เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: o/uboy ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 06:57:44 AM



หัวข้อ: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: o/uboy ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 06:57:44 AM
ผมได้อ่านไทยรัฐ วันที่26 กย. 2549 โดย โลกโศภิน คูปรีซึ่งมีรายงานว่ามีผู้พบเห็นในป่าลึกกัมพูชาเมื่อปี2490นั้น อาจไม่มีตัวตนอยู่จริง.
 เขาอ้างว่านักชีววิทยาสหรัฐฯของมหาลัยนอร์เวสเทิร์น ได้เสนอหลักฐานทางพันธุกรรมว่า คูปรีอาจไม่ใช่สัตว์ตามธรรมชาติชนิดใหม่ที่มีตัวตนอยู่จริง ??? เพราะกลุ่มนักชีววิทยาได้นำดีเอ็นเอที่กล่าวว่าเป็นของคูปรีไปตรวจเทียบเคียงกับวัวป่ากัมพูชา และได้พบว่าคูปรีอาจเป็นสัตว์พันทาง เพราะมีเซลล์กระเดียดไปทางวัวป่ากัมพูชา นายแกรี กอลเบรธ ยังได้กล่าวอีกว่า คูปรีถูกวาดภาพไว้อย่างโลดโผน เหมือนฝันไปหน่อย คงจะมีบางคนรู้สึกเสียใจ ที่มันถูกเขี่ยตกจากฐานะสัตว์ป่าชนิดใหม่ไป วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องเป็นของจริง ไม่ใช่ของที่อยากให้มันเกิดเป็นจริง
 ผมอ่านแล้วน่าใจหายจริงๆครับแต่ก็ไม่เคยเห็นตัวจริงของสัตว์ชนิดนี้เช่นกัน ใครมีข้อมูลและความรู้เรื่องนี้ช่วยรบกวนให้ข้อมูลด้วยครับ :'(ถ้ามีรูปถ่ายก็ดีครับผมเคยเห็นแต่รูปวาด :'(


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: vuttichai ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 07:15:51 AM
ไม่เชื่อ คิดว่ามีตัวตนจริง และยังมีอยู่ ยังไม่ 0 แต่น้อยสุดๆ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimber ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 08:01:01 AM
สำหรับผมคิดว่ามีจริงนะครับ ดูจากหลายๆสถานทีที่มีหัวกูปรี รูปถ่าย และอื่นๆ บางทีผมว่าเจ้าฝรั่งขี้นกเนี้ยะเค้าก็หางานวิจัย วิจารณ์ไปเรื่อย โดยคิดว่าตัวเองเจริญทางด้านความคิดมากกว่าคนเอเชีย แล้วคนเอเชียก็ดันไปยกย่องว่าพวกฝรั่งเป็นพระเจ้า มันก็เลยไปกันใหญ่ งานวิจัยส่วนมากมักมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ  แต่บางเรื่องก็ไร้สาระสิ้นดี ยังไงผมก็ยังเชื่อว่ามีอยู่จริงครับ อีกหน่อยก็คงบอกว่า เนื้อทราย สมั่น ไม่มีจริงอีก

สงสัยกำลังหาทุนวิจัยมากกว่ามั่งครับ เลยต้องออกเรื่องอะไรที่มันเร้าใจ ตอนก็เจอพี่ยุ่นเค้าแซงเรื่องเทคโนโลยีไปแล้ว อีกหน่อยก็เป็นจีน อินเดีย และประเทศอื่นๆต่อไป ดูอย่างวิชาการโอลิมปิกสิครับ เด็กไทยเก่งกว่าฝรั่งอีก ขาดเพียงการสนับสนุนเท่านั้น หรือแม้แต่เทคโนโลยีอินเดียก็ไม่รองใคร

...ไม่เชื่อครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 09:45:43 AM
คงเหลืออยู่ในป่าลึกจำนวนไม่มากนัก  อาจมีการสูญพันธ์หากยังโดนล่าอยู่

สนใจเรื่องพงไพรลองอ่านที่นี่ดูครับ http://www.gunsandgames.com/smf/index.php/topic,14831.0.html


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 10:08:40 AM
คูปรี มีอยู่จริงครับ ในอดีต
ปัจจุบันหายากมากๆ...


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: o/uboy ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 10:23:33 AM
เท่าที่ผมอ่านจากหนังสือพิมพ์ ผมเข้าใจตามข้อความนั้นว่ามันมีจริงครับ แต่เค้าคงแค่จะสื่อว่ามันเป็นสัตว์พันทาง กลายมาจากวัวป่าเท่านั้นมังครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: CyberMan ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 10:27:13 AM
ทราบว่าจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าสงวนมานานหลายสิบปีแล้ว น่าจะมีตัวตนจริงนะครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: Vick - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 10:48:57 AM
อาจจะอยู่ในป่าลึกมากๆ ครับ ;D ;D
แล้วเคยได้ยินเรื่องผีกองกอยไหมครับ มีจริงป่าว ;D ;D


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: ..GlockGlack.. ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 10:58:56 AM
ถ้าไม่มีตัวตนจริงแล้วจะมีชื่อเรียกได้อย่างไรครับ?


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: อ้วน 008 รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 11:11:36 AM
ทางภาคใต้เรียก คูรัม หรือ โครัม ครับ ในความรู้สึกผม น่าจะเป็นพวกแพะภูเขาชนิดหนึ่ง มากกว่าสัตว์ตระกูลวัวป่าครับ ดูจากเขา ลำตัว กีบเท้า


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: โจ ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 11:17:08 AM
อย่าไปเอาอะไรมากกับคนอเมริกันครับ บางครั้งชอบคิดว่ารู้ทุกเรื่องเก่งทุกเรื่อง

"กลุ่มนักชีววิทยาได้นำดีเอ็นเอที่กล่าวว่าเป็นของคูปรีไปตรวจเทียบเคียงกับวัวป่ากัมพูชา และได้พบว่าคูปรีอาจเป็นสัตว์พันทาง เพราะมีเซลล์กระเดียดไปทางวัวป่ากัมพูชา" ผมว่าเขาน่าจะอธิบายด้วยว่าวัวป่ากัมพูชาผสมกับอะไรจึงได้คูปรี

อย่างนั้นลิงที่มีดีเอ็นเอใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ไม่มนุษย์ก็ลิงต้องเป็นสัตว์พันธุ์ทางแน่นอนเลย (ว่าแต่มนุษย์ไปผสมกับอะไรถึงเป็นลิง หรือลิงไปผสมกับอะไรถึงเป็นมนุษย์ได้ อย่างรู้จัง)


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: JJ-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 11:50:30 AM
บางครั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ขัดแย้งกับความเป็นจริงครับ
อย่าไปเชื่ออะไรมากเลยครับ ผมยังเชื่อว่า กรูปรี มีอยู่จริงๆครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 01:07:33 PM
ต้องเอากระโหลกที่มีเขามาดูครับ   จะว่าไปแล้วก้ไม่เคยเห็นเหมือนกัน     กรูเมากลับบ้านไม่ถูกเห็นบ่อยๆครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: หินเหล็กไฟ ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 01:25:06 PM
ต้องเอากระโหลกที่มีเขามาดูครับ จะว่าไปแล้วก้ไม่เคยเห็นเหมือนกัน กรูเมากลับบ้านไม่ถูกเห็นบ่อยๆครับ

 :D :D :D :D :D


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: หนู@เมืองสิงห์™ - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 02:10:23 PM
กูปรี หรือ โคไพร ..

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะรูปร่างของกูปรี มีหนอกหลังเป็นสันกล้ามเนื้อบาง ๆ ไม่มีโหนกหนาอย่าง โหนกหลังของกระทิง มีเหนียงคอเป็นแผ่นหนังห้อยยานอยู่ใต้คอ คล้ายวัวบ้านพันธุ์เซบูของอินเดียแต่จะห้อยยาวมากกว่า โดยเฉพาะกูปรีตัวผู้ที่มีอายุมาก ๆ เหนียงคอจะห้อยยาวเกือบติดพื้นดิน ใช้แกว่งโบกไปมาช่วยระบายความร้อนได้เช่นเดียวกับหูช้าง ดั้งจมูกบานใหญ่มีรอยเป็นบั้ง ๆ ตามขวางชัดเจน รูจมูกกว้างเป็นรูปเสี้ยววงเดือน ใบหูแคบสั้น ไม่มีสันกระบังหน้าที่หน้าผากอย่างกระทิงและวัวแดง ใบหน้าของกูปรีจึงดูเรียบแบบวัวบ้าน หางยาว ปลายหางมีพู่ขนดกหนา มีขนตามตัวส่วนมากเป็นสีเทาในกูปรีตัวเมีย และเป็นสีดำในตัวผู้ รูปร่างและการตีวงเขาของกูปรีไม่เหมือนกับเขาของวัวกระทิง วัวแดงหรือวัวบ้านทุกชนิด แต่ไปละม้ายคล้ายกับเขาของจามรี วัวป่าพื้นเมืองแถบเอเซียกลางและธิเบต ลักษณะเป็นเขาบิดอย่างเห็นได้ชัดเจนทั้งของตัวผู้และตัวเมีย แต่ขนาดและรูปทรงต่างกัน เขาของกูปรีตัวผู้มีลำเขาใหญ่ยาวมาก โคนเขาใหญ่และโค้งนูนออก ไม่เว้าเป็นร่องเขาอย่างโคนเขาของกระทิง วัวแดงและกูปรีตัวเมีย มีรอยหยักตามขวางที่เรียกว่า "พาลี" แต่ไม่เห็นเป็นบั้ง ๆ ลึกชัดเจนอย่างพาลีของกระทิงและวัวแดง ลำเขาแต่ละข้างตัวโค้งกว้างลาดมาข้างหน้า ปลายเขาวกบิดชี้ขึ้นแต่ไม่บิดเป็นเกลียวอย่างปลายเขาของตัวเมีย เขาของกูปรีตัวผู้อายุประมาณ 4 ปี จะมีขนาดยาวประมาณ 1 เมตร ระยะนี้ปลายเขาเริ่มแตกตรงปลาย เปลือกเขาชั้นนอกจะแตกออกเป็นพู่ หรือ เป็นเส้นคล้ายไม้กวาดโดยรอบ แกนเขาภายในจะค่อยงอกออกมา พู่เขาจะค่อยยาวขึ้นด้วย ซึ่งอาจยาว ได้ถึง 20 เซนติเมตร ในกูปรีตัวผู้แก่มาก ๆ พู่ปลายเขาเช่นนี้ไม่พบในกระทิงและวัวแดง แต่เปลือกปลายเขามักจะแตกออกเป็นแผ่น ๆ คล้ายกับปลีกล้วยในพวกกระทิงและวัวแดงแก่ ๆ เขาของกูปรีตัวเมียสั้นและเรียวบางกว่าเขาของตัวผู้เกือบเท่าตัว วงเขาตีออกเป็นวงแคบ ๆ ลาดลงมาทางด้านหน้า แล้วบิดเวียนชี้ขึ้น คล้ายเป็นวงเกลียว ช่วงปลายเขาที่บิดชี้ขึ้นนี้ บางครั้งชิดกันดูคล้ายคนยกมือไหว้ คนเขมรจึงมักเรียกว่า เขาพนมพระ หรือเขาไหว้พระ แต่บางคนมองว่าเหมือนพิณฝรั่ง ปลายเขากูปรีตัวเมียจะไม่มีแตกเป็นพู่อย่างปลายเขาตัวผู้ ขนาดของกูปรี โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้จะใหญ่และหนักกว่าตัวเมียมาก ขนาดตัวพอ ๆ กับกระทิง แต่สูงใหญ่กว่าวัวแดง ความยาวของช่วงลำตัวถึงหัว 2.10-2.22 เมตร ความสูงที่ หัวไหล่ 1.71-1.90 เมตร หางยาว 1-1.11 เมตร ถือได้ว่าเป็นวัวป่าที่มีหางยาวที่สุดของไทย น้ำหนักตัว 700-900 กิโลกรัม

นิสัย
พฤติกรรมความเป็นอยู่ของกูปรีส่วนใหญ่คล้ายกับพวกสัตว์เคี้ยวเอื้องทั่วไป คือชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ขนาดฝูงกูปรีในอดีตมีจำนวน 30-40 ตัว มีตัวเมียอาวุโสและอายุมากที่สุดเป็นผู้นำฝูง ส่วนตัวผู้ขนาดใหญ่ ๆ มักชอบแยกตัวไปอยู่รวมกันหลายตัวได้ ซึ่งผิดแผกจากกระทิงและวัวแดง ที่ชอบอยู่โดดเดี่ยวเป็นวัวโทนหรือกระทิงโทน ปกติชอบใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยหากินและพักผ่อนอยู่ตามป่าโปร่ง หรือ ป่าโคกที่มีทุ่งหญ้าดินโปร่งและหนองน้ำอุดมสมบูรณ์ ไม่ค่อยชอบอยู่ตามป่าดิบทึบหรือตามป่าเขาสูง ๆ มักพบอาศัยและหากินปะปนไปกับฝูงสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดอื่นได้ แต่ที่พบบ่อยที่สุดอยู่รวมฝูงวัวแดง กับฝูงกระทิง ควายป่า หรือพวกกวางก็พบด้วยเช่นกัน ชอบกินหญ้าต่าง ๆ เป็นอาหารหลักมากกว่าใบไม้ และไม่นอนปลักโคลนอย่างควายป่า นิสัยของกูปรีที่ไม่เหมือนกับวัวแดงและกระทิง คือชอบเอาเขาขวิดกับกิ่งไม้ตามเส้นทางเดินผ่านหรือขวิดเนินขอบแอ่งดินโป่ง หรือ แอ่งน้ำ หรือขวิดคุ้ยพื้นดินตามห้วยเพื่อหาน้ำหรือดินโป่งกินเป็นประจำทำให้เปลือกปลายเขากูปรีตัวผู้แตกออกเป็นพู่ไม้กวาด และยังทำให้พรานป่าสามารถติดตามแกะรอยกูปรีแยกจากวัวแดง และ กระทิงได้ จายรอยขวิดของเขาตามเส้นทางหากินและที่อยู่ได้ง่าย

ถิ่นอาศัย
เขตการกระจายพันธุ์ของกูปรี พบอยู่ในแถบภาคใต้ของลาว ภาคเหนือและภาคตะวันตกของกัมพูชา ภาตตะวันตกของเวียตนาม และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ในประเทศไทยเคยมีกูปรีอาศัยอยู่ตามป่าแถบเทือกเขาพนมดงรัก บริเวณ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนติดต่อกับกัมพูชา ต่อมาได้ลดน้อยลง จนมีรายงานการพบกูปรีอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้าย ในประเทศไทยที่ป่า ดงอีจาน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 6 ตัว ในปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้นมีรายงานการพบเห็นกูปรีจากคำบอกเล่าของพรานพื้นบ้าน แต่ก็น้อยมากและไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน คาดว่าจะเป็นกูปรีที่อพยพย้ายถิ่นไปมาตามชายแดนไทย-กัมพูชา

การสืบพันธุ์
ฤดูผสมพันธุ์ของกูปรีอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ระยะตั้งท้องประมาณ 9 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ช่วงใกล้คลอดกูปรีแม่ลูกอ่อนจะแยกตัวออกจากฝูง ไปหาที่คลอดลูกและเลี้ยงลูกตามลำพังนานประมาณ 1 เดือน จึงจะพาลูกกลับเข้าฝูงเดิม ต่างจากแม่กระทิงและวัวแดง ที่จะพาลูกกลับเข้าฝูงทันทีที่ลูกแข็งแรงพอจะเดินตามแม่ได้แล้ว ลูกกูปรีแรกเกิดจะมีสีขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลคล้าย ๆ ลูกวัวแดง จนอายุประมาณ 4-5 เดือน สีขนจะเริ่มเปลี่ยนไป ขนตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีเทาขี้เถ้า ตัวผู้สีขนจะเริ่มเป็นสีดำที่บริเวณคอ ไหล่ และสะโพกก่อน ส่วนบริเวณท้องจะเป็นสีเทาขาว ๆ เมื่ออายุมากขึ้นจึงจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั้งตัว ยกเว้นแต่บริเวณหน้าแข้งลงไปถึงปลายกีบขาทั้ง 4 ข้าง จะเป็นสีขาวอย่างถุงเท้าตลอดชีวิต

สถานภาพ
เปรียบเทียบกับสัตว์จำพวกวัวป่าด้วยกัน สถานการณ์ความอยู่รอดของกูปรีอยู่ในขั้นวิกฤตที่สุด มีสาเหตุสำคัญคือการถูกล่า และพื้นที่อันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยอยู่ในภาวะสงคราม อีกทั้งกูปรีเป็นวัวป่าชนิดเดียวที่ยังไม่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้เลย คนพื้นเมืองในท้องถิ่นชอบล่ากูปรี เพราะเนื้ออร่อย ตัวใหญ่ หนังและเขาราคาดี และยังเชื่อว่ากระดูกที่หนอกหลังของกูปรี และกระทิง นำมาบดละเอียดผสมกับเหล้ากินแล้วร่างกายจะแข็งแรง และยังช่วยให้ร่างกายอบอุ่นอีกด้วย ส่วนสภาวะสงครามซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของกูปรีมากที่สุดนั้น เพราะนับจากเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองภายในของกลุ่มประเทศอินโดจีนทั้ง 3 ประเทศ ซึ่งล้วนเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญของกูปรี ทำให้เกิดสงครามสู้รบต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ถิ่นที่อยู่และชีวิตของกูปรีจึงถูกทำลายและฆ่า โดยไม่สามารถประเมินได้ ในปรเทศไทยนับจากรายงานว่ากูปรีฝูงสุดท้ายจำนวน 6 ตัว ที่ป่าดงอีจาน จังหวัดบุรีรัมย์ ถูกฆ่าตายหมดไปในปี พ.ศ. 2491 นับจากนั้นมา มีแต่รายงานจากพรานพื้นบ้านว่า พบเห็นกูปรีอพยพหนีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนเข้ามาในเขตไทยแถบเขาพนมดงรัก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2525 จำนวน 5 - 6 ตัว แต่ไม่สามารถตรวจสอบยืนยันชัดได้คาดว่ากูปรีฝูงนี้หนีกลับไปฝั่งกัมพูชาในช่วงฤดูแล้ง และไม่ได้กลับมาให้เห็นอีกเลย ปัจจุบันคาดว่า นอกจากในกัมพูชาแล้ว น่าจะยังมีกูปรีอาศัยอยู่ในแถบป่าเมืองจำปาศักดิ์ ของประเทศลาว และในเขตจังหวัด Thua Thien และประเทศเวียดนาม กูปรีจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ข้อจำกัดทางการค้าของสัตว์
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 เป็นชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย หรือเพาะพันธุ์ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย

Data from : www.koratzoo.or.th


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: หนู@เมืองสิงห์™ - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 02:19:26 PM
   Kouprey

Taxonomy

    Bos sauveli [Urbain, 1937].   
    Citation: Bull. Soc. Zool. Fr., 62:307.
    Type locality: Cambodia, near Tchep Village.

    The taxonomic record (above) is taken from Wilson and Reeder (1993).  The kouprey is included in the subgenus Novibos [Coolidge, 1940], which is upgraded to a full genus by some authors (Nowak, 1991).  There are no subspecies.

http://www.ultimateungulate.com/Artiodactyla/Bos_sauveli.html
General Characteristics

    Body Length: 210-220 cm / 7-7.3 ft.
    Shoulder Height: 170-190 cm / 5.6-6.3 ft.
    Tail Length: 100-110 cm / 3.3-3.6 ft.
    Weight: 700-900 kg / 1540-1980 lb.

    Calves are born brown, though they change to an overall grey with age.  The underparts and lower legs are lighter.  As males mature, their colour changes again to black or very dark brown.  Adult males also have a pronounced dewlap (pendulous skin at the base of the neck) growing 40 cm / 16 in long, which may touch the ground.  Both sexes have curious notched nostrils, and a long tail.  Females' horns are lyre-shaped, much like those of the Tragelaphinae, and grow 40 cm / 16 in long.  The wide spreading horns in males arch forward and upward in such a way that there is a splintered fringe of horn that cannot be rubbed off.  They grow up to a length of 80 cm / 32 inches.

Ontogeny and Reproduction

    Young per Birth: 1
    Life span: 20 years

    Mating takes place in April, with the births occurring from December to February.  Mothers leave the herd to give birth, rejoining about one month after the calf is born.

Ecology and Behavior

    Kouprey are active bovids, travelling long distances (up to 15 kilometers / 9 miles) every night.  While travelling, they often double back and wander to graze.  During the dry season's hot days they rest in the dense forest, while during the rainy season this habit is reduced due to flies.  In the early afternoon, herds bed down in tight circles, becoming active during the late afternoon.  Herds divide and regroup constantly, often mixing with banteng and feral water buffalo.  Kouprey regularly use saltlicks and waterholes.  Seasonal migration patterns have not been thoroughly studied, but there are indications that herds move to higher elevations during the rainy season.  During the dry season, the sexes mix in herds of up to 20 animals.

    Family group: Females and calves travel in small herds, while older males form bachelor herds.
    Diet: Long and short gr., sedges, and some browse.

Distribution

    Forested thickets.

    Countries: Cambodia, possibly regionally extinct in Lao People's Democratic Republic, Thailand, and Viet Nam (IUCN, 2002).   

Range Map (Redrawn from Corbet and Hill, 1992)

Conservation Status

    According to the IUCN (2002), the kouprey is critically endangered (Criteria: A2d, C1+2a, D).  Bos sauveli is on CITES Appendix I (CITES, 2003).

Remarks

    One of the rarest ungulates, the kouprey was only described in 1937 by Achille Urbain.  The kouprey was 'discovered' from a set of horns mounted as a hunting trophy in the house of the veterinarian, Dr. Sauvel.  Soon thereafter, the first captive kouprey arrived in Paris.  Some doubt surrounds the species status of the kouprey, with many scientists believing it is a cross between domestic cattle, bantengs, gaurs, or zebus.  Paradoxically, Dr. H. J. Coolidge, a Harvard University mammalogist, was so convinced that the kouprey was a distinct species due to anatomical features, that he proposed a new genus for it - Novibos.  Very little is known about this rare species of cattle, and much of the information below is sketchy.

    Kouprey is a native name.  Bos (Latin) an ox.  Dr. R. Sauvel was a French veterinary surgeon in Cambodia.

    French
        Kouprey (Buchholtz, 1990)
        Boeuf gris Cambodgien (IUCN, 2002)
     
    German
        Kouprey (Buchholtz, 1990)
     
    Spanish
        Toro cuprey (IUCN, 2002)

Literature Cited

    Buchholtz, C. 1990.  Cattle.  In Grzimek's Encyclopedia of Mammals.  Edited by S. P. Parker.  New York: McGraw-Hill.  Volume 5, pp. 360-417.

    CITES (Convention on the International Trade in Endangered Species of Wild Flora and Fauna). 2003. Appendix I, as adopted by the Conference of the Parties, valid from 13 February 2003. Available online at http://www.cites.org/eng/append/latest_append.shtml

    Corbet, G. B., and J. E. Hill.  1992.  the Mammals of the Indomalayan Region: A systematic review.  Oxford: Oxford University Press.

    MacKinnon, J. R., and S. N. Stuart [compilers].  1989.  The kouprey: an action plan for its conservation. Gland, Switzerland: IUCN.

    Nowak, R. M. [editor]. 1991.  Walker's Mammals of the World (Fifth Edition).  Baltimore: The Johns Hopkins University Press.

    Shuker, K.  1993.  The Lost Ark: new and rediscovered animals of the Twentieth Century.  London: HarperCollinsPublishers.

    Wilson, D. E., and D. M. Reeder [editors]. 1993. Mammal Species of the World (Second Edition). Washington: Smithsonian Institution Press.  Available online at http://nmnhwww.si.edu/msw/

Additional Resources

    Anon. 1975.  Kouprey in Thailand. Tigerpaper 2(3): 8-9.

    Anon. 1979.  Is it the last kouprey? Tigerpaper 7(2): 32.

    Anon. 1982.  Kouprey alert. Tigerpaper 9(3): 24.

    Cox, R., A. Laurie, and M. Woodford. 1992.  Report of the results of four field surveys for kouprey (Bos sauveli) in Viet Nam and Lao. P.D.R. Unpublished report, Kouprey Conservation Trust.

    Dioli, M.  1995.  A clarification about the morphology of the horns of the female kouprey: A new unknown bovid species from Cambodia.  Mammalia 59(4): 663-667.

    Duckworth, J. W., R. J. Timmins, R. C. M. Thewlis, T. D. Evans, and G. Q. A. Anderson.  1994.  Field observations of mammals in Laos, 1992-1993.  Natural History Bulletin of the Siam Society 42(2): 177-205.

    Groves, C. P.  1981.  Systematic relationships in the Bovini (Artiodactyla: Bovidae).  Zeitschrift fuer Zoologische Systematik und Evolutionsforschung 19(4): 264-278.

    Hendrix, S.  1995.  Quest for the kouprey.  International Wildlife 25(5): 20-23.

    Heng Kimchhay, Ouk Kimsan, Kry Masphal, Sin Polin, Uch Seiha and H. Weiler.  1998.  The Distribution of Tiger, Leopard, Elephant and Wild Cattle (Gaur, Banteng, Buffalo, Khting Vor and Kouprey) in Cambodia. Interm Report: July 1998. Wildlife Protection Office, Phnom Penh, Cambodia.

    Hoffmann, R. S.  1986.  A new locality record for the kouprey from Viet Nam, and an archaeological record from China. Mammalia 50(3): 391-395.

    Lekagul, B., and J. A. McNeely.  1977.  Mammals of Thailand.  Sahakarnbhat, Bankok.

    Lic Vuthy, Sun Hean, Hing Chamnan and M. Dioli.  1995.  A brief field visit to Mondolkiri Province to collect data on kouprey (Bos sauveli), rare wildlife for field training. Unpublished report to Canada Fund and IUCN.

    Nowak, R. M. [editor]. 1991.  Walker's Mammals of the World (Fifth Edition).  Baltimore: The Johns Hopkins University Press.

    Olivier, R., and M. Woodford.  1994.  Aerial surveys for Kouprey in Cambodia, March 1994. Gland, Switzerland and Cambridge, UK: IUCN/SSC.

    Oryx.  1974.  The kouprey survives. Oryx 12: 543.

    Read, B. 1988.  Throwing a lifeline to the endangered kouprey. International Zoo News 35(5): 26-29.

    Stuart, S.N. 1988.  New hope for the kouprey. IUCN Bulletin 19(4-6): 9.

    Suvanaborn, P. 1984.  Status of kouprey in Thailand. Biotrop Special Publications 21: 33-38.

    Westing, A. H., and C. E. Westing.  1981.  Endangered species and habitats of Vietnam.  Environmental Conservation 8(1): 59-62.

    Wharton, C. H.  1957.  An Ecological Study of the Kouprey (Novibos sauveli Urbain). Monographs of the Institute of Science and Technology, Monograph 5, Manila, Philippines.

    Wharton, C. H.  1968.  Man, fire and wild cattle in Southeast Asia. Proceedings of the Annual Tall Timbers Fire Ecology Conference 8: 107-167.

http://www.ultimateungulate.com/Artiodactyla/Bos_sauveli.html


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: PsanP_IT.31(ไพศาล ๓) ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 04:59:00 PM
ขอขอบคุณพี่"ฅนเมืองสิงห์ " ครับ  ที่นำข้อมูลมาให้อ่านกันโดยสะดวก

(เฉพาะภาษาไทย นะครับพี่)


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: K@RN # รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 05:05:45 PM
 :) ผมเคยเรียนตอนประถม กูปรี โคไพร เป็นสัตว์สงวน ครับถ้าจำไม่ผิด  :D


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 05:10:12 PM
 ;D  มีใครรู้จัก    เมย..........บ้าง


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: ทิดเป้า ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 05:17:22 PM
;D มีใครรู้จัก เมย..........บ้าง

 :oเมยใช่เลียงผา หรืแปล่าครับรอง


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 05:39:43 PM
ทางภาคใต้เรียก คูรัม หรือ โครัม ครับ ในความรู้สึกผม น่าจะเป็นพวกแพะภูเขาชนิดหนึ่ง มากกว่าสัตว์ตระกูลวัวป่าครับ ดูจากเขา ลำตัว กีบเท้า

คูรำ คือ เลียงผาครับ ทรวดทรงองค์เอวคล้ายๆแพะ
ส่วนคูปรีเป็นตระกูลวัว


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: TOTO*รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 07:09:56 PM
;D มีใครรู้จัก เมย..........บ้าง
[/qu
เมย= กระทิง


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: toi ที่ พฤศจิกายน 28, 2006, 11:13:25 PM
ตัวแบบนี้ใช่หรือเปล่าครับ..ถ้ามีจริงๆคงสวยสง่ากว่าวัวพันธ์ใหนๆ(http://img20.imageshack.us/img20/4955/cimg0007smallnb8.jpg) (http://imageshack.us)


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙ ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 12:14:53 AM
สมัยเด็ก จำได้ว่า คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล  เคยนำหัวคูปรี มาออกทีวี ช่อง 4 รายการ "ประกวดสารพัด" ครับ มีพู่รอบๆ เหมือนในภาพครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: ไทสกล ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 01:14:28 AM
ตัวแบบนี้ใช่หรือเปล่าครับ..ถ้ามีจริงๆคงสวยสง่ากว่าวัวพันธ์ใหนๆ(http://img20.imageshack.us/img20/4955/cimg0007smallnb8.jpg) (http://imageshack.us)

ผมว่าน่าจะมีตัวเป็นๆ หลงเหลือบ้างนะ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: นายอันตราย ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 01:49:04 AM
;D มีใครรู้จัก เมย..........บ้าง

อื่ม...รู้จักหลายคนครับ....กึ๋ย


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: jamin ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 02:04:51 AM
สมัยนี้อะไรก็หายากแล้วมั้งครับ...ป่าประเทศไทย ค่อนข้างเจริญเร็ว มีถนนราดยางมะตอยเข้าไปอำนวยความสะดวกในหลายๆที่
มีบ้านพักรับรองใหญ่โตของผู้ใหญ่หลายๆท่าน ไว้สำหรับจิบไวน์ชมป่าครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: o/uboy ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 10:50:06 AM
ขอบคุณครับทุกท่านสำหรับข้อมูล ไม่ทราบว่าเราจะหาดูเขาจริงๆได้ที่ไหนบ้างครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 11:06:07 AM
;D มีใครรู้จัก เมย..........บ้าง

  "เมย" คิดว่ามีคนรู้จักเยอะครับ แล้ว " วัวบา"  และพี่ป้อม   :D :D :D


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 11:12:58 AM
อ่านข่าวดู ผมว่า คนเขียนข่าว แปลความหมายของนักวิชาการผิดไปนะครับ  อาจตกแต่งข้อมูลลงไปอีก

อย่าง "วัวป่า ในเขมร"  แล้ววัวป่า ของเขมร มันคืออะไรละ สัตว์จำพวกไหนถึงจัดว่าอยู่ในตระกูลวัวป่า ?

กรูปรี  ล่าสุดมีข่าว พบในทางตอนใต้ของลาวครับ  เพราะสงครามกลางเมืองทำให้สัตว์เหล่านั้นอพยพไป  มีคนจะเข้าไปศึกษาเรื่องนี้ในลาวเหมือนกัน แต่คงติดขัดระเบียบเข้าไปได้ยาก  ต้นเรื่องคือนักข่าว ไปเจอเขา กรูปรี  ในโกดังพ่อค้าของป่า ชาวลาวครับ  เลยสอบถามถึงที่มา พบว่าเพิ่งล่ามาได้ไม่นาน


หัวข้อ: Re: สงสัย..คูปรีหรือโคไพร..สัตว์ไม่มีตัวตน เป็นความจริงหรือ
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ ธันวาคม 02, 2006, 01:53:32 PM
... :D :D :D...แล้วล่าสุด...เมื่อเร็ว ๆ นี้...ที่ออกข่าวว่าเจอตัวที่ ภูจองนายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลฯ...ไปถึงไหนแล้วครับ... ;D ;D ;D