หัวข้อ: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 07:41:54 AM ผมไปส่งลูกที่โรงเรียนเมื่อเช้า เห็นเขาเตรียมงานกัน เพิ่งนึกได้ว่าวันพรุ่งนี้ ๒๙ กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
ขออัญเชิญพระราชดำรัส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งแสดงความห่วงใยถึงการใช้ภาษาไทย ดังความตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความหมายจริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกัน เพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ" ขอจงทรงพระเจริญ หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 08:07:28 AM คำแรกขอ........."อนุญาต"........ครับ ส่วนใหญ่พิมพ์/เขียนผิดเป็น XXXX ..... อนุญาติ .... XXXX
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: รัตตรา ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 08:14:34 AM บางครั้งผมพิมพ์หนังสือ ยังต้องย้อนถามลูกสาว ก่อนทุกที เหตุเกิดจากการไม่ค่อยได้ใช้ครับ
เริ่มเขียนเรื่องเด็กวัด ยังลังเล กลัวเขียนผิดๆ (มันบอกถึง พื้นฐานการศึกษา) คำศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับพระสงฆ์ ยิ่งต้องระวัง เห็นด้วยครับที่ควร ใช้ให้ถูกต้อง หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: ..GlockGlack.. ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 08:15:20 AM เห็นด้วยครับ
การใช้ภาษาไทย ใช้ในทางพูด อ่าน เขียน ซึ่งทั้ง 3 ทางนี้ภาษาพูดอาจจะมีความผิดเพี้ยน หย่อนไวยากรณ์ไปบ้าง ไม่เคร่งครัดตามหลักภาษา หรืออื่นๆ ได้แล้วแต่สภาพการณ์ แต่การพิมพ์ภาษาเขียนแบบภาษาพูดนั้น ส่วนตัวแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสมครับ เพราะเป็นการเผยแพร่หลักภาษาไทยออกไปอย่างผิดๆ ยิ่งจงใจสะกดคำผิดๆแบบที่วัยรุ่นชอบใช้ หลายๆคนเลยนึกว่าเป็นคำสะกดที่ถูกต้องไปเลย สะกดผิดเพราะความไม่รู้นั้นเป็นเรื่องปรกติ แต่จงใจสะกดผิดทั้งๆที่รู้ ผมมองว่าเป็นการบ่อนทำลายภาษาในทางหนึ่งครับ ( :-[ ที่ผมจงใจสะกดผิดมีอยู่คำเดียว คือคำว่า ทั่นเลขาฯ ซึ่งเจาะจงหมายถึงเฉพาะเพื่อนสมาชิกของเราเอง :-[ ) หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 08:21:11 AM http://www.gunsandgames.com/smf/index.php/topic,15146.0.html หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: ..GlockGlack.. ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 08:22:08 AM สิ่งหนึ่งที่ควรคู่กับการใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ นั่นก็คือ ซอฟท์แวร์ พจนานุกรมไทย กับ Dictionary ครับ :) ราคาแผ่นของแท้ (สนับสนุนแผ่นลิขสิทธิ์ของคนไทย) ไม่เกิน 300 บาท ถ้าคิดเป็นค่าลูกกระสุนก็ไม่กี่นัด ยิงลูกซ้อมราคา 300 บาทเดี๋ยวเดียวก็หมดไป แต่ซอฟท์แวร์นี้สามารถใช้ได้กับทุกคนในครอบครัว
ผมใช้ทุกครั้งที่ไม่แน่ใจในเรื่องการสะกดคำ ความหมาย รวมถึงเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับภาษาครับ :D หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: BADBOY ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 08:29:21 AM ....ผมรักภาษาไทย...
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 09:01:42 AM ขอยกเอาเครือข่ายพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานมาไว้ตรงนี้อีกที
http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html ช่วยได้มากเรื่องการสะกดคำและความหมายครับ หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 10:17:18 AM ด้วยความเคารพครับ
จะพยายามใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องครับ ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: RUGER ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 10:20:15 AM ขอบคุณครับ พี่......ผมพิมพ์ผิดบ่อยมากแต่ ส่วนใหญ่พยายามดูทุกครั้ง ครับ แต่ก็มีพลาดบ่อย จะพยายามครับ
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 10:55:35 AM ขอบคุณครับ...จะพยายามเขียนไม่ให้ผิดครับ
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: soveat ชุมไพร ที่ กรกฎาคม 28, 2006, 11:02:14 AM ขอบคุณครับ จะเลิกเอาภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนครับ ( เพิ่งพิมพ์ไปแหมบๆเมื่อกื้นี่เองครับ ต้องขออภัยด้วย ) ;D
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: Sticker ที่ กรกฎาคม 29, 2006, 09:01:37 PM :Dเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลยครับ...ขอบคุณมากครับ ;)
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ กรกฎาคม 29, 2006, 09:08:43 PM 1. ผู้ใหญ่ มีความ
.. ต่อเด็กเสมอ ( ปราณี, ปรานี )
2. เขาถูกจับข้อหาพรากผู้ ( เยา, เยาว์ ) 3. สุนัขเป็น .ที่ซื่อ .ต่อเจ้าของ ( สัตย์ , สัตว์ ) 4. กระแสน้ำเชี่ยว ..ตลิ่งพัง ( ทลาย, ทะลาย ) 5. เขานอนกรนเสียงดัง . ( คอก, ครอก ) 6. การเขียนนวนิยายมี .ประกอบมากมาย ( องค์ , องก์ ) 7. เขาใช้กล้อง .ส่องดูนกที่กำลังบิน ( โทรทัศน์,โทรทรรศน์ ) 8. มานิตย์ยืน ..กลางระหว่างบันได ..ที่สอง ( ขั้น , คั่น ) 9. เมื่อผลไม้สุกเต็มที่แล้วจะหลุดจาก ..ตกสู่ดิน ( คั่ว , ขั้ว ) 10.ไฟไหม้นครปฐมคราวนั้น ..หมูตายไปหลายตัว ( คลอก, ครอก ) 11. หากเธอเรียนวิชานี้ได้ ..ถือว่าเป็นการ .เปล่านะ ( สูญ , ศูนย์ ) 12. งานแต่งคำประพันธ์ เป็นงาน อย่างหนึ่ง (สร้างสรรค์, สร้างสรร) 13. เป็นสาว แร่รวยสวยสะอาด ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า ( แส้, แซ่ ) 14. หนุมานมี แตกต่างจากลิงทั่วไป ( กำเนิด , กำเหนิด ) 15. ลูก .เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม ( จันทร์ , จัน ) หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: Nakin ที่ กรกฎาคม 29, 2006, 09:24:58 PM :) :) :) :)
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: SEK ที่ กรกฎาคม 29, 2006, 11:21:42 PM เคยไปเห็นคำพูด-เขียนสมัยเก่าๆ อ่านดูแล้วก็ตลกดี....ถ้าอีก 100 ปีลูกหลานเรามาอ่านที่เราเขียนไว้ก็คงจะขำๆเหมือนกันนะครับ
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: boon ที่ กรกฎาคม 29, 2006, 11:38:07 PM ผมเองเขียนผิดประจำครับ บางครั้งนึกคำได้แต่เขียนไม่ได้ เขียนไปก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าถูกหรือเปล่า
รู้สึกไม่แน่ใจ เลยต้องเปลี่ยนไปใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียง กันแทน สาเหตุหนึ่งอาจเป็นที่อายุมากขึ้น ความจำเริ่มเสื่อม หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: SEK ที่ กรกฎาคม 29, 2006, 11:41:21 PM ผมเองเขียนผิดประจำครับ บางครั้งนึกคำได้แต่เขียนไม่ได้ เขียนไปก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าถูกหรือเปล่า รู้สึกไม่แน่ใจ เลยต้องเปลี่ยนไปใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียง กันแทน สาเหตุหนึ่งอาจเป็นที่อายุมากขึ้น ความจำเริ่มเสื่อม ถ้าจะจริงครับพี่บุญพักนี้ผมก็จำทางกลับบ้านไม่ค่อยได้......คงจะติดโรคจากพี่นั่นแหละ.....อิอิ หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: แมวบ้า(น) ที่ กรกฎาคม 29, 2006, 11:56:25 PM ผมก็เขียนผิดประจำเลยครับ ก็พยายามจะเขียนให้ถูกน๊ะครับ แต่ภาษาไทยผมไม่ค่อยจะได้เรื่องเท่าไหร่ เด็กๆยังเคยตกภาษาไทยเลย :~) (ภาษาอังกฤษก็ยิ่งแย่สุดๆ) :~)
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: yaa ที่ กรกฎาคม 30, 2006, 08:33:28 AM ผมไปส่งลูกที่โรงเรียนเมื่อเช้า เห็นเขาเตรียมงานกัน เพิ่งนึกได้ว่าวันพรุ่งนี้ ๒๙ กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ขออัญเชิญพระราชดำรัส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งแสดงความห่วงใยถึงการใช้ภาษาไทย ดังความตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความหมายจริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกัน เพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ" ขอจงทรงพระเจริญ ต้องขอปรบมือดัง ๆ ให้คุณธำรงครับที่ในหัวใจรักการใช้ภาษาไทยผมขอเป็นผู้ช่วยอีกแรงหนึ่งครับ คำที่มักเขียนผิด จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี Jump to: navigation, ค้นหา บัญชีคำที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรตาม คำที่เขียนถูก สารบัญ: บนสุด - 0-9 ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ [แก้] ก คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ กงกำกงเกวียน กงเกวียนกำเกวียน กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน กงศุล กงสุล - กฏ กฎ กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา เช่น กฎหมาย ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก กบฎ, กบถ กบฏ ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ" กระพริบ กะพริบ - กริยา กิริยา "กิริยา" คือ อาการ การกระทำ เช่น ปฏิกิริยา กิริยา กริยา "กริยา" (กฺริ-) คือ คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา กรีธา, กรีทา กรีฑา กีฬาประเภทหนึ่ง กรีฑา กรีธา เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ กเลวราก กเฬวราก - กระโหลก กะโหลก จำไว้ว่า กะโหลก กะลา กลาสี กะลาสี เขียนเรียงพยางค์ปกติ กอร์ป, กอปร์ กอปร อ่านว่า "กอบ" กังวาล กังวาน - กานเวลา กาลเวลา กาล หมายถึง เวลา กาละเทศะ กาลเทศะ - กำเหน็ด กำเหน็จ - กิติมศักดิ์ กิตติมศักดิ์ อ่านว่า "กิด-ติ-มะ-สัก" กินนรี กินรี แต่ "กิน-นอน" เขียน 'กินนร' กุฎ, กุฎิ กุฎี, กุฏิ "กุฏิ" อ่านว่า "กุด" หรือ "กุด-ติ" , ถ้าต้องการอ่าน "กุ-ดี" ต้องเขียน "กุฎี" (ใช้คำไหนก็ได้) เกียรติ์ เกียรติ อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์ [แก้] ข คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ขบฏ ขบถ ดู กบฏ โขมย ขโมย - ขมักเขม้น ขะมักเขม้น - ขาดดุลย์ ขาดดุล ดู "ดุล", "สมดุล" ไข่มุกด์ ไข่มุก - [แก้] ฃ ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ ฃ [แก้] ค คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ คฑา, คธา คทา - ฅน คน คำนี้เลิกใช้แล้ว,และ ฅ ไม่เคยใช้เขียนคำว่า ฅน ครองราช ครองราชย์ แต่ ครองราชสมบัติ คริสต์กาล คริสตกาล ใช้ตามโบราณ คริสต์จักร คริสตจักร ใช้ตามโบราณ คริสตศตวรรษ คริสต์ศตวรรษ ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา คริสตทศวรรษ คริสต์ทศวรรษ ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา คริสตศาสนา คริสต์ศาสนา ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา คฤหาสถ์ คฤหาสน์ คฤห + อาสน คุรุศาสตร์ ครุศาสตร์ - คุรุภัณฑ์ ครุภัณฑ์ - ครุศึกษา คุรุศึกษา - คลีนิก คลินิก - ฆ้อน ค้อน - คนอง คะนอง - คุ้กกี้ คุกกี้ ออกเสียง คุก โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ คำนวน คำนวณ - คำดุษฎี คำสดุดี - โครงการณ์ โครงการ การ คือ งาน [แก้] ฅ ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ ฅ [แก้] ฆ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ฆาตรกร ฆาตกร ฆาต แปลว่า ฆ่า ฆาตรกรรม ฆาตกรรม ฆาต แปลว่า ฆ่า ฆารวาส ฆราวาส - [แก้] ง คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ งบดุลย์ งบดุล ไม่ใช่ ดุลย์ งูสวัส งูสวัด - [แก้] จ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ จงกลม จงกรม - จงอย จะงอย - จรเข้ จระเข้ เครื่องดนตรีไทย เรียก "จะเข้" จราจล จลาจล มาจากคำ จล + อจล จั๊กจั่น จักจั่น - จักร์ จักร - จักรพรรดิ์ จักรพรรดิ ไม่ออกเสียงสระอิ จักรวรรดิ์ จักรวรรดิ " จักรสาน จักสาน - จาระนัย จาระไน - จาละเม็ด จะละเม็ด - จำนงค์ จำนง แผลงจาก "จง" จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการันต์ เจตจำนงค์ เจตจำนง แผลงจาก "จง" เจียรไน เจียระไน - [แก้] ฉ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ฉนั้น ฉะนั้น - ฉนี้ ฉะนี้ - ฉะบับ ฉบับ - ฉันท์ญาติ ฉันญาติ "ฉัน" ในที่นี้หมายถึง เสมือน, "ฉันท์" หมายถึง ความพอใจ [แก้] ช คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ชนี ชะนี - ชมด ชะมด - ชมภู ชมพู - ชมภู่ ชมพู่ - ชลอ ชะลอ - ชัชวาลย์ ชัชวาล - ชีวะประวัติ ชีวประวัติ สมาสแล้วลบวิสรรชนีย์ [แก้] ซ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ซาละเปา ซาลาเปา - เซ็นต์ชื่อ เซ็นชื่อ จากคำอังกฤษ sign, ไม่มี ต การันต์ เซ็นติเมตร เซนติเมตร - [แก้] ฌ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ฌาณ ฌาน - [แก้] ญ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ญวณ ญวน - ญาต ญาติ - ญาน ญาณ - [แก้] ฑ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ฑัณฑ์ ทัณฑ์ - ฑูต ทูต - ฑีฆายุโก โหตุ ทีฆายุโก โหตุ ทีฆายุ หมายถึง อายุยืนยาว [แก้] ณ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ณ. ณ ณ หมายถึง ที่, ไม่มีเขียนจุดหลัง ณ และมักเว้นวรรคหน้าหลัง "ณ" [แก้] ด คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ดอกจันทน์ ดอกจัน เครื่องหมาย *, เรียกตามชื่อดอกของต้นลูกจัน ดำหริ, ดำริห์ ดำริ อ่านว่า "ดำ-หริ" ดำรงค์ ดำรง - ดุลย์ ดุล "ดุล" และ "สมดุล" ไม่มี "ย์" เดินเหิร เดินเหิน - โดยดุษฎี โดยดุษณีย์ ดุษณีย์ หมายถึง ยอมรับแต่โดยดี [แก้] ต คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ต่างๆ นาๆ ต่างๆ นานา นานา ไม่ใช้ไม้ยมก เพราะเป็นคำมูลสองพยางค์ ตาราง ตะราง สะกดถูกทั้งสองคำ แต่ที่คุมขัง ใช้ว่า ตะราง, ส่วน ตาราง หมายถึง ช่องสี่เหลี่ยม ตาลขโมย ตานขโมย - ตำหรับ ตำรับ - ไตรยางค์ ไตรยางศ์ - ใต้หวัน ไต้หวัน คำนอกกฎการใช้ ไม้ม้วน ใต้ฝุ่น ไต้ฝุ่น - [แก้] ถ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ถนนราดยาง ถนนลาดยาง ลาด หมายถึง ปู ถั่วพลู ถั่วพู ถั่วที่ด้านข้างมีรอยเป็นพู ถ่วงดุลย์ ถ่วงดุล - ถ่ายตัว ไถ่ตัว - เถาว์ เถา - [แก้] ท คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ทนง ทะนง - ทนุถนอม ทะนุถนอม - ทนุบำรง ทะนุบำรุง - ทรนง ทระนง - ทลาย ทะลาย สะกดถูกทั้งสองคำ, ทะลาย หมายถึง ช่อผลของมะพร้าว, ทลาย หมายถึง พัง ทะยอย ทยอย - ทะแยง ทแยง - ทะเลสาป ทะเลสาบ - ท้าวความ เท้าความ เขียนเหมือน "เท้า" ทุกขกิริยา ทุกรกิริยา หมายถึง กิจที่ทำได้ยาก ทุภิกขภัย ทุพภิกขภัย ทุ + ภิกขภัย, เติม พ ข้างหน้า ภ ทูนกระหม่อม ทูลกระหม่อม - ทูลหัว ทูนหัว - เทอด เทิด - เทพพนม เทพนม เทว + นม ไม่ใช่ เทพ+ พนม เทเวศน์ เทเวศร์ เทว + อิศร์ แท๊กซี่ แท็กซี่ - โทรทรรศน์ โทรทัศน์ สะกดถูกทั้งสองคำ, โทรทรรศน์ คือ กล้องส่องทางไกล, โทรทัศน์ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบหนึ่ง [แก้] ธ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ทำเนียม ธรรมเนียม ในหนังสือเก่าๆ เขียน "ทำเนียม" ก็มี, แต่ปัจจุบัน ใช้ "ธรรมเนียม" (มาจาก ธรรม + นิยม) ธรรมธรรโม ธรรมะธัมโม - ธัญญพืช ธัญพืช - ธุระกิจ ธุรกิจ สมาสแล้ว ลบวิสรรชนีย์ ธำรงค์ ธำรง - ธำมรง ธำมรงค์ แปลว่า "แหวน" [แก้] น คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ น๊ะ นะ ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี โดยไม่ปรากฏรูป นพดล นภดล เว้นแต่ "นพดล" ที่เป็นชื่อเฉพาะ นวตกรรม นวัตกรรม - น็อต นอต ทับศัพท์จาก knot ในภาษาอังกฤษ นัยตา นัยน์ตา - นาฑี นาที พบบ้างในหนังสือเก่า, ปัจจุบันนักเขียนบางท่านนิยมใช้ นานับประการ นานัปการ - นิเทศน์ นิเทศ - นิมิตร,นิรมิตร นิมิต,นิมิตร - เนืองนิจ เนืองนิตย์ - โน๊ต โน้ต อักษรต่ำ ไม่ใส่ไม้ตรี [แก้] บ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ บรเพ็ด บอระเพ็ด - บ่วงบาศก์ บ่วงบาศ - บังสกุล บังสุกุล - บัญญัติไตรยางค์ บัญญัติไตรยางศ์ เหมือน ไตรยางศ์ บันทัด บรรทัด - บาดหลวง บาทหลวง - บำเน็จ บำเหน็จ - บิณฑบาตร บิณฑบาต - บุปผาชาติ บุปผชาติ - เบญจเพศ เบญจเพส เพส มาจากคำว่า วีสะ=20 เบญจ =5, เบญจเพส = 25 เบรค เบรก ดู หลักการทับศัพท์ [แก้] ป คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ปฏิกริยา ปฏิกิริยา - ปติทิน ปฏิทิน - ปฐมนิเทศน์ ปฐมนิเทศ - ปรมณู ปรมาณู ปรม + อณู ประดิษฐ์ประดอย ประดิดประดอย - ประณีประณอม ประนีประนอม - ประสพการณ์ ประสบการณ์ - ปราณี ปรานี ปราณี = ผู้มีชีวิต ประนต ประณต (กริยา) น้อมไหว้ ประนม ประณม (อาการนาม) การน้อมไหว้ ประนาม ประณาม - ปราณีต ประณีต - ปราถนา ปรารถนา อ่านว่า "ปราด-ถะ-หนา" ปนิธาน ปณิธาน (กริยา) ตั้งใจไว้ ประนิธาน ประณิธาน (อาการนาม) การตั้งความปรารถนา ปาฏิหาร, ปาฏิหารย์ ปาฏิหาริย์ - ปิคนิค ปิกนิก คำทับศัพท์ เปอร์เซนต์ เปอร์เซ็นต์ คำทับศัพท์ เป๋อเล๋อ เป๋อเหลอ อักษรต่ำ ไม่ใช้วรรณยุกต์จัตวา [แก้] ผ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ผไท ไผท - ผลัดผ่อน ผัดผ่อน - ผะอบ ผอบ - ผาสุข ผาสุก - ผูกพันธ์ ผูกพัน - เผลอเรอ เผอเรอ - [แก้] ฝ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ฝรั่งเศษ ฝรั่งเศส - ฝักฝ่าย ฝักใฝ่ - ใฝ ไฝ ไม่อยู่ในกลุ่มคำที่เขียนด้วยไม้ม้วน [แก้] พ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ภู่กัน พู่กัน - [แก้] ฟ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ฝั้น ฟั่น - [แก้] ภ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ภาพยนต์ ภาพยนตร์ - ภูติผี ภูตผี [แก้] ม คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ มกุฏราชกุมาร มกุฎราชกุมาร ใช้ ฎ ชฎา มงกุฏ มงกุฎ " มนทิน มลทิน - มไหสวรรค์ มไหศวรรย์ - มาตราฐาน มาตรฐาน - หม้าย ม่าย บางท่านถือว่าควรเขียน หม้าย แต่ถ้ายึดตามพจนานุกรม ต้องใช้ "ม่าย" มั๊ย, ไม๊ ไหม แผลงมาจาก "หรือไม่" (อาจอนุโลมใช้ มั้ย ตามเสียงพูด) [แก้] ย คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ยานัตถ์ ยานัตถุ์ - จีราฟ ยีราฟ - ย่อมเยาว์ ย่อมเยา - ยาเกล็ด ยาเกร็ด หมายถึง ตำรา เยาวัย เยาว์วัย - ใยดี ไยดี - ใยไพ ไยไพ - ไยแมงมุม ใยแมงมุม - [แก้] ร คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ รกชัด รกชัฏ - ตัวหนา- รนรงค์ รณรงค์ - รมนีย์, รมณี รมณีย์ - ระเบ็งเซ็งแซ่ ระเบงเซ็งแซ่ - รเห็จ, เรห็จ ระเห็จ - รสชาด รสชาติ - รักษาการณ์ รักษาการ เช่น รักษาการในตำแหน่ง... รักษาการ รักษาการณ์ เช่น ยามรักษาการณ์ รัญจวญ, รัญจวณ รัญจวน - รังษี, รังศี รังสี ยกเว้นชื่อเฉพาะ รัสมี, รัษมี รัศมี - รากเง่า รากเหง้า - ลาดหน้า ราดหน้า - ราพนาสูร ราพณาสูร - รื่นรมณ์ รื่นรมย์ - แร็กเก็ต แร็กเกต - ริ้บบิ้น ริบบิ้น ออกเสียง ริบ โดยไม่มีรูปวรรณยุกต์ เรี่ยราย เรี่ยไร - โรมันคาธอลิค โรมันคาทอลิก - โรงธารกำนัล โรงธารคำนัล หมายถึง ท้องพระโรง รัปทาน รับปทาน หมายถึงกิน [แก้] ล คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ ลัดดาวัลย์, ลดาวัณย์ ลดาวัลย์ ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ยกเว้นชื่อเฉพาะ ลมปราน ลมปราณ - ลมหวล ลมหวน ล็อกเก็ต ล็อกเกต - ละคอน ละคร "ละคอน" เป็นคำไทยโบราณ ใช้เมื่อต้องการรักษาความดั้งเดิมไว้ เช่น สาขาศิลปะและการละคอน ลองใน ลองไน ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ลเมียดลไม ละเมียดละไม - ลเอียดลออ, ละเอียดละออ ละเอียดลออ - ลโมบ ละโมบ - ลักเพท, ลักเพส ลักเพศ - รังถึง ลังถึง - ลาดตระเวณ ลาดตระเวน - ลายเซ็นต์ ลายเซ็น - ลาวัลย์ ลาวัณย์ หมายถึง ความงาม ความน่ารัก ลิปต์, ลิฟ ลิฟต์ มาจากคำภาษาอังกฤษ lift ลิปสติค ลิปสติก - ลำใย ลำไย - ริดรอนสิทธิ์ ลิดรอนสิทธิ์ - ลุกลี้ลุกรน ลุกลี้ลุกลน - ลูกเกตุ ลูกเกด - เล่นพิเรนท์ เล่นพิเรนทร์ - ลูกนิมิตร ลูกนิมิต - ลูกบาศ ลูกบาศก์ - เล่กระเท่ เล่ห์กระเท่ห์ - เลือกสรรค์ เลือกสรร - โล่ห์ โล่ มิได้แผลงมาจาก "โลหะ" ฦๅชา ลือชา ฦ ฦๅ ไม่มีที่ใช้ในปัจจุบัน [แก้] ว คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ วงษ์วาน วงศ์วาน เช่น ชื่อถนน "งามวงศ์วาน" วักซีน วัคซีน - วันโรค วัณโรค - วันทยาหัตถ์ วันทยหัตถ์ คำสมาส วันทยวุธ วันทยาวุธ คำสนธิ วายชน วายชนม์ - วาระดิถี วารดิถี - วิ่งเปรี้ยว วิ่งเปี้ยว - วิ่งผัด วิ่งผลัด - วินาฑี วินาที - วิตถาน, วิตถาล วิตถาร - วิตตามิน, วิตะมิน วิตามิน - วินาศะกรรม วินาศกรรม - วิศาขบูชา วิสาขบูชา - วิหารคต วิหารคด - เวรคืน เวนคืน - เวียตนาม เวียดนาม - เวทย์มนตร์, เวทมนต์ เวทมนตร์ - [แก้] ศ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ สสิธร, ศศิทร ศศิธร - ศิลป ศิลปะ ใช้เป็นศัพท์โดด ศิลปะกรรม ศิลปกรรม คำสมาส ศิลปะวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม หากต้องการแยกคำควรใช้ "ศิลปะและวัฒนธรรม" ศิลปะวัตถุ ศิลปวัตถุ คำสมาส ศึกษานิเทศ, ศึกษานิเทศน์ ศึกษานิเทศก์ สัตรู, ศตรู ศัตรู - โสกเศร้า โศกเศร้า - โสกศัลย์, โศกสันต์ โศกศัลย์ - โศกะนาฏกรรม, โศกนาฎกรรม โศกนาฏกรรม ใช้ ฏ ปฏัก ไสล, ศไล ไศล หมายถึง เขาหิน ศรีษะ ศีรษะ - ศัทธา ศรัทธา, สัทธา นิยมใช้ "ศรัทธา" มากกว่า [แก้] ส คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ สะกัด สกัด - สะกาว สกาว - สะดับ สดับ - สถานการ, สถานะการณ์ สถานการณ์ - สรรค์หา สรรหา สรรค์ หมายถึง สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น สรรค์แสร้ง สรรแสร้ง - สดวก สะดวก - สพาน สะพาน - สะบาย สบาย - สะบู่ สบู่ - สะไบ, ไสบ สไบ - สะบง สบง - สมดุลย์ สมดุล - สถิตย์ สถิต - สิงห์โต สิงโต หรือใช้เพียงคำว่า สิงห์ สัปรด, สัปปะรด, สับปะรส สับปะรด มิได้แผลงมาจาก สรรพรส สัมนา, สำมะนา สัมมนา - สอาด สะอาด - สังเกตุ สังเกต - สังวรณ์ สังวร - สังวาลย์ สังวาล ยกเว้นชื่อเฉพาะ "สังวาลย์" สังสรร สังสรรค์ - สัญโดษ สันโดษ - สร้างสรร สร้างสรรค์ - สอบเชาว์ สอบเชาวน์ - สัพเหร่อ, สัปปะเหร่อ สัปเหร่อ - สาบาญ สาบาน - สาธร สาทร ชื่อถนนสายหนึ่ง และเขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร สาระพี, สารพี สารภี ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวกลิ่นหอม, มิได้หมายถึง เครื่องครัว สรรพยอก สัพยอก - สัญลักษ์ สัญลักษณ์ - สกิด สะกิด - สกด สะกด - สคราญ สะคราญ - สะพึงกลัว สะพรึงกลัว - สักการะบูชา สักการบูชา คำสมาส สายสิญจ์ สายสิญจน์ - สรรเพชร สรรเพชญ - สัปลับ สับปลับ - สัมภาษ, สัมพาส สัมภาษณ์ - สาธารณะชน สาธารณชน คำสมาส สาธารณะประโยชน์ สาธารณประโยชน์ คำสมาส สาธารณะสถาน สาธารณสถาน คำสมาส สาธารณะสุข สาธารณสุข คำสมาส สาปสูญ สาบสูญ - สาบแช่ง สาปแช่ง - สาบสรร สาปสรร - สังเขบ สังเขป - สาระประโยชน์ สารประโยชน์ คำสมาส สารสำคัญ สาระสำคัญ มิใช่คำสมาส สารัตถะประโยชน์ สารัตถประโยชน์ คำสมาส สารัตถสำคัญ สารัตถะสำคัญ มิใช่คำสมาส สำอางค์ สำอาง - สีสรร, สีสรรค์ สีสัน - สะเบียง, สเบียง เสบียง - สูจิบัตร สูติบัตร - โสรส โสฬส อ่านว่า "โส-ลด" [แก้] ห คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ หกคเมน, หกคะเมร หกคะเมน - หงษ์ หงส์ - หนอยแน่ หน็อยแน่ - อย่าร้าง หย่าร้าง - หน้าปัทม์นาฬิกา หน้าปัดนาฬิกา - โหรพา, โหระภา โหระพา - หมาหมุ้ย หมามุ่ย, หมามุ้ย - หยากใย่, หยักไย่, อยากไย่ หยากไย่ - ห่วงไย ห่วงใย คำที่ใช้ไม้ม้วน หยิบย่ง, หยิบโย่ง หยิบหย่ง - หมาไน หมาใน - เหม็นสาป เหม็นสาบ - แหลกราญ แหลกลาญ - เหล็กใน เหล็กไน มิได้หมายความว่า เหล็กอยู่ข้างใน โหยหวล โหยหวน - ใหหลำ ไหหลำ - [แก้] อ คำที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูก หมายเหตุ อนุญาติ อนุญาต ญาติ เขียนมีสระ อิ อวสาณ, อวสาร อวสาน - อะหลั่ย อะไหล่ - อเนถอนาถ อเนจอนาถ - อภิเสก อภิเษก - อะลุ่มอะล่วย, อลุ่มอล่วย อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย - อัธจันทร์ อัฒจันทร์ - อัทยาศัย, อัธยาษัย อัธยาศัย - อัมพาส อัมพาต - อัตคัต อัตคัด - อนุกาชาติ อนุกาชาด - อนาธร อนาทร - อนุเสาวรีย์, อณุสาวรีย์ อนุสาวรีย์ - อัมรินทร์ อมรินทร์ ยกเว้นชื่อเฉพาะ "อัมรินทร์" อุปัชฌา, อุปัชชา อุปัชฌาย์ - อุธรณ์ อุทธรณ์ - อาฆาตมาตร้าย อาฆาตมาดร้าย - อารมย์ อารมณ์ - อินธนู, อินทร์ธนู อินทรธนู - อุดมการ อุดมการณ์ - เอกขเนก เอกเขนก - เอกฉัน, เอกะฉันท์ เอกฉันท์ - ไอศรีม, ไอศครีม ไอศกรีม - อาเจียร อาเจียน - อาวร อาวรณ์ - อานิสงฆ์ อานิสงส์ - อาเพส, อาเภส อาเพศ - อาสสงฆ์ อาสน์สงฆ์ - อำนาจบาทใหญ่ อำนาจบาตรใหญ่ - อัมหิต อำมหิต - อินทรีวัตถุ, อินทรีย์วัตถุ อินทรียวัตถุ - อิริยาบท อิริยาบถ - อิสระภาพ อิสรภาพ คำสมาส อิสระเสรี อิสรเสรี คำสมาส อุปโลก อุปโลกน์ - อุปการะคุณ อุปการคุณ คำสมาส โอกาศ โอกาส - อากาส อากาศ - อิสาน อีสาน - อุโมง อุโมงค์ - อุบาท อุบาทว์ - อภิรมณ์ อภิรมย์ - เอนก อเนก เช่น อเนกประสงค์ อะหลักอะเหลื่อ อลักเอลื่อ - อะหิวาตกโรค อหิวาตกโรค - ออฟฟิส, ออฟฟิต, อ็อฟฟิศ ออฟฟิศ - อุธาหรณ์, อุทาหร อุทาหรณ์ - ถ้าหากดูยากลองอ่านเพิ่มเติมตาม URL ข้างล่างนะครับ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94 หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กรกฎาคม 30, 2006, 10:38:09 AM ขอบคุณคุณyaa ครับ ผมอ่านแล้วก็พบว่าตัวเองยังเขียนผิดใช้ผิดอีกมาก....จะพยายามแก้ไขหาความรู้ต่อไป
ยังมีข้อสงสัย ฅ ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ ฅ ฅ ฅนหายไปไหน ฃ ฃวดก็หายไปด้วย ............. :-\ หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ กรกฎาคม 30, 2006, 12:07:31 PM ขอบคุณคุณyaa ครับ ผมอ่านแล้วก็พบว่าตัวเองยังเขียนผิดใช้ผิดอีกมาก....จะพยายามแก้ไขหาความรู้ต่อไป ยังมีข้อสงสัย ฅ ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ ฅ ฅ ฅนหายไปไหน ฃ ฃวดก็หายไปด้วย ............. :-\ ด้วยความเคารพครับ ผมเคยถามกระทู้ด้านล่างคิดว่าคงมีคำตอบครับ http://www.gunsandgames.com/smf/index.php/topic,16434.135.html ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กรกฎาคม 30, 2006, 01:21:15 PM ขอบคุณคุณหนองหัวพรานครับ ;D
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ กรกฎาคม 30, 2006, 01:23:32 PM เห็นด้วยครับโย่ว...ว๊อทซัพแหมน
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 30, 2006, 01:29:44 PM :-[ จะพยามอย่างถึงที่สุดให้ผิดน้อยที่สุดครับ :-[..............เพราะผิดประจำเลยคือผม......จนบางครั้งน้องที่ทำงานถามว่าพี่เรียนจบสอบเข้าทำงานได้งัย :-[
หัวข้อ: Re: เชิญชวนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: yaa ที่ กรกฎาคม 30, 2006, 04:47:54 PM :-[ พี่เรียนจบสอบเข้าทำงานได้งัย :-[ เริ่มแก้เลยไหมครับท่าน Zeus |