หัวข้อ: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 05:16:18 PM วงการผ้าเหลืองร้อนรุ่มขึ้นมาอีกครั้ง หลังคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน รวมถึงวัดที่จัดกิจกรรมเชิงพุทธพาณิชย์ ซึ่ง ครม.ได้รับข้อเสนอดังกล่าวก่อนจะส่งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ศึกษา นำมาซึ่งกระแสต่อต้านจากคณะสงฆ์ทั่วประเทศ บ้างก็ว่าเป็นการขูดรีดพระสงฆ์ บ้างก็ตั้งข้อสงสัยถึงวาระซ่อนเร้น บ้างก็มองว่าเป็นเรื่องตลก และบ้างก็ถึงขนาดเตรียมลุกฮือ
การเสนอเก็บภาษีพระและวัด ถือว่าท้าทายศาสนจักรซึ่งเคยอยู่ในฐานะ "แตะต้องไม่ได้" หรือไม่? พระสงฆ์จะกลายเป็นอาชีพ และวัดจะเปรียบเสมือนบริษัท เช่นนั้นหรือ? เมื่อคิดจะถกประเด็นดังกล่าว นาทีนี้คงไม่มีใครเหมาะสมไปกว่า ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน เจ้าของบทความ "พุทธศาสนาแบบชาวบ้าน : พุทธศาสนาในมิติแห่งอารมณ์ความรู้สึกและกรณีศึกษาหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ" ที่แชร์สนั่นในโลกออนไลน์หลังมรณภาพของเกจิแห่งสยามประเทศ ไม่เพียงเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร แต่ยังเคยอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์นานถึง 16 ปี จึงรู้ลึกทั้งวงนอกและ "วงใน" ชาญณรงค์มองอย่างไร น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง พระมีเงินส่วนตัวเยอะจริงไหม? มีจำนวนหนึ่ง แต่เยอะไหม ไม่ทราบ อย่างพระรุ่นเก่าไม่มีบัญชีธนาคาร บางทีฝากญาติโยม แต่พระรุ่นใหม่อาจจะมีบัญชี ผมว่าประเด็นปัญหาคือเราไม่เคยสำรวจว่าพระและเณรที่มีอยู่ราวๆ 3 แสนกว่ารูปในประเทศนี้ ใครมีเงินจริงหรือเปล่า เพราะไม่เคยมีการสำรวจว่าพระรูปไหนหรือกลุ่มไหนมีรายได้ประจำ เราไม่มีข้อมูลชัดเจน จึงยากที่จะกำหนดว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร แล้วเงินวัด เคยได้รับการตรวจสอบหรือไม่ จริงๆ แล้ว เมื่อปี 2539 ทางศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยทำวิจัยโดยสำรวจว่าวัดใน กทม.มีรายรับรายจ่ายมากน้อยแค่ไหน แต่วัดใหญ่ๆ ทั้งหลายไม่ให้ความร่วมมือ มีแต่วัดระดับกลางและเล็กที่ยอมให้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราเห็นด้วยตา ก็ดูรู้อยู่แล้วว่าวัดไหนมีเงิน แต่ทำไมไม่เปิดเผย อันนี้เป็นปัญหาที่พระต้องสำรวจตัวเอง ถามว่าใช้ระบบกฎหมายเข้าไปจัดการได้ไหม ก็ควรจะทำได้ แต่มันมีอะไรซับซ้อนกว่านั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องเจ้าอาวาส กรรมการวัด เพราะระบบเงินวัดอาจอยู่ในบัญชีเจ้าอาวาส หรือบางทีอยู่ในรูปมูลนิธิซึ่งมีคณะกรรมการเป็นคนดำเนินการ หรือมีไวยาวัจกรเป็นคนรับผิดชอบ วัดกลัวอะไร ทำไมไม่เปิดเผย? มันเป็นปัญหาของพระ ซึ่งไม่อยากให้คนรู้ว่าตัวเองมีเงิน พอคนรู้ว่าวัดมีเงินเท่าไหร่ อาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่น่าศรัทธา หรือวัดนี้รวย ไม่ทำบุญ นอกจากนี้ เวลาคนนึกถึงพระ มักเป็นเรื่องอุดมคติว่า พระทรงศีล สมถะ ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นสิ่งที่เราคาดหวัง เพราะฉะนั้นเวลาบอกว่าพระมีเงิน มันเริ่มขัดแย้งกับอุดมคติของคน ถ้าพระเปิดเผยเรื่องเงิน คนจะรู้สึกว่าไม่มีความต่างระหว่างชีวิตฆราวาสกับพระ ต่างแค่ห่มผ้าเหลือง โกนผม วัดควรแสดงความโปร่งใสด้านการเงินของตัวเองไหม ทำอย่างไร? ควรอย่างยิ่ง เพราะในแง่อุดมคติ เงินเป็นสมบัติส่วนกลาง วัดต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายให้คนที่สนับสนุนรู้ว่าคุณมีเท่าไหร่ เอาไปใช้อะไร ใครได้ผลประโยชน์จากเงินจำนวนนี้ ไม่ใช่รู้กันแค่คณะกรรมการเพียง 1-2 คน อาจจะไม่ต้องถึงขนาดออกสื่อหรือป่าวประกาศ แต่ถ้ามีใครขอดูต้องพร้อมให้ดูได้ จริงๆ แล้วชาวบ้านทั่วไปอาจไม่ค่อยสนใจหรอก เขาถือว่าบริจาคแล้วก็ได้บุญ แต่คนจำนวนหนึ่งเริ่มสงสัยว่าเงินเยอะๆ นี่เก็บไว้กินดอกหรือเปล่า ซึ่งถ้าใช่ก็ถือเป็นการลงทุน ฉะนั้นต้องเสียภาษี แต่ฝากประจำก็เสียภาษีอยู่แล้วใช่ไหม หรือกรณีวัดธรรมกาย เงินเป็นสมบัติของใคร ถ้าเอาเงินกระจายให้คนในประเทศได้ประโยชน์บ้าง น่าจะดี แต่ว่าเขาก็ทำอะไรเยอะ เช่น ส่งพระไปทั่วโลก ถ้าเก็บภาษีจริง ภาพลักษณ์พระสงฆ์จะถูกลดทอนความศักดิ์สิทธิ์หรือไม่? ถ้าภาพออกมาว่าพระมีเงินก็ลดทอนอยู่แล้ว ปัจจุบันพระในเมืองก็มีทั้งเรื่องของสมณศักดิ์ เรื่องเงิน เรื่องที่อยู่อาศัยหรูหรา มีรถยนต์ มีรายได้เหมือนคนที่รับจ้างทำงาน ซึ่งไม่ค่อยต่างจากฆราวาสเท่าไหร่ ทำให้คนรู้สึกว่าพระไม่ได้มีลักษณะของความศักดิ์สิทธิ์แล้ว เพราะฉะนั้นการที่มีผู้เสนอให้เก็บภาษีพระ เพราะเขารู้สึกว่าที่สุดแล้วพระก็เหมือนคนธรรมดา การเรียกร้องให้เก็บภาษีพระ เหมือนการทรีตพระให้เหมือนชาวบ้าน เห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอเรื่องเก็บภาษี? วัดเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยสถานะแล้วเก็บภาษีไม่ได้ ซึ่งจะขอตั้งข้อสังเกตว่าเวลาจะเก็บภาษีพระ มันเหมือนกับว่าเห็นพระจำนวนหนึ่งมีตังค์เยอะ ไม่รู้ว่าเยอะแค่ไหน แต่มีภาพว่ามีตังค์ มันทำให้คนจำนวนหนึ่งคิดว่ามีน่าจะต้องเก็บภาษี โดยยังไม่ได้คิดถึงประเด็นอื่น คิดอยากเก็บก็เก็บ เป็นอำนาจนิยมอย่างหนึ่งหรือเปล่า เพราะฉะนั้น คำถามอยู่ที่ว่า 1.คุณคิดจากหลักการอะไร แค่เห็นว่าพระมีเงินแล้วอยากได้เงินเขาใช่ไหม ถ้าคิดแค่นี้ ถือว่าตื้นเขินมาก 2.รัฐมีสิทธิเก็บไหม มีความชอบธรรมหรือเปล่า 3.เก็บไปทำอะไร ต้องคิดให้ครอบคลุมก่อนที่จะบอกว่าควรเก็บภาษีหรือไม่ควร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ถ้าอธิบายได้ว่ารัฐมีสิทธิ มีความชอบธรรมที่จะเก็บภาษีพระ ก็ไม่น่ามีปัญหา หากคิดมากหน่อยในเชิงปรัชญา จะมีหลักการแบบประโยชน์นิยม เช่น มองว่าการเก็บภาษีเป็นประโยชน์สำหรับคนจำนวนมากหรือเปล่า หรือถ้าคิดในอีกมุมหนึ่ง มันมีหลักปรัชญาบางสำนักที่คิดว่าการเก็บภาษีชอบธรรม เป็นการกระจายผลประโยชน์ไปสนับสนุนคนอื่น ส่วนหลักการทางปรัชญาเกี่ยวกับรัฐเสรีนิยม บอกว่าการเก็บภาษีเป็นการบีบบังคับชนิดหนึ่ง (หัวเราะ) ฉะนั้น ระดับการคิดโดยทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับพระเลย ก็ยังหาคำอธิบายลำบากเหมือนกัน คำถามคือเวลาจะเก็บภาษีพระ จะคิดจากแง่มุมไหน พระบางส่วนมองว่าเป็นการรีดไถ? เรื่องรีดไถขึ้นอยู่กับมุมมอง พระอาจจะตั้งคำถามในใจว่า จะเอาเงินภาษีไปทำอะไร ถ้าเอาไปสนับสนุนวิถีชีวิตชาวพุทธให้ดีขึ้น ผมคิดว่าพระอาจจะโอเค ไม่ถือว่าขูดรีด แต่เป็นการเผื่อแผ่ แต่อีกมุมหนึ่งพระก็อาจจะคิดว่าตัวเองไม่มีตังค์อยู่แล้ว ต้องบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ได้บ้างไม่ได้บ้าง พอมีเงินจำนวนหนึ่งขึ้นมาก็ต้องไปเสียภาษีอีก เลยอาจรู้สึกว่าถูกขูดรีด สำหรับพระที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่มีเงินเดือนประจำสูงๆ ก็ถูกหักภาษีอยู่แล้ว พระท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่กรณีที่ชาวบ้านนำเงินไปถวายพระรูปนั้นรูปนี้ แล้วจะเอาเหตุผลอะไรไปเอาเงินที่คนมอบให้ด้วยความศรัทธามาเป็นของรัฐ ขูดรีดหรือเปล่าไม่รู้ แต่ยังมองไม่เห็นความชอบธรรม กิจกรรมพุทธพาณิชย์ซึ่งเสนอให้เก็บภาษี จะขีดเส้นอย่างไร ว่าอะไรคือพุทธพาณิชย์ อะไรไม่ใช่? เมื่อบอกว่าจะเก็บภาษีพุทธพาณิชย์ มันมีประเด็นซับซ้อนมาก เพราะต้องดูที่เป้าหมาย เช่น ในบางกรณีเวลาพระสร้างวัตถุมงคล ไม่ใช่ว่าพระอยากได้ตังค์เพื่อตัวเอง แต่เป็นการระดมทุน เช่น จะสร้างกุฏิ หรือทำประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการจะได้เงินจากรัฐมาสนับสนุนถือว่าน้อย ยกเว้นพระที่มีอำนาจหรือศักยภาพพิเศษ มีความศรัทธาของคนรองรับอยู่ เพราะฉะนั้น ต้องตั้งคำถามว่ารัฐจะเอาสิทธิอะไรในการเก็บภาษีจากเงินที่ระดมทุนเพื่อกิจการสาธารณประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มีกรณีศึกษาคือที่ผ่านมามีนายหน้ารับทำเหรียญต่างๆ โดยออกเงินให้ก่อน แต่วัดแห่งหนึ่งที่ผมรู้จัก เกิดทำจตุคามในช่วงขาลง แล้วขายไม่ออก พระก็ต้องหาเงินใช้หนี้นายทุน ทีนี้ เราจะแยกอย่างไรว่ากิจการที่ทำพุทธพาณิชย์ขึ้นมา เป็นการทำเพื่อหาเงินโดยใช้กิจการศาสนาเป็นข้ออ้าง หรือหาเงินเพื่อสาธารณประโยชน์จริงๆ ตรงนี้แหละที่พิจารณายาก เช่น วัดไร่ขิง แค่ขอทานมีเงินเท่าไหร่แล้ว เงินที่เข้าไปอยู่ในวัดไร่ขิง มีเท่าไหร่ก็ไม่รู้ แต่วัดไร่ขิงมีโรงพยาบาลดีๆ สนับสนุนโรงเรียนปริยัติธรรม คิดว่ามีวาระซ่อนเร้นตามที่พระสงฆ์บางรูปตั้งคำถามหรือไม่? พระมีสิทธิสงสัย แต่ก็ต้องมาตั้งคำถามว่า ความหมายของคำว่าวาระซ่อนเร้นคืออะไร ถ้าหมายถึงการมีขบวนการทำลายล้างพุทธศาสนาให้ล่มสลายซึ่งพระทั่วไปมักจะคิดเช่นนั้น อันนี้ผมว่าพระมโนเกินไป แต่ถ้าเป็นวาระซ่อนเร้นในเชิงการเมือง อย่างเช่น ผู้เสนอรู้สึกว่าพระจำนวนมากสนับสนุนนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม จึงคิดจัดการ ซึ่งเจตนาจริงๆ เราไม่รู้หรอก แต่ที่แน่ๆ คือกระบวนการที่ผ่านมามันทำให้พระระแวง การเจาะจงเฉพาะนักบวชและวัดพุทธ ถือว่าเลือกปฏิบัติไหม เพราะในไทยก็มีหลายศาสนา? นี่ก็เป็นสิ่งที่พระสงฆ์มีความชอบธรรมที่จะถาม เพราะเป็นเรื่องของความเท่าเทียม ว่าทำไมไม่เก็บศาสนาอื่นด้วย ถ้าทุกศาสนาที่มีรายได้ ต้องเสียภาษี เพราะเป็นพลเมืองไทยเหมือนกัน ศาสนาคริสต์มีการบริจาคเงินเข้าโบสถ์ มีการระดมทุนเหมือนวัดพุทธ แต่มีภารกิจชัดเจนว่ากลุ่มของเขา ตั้งขึ้นเพื่ออะไร เช่น ช่วยเหลือการศึกษาเยาวชน พยาบาลคนแก่ หรือจัดการการศึกษา ในขณะที่พุทธค่อนข้างคลุมเครือ วัดเดียวทำทุกอย่าง สำหรับมุสลิมเขามีกระบวนการอีกแบบหนึ่ง เพราะเป็นองค์กรฆราวาส ไม่มีนักบวชแต่เป็นชาวบ้าน เป็นโต๊ะครู อิหม่าม อะไรก็แล้วแต่ซึ่งเขาอาจต้องเสียภาษีอยู่แล้วในฐานะพลเมืองธรรมดา http://www.matichon.co.th/online/2015/05/14324441451432444174l.jpg พระสงฆ์บอกอาจมีลุกฮือ เหมาะสมไหมกับบทบาทผู้ทรงศีล? ในสังคมประชาธิปไตย ผมว่ามันเป็นเรื่องปกติ ทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงเจตจำนง หรือลุกขึ้นมาต่อต้านสิ่งที่ตัวเองรู้สึกเสียผลประโยชน์ แต่ถ้าออกมาพูดในลักษณะข่มขู่ หรือใช้คำพูดรุนแรง อาจทำให้เสียภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก หรือจริงๆ แล้วที่พระไม่พอใจ เพียงเพราะรู้สึกถูกท้าทายความศักดิ์สิทธิ์? พระในประวัติศาสตร์มีลักษณะของอุดมคติ คือ อยู่เหนือโลก ถ้ามองว่าอำนาจของพระคืออำนาจของความศักดิ์สิทธิ์ มีความศักดิ์สิทธิ์บางอย่างที่พระครอบครองอยู่โดยอุดมคติ เช่น พระมีศีลธรรม ความสมถะ พอโดนปฏิบัติในลักษณะเหมือนคนธรรมดาอย่างการเก็บภาษี มีการเอาเรื่องทางโลกไปจัดการ ก็เริ่มรู้สึกว่าสถานะที่ตัวเองเคยมีถูกท้าทาย ก็อาจจะหงุดหงิดว่าคนมองพระอีกแบบหนึ่งแล้ว สถานการณ์ขณะนี้สะท้อนอะไร? ในแง่สังคม สะท้อนว่าปัจจุบันฆราวาสแบ่งเป็น 2 กลุ่มคร่าวๆ คือ กลุ่มคนในเมืองที่มองพระแบบโรแมนติก แนวอุดมคติ ซึ่งพระต้องเป็นบุคคลที่สะอาด สว่าง สงบ เวลาพระเป็นข่าวจะเริ่มทำใจไม่ได้ ว่าพระไม่ต่างกับฆราวาส เพราะยังยึดติดกับสมณศักดิ์กลุ่มนี้จะเป็นคนที่เสพข่าวสาร มีการศึกษา ส่วนอีกกลุ่มคือชาวบ้านตามบ้านนอกซึ่งคลุกคลีอยู่กับวัด ยังศรัทธาพระในแบบที่ศรัทธาจริงๆ แม้จะไม่ได้มองพระว่าสูงส่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ใช่ชาวพุทธที่ดี ในแง่ของสงฆ์ จะเห็นได้ว่ามีสถานะคล้ายฆราวาสมากขึ้น เป็นนักวิชาการก็มี สภาพสังคมทำให้ชีวิตพระเปลี่ยน พระพยายามปรับตัวเข้ากับสังคมสมัยใหม่ ซึ่งทำให้คนที่คาดหวังว่าพระจะสมถะ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณนั้น...เริ่มเกิดความไม่แน่ใจ แต่ยังโอเคกับพระบางรูป เช่น หลวงพ่อคูณ ที่ยังอยู่ในอุดมคตินี้ พระเซเลบ มีส่วนหรือเปล่าที่ทำให้ระยะห่างระหว่างสงฆ์กับฆราวาสยิ่งน้อยลง? ก็เป็นไปได้ พระออกหนังสือ โปรโมตหนังสือ ออกทีวี มีอีเวนต์ ซึ่งมีเงินเข้าไปเกี่ยวข้อง ทำให้คนรู้สึกว่า เหมือนพระออกไปทำงานเหมือนฆราวาส พระน่าจะเสียภาษี ถ้าจะมองจากมุมมนี้ก็คิดได้ ถ้าไปทำเป็นอีเวนต์เป็นอาชีพ มีค่าจ้าง แม้ไม่เรียกว่าค่าจ้างก็ตาม มันก็น่าจะพิจารณานะ (หัวเราะ) สรุปแล้ว ประเด็นเงินวัด มีทางออกไหม แก้ไขอย่างไรดี? วัดและคณะสงฆ์ไทยต้องหาวิธีการจัดการเงินให้ดี ถ้ามีวิธีการจัดการเงินที่กระจุกตามวัดใหญ่ให้มีระบบ ช่วยสนับสนุนวัดอื่นๆ ที่ยังขาดแคลนได้อย่างเป็นระบบ คนก็คงไม่อยากเอาภาษีกับพระหรอก ทำไมไม่ทำกองทุนของชาวพุทธที่ทุกวัดมีส่วนร่วมโดยการระดมทุนจากวัดต่างๆ มาเป็นกองทุนส่วนกลาง แล้วเอาไปฝากธนาคารใดธนาคารหนึ่งก็ได้ ไม่จำเป็นต้องถึงขนาดมีธนาคารพุทธ แต่ปัญหาในปัจจุบันคือ เงินเป็นของวัดใครวัดมัน วัดที่ไม่มีเงินก็ไม่มีเลย วัดไหนอยากทำอะไร อยากสร้างอะไร ต้องพึ่งตัวเอง แม้จะมีการช่วยเหลือกันของวัดต่างๆ แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เช่น เจ้าอาวาสวัดนั้น สนิทกับเจ้าอาวาสวัดนี้ ต่างจากคาทอลิก ซึ่งมีการช่วยเหลือกันอย่างเป็นระบบ เขามีกองทุนที่บริหารโดยส่วนกลาง แล้วการจัดการเงินในองค์กรพุทธในประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร? เท่าที่ทราบก็ไม่ได้มีอะไรชัดเจน คงคล้ายๆ กับบ้านเรา คือ ของใครของมัน แต่อาจมีบางองค์กร เช่น สำนักพุทธศาสนาแห่งโลก ซึ่งทำงานระดับนานาชาติ โดยอาจจะได้เงินจากการบริจาค ในสายพุทธศาสนา ไม่ได้มีใครคิดเรื่องการบริหารจัดการเงิน ยกเว้นทิเบตซึ่งศาสนาผูกกับรัฐ ระบบอาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ในศรีลังกา พระส่วนหนึ่งมีอาชีพคล้ายฆราวาส คือ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสงฆ์ อาจเสียภาษีอยู่แล้ว แต่การออกกฎหมายให้เสียภาษี ผมว่าไม่มีนะ พระศรีลังกาเป็น ส.ส.ได้ด้วย ส่วนจีนกับญี่ปุ่น มีมูลนิธิ เช่น โซกา งัคไก เป็นนิกายที่มีระบบระดมทุนแล้วกระจายเงินเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ไต้หวันก็มี ฉือจี้ ซึ่งเป็นมูลนิธิใหญ่ที่สามารถระดมทุนสร้างวิทยาลัยแพทย์ โรงพยาบาล สถานีโทรทัศน์ และยังช่วยสร้างโรงเรียนให้พม่าตอนเกิดพายุนากีส รวมถึงที่เชียงใหม่ จริงๆมันคือโมเดลแบบวัดธรรมกายเลย วัดธรรมกายอาจจะไปเรียนรู้มา วงการสงฆ์สั่นสะเทือนไหม จากกรณีต่างๆ ไม่ว่าจะธรรมกาย ปฏิรูปศาสนา มาจนถึงเก็บภาษีพระ? พระสงฆ์เริ่มรู้สึกถึงความไม่มั่นคงมาหลายปีแล้ว ก่อนหน้านี้กลัวว่าชาวคริสต์จะกลืนพุทธศาสนา หลังจากนั้นก็มีเรื่องมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็รู้สึกว่าพุทธศาสนาจะโดนทำลายอีกแล้ว ต่อมามีความพยายามจะให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งก็มาจากความรู้สึกไม่มั่นคง จึงต้องการแสวงหาความมั่นคงที่ผูกติดอยู่กับรัฐ โดยเอาบทบัญญัติทางกฎหมายมารองรับ แต่ถามว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้สะเทือนไหม ผมว่ามันเป็นตัวที่ตอกย้ำความรู้สึกของพระที่อยู่ในวงการ ว่ามีอะไรบางอย่างไม่ชอบมาพากล พุทธศาสนา วิจารณ์ได้ หาใช่ อกตัญญู? เป็นอีกหนึ่งนักวิชาการ ที่โดนข้อกล่าวหา "อกตัญญูต่อพุทธศาสนา" เนื่องด้วยเคยบวชเรียนมานานจนได้เปรียญธรรม 6 ประโยค แต่กลับเขียนบทความเชิงวิพากษ์ และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจไม่พ้องกับพระสงฆ์หรือชาวพุทธบางส่วน อย่างไรก็ตาม ชาญณรงค์บอกว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า อย่าเชื่อสิ่งต่างๆ โดยทันที แสดงว่าพุทธศาสนาไม่ได้บีบบังคับ หรือหวงห้ามในการตั้งข้อสงสัย การวิจารณ์จึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ ถามว่า "หวั่นไหว" ในข้อกล่าวหาดังกล่าวหรือไม่ ชาญณรงค์ตอบด้วยน้ำเสียงหนักแน่น ชัดเจนว่า "ไม่" เพราะเชื่อในเจตนาของตนที่ต้องการให้มีการถกเถียงให้เกิดปัญญา "ผมเชื่อในเจตนาที่วิจารณ์ไป อยากให้มีการถกเถียงอย่างมีเหตุผลให้เกิดปัญญา" http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432444145 พระดังๆ งานอีเว้น งานทีวี งานโฆษณา หนังสือ..ฯ งานเยอะไม่แพ้ดาราดังเลยนะ ปีนึงคงฟันไปหลายสิบล้าน ;D แต่ก็ส่วนน้อยมากๆ วัดส่วนใหญ่ไม่น่าจะมีไรเยอะ แค่พอดูแลวัดได้ ;D หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: Yut64 ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 05:56:27 PM ไปยุ่งอะไรกับโลกธรรม
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 06:20:29 PM ไปยุ่งอะไรกับโลกธรรม เงินไม่พอใช้มั๊งเลยต้องไปเอาเงินบริจาคของวัดหัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 06:21:07 PM ศาสนาอื่นทำไมไม่เก็บ
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 07:20:44 PM ไปยุ่งอะไรกับโลกธรรม เงินไม่พอใช้มั๊งเลยต้องไปเอาเงินบริจาคของวัด 55555 วันพืชที่ผ่านมา เจ้าพนักงาน กำลังจูง " พระโค " ไปไถกลางสนามหลวง อ่ะ ฮา ::008:: ::008:: ยังไม่ทันได้ " ไถ " พระโค ขี้แตก กองเบ้อเร่อ อ่ะ ฮา 5555 :OO :OO 55555 โหน ริมคลองด้านหลัง พยากรณ์ ว่า " รัฐบาล ถังแตก " อ่ะ ฮา 55555 ::007:: ::007:: หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 08:34:47 PM ผมเห็นด้วยครับ
เงินบริจาคที่เป็นของส่วนรวมย่อมต้องแจงบัญชีได้ ... กรณีที่เป็นเงินส่วนตัว บวชพระมาเพื่อฟอกกิเลส ตัดภพตัดชาติ จะเอาเงินส่วนตัวไปทำห่*อะไร หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 08:50:15 PM ผมเห็นด้วยครับ เงินบริจาคที่เป็นของส่วนรวมย่อมต้องแจงบัญชีได้ ... กรณีที่เป็นเงินส่วนตัว บวชพระมาเพื่อฟอกกิเลส ตัดภพตัดชาติ จะเอาเงินส่วนตัวไปทำห่*อะไร 555555 ยายฮา " พี่ ดัดจริตแมน " อ่ะ ฮา 555555 ยายเห็น ประเด็นว่า " ขั้นตอน " การเก็บภาษี มันยังไม่ชัดเจน อ่ะ ฮา เก็บยังงัย " พระ เถร ชี " ต้องไปกรอกแบบ ภาษีเงินได้ ด้วยหรือเปล่า อ่ะ ฮา ถ้าต้องไปแสดงแบบ " เงินได้ " ใครมันจะไปบอกว่ามีเงินได้ เงิน บริจาค อ่ะ ฮา บริจาคลักษณะไหน " ให้วัด หรือ ส่วนตัว " อ่ะ ฮา เงินได้ที่ว่า ถ้า มียอดขั้นต่ำ กว่าที่กฎหมายกำหนด ปลายปี ก็ต้องขอคืน ได้ใช่ป่าว อ่ะ ฮา แล้วรายได้ของ พระ เถร ชี นิยามว่าเป็น "รายได้ ประจำ " หรือเปล่า อ่ะ ฮา ยายว่า " ยุ่ง ตาย ห่าน " ถ้าจะเก็บเงินพระ อ่ะ ฮา แหม ไอ้คนคิด มันก็ช่างกระไร " รีด " แม้กระทั่งพระ อ่ะ ฮา 55555 ยุคนี้เป็นยุค " ภาษี อาน " อ่ะ ฮา 55555 ::007:: ::007:: ::007:: หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 08:57:21 PM เค้าก็จะถามว่า สวดวันกี่ราย? ตายทุกวันมั้ย? ส่วนมากไว้กี่คืน? ซองละเท่าไหร่?.....ช่วงไหนตายมาก ช่วงไหนตายน้อย ::007::
พอช่วงไหนงานน้อย ก็บอกว่าช่วงนี้ไม่ค่อยตายเลยอ่ะโยม ขึ้นบ้านใหม่ก็ไม่ค่อยมี คนสมัยนี้ไม่ค่อยทำบุญบ้าน ::005:: หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 09:22:34 PM 555555 ยายฮา " พี่ ดัดจริตแมน " อ่ะ ฮา 555555 ยายเห็น ประเด็นว่า " ขั้นตอน " การเก็บภาษี มันยังไม่ชัดเจน อ่ะ ฮา เก็บยังงัย " พระ เถร ชี " ต้องไปกรอกแบบ ภาษีเงินได้ ด้วยหรือเปล่า อ่ะ ฮา ถ้าต้องไปแสดงแบบ " เงินได้ " ใครมันจะไปบอกว่ามีเงินได้ เงิน บริจาค อ่ะ ฮา บริจาคลักษณะไหน " ให้วัด หรือ ส่วนตัว " อ่ะ ฮา เงินได้ที่ว่า ถ้า มียอดขั้นต่ำ กว่าที่กฎหมายกำหนด ปลายปี ก็ต้องขอคืน ได้ใช่ป่าว อ่ะ ฮา แล้วรายได้ของ พระ เถร ชี นิยามว่าเป็น "รายได้ ประจำ " หรือเปล่า อ่ะ ฮา ยายว่า " ยุ่ง ตาย ห่าน " ถ้าจะเก็บเงินพระ อ่ะ ฮา แหม ไอ้คนคิด มันก็ช่างกระไร " รีด " แม้กระทั่งพระ อ่ะ ฮา 55555 ยุคนี้เป็นยุค " ภาษี อาน " อ่ะ ฮา 55555 ::007:: ::007:: ::007:: ดีออกครับ พระ ชี แม่ค้าตลาดสด แผงลอย แท็กซี่ฯลฯเอามาเข้าระบบภาษีให้หมด อย่าเอาแต่เกาะกินแล้วแบมือร้องจะเอา หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 09:22:59 PM 555555 ข่าวลือ ที่ไม่เป็น " มงคล " เท่าไหร่ สำหรับเมืองไทย อ่ะ ฮา 5555 ::007:: ::007:: ::007::
เนื้อข่าวเขาบอก " ธนาคาร แห่งประเทศไทย " เข้าไป อุ้มค่าเงินบาท อ่ะ ฮา ผลจากการกระทำ นี้ ทำให้ " ขาดทุน " เป็นจำนวนมาก อ่ะ ฮา 555555 ลุงตู่ " เอา อยู่ " หรือเปล่า อ่ะ ฮา 55555 ::007:: ::007:: ::007:: http://www.cnbc.com/id/102647724 Thailand takes a hammer to the baht Leslie Shaffer | @LeslieShaffer1 Tuesday, 5 May 2015 | 7:08 PM ET Thailand's baht has long out-muscled regional peers, but amid a stumbling economy, the central bank has pulled the plug on supporting the currency. The Bank of Thailand (BOT) last week sent a triple whammy to the markets: In a surprise move, it cut its benchmark interest rate by 25 basis-points to 1.5 percent. In its statement, the BOT mentioned its concerns about the continued strength of the baht. That was followed up with the easing of some of the country's capital controls, which will allow more funds to flow out of the country. "All three things marked a strong message," said Santitarn Sathirathai, an analyst at Credit Suisse, noting it's rare for the BOT to mention the currency level. "If there is appreciation in the baht again, which could happen due to the current account surplus, then the Bank of Thailand could intervene to cap appreciation and to cap outperformance over regional currencies." "It's a paradigm shift," he added. Read MoreThailand's outdated tech sector casts cloud over economy After the moves, the baht fell, with the U.S. dollar fetching 33.25 baht early Wednesday, tapping the baht's weakest level since early 2010, when the euro zone crisis was starting to rear up. That compares with around 32.59 baht before the BOT's actions. Thailand's markets were closed Tuesday for the Coronation Day holiday. To be sure, the BOT has cut before without getting much more than a yawn from the exchange rate and the country's economy has faced weaker tourism, disinflation and stumbling exports for a while. But what's different this time is the combination of measures. "Lack of interest was the reason for the baht remaining stable," said Nizam Idris, head of strategy, fixed income and currencies at Macquarie. "No one was selling," in part because the capital controls made shorting the currency expensive, he noted. "The floodgates have finally been opened." He noted that in real effective exchange rate terms, the baht has been at its most expensive since the Asian Financial Crisis in the late 1990s. "Based on growth and inflation, there's no justification for that whatsoever." หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 09:23:44 PM เค้าก็จะถามว่า สวดวันกี่ราย? ตายทุกวันมั้ย? ส่วนมากไว้กี่คืน? ซองละเท่าไหร่?.....ช่วงไหนตายมาก ช่วงไหนตายน้อย ::007:: พอช่วงไหนงานน้อย ก็บอกว่าช่วงนี้ไม่ค่อยตายเลยอ่ะโยม ขึ้นบ้านใหม่ก็ไม่ค่อยมี คนสมัยนี้ไม่ค่อยทำบุญบ้าน ::005:: พวกบวชเพื่อลาภสักการะ บวชเพราะไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไรมีมากครับ เคยเจอมาบ่อยๆ หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 10:02:21 PM ต่อไปหลวงพ่อต้องพกใบเสร็จ แล้วหักณ.ที่จ่าย ::007::
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 10:09:14 PM ต่อไปหลวงพ่อต้องพกใบเสร็จ แล้วหักณ.ที่จ่าย ::007:: 55555 คิด " ภาษี มูลค่าเพิ่ม " ด้วยอ่ะ ฮา 555555 ::007:: ::007:: ::007:: ::007:: หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 11:14:51 PM ต่อไปหลวงพ่อต้องพกใบเสร็จ แล้วหักณ.ที่จ่าย ::007:: 55555 คิด " ภาษี มูลค่าเพิ่ม " ด้วยอ่ะ ฮา 555555 ::007:: ::007:: ::007:: ::007:: ที่วัดฉลองน่าจะได้เยอะอยู่ครับ ตอนเช้ามืดกล่องโฟมล้นถังขยะเทศบาลทุกวัน คงจะซื้อไปเลี้ยงเด็กวัด หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 11:29:29 PM :-X :-X :-X
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 11:39:21 PM ค่าสวดคงไม่เท่าไหร่คิดว่าเค้าคงอยากได้ตรง ผ้าป่า กฐิน และเงินบริจาคโดยคิดจากใบอนุโมทนาบัตรสมัยนี้เค้าไม่ได้คิดว่าวัดคือวัดแต่วัดคือนิติบุคคลครับต้องมีการเสียภาษีด้วย แต่ไม่รู้ว่าโบสถ์คริตกับมัสยิดอิสลามโดนด้วยหรือเปล่า หรือว่าจ้องแต่พุทธเพราะหัวอ่อน
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤษภาคม 24, 2015, 11:43:26 PM การยึดโยงระหว่างชุมชน วัดในเมืองใหญ่กับวัดสังคมชนบทต่างกันมากๆ
วัดในเมืองก็มีมากมายที่มีโรงเรียนในวัด ใกล้วัด เกื้อกูลกันมาก แล้วก็มีวัดใหญ่บางแห่งก็ไม่ได้ยึกโยงกับชุมชนเท่าไหร่นัก ผมคงอ่อนด้อยมากจนไม่กล้าวิจารณ์ แต่ใจก็ชื่นชมวัดและพระที่สร้างประโยชน์ให้ชุมชนครับ หลวงพ่อคูณเป็นตัวอย่างที่เด่นชัด ตลอดพรรษาชั่วชีวิต ท่านอุทิศเงินทองที่ได้รับมาเพื่อประชาชน เพื่อสังคม แม้แต่สรีระสังขารท่านยังอุทิศเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ::014:: ::014:: ::014:: หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ พฤษภาคม 25, 2015, 05:19:50 AM ภาษี หนีไม่ได้ โดนทุกคน ;D ;D ;D 555555
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: Hang Forever ที่ พฤษภาคม 25, 2015, 09:11:16 AM พระไม่มีรายได้เน้อ ที่เห็นๆน่ะของญาติโยมและมัคทายก อิอิ พระจับเงินมันอาบัติ
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤษภาคม 25, 2015, 12:16:35 PM งดบริจาคเงินสด ให้รูดทำบุญอย่างเดียวใครไม่มีบัตรให้บริจาคสิ่งของ ฮา
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: Yut64 ที่ พฤษภาคม 25, 2015, 04:48:59 PM ต่อไปพระต้องออกไปกำกับภาษีด้วยนะ
ยุคนี้เป็นยุคที่คนอยากมีตัวตนในสังคมแต่คิดก่อนพูดก่อนแสดงออกก็จะดีคำพูดหรือการกระทำมันจะกลับมาทำร้ายเรา หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: SSG 69 รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 25, 2015, 06:31:25 PM คนไทยทุกคนมี..."หน้าที่ต้องเสียภาษ้"...
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ พฤษภาคม 25, 2015, 10:36:45 PM คนไทยทุกคนมี..."หน้าที่ต้องเสียภาษ้"... ::002::หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: Nero Angel01 ที่ พฤษภาคม 26, 2015, 01:51:36 PM หากเสียจะเสียในนามนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ถ้าเสียในนามบุคคลธรรมดารายได้หลังเสียภาษี---ตกเป็นของพระ?
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ พฤษภาคม 27, 2015, 09:56:43 PM ตกลงพระเป็นพนักงานของรัฐไปแล้วหรือเนี่ย ผมซักงง เอาเป็นว่าเรื่องศาสนาก็ให้พระเค้าจัดการตั้งสภาปฏิรูปกันเองดีกว่ามั๊ยจะเอาพระนักปฏิบัติวิปัสนากี่รูปนักพัฒนากี่รูปก็ว่ากันไป ส่วนสภาปฏิรูปของฆารวาสก็ทำเรื่องการเมืองการปกครองไปคือผมมองว่า สปช.ก็ใช่ว่าจะรู้จะเก่งไปทุกเรื่อง บางเรื่องผมก็ว่าโชว์โง่อย่างเรื่องแนวคิดที่ว่าเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งครั้งละห้าปีงี้แสดงได้เลยว่าแบบนี้มัน วัดไม่เข้าพระเจ้าไม่ไหว้ชัดๆ จะเอาพระเป็นนักการเมืองซะแล้ว วัดตามต่างจังหวัดบ้านนอกพระที่จะเป็นเจ้าอาวาสได้ต้องเป็นพระที่ชาวบ้านในพื้นที่เคารพนับถือ ถ้าไปย้ายออกแล้วเอาพระอื่นมาแทนเดี๋ยวก็มีการขับไล่ต่อต้านกันให้เห็นหรอกครับ และพระที่จะมาเป็นเจ้าอาวาสของวัดนั้นๆก็จะมาจากพระในวัดนั้นโดยเลือกจากอาวุโสเป็นหลัก และถ้าบางกรณีที่ไม่มีพระ(บางวัดมีพระแค่รูปเดียวกะเณรและเด็กวัดชาวบ้านก็จะใช้วิธีไปนิมนต์พระที่อื่นที่ชาวบ้านเคารพนับถือมาอยู่รักษาการครับ
http://www.dailynews.co.th/politics/324033 หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: ต.แม่สาย ที่ พฤษภาคม 27, 2015, 10:34:29 PM นี่แหละครับ ครูบาอาจารย์สายวัดป่าจึง หลีกหนีปลีกวิเวกเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าไม่สนใจลาภสักการะ ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าสละทุกอย่างเพื่อมาบวช แต่เหล่าสาวกพุทธโอรสทั้งหลายกลับสร้างยศฐาบรรดาศักดิ์ขึ้นมาทั้งชั้น ราช ชั้นเทพ ชั้นพรหม ฯลฯ
หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ พฤษภาคม 27, 2015, 11:12:01 PM นี่แหละครับ ครูบาอาจารย์สายวัดป่าจึง หลีกหนีปลีกวิเวกเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าไม่สนใจลาภสักการะ ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าสละทุกอย่างเพื่อมาบวช แต่เหล่าสาวกพุทธโอรสทั้งหลายกลับสร้างยศฐาบรรดาศักดิ์ขึ้นมาทั้งชั้น ราช ชั้นเทพ ชั้นพรหม ฯลฯ จะว่าไปก็ถูกต้องตามนี้ครับ ผมไม่รู้ว่าวัดในเมืองวัดใหญ่ๆดังๆเค้ามีการดูแลจัดการสมบัติของวัดกันยังไงครับแต่ผมก็คิดว่าที่มันเกิดเป็นเรื่องเป็นราวอยู่ขณะนี้มันมาจากผลประโยชน์แฝงที่เกิดกับวัดในเมืองวัดใหญ่ๆดังนั่นแหละครับ วัดตามบ้านนอกชาวบ้านจะคัดเลือกกรรมการวัดมากำกับดูแลเรื่องเงินเรื่องทรัพย์สินต่างๆกันเองเจ้าอาวาสก็แค่รับทราบยอดเงินของวัดการเอาเข้าออกธนาคารทุกครั้งกรรมการวัดผู้ใหญ่บ้านจะร่วมกันรับผิดชอบถ้าทางพระอยากสร้างปรับปรุงอะไรก็เรียกกรรมการวัดผู้ใหญ่บ้านมาคุยกัน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านก็เรียกชาวบ้านมาประชุมขอความเห็นชอบกันอีกที มันมีการควบคุมของชาวบ้านไว้เรียบร้อยจึงไม่ค่อยเกิดปัญหาอะไร รายได้ส่วนตัวของพระก็ใช่ว่าจะมากมายอะไรค่าสวดค่าอะไรอย่างเก่งก็ได้คืนสองสามร้อย(สมัยตอนผมบวชได้ซองละยี่สิบบาทครับ)ก็พอได้ค่านํ้าค่าไฟในวัดสบู่ยาสีฟันผงซักฟอกบางครั้งของที่ญาติโยมมาถวายหมดก็ต้องซื้อสบงจีวรก็ต้องซื้อ(ตอนผมยังเป็นพระใครสึกก็เอาจีวรสบงมาแบ่งกันใช้จนเปื่อยก็มีครับตอนนั้นจีวรธรรมดาผืนละสามร้อยกว่าผ้าป่านดีหน่อยก็ห้าร้อยขึ้นครับ)หัวข้อ: Re: เสนอให้เก็บภาษีภิกษุสงฆ์ที่มีรายได้เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ พฤษภาคม 28, 2015, 03:30:45 AM นี่แหละครับ ครูบาอาจารย์สายวัดป่าจึง หลีกหนีปลีกวิเวกเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าไม่สนใจลาภสักการะ ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าสละทุกอย่างเพื่อมาบวช แต่เหล่าสาวกพุทธโอรสทั้งหลายกลับสร้างยศฐาบรรดาศักดิ์ขึ้นมาทั้งชั้น ราช ชั้นเทพ ชั้นพรหม ฯลฯ จะว่าไปก็ถูกต้องตามนี้ครับ ผมไม่รู้ว่าวัดในเมืองวัดใหญ่ๆดังๆเค้ามีการดูแลจัดการสมบัติของวัดกันยังไงครับแต่ผมก็คิดว่าที่มันเกิดเป็นเรื่องเป็นราวอยู่ขณะนี้มันมาจากผลประโยชน์แฝงที่เกิดกับวัดในเมืองวัดใหญ่ๆดังนั่นแหละครับ วัดตามบ้านนอกชาวบ้านจะคัดเลือกกรรมการวัดมากำกับดูแลเรื่องเงินเรื่องทรัพย์สินต่างๆกันเองเจ้าอาวาสก็แค่รับทราบยอดเงินของวัดการเอาเข้าออกธนาคารทุกครั้งกรรมการวัดผู้ใหญ่บ้านจะร่วมกันรับผิดชอบถ้าทางพระอยากสร้างปรับปรุงอะไรก็เรียกกรรมการวัดผู้ใหญ่บ้านมาคุยกัน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านก็เรียกชาวบ้านมาประชุมขอความเห็นชอบกันอีกที มันมีการควบคุมของชาวบ้านไว้เรียบร้อยจึงไม่ค่อยเกิดปัญหาอะไร รายได้ส่วนตัวของพระก็ใช่ว่าจะมากมายอะไรค่าสวดค่าอะไรอย่างเก่งก็ได้คืนสองสามร้อย(สมัยตอนผมบวชได้ซองละยี่สิบบาทครับ)ก็พอได้ค่านํ้าค่าไฟในวัดสบู่ยาสีฟันผงซักฟอกบางครั้งของที่ญาติโยมมาถวายหมดก็ต้องซื้อสบงจีวรก็ต้องซื้อ(ตอนผมยังเป็นพระใครสึกก็เอาจีวรสบงมาแบ่งกันใช้จนเปื่อยก็มีครับตอนนั้นจีวรธรรมดาผืนละสามร้อยกว่าผ้าป่านดีหน่อยก็ห้าร้อยขึ้นครับ)ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านไม่สนใจเงินเห็นด้วยครับ วันละบาตรเดียวก็จบแล้ว บริขาร/เครื่องนุ่งห่มใช้กันต่ำๆสิบ-ยี่สิบปี ที่ได้เกินก็เอาไปถวายต่อหมด....เคยทำใจกล้าไปกะลิ้มกะเหลี่ยขอผ้ารองนั่ง(นิสิทนะ)จากอาจารย์ ท่านหัวเราะหึ หึ บอกอีกนานนนนนนนนน เงินบริจาคถือเป็น"ของกลาง"มือไม่แตะ ใจก็ไม่แตะ เห็นมีพระมาโต้ว่าต้องใช้เงินเป็นค่าเดินทางไปเรียน , ค่ากินฯลฯแล้วงง เดือนละสองหมื่น ท่านจะแด*นอกเวลาได้ยังไง แล้วหาไว้ผ่อนรถขับไปเรียนเองหรือไร? |