านว่า "สะ-หวัน" แต่เวลาเขียนและอ่านออกเสียงในแบบภาษาสันสกฤตว่า "สวรฺค" จะมีเสียงควบกล้ำถึง 2 เสียง บางคำก็ควบกล้ำได้ถึง 3 เสียง เวลาพวกแขกพูดมันถึงได้รัวลิ้นจนบางทีฟังไม่ออกเลยว่าพูดอะไรก็มี แต่ผมว่านี่แหละคือเสน่ห์ของภาษาแต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นละครับ ::014::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ ตุลาคม 04, 2012, 12:01:17 PM

การเปลี่ยนความเคยชินของคนที่เรียนรู้และกระทำมานับชั่วอายุคน ไม่ใช่เรื่องง่าย
ประเทศCanada(แคนาดา) เมื่อสัก30กว่าปีที่แล้วเคยรณรงค์ให้ประชาชนชาวแคเนเดี้ยนออกเสียงชื่อประเทศ
ตัวเองว่า Kanada(คานาดา) ซึ่งมาจากภาษาIroquois  ซึ่งแปลว่าชุมชนหรือหมู่บ้าน แต่การรณรงค์ระดับชาติ
ดังกล่าวก็ประสบกับความล้มเหลว เนื่องจากพลเมืองชาวแคนาดา ต่างออกเสียงเรียกแคนาดาตามแบบอเมริกันจน
ติดปากมาหลายชั่วอายุคน

คน"แคนาเดี้ยน" ในประเทศ "แคนาดา" นี่ก็แปลกเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ แต่ดันไปออกเสียงชื่อประเทศตามคนอเมริกัน....มันน่า "เบิร์ด" กระโหลก  ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ตุลาคม 04, 2012, 02:03:14 PM
อาจเพราะรั้วบ้านติดกันมั้งครับสนิทกับอเมริกัน แต่บางอย่างไม่เหมือนกัน เพราะอเมริกันไม่มีระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
แต่ชาวแคนาเดี้ยน ถือว่าQueenของอังกฤษ ถือว่าเป็นQueenของเขาด้วย  ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 04, 2012, 05:23:45 PM
จริงครับท่านทรัพย์ พูดถึงภาษษพื้นเมืองเมกาเหนือมักออกเสียงโคกคากในคอเยอะ ไม่ทราบว่าคุณป้า อ. ท่นจะใช้ตัวไทยเขียนยังไงไม่ให้ผิดเพี้ยน

..แต่ถ้าดูเรื่องนโยบายและมุมมองปืน แคนาดารับอิทธิพลความฟายแบบอังกฤษๆ อยู่มากเลยครับ ถึงจะยังไม่เท่าก็ตาม


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 04, 2012, 05:25:45 PM

การเปลี่ยนความเคยชินของคนที่เรียนรู้และกระทำมานับชั่วอายุคน ไม่ใช่เรื่องง่าย
ประเทศCanada(แคนาดา) เมื่อสัก30กว่าปีที่แล้วเคยรณรงค์ให้ประชาชนชาวแคเนเดี้ยนออกเสียงชื่อประเทศ
ตัวเองว่า Kanada(คานาดา) ซึ่งมาจากภาษาIroquois  ซึ่งแปลว่าชุมชนหรือหมู่บ้าน แต่การรณรงค์ระดับชาติ
ดังกล่าวก็ประสบกับความล้มเหลว เนื่องจากพลเมืองชาวแคนาดา ต่างออกเสียงเรียกแคนาดาตามแบบอเมริกันจน
ติดปากมาหลายชั่วอายุคน

คน"แคนาเดี้ยน" ในประเทศ "แคนาดา" นี่ก็แปลกเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ แต่ดันไปออกเสียงชื่อประเทศตามคนอเมริกัน....มันน่า "เบิร์ด" กระโหลก  ::005:: ::005::

เมื่อวานผมเพิ่งคุยกับเพื่อนเรื่องศัพท์วัยรุ่น รุ่นผม ยังยกตัวอย่างคำ "เบิร์ด"กระโหลก อยู่เลยครับ ::005::


หัวข้อ: Re: ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ ตุลาคม 04, 2012, 07:16:46 PM
วันนี้ป้าแกเสียงอ่อนลงแล้ว    ::005::