หัวข้อ: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 09, 2006, 11:53:48 AM ข่าวเกี่ยวข้อง http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000125463
กลับมาเรื่อง วิเคราะห์ เศรษฐกิจ อีกรอบดีกว่า เพราะ ผมได้อ่านเรื่อง แอร์บัส A380ส่งมอบล่าช้า ทำให้นึกถึงตอนทำ S W O T analysis ตอนเรียนอยู่เลยหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน การวิเคราะห์เรื่องนี้ เป็นการวิเคราะห์จากบุคคลภายนอก ดังนั้นจึงไม่มีตัวเลขข้อมูลเชิงลึกมาให้ดูกัน และ เป็นการวิเคราะห์ เพื่อการเข้าใจอุตสาหกรรมการบินในอีกแง่มุมหนึ่ง การแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินหลังสงคราโลกครั้งที่ 2 เป็นเวลากว่า 40 ปี ที่การแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันระหว่างบริษัทในประเทศ สหรัฐอเมริกาเท่านั้น จนกระทั่งการเกิดบริษัท แอร์บัส อินดัสทรี ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของประเทศในยุโรป ในการรวมตัวกันตั้งบริษัทเพื่อผลิตเครื่องบินโดยสารเพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดจาก สหรัฐ ก่อนหน้าที่ แอร์บัส จะเปิดการขาย A-380 บริษัทแอร์บัส มีอัตตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเป็นเพียงบริษัทเดียวที่สามารถแย่งลูกค้าจากบริษัทโบอิ้งได้ชนิดที่ทางรัฐบาล อเมริกา ต้องแก้กฎหมายการผูกขาด (ที่ใช้แบ่งบริษัท EXON (ESSO) กับบริษัท โมบิล) ทำให้บริษัท โบอิ้ง สามรถซื้อบริษัท แม็กโดนัล ดักกลาส ผู้ผลิต เครื่องบินใหญ่เป็นอันดับ 2 ได้ (ผู้ผลิต เครื่องบินตระกูล DC และ MD เช่น DC10 และ MD11) เพื่อที่จะได้แข่งกับ แอร์บัสในด้านต้นทุน และ ลดคู่แข่งไปด้วยในตัว เพราะ บริษัท แอร์บัส ใช้วิธีตัดราคาขาย และ ลดแลกแจกแถมสารพัดวิธีเพื่อที่แย่งชิงลูกค้าจากบริษัทโบอิ้ง ให้ได้นั่นเอง ในการขายเครื่องบินบางรุ่นให้กับสายการบินบางบริษัท ทางบริษัท แอร์บัส ยังแถมการฝึกสอน นักบิน และ ช่างซ่อมเครื่องของ แอร์บัส ครั้งละ หลายสิบคน ให้มาฝึกหัดโดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด โดยที่ทาง โบอิ้ง สายการบินที่ซื้อเครื่องของ โบอิ้ง ต้องออกเองทั้งหมด แผนการตลาดของแอร์บัส ยังรวมถึงการให้ประเทศที่มีส่วนร่วมในการผลิต เครื่องบิน (อังกฤษ, ฝรั่งเศษ, เยอรมัน, สเปน และ อิตาลี) ช่วยกันหาตลาด และ ร่วมเป็นลูกค้าไปด้วยในตัว แต่ด้วยค่าเงินยูโรที่สูงกว่า เงิน ดอลล่า ถึงเกือบ 30% ทำให้ต้นทุนของเครื่อง แอร์บัส สูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากตอนเริ่มต้นในการเปลี่ยนค่าเงินมาใช้เงิน ยูโร ได้กำหนดค่าให้ 1 ยูโร เท่ากับ 1 ดอลล่า ส่วนค่าแรงในประเทศผู้ผลิต ก็เป็นไปตามค่าเงินที่สูงขึ้น เมื่อค่าเงินสูงขึ้น เกือบ 30% แต่ต้องมาตัดราคากับบริษัท โบอิ้ง ทำให้กำไรต่อลำของบริษัทยิ่งน้อยลงไปอีก โครงการ A-380 เป็นโครงการใหญ่ที่ทางบริษัท แอร์บัส ทุ่มความหวังใว้มากเพื่อที่จะได้ไล่ทันกับบริษัท โบอิ้ง ทำให้ต้องเร่งรัดการค้นคว้าและ วิจัย เพื่อที่จะได้เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่ไช่เครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก) โดยให้มีการผลิตชิ้นส่วนจากประเทศในยุโรป แล้วมาประกอบและ ทดลองบินก่อนส่งมอบให้ลูกค้าที่ประเทศ ฝรั่งเศษ โดยที่เป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้การขนส่งชิ้นส่วน และ เส้นทางการขนส่งต้องใช้เส้นทาง ๆ เรือ (เครื่องบินรุ่นอื่น ๆ ใช้การขนส่งทางเครื่องบินมาประกอบยังยังโรงงานแม่ที่ฝรั่งเศษ) ทำให้การขนส่งเป็นไปได้อย่างยุ่งยาก และเสี่ยงต่อการชำรุดในการขนส่งสูงมาก เพราะ ต้องรอทั้ง ระดับน้ำขึ้น น้ำลง และ ช่องว่าง เล็ก ๆ ในระหว่าง การลอดสะพาน ยิ่งตอนผ่านชุมชนเพื่อไปยังโรงงานประกอบยิ่งน่ากลัวการพลาดเป็นอย่างยิ่ง หากเกินการพลาดพลั้งในการขนส่งจะยิ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต A-380 และ การล่าช้าในการผลิตได้เป็นเดือน ๆ เพราะ อัตตราการผลิต A-380 ตั้งใว้ที่ เดือนละ 1 ลำ หากชิ้นส่วนหลักเช่น ส่วนปีก หรือ ส่วนหาง จะต้องเสียเวลาในการซ่อม หรือ ไม่ก็ต้องรอการส่งมอบในเดือนต่อไป กลับมามองทาง โบอิ้ง บ้าง ทางโบอิ้ง ผลิต โบอิ้ง 747 จากโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสายการประกอบชิ้นส่วนหลัก ๆ ภายในโรงงานแห่งนี้เลย ทั้ง ปีก ลำตัวเครื่องบิน และ ส่วนหาง โดยก่อนสร้างโรงงานแห่งนี้ ได้มีการวางแผนการขนส่งล่วงหน้า โดยมีการวางรางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อกับท่าเรื่อโดยตรง และ มี ทางวิ่งขึ้นของเครื่องบินที่ประกอบสำเร็จแล้ว ทำให้ลดต้นทุนในการผลิต และ สามารถควบคุมการผลิตได้ทุกขั้นตอน (http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/c-17.jpg) Boeing C-17 Globemaster III (http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ac/f-18-ef-usnhornt.jpg) Boeing F/A-18E/F นอกจากเครื่องบินโดยสารแล้ว บริษัทโบอิ้ง ยังมีลูกค้าที่เป็นองกรณ์ และ หน่วยงานของรัฐอีก เพราะ โบอิ้ง เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องบินขนส่ง และ เครื่องบินรบ รายใหญ่ของโลกอีกด้วย อย่าง Boeing C-17 Globemaster III ที่เป็นเครื่องบินขนส่งขนาดกลางแบบใหม่ของ สหรัฐ และ ยังไม่มีคู่แข่งไปอีกนานจนกว่า แอร์บัสจะออก A-400 ซึ่งอาจต้องรอไปอีกนานถึง 10 ปีก็ได้ หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: จินตา <Jinta> ที่ ตุลาคม 09, 2006, 12:33:54 PM มารออ่านภาคต่อครับผม ;D
หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 09, 2006, 12:54:32 PM แอร์บัส ประสบปัญหาด้านแนวคิดและการออกแบบค่อนข้างมากครับ
380 ต้องแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคเกินกว่าที่คาดไว้ ทำให้ทุกอย่างช้าลง จนหลายสายการบินทยอยยกเลิกการจอง 350 ต้อง รีดีไซน์ใหม่หมด ทำให้โครงการที่ลงทุนนับพันล้านต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ ยอดจองต่ำกว่าที่คาด คือไม่กี่สิบเครื่อง โดย 787 ของ โบอิ้ง ดึงฐานลูกค้าในคลาสเดียวกันไปหมด 340 ก็ไม่เปรี้ยงปร้างอย่างที่คิด จากผลของวิกฤตราคาน้ำมัน สายการบินจึงไม่นิยมเครื่อง 4 เครื่องยนต์ ด้วยอัตราการซดเทียบกับจำนวนผู้โดยสาร ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการดำเนินการ สิงคโปร์แอร์ไลน์เจ้าแรกของ nonstop flight 17 ชม.ข้ามทวีป ทยอยขายและยกเลิกเที่ยวบินไปแล้ว แต่แปลกที่เที่ยว กท-นิวยอร์คของ การบินไทย กลับมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากจนเต็มเกือบทุกเทียวบิน ทำให้กลายเป็นเที่ยวทำรายได้ แนวความคิดเรื่องเครื่องบินโดยสารต้องยกให้โบอิ้งครับ แนวความคิดของเครื่องขนาดกลาง ที่ใช้บ่อย ดูจะได้ผลดีกว่า เครื่องใหญ่ๆคนเยอะๆแต่เที่ยวน้อยอย่างแอร์บัส มีครูการบินอาวุโสเขาเปรียบไว้ว่า โบอิ้งคือโรลส์ลอยด์ ส่วนแอร์บัสเป็นรถญี่ปุ่นครับ หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 09, 2006, 01:51:50 PM มาว่ากันต่อครับ
ที่ว่า โครงสร้างของ บริษัท แอร์บัส อินดัสทรี มีปัญหาเป็นเพราะ เป็นโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมากนั่นเอง ผมจะยกเอา บริษัทโบอิ้ง มาเปรียบเทียบเป็นระยะ เพื่อให้เห็นภาพได้ดีขึ้น โครงสร้างของ แอร์บัส เมื่อเริ่มก่อตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างชาติในยุโรป โดยให้ชาติที่ร่วมทุนมีส่วนในการผลิตตามจำนวนทุนที่ลงไปในการก่อตั้งบริษัท โดยมี ฝรั่งเศษ, อังกฤษ และ เยอร์มัน เป็นผู้ออกเงินในการก่อตั้งบริษัทมากที่สุด ทำให้มีส่วนในการผลิตชิ้นส่วนมากที่สุด ส่วน สเปน และ อิตาลี เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ในช่วงรุ่งเรื่องของบริษัท แอร์บัส นั้น การประกอบเครื่องบินทุกรุ่น ตั้งแต่เครื่อง A300 ถึง A340 นั้นจะใช้เครื่องบินขนส่งที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อการขนส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องบินทั้งปีก, แพนหาง และ ลำตัวเครื่องบิน สามารถบรรจุในเครื่องบินพิเศษ คือ airbus beluga หรือ ปลาวาฬ (http://www.theage.com.au/ffxImage/urlpicture_id_1044927736196_2003/02/13/14n_airbus3,0.jpg) ซึ่งเป็นการลดเวลาในการขนส่ง และสามารถกำหนดตารางการประกอบ และ ส่งมอบได้ ทำให้ปัญหาในการประกอบเครื่องบินเหล่านั้นมีปัญหาไม่มากนัก ถึงแม้ว่า โรงงานผลิตชิ้นส่วนสำคัญ ๆ แยกกันอยู่ในประเทศต่าง ๆ แต่ก็สามารถกำหนดการส่งมอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นได้ตามกำหนด โดยไม่จำเป็นต้องเก็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ใว้ในคลังสินค้า ( Zero Inventory) ทำให้สามารถลดต้นทุนคลังสินค้าได้ และ ไม่มีเงินจมกับชิ้นส่วนคงค้างในคลังสินค้า ในช่วงก่อตั้งบริษัทใหม่ ๆ นั้น เป็นช่วงที่ ประเทศใน EU ประกาศใช้เงินสกุลเดียวกัน ยกเว้น ประเทศ อังกฤษ และ ค่าเงิน ยูโร มีค่าเท่ากับ ดอลล่า สหรัฐ คือ อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1 ต่อ 1 โดยในขณะนั้น ค่าแรงในยุโรป โดยเฉลี่ยมีอัตราต่ำกว่าในสหรัฐอยู่ 5-10 % พลอยทำให้ต้นทุนในการผลิต เครื่องบิน ของบริษัท แอร์บัส ต่ำกว่า ของ บริษัทโบอิ้งเล็กน้อย หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: boon ที่ ตุลาคม 09, 2006, 02:21:36 PM ติดตามอ่านผลงานของคุณ686ครับ ;D
หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 09, 2006, 02:28:46 PM นอกจากราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งอย่าง Boeing ในเครื่องขนาดเดียวกันแล้ว เนื่องจากเป็นบริษัทเกิดใหม่ ทาง แอร์บัส ยังได้บรรจุ เทคโนโลยี่ล่าสุดลงไปในเครื่องบินทุกลำของตนด้วยอย่างเช่น การบินด้วยสาย (Fly by wire) และ ห้องนักบิน Digital โดยจอภาพแสดงข้อมูลในห้องนักบินสามารถเลือกแสดงข้อมูลตามที่นักบินต้องการได้ ในขณะที่ทาง โบอิ้ง ยังเหลือเครื่องบินบางรุ่นที่ยังใช้ระบบควบคุมการบินแบบเก่า ๆ อยู่
(http://www.cao.ir/photo/airbusB0005.jpg) การกำเนิดของบริษัท แอร์บัส ทำให้ทางโบอิ้งต้องเร่งปรับตัวพัฒนาทั้งตัวองค์กรณ์ และ เครื่องบินขนานใหญ่ โดยทำการกระจายความเสี่ยง และ หา พันธมิตรมาร่วมการผลิต รวมถึงการ ซื้อบริษัท แม็กโดนัล ดักกลาส เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ โบอิ้ง เพื่อดำรงค์อันดับ 1 ในธุรกิจการบินพานิช ในโครงการปรับปรุงบริษัทของ โบอิ้ง ยังรวมถึงการปรับรูปแบบองค์กรณ์ให้มีขนาดเล็กลง และ คล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดย กระจายการผลิตไปยังบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก โดยแลกกับการสั่งซื้อเครื่องบินของ โบอิ้ง หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 09, 2006, 03:09:54 PM นโยบายของรัฐบาล ของประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนก็มีส่วนผลักดันให้บริษัท แอร์บัส เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยส่งเสริมให้สายการบินของตนเลือกใช้เครื่องบินแต่ของ แอร์บัส ซึ่งผิดกับของทาง อเมริกา บริษัท สายการบินมีสิทธิ์ในการเลือกซื้อเครื่องบินประจำฝูงบินได้อย่างอิสระ ทำให้ฐานลูกค้าของ โบอิ้ง และ แม็กโดนัล ดักกลาส หันมาใช้เครื่องของ แอร์บัส มากขึ้น
ร่ายมาตั้งนาน ผมกลับลืมเรื่องสำคัญไป คือ การอธิบายคำศัพย์ที่เกียวข้อง Zero Inventory = สินค้าคงคลังเท่ากับ ศูนย์ หมายถึง การสั่งสินค้า หรือ วัตถุดิบให้ทันกับการจำหน่าย หรือ การผลิต โดยมีหมายกำหนดการจำหน่าย หรือ การผลิต ที่แน่นอน Jus in time = การส่งสินค้า และ วัตถุดิบให้ทันกับการจำหน่าย หรือ การผลิต โดยมีกำหนดการส่งมอบที่แน่นอนโดยมีการคำนวนทุกกระบวนการตั้งแต่กระบวนการผลิต ขนส่ง จนถึงการส่งมอบจนถึงมือผู้ใช้ Fly by wire = การบินด้วยสาย หรือ การควบคุมการบินโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์รับสัญญานจากชุดควบคุมในห้องนักบิน แล้วแปลงเป็นสัญญานไฟฟ้ามาควบคุมมอเตอร์ เพื่อควบคุมการบินอีกต่อหนึ่ง ต่างจากระบบ ไฮดรอลิค หรือ ระบบแรงดันน้ำมันที่ใช้กันอยู่ในเครื่องบินขนาดใหญ่ เพราะให้การตอบสนองที่แม่นยำและ รวดเร็วกว่า อีกทั้งยังง่ายต่อการเชื่อมต่อกับนักบินกล (Auto pilot) SWOT Analysis = SWOT Analysis คือ การวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และ อุปสรรค และเมื่อได้ข้อมูลออกมาแล้ว จึงนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนกลยุทธที่เหมาะสมต่อไป SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่ S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่น จุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อย จุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 09, 2006, 04:07:31 PM ติดตามครับๆ ขอบคุณมากครับ ถ้า รถ โรลฯ กับ โตโยต้า ราคาใกล้ๆ กัน ผมเลือกโรลฯ ละ แล้วนักบินเขาบอกว่าชอบบินโบอิ้งมากกว่าทุกคนเลยครับ อิ อิ
หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: e-muak ที่ ตุลาคม 09, 2006, 04:23:01 PM ขออนุญาตครับ
ติดตามอ่านครับ ช่วยย่อกระทู้แรกให้หน่อยครับ ทำไม่เป็น ;D ;D ด้วยความเคารพ หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 09, 2006, 04:44:51 PM คอนเซ็ปการควบคุมสองเครื่องนี้ต่างกันครับ
โบอิ้ง เชื่อในคน ใช้คอมพิวเตอร์เพียงเพื่อแบ่งเบาภาระ คนยังสามารถทำอะไรเกิน envelope ได้ ถ้าจำเป็น แอร์บัส เชื่อในคอมพิวเตอร์ว่ามีความผิดพลาดน้อยกว่าคน คนไม่สามารถข้าม envelope ต่างๆ เช่น ความเร็ว ท่าทาง การเอียง ฯลฯ แม้ว่า envelope หรือกรอบในการควบคุมจะเป็นตัวการันตีว่า จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างหรือท่าทางการบิน แต่ในบางสถานะการณ์ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น คนอาจต้องเลือกให้บางอย่างเสียหาย เพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้ นักบินส่วนใหญ่จึงเชื่อในโบอิ้งว่า ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน คนจะควบคุมได้ดีกว่าคอมพ์ครับ แต่แอร์บัสก็มีข้อดีครับ คือ มีบอร์ดให้ดึงออกมาไว้ด้านหน้า จะทำงาน วางเอกสาร หรือกินข้าวก็ได้ ไม่ต้องวางตักเหมือนโบอิ้ง หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 09, 2006, 05:18:19 PM "แต่แอร์บัสก็มีข้อดีครับ คือ มีบอร์ดให้ดึงออกมาไว้ด้านหน้า จะทำงาน วางเอกสาร หรือกินข้าวก็ได้ ไม่ต้องวางตักเหมือนโบอิ้ง"
โอ้ว... : P หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: Jackpot ที่ ตุลาคม 09, 2006, 05:40:34 PM ติดตามครับๆ ขอบคุณมากครับ ถ้า รถ โรลฯ กับ โตโยต้า ราคาใกล้ๆ กัน ผมเลือกโรลฯ ละ แล้วนักบินเขาบอกว่าชอบบินโบอิ้งมากกว่าทุกคนเลยครับ อิ อิ ดูที่คันบังคับนะครับ....แอร์บัสเล่นใช้จอยสติก บังคับด้วยมือเดียว แถมเวลาเลื่อนขั้นจากผู้ช่วยเป็นกัปตันต้องเปลี่ยนมือที่เคยใช้บังคับ...อาจทำคุมเครื่องไม่นุ่มเท่าเดิม (http://img81.imageshack.us/img81/2642/0957790gg4.jpg) ส่วนโบอิ้งใช้พวงมาลัย บังคับด้วยสองมือ....เลื่อนขั้นก็ไม่ต้องกลัว (http://img81.imageshack.us/img81/5148/0844009jt4.jpg) หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 09, 2006, 06:04:17 PM ขอบคุณมากครับ แค่เบาะโบฯ ก็กินแล้วครับ
หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 09, 2006, 07:12:18 PM เอกลักษณ์เฉพาะโบอิ้งครับ เบาะต้องหุ้มขนแกะ แล้วก็ผ่าหน้า เวลาดึง control ยกหัวเครื่องเยอะๆ เสียวจะกระแทก.............
รูปบนเป็น A-380 ตอนไปโชว์ที่สิงคโปร์ รูปล่าง เป็น B-777-ER ของ Emirates เรื่องมือขวาหรือซ้าย เหมือนกันทุกค่ายครับ บินด้วยมือเดียวเสมอ ยังไงก็ต้องสร้างความเคยชิน เมื่อเปลี่ยนที่นั่ง นั่งขวา มือซ้ายกุม Throttle มือขวากำ Yoke / Control column/ control wheel/ sidestick นั่งซ้าย มือขวากุม Throttle มือซ้ายกำ Control แทน แอร์บัสจะได้เปรียบด้วยซ้ำ เพราะ เป็น Fly by wire แบบไม่มีน้ำหนักที่ sidestick ดึง ดัน หนัก เร็ว แค่ไหน คอมพ์จะประมวลผลให้ใช้เรทตามที่เครื่องคำนวณไว้ ไม่มีการกระชาก กระตุก ส่วนโบอิ้ง รุ่นใหม่ๆ จะมี Artificial Load เหมือนมีน้ำหนักต้านทานการเคลื่อนที่ ซึ่งให้ความรู้สึกดีกว่า sidestick อย่าง 777 ในรูป เป็น fly by wire แบบหนึ่ง แต่ใช้ Yoke ซึ่งได้ข้อดี คือ มองเห็นว่า ขยับยังไง เพื่อเตือนคนบิน ต่อไปเราจะพบคำว่า fly by optic เพิ่มขึ้น แทนที่จะใช้สัญญานทางไฟฟ้าผ่านสายไฟ ต่อไปจะผ่านไฟเบอร์ออฟติกครับ หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: Jackpot ที่ ตุลาคม 09, 2006, 07:31:18 PM โอ้ว....ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆครับ
หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: ฅนแผ่นดิน ที่ ตุลาคม 09, 2006, 07:49:30 PM เยี่ยมมากเลยครับ
หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 09, 2006, 07:50:50 PM มาว่ากันต่อครับ
บริษัท Boeing กำลังแย่งชิงตลาดที่เสียไปให้กับ แอร์บัส ด้วยการออกเครื่องบินที่ประหยัดเชื้อเพลิงอย่าง (http://www.aircraft-info.net/aircraft/jet_aircraft/boeing/7e7/7E7Dreamliner_1.jpg) Boeing 787 Dream liner โดยเครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบใหม่ให้เพรียวลมมากกว่าเครื่องบินรุ่นก่อน ๆ โดยลดแรงต้านลม โดยทำให้ปีกบางลง หางเสือลู่ไปด้านหลังมากขึ้น และ ที่สำคัญ คือ เพิ่มการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงกว่าเครื่องบินขนาดเดียวกันกว่า 10% (http://airways.cz/images/novinky/boeing_787_flightdeck_02.jpg) ภายในห้องนักบินของ 787 ยังคงใช้พวงมาลัย บังคับด้วยสองมือ เหมือนเดิม แต่มีจอ HUD ให้ด้วย ทำให้นักบินไม่ต้องละสายตาลงมามองจอเครื่องวัดต่าง ๆ (http://www.omwo.com/wp-content/uploads/2006/03/boeing_787_05.jpg) ภาพภายในห้องโดยสารชั้นพิเศษ เครื่องบินที่บริษัท แอร์บัส หวังจะมาชนกับ โบอิ้ง 787 คือ เครื่องบิน A350 ที่กำหนดออกสู่ตลาดในปี 2008 ก็ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะ ความล่าช้าของโครงการ A380 ทำให้โครงการอื่น ๆ ของ แอร์บัส พลอยล่าช้าไปด้วย หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ ตุลาคม 09, 2006, 08:52:36 PM Communication and Control Problem
ข้อได้เปรียบของ แอร์บัส ที่มีต่อ โบอิ้ง ในช่วงต้นได้เริ่มหมดไป และ เมื่อ โบอิ้งได้ทำการพัฒนาโครงสร้างองค์กรใหม่ทำให้ การสื่อสาร และ สายบังคับบัญชาในองค์กร เป็นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการลดขั้นตอนการสื่อสารในองค์กร ให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนโครงสร้าง องค์กรของ แอร์บัส นั้นกลับยุ่งยาก และ ซับซ้อนกว่ามาก โรงงานผลิตชิ้นส่วนลำตัวของ แอร์บัส กระจายอยู่ใน 4 ประเทศ ทำให้โครงสร้างของบริษัทยากที่จะลดขั้นตอนการสื่อสาร และ สายบังคับบัญชาให้สั้นได้เท่ากับของ โบอิ้ง เพราะ พนักงานของบริษัท กว่า 55,000 คน ใช้ภาษา 4 ภาษา ในการใช้สื่อสาร เอกสารทุกชิ้นที่ใช้ในองค์กรส่วนใหญ่ ต้องพิมพ์ถึง 4 ภาษา โดยเฉพาะคู่มือพนักงาน เปรียบเสมือนกับ บริษัท 4 บริษัทที่ทำงานร่วมกัน โดยที่การบริหารเกือบจะเป็นอิสระ กว่าที่การสื่อสารจากผู้บริหารระดับสูงส่งไปถึงพนักงานผู้ปฎิบัติงานระดับล่างจะต้องใช้เวลาในการแปลภาษา และ ถ่ายทอด ยิ่งสายบังคับบัญชายิ่งมีปัญหา เพราะ นอกจากภาษาแล้ว ยังมีการแทรกแซงจากการเมืองของประเทศทั้ง 4 ต่อโรงงานที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ อีกด้วย เท่ากับว่า ปัญหาโครงสร้างองค์กร ของ แอร์บัส มีปัญหามากกว่า โบอิ้งถึง 4 เท่านั่นเอง การแก้ปัญหาโครงสร้างองค์กร จำเป็นต้องลดขั้นตอนการสื่อสาร และ บังคับบัญชาให้สั้นที่สุด แต่ยังคงปฎิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งในความเป็นจริงเป็นไปได้ยาก นอกจากปัญหาเรื่อง ภาษาแล้ว วัฒนธรรมในองค์กร (Organization Culture) ก็มีผลต่อการปฎิรูปองค์กร เป็นอย่างมาก (อย่างเช่น วัฒนธรรม การนอนกลางวันของชาว ฝรั่งเศษ) Organization Culture คือแนวทางการประพฤติและวิธีปฏิบัติที่เราใช้อยู่เป็น ประจำ หมายถึงความเข้าใจร่วมของกลุ่ม หมายถึง กลุ่มของความเชื่อที่ถาวร ซึ่งมีการสื่อความ หมายในรูปของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดเป็นความ หมายที่คนในองค์การสามารถเข้าใจได้ตรงกัน หมายถึงสัญลักษณ์ พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่ง แฝงด้วยค่านิยมและความเชื่อขององค์การ เพื่อถ่ายทอด ให้แก่พนักงาน หมายถึงค่านิยมร่วม ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ช่วยยึดเหนี่ยว ระหว่างกัน โดยมีการสืบทอดผ่านสื่อสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่นคำขวัญ สุภาษิต ตำนาน นิทาน เรื่องสั้น เป็นต้น หัวข้อ: Re: วิเคราะห์ แอร์บัส อินดัสทรี เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 09, 2006, 09:32:09 PM ขอบคุณครับพี่686 ที่เอาเรื่องดีๆมาฝาก เห็นปีที่แล้วเครื่องต้นแบบa380 เปิดตัวที่ sidney ดูในสารคดีบอกว่ามีปัญหาเรื่องความ accuracy ในการประกอบอย่างมากเพราะชิ้นส่วนที่มาจากประเทศต่างๆมีขนาดไม่พอดีกันครับ อีกปัญหาหนึ่งคือ ผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องครั้งละมากๆจะทำให้การเช็คอีกการลำเลียงกระเป๋าการขึ้นลงเครื่องเสียเวลามาก แค่747 ของโลคอสต์สี่ห้าร้อยคนขึ้นลงครั้งนึงเสียเวลาระหว่างขึ้นลงเครื่องนานมากทำให้เครื่องเล็กๆบินได้หลายเที่ยวกว่าใน1 วันครับ
|