หัวข้อ: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: montri รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2006, 09:29:32 AM ผมอยากทราบความหมายของแถบสีที่ ติดบน อกเสื้อ เห็นมีกันทุกท่าน แต่สีและการวางตำแหน่งไม่ค่อยเหมือนกัน
ขอบคุณนะครับ หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: pinkeaw ที่ ธันวาคม 01, 2006, 11:33:45 AM รอผู้รู้มาตอบ
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: หินเหล็กไฟ ที่ ธันวาคม 01, 2006, 11:36:47 AM ผมเป็นข้าราชการเหมือนกันครับแต่งเฉพาะตอนถ่ายรูปติดบัตร เขาเอาอะไรให้ก็เอาหมด ไม่ค่อยสนใจครับ ;D ;D
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: น้าเสก คนเดิม ที่ ธันวาคม 01, 2006, 11:40:05 AM ชั้นเอกจะมี 3 ชั้นนะครับ ส่วนชั้นโท ตรีจะมี 2 ชั้นครับ ส่วนความต่างของสีในแต่ล่ะชั้นก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: หนานปั๋น ที่ ธันวาคม 01, 2006, 01:20:37 PM เป็นแถบเครื่องราชที่ได้รับครับ ปกติ ที่เห็นก็จะมี ตระกูลช้าง กับมงกุฏ สลับกัน 5 ปีได้รับครั้งหนึ่งครับ หรือบางคนอาจได้รับเหรียญอย่างอื่นเช่น ทหารผ่านศึก ที่ผ่านสงคราม ฯลฯ ไม่ค่อยเห็นตัวอื่นเหมือนกันครับ ของผมเวลาทำงานถ้าแต่งเครื่องแบบเพื่อนจะบอก ว่าเป็นภารโรงครับ ถ้าแต่งเต็มยศจริง ๆ เพื่อน ๆ จะเรียกปลัด ข ครับ ฮิ ฮิ
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: CyberMan ที่ ธันวาคม 01, 2006, 01:23:29 PM ผมเป็นข้าราชการเหมือนกันครับแต่งเฉพาะตอนถ่ายรูปติดบัตร เขาเอาอะไรให้ก็เอาหมด ไม่ค่อยสนใจครับ ;D ;D เช่นกันครับ พอดีผมอยู่ส่วนกลางและก็ไม่เคยแต่งเครื่องแบบสีกากีเลย ยอมรับว่าไม่ค่อยทราบความหมายของแถบสี เวลาไปถ่ายรูปก็แค่บอกว่าซีอะไรและได้เครื่องราชฯ อะไร แล้วปล่อยเป็นหน้าที่ของทางร้านจัดติดมาให้ถูกต้อง... ;D หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: p23-504 รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2006, 02:03:09 PM แพรแถบที่ิติดประดับบนหน้าอกเสื้อด้านซ้าย เครื่องแบบปกติของข้าราชการ (เครื่องแบบที่ใช้ปฎิบัติราชการตามปกติ) เป็นส่วนย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จะมีส่วนประกอบคือ ตัวเครื่องราชฯ เป็นโลหะ และ แพรแถบสีต่างๆ ตามลำดับชั้นและชนิดของเครื่องราชฯ และเหรียญตรา ประกอบติดกับเข็มกลัดสำหรับประดับติดหน้าอกเสื้อเครื่องแบบเต็มยศ หรือ เครื่องแบบปกติขาว สำหรับเครื่องแบบปกติที่ใช้ปฎิบัติราชการ
ก็นำเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องราชฯ คือแพรแถบมาประดับเท่านั้น สำหรับ สีไหน ลายไหน เป็นเครื่องราชฯ หรือเหรียญอะไร นั้น เรื่องยาวครับท่าน ;D หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: นายต้นงิ้ว ที่ ธันวาคม 01, 2006, 02:46:22 PM รปภ.หลายบริษัท นำไปติด ดูโก้เก๋ ทั้งที่ไม่บังควร ร้านขายจะทราบว่า สีไหนหมายถึงอะไรไ ด้มาในโอกาศอะไร หลังกระทรวงฯ ลองเข้าไปสอบถามดู และมีโปสเตอร์ที่มีรูปแพรแถบบอกชื่อแยกเป็นชุดๆจำหน่ายสำหรับผู้อยากรู้ด้วยครับ ขอบคุณ
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: charlie4 ที่ ธันวาคม 01, 2006, 03:02:43 PM ขอเพิ่มข้อมูลเท่าที่ทราบนะครับ พวก รปภ.ตามบริษัทต่างๆ ที่ติดแถบ จะไม่มีสัญลักษณ์ที่ระบุชั้นของเครื่องราช เช่น ช้างหรือมงกุฎที่ติดบนแถบสีนะครับ เป็นแค่แถบสีซึ่งหมายถึงเหรียญหรือเครื่องหมายที่เป็นอนุสรณ์ หรือที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆที่ออกโดยทางราชการ และ รปภ.ส่วนใหญ่จะเคยผ่านการเกณฑ์ทหารหรือเคยเป็น ขรก.มาก่อนครับ ดังนั้นน่าจะสามารถติดได้ หากไม่มีการแสดงชั้นเครื่องราช ครับผม
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2006, 03:08:06 PM แทบสีที่หน้าอกข้างซ้ายนั้นเป็นแทบแสดง 2 สิ่ง จะประกอบไปด้วย
1.เครื่องราชที่ได้รับพระราชทาน เช่น รูปช้างก็คือตระกูลช้างเผือก รูปมงกุฎก็คือตระกูลมงกุฎไทย และจะแบ่งเป็นสัญลักษ์ตามชั้นที่ได้ 2.เหรียญที่ระลึกในโอกาศต่าง ๆ เช่น เหรียญ 25 พุทธฯ เป็นต้น ที่นี้หากรับราชการใหม่ ๆ ก็ยังไม่มีโอกาศได้รับพระราชทานเครื่องราช แต่สามารถติดแทบเหรียญได้ ซึ่งท่านเจ้าของกระทู้ก็คงหมายถึงแทบสีอันนี้ ช่องแต่ละช่องเป็นการแทนเหรียญที่ระลึกต่าง ๆ ซึ่งหากจะติดเครื่องราชแบบเต็มยศหรือติดเหรียญที่ระลึกฯไปก็คงไม่เหมาะจึงใช้การติดแทบแทน สำหรับเหรียญที่ระลึกนั้นก็มีกฎอยู่ว่า อย่าติดเหรียญที่ออกก่อนปีเกิดของตนเอง เช่นผมเกิดปี 2519 ก็ไมสามารถติดเหรียญ 25 พุทธฯ(ซึ่งออกในปี 2500) ที่นี้หากไปติดแบบมั่วขึ้นมาคนรู้เขาก็จะแกล้งทักว่าโอโห้หน้าตาดูอ่อนกว่าวัยจังอะไรทำนองเนี่ยครับ......บางคนก็จะติดแทบเหรียญแบบย่อก็จะมีแค่เหมื่อนโบว์อันเดียวก็ไม่ผิดอะไรครับ......ส่วนการแต่งชุดขาวนั้นหากแต่งเต็มยศ(เครื่องราชและเหรียญที่ระลึกตัวจริง)จะต้องใช้กางเกงสีดำไม่ใช้กางเกงสีขาวครับ.......ขออนุญาติแทรกเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับคำเรียกของพวกข้าราชการ เช่นแทบเหรียญที่ระลึกโล้น ๆ ไม่มีเครื่องราชนี่จะเรียกกันเล่น ๆ ว่าแทบไฟเลี้ยว :~)............เหรียญจักพรรดิมาลา(ทำงานครบ 25 ปี)....จะเรียกันว่าเหรียญดื้อ สมัยก่อนข้าราชการบางคนใส่เข็มขัดหัวครุฑ(เป็นครุฑแล้วแจะรูยึดกับหัวเข็มขัด)แล้วครุฑหมุดเอาหัวปักลงก็จะโดนแซวว่าเมาหัวทิ่ม ส่วนบางทีติดตราสิงห์แล้วพลาดคือหันหน้าออกจากกันไปทางบ่าก็จะโดนแซวว่าวันนี้ออกป่าหรือไง.....แต่ที่ฮาสุดคือพวกพลาดเอาสิงห์ข้างเดียวกันมาติดพร้อมกัน(ส่วนมากมักจะเกิดกับคนที่รับราชการนาน ๆ และอายุเริ่มมากมีตราแสดงหน่วยงานหลายอัน)ก็จะกลายเป็นพวกโดนสิงห์ไล่กัดเป็นต้นครับ ;D เป็นแถบเครื่องราชที่ได้รับครับ ปกติ ที่เห็นก็จะมี ตระกูลช้าง กับมงกุฏ สลับกัน 5 ปีได้รับครั้งหนึ่งครับ หรือบางคนอาจได้รับเหรียญอย่างอื่นเช่น ทหารผ่านศึก ที่ผ่านสงคราม ฯลฯ ไม่ค่อยเห็นตัวอื่นเหมือนกันครับ ของผมเวลาทำงานถ้าแต่งเครื่องแบบเพื่อนจะบอก ว่าเป็นภารโรงครับ ถ้าแต่งเต็มยศจริง ๆ เพื่อน ๆ จะเรียกปลัด ข ครับ ฮิ ฮิ สมัยก่อนนั้นคนที่ทำงานบนอำเภอจะถูกเหมาเรียกว่าปลัดหมดครับ เรื่องตลกก็คือทั้งภารโรง คนขับรถก็เป็นปลัดไปกับเขาด้วย และอย่าดูถูกภารโรงรุ่นเก่านะครับ บางคนนี่ด้วยความอยู่นานช่างจดช่างจำเลยเก่งมาถึงขนาดเรื่องราชการบางเรื่องปลัดบรรจุใหม่ ๆ ต้องมาขอคำแนะนำ ;Dหัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: big single ที่ ธันวาคม 01, 2006, 03:15:57 PM ตัวอย่าง ท.ช. ประดับร่วมกับ ท.ม. และเหรียญราชอิสริยาภรณ์
ตำรวจ ทหาร พลเรือน หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: big single ที่ ธันวาคม 01, 2006, 03:24:49 PM ไหนๆก็ไหนๆแล้วเอ๊า..เอาไปดูให้ตาแฉะกันเลย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ เป็นเครื่องหมายที่ใช้ประดับสำหรับเกียรติยศ และเป็นบำเหน็จรางวัลความดี ความชอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแรกสถาปนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตราประจำตำแหน่งพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีทั้งหลาย นับเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยในปัจจุบัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงและเพิ่มเติมดวงตราดาราสายสะพาย กำหนดชื่อชั้น และออกเป็นพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นครั้งแรก 1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 ด้วยเหตุผลที่ทรงพระราชดำริว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เพิ่มพูนความสัมพันธ์กับนานาประเทศมากขึ้น สมควรที่จะได้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้ พระราชทานแก่ประมุขของประเทศเหล่านั้นเป็นพิเศษ 2. เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) มีชั้นเดียว สถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2425 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ได้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมาครบ 100 ปี สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งสืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรสด้วย 3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) มีความเป็นมาสืบแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดารานพรัตนขึ้นสำหรับใช้ประดับที่เสื้อ ซึ่งทรงเรียกว่า "เครื่องประดับสำหรับยศ" นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างแหวนนพรัตนสำหรับพระราชทานแก่พระราชวงศ์ฝ่ายหน้าและฝ่ายในตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นพุทธมามกะ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างดวงตรามหานพรัตน สำหรับห้อยสายสะพายขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องราช อิสริยาภรณ์ไทย เมื่อพุทธศักราช 2412 4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า สถาปนาในรัชสมัยพระบาทพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2416 ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ โดย พระราชทานเฉพาะฝ่ายหน้า สำหรับฝ่ายในโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกล่อง หมากและหีบหมากพระราชทานแทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 เนื่องในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับ ฝ่ายในขึ้น เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ประกอบด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับฝ่ายหน้า มี 3 ชั้น ชั้นที่ 1 มี 2 ชนิด คือ 1.1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ 1.2 ปฐมจุลจอมเกล้าชั้นที่ 2 มี 2 ชนิด คือ 2.1 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ 2.2 ทุติยจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 มี 3 ชนิด คือ 3.1 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ 3.2 ตติยจุลจอมเกล้า 3.3 ตติยานุจุลจอมเกล้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับฝ่ายใน มี 4 ชั้น ชั้นที่ 1 มีชนิดเดียว คือ ปฐมจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 มี 2 ชนิด คือ 2.1 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ 2.2 ทุติยจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 มีชนิดเดียว คือ ตติยจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 4 มีชนิดเดียว คือ จตุตถจุลจอมเกล้า 5. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี สถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2461สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ได้ทำความชอบพิเศษหรือเป็นประโยชน์ เป็นผลดีแก่ราชการทหารทั้งในเวลาสงครามหรือในยามสงบศึก ปัจจุบันหลักเกณฑ์การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยา ภรณ์อันมีมีศักดิ์รามาธิบดี พ.ศ.2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชุดนี้มี 6 ชั้น ดังนี้ ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.) ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.) ชั้นที่ 3 โยธิน (ย.ร.) ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.) ชั้นที่ 5 เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.) ชั้นที่ 6 เหรียญรามมาลา (ร.ม.) 6. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "ตราช้างเผือก" เมื่อปี พ.ศ.2404 ทรงสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแผ่นทองคำสลักเป็นรูปช้าง สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่ออกไปเป็นทูตต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขดวงตราเก่า และจัดเพิ่มเติมให้มีสายสะพายกำหนดชื่อและชั้น สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชนตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ แบ่งเป็น 8 ชั้น ดังนี้ ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.) ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.) 7. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย สถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2412 สำหรับพระราชทานแก่ผู้ กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรูปลักษณะขึ้นใหม่เป็น รูปลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานสืบเนื่องกันมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างชั้นสูงสุดเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเครื่องราชอิสริยาภรณ์แบ่งเป็น 8 ชั้น ดังนี้ ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.) ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.) 8. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณากรณ์ สถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพุทธศักราช 2534 สำหรับพระราชทาน แก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ ประเทศ ศาสนา และประชาชน ตามที่พระราชดำริเห็นสมควร เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มี 7 ชั้น ดังนี้ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.) ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.) ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.) ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.) ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.) ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.) ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.) นอกจากนี้ยังมีเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งหมายถึง เหรียญต่าง ๆ ที่ พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับเป็นบำเหน็จความขอบในการสงคราม บำเหน็จ ความชอบในราชการแผ่นดิน บำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: montri รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2006, 04:01:01 PM ขอบคุณทุกท่านมากครับผม
ท่านซีอุสและท่านบิ้ก ซิงเกิ้ล ยอดๆๆๆๆๆๆ ระเอียดยิบ หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: Been ที่ ธันวาคม 01, 2006, 04:31:47 PM ตามหน่วยงานจะมีหนังสือคู่มือ ;D ผมไม่ได้ใส่เครืองแบบ มา 2 ปีกว่า เมื่อคืนลองใส่ดู ติดกระดุมไม่ได้ :P ;D ซิปก็รูดไม่ได้ สงสัยจะผอมลง ;D :<<
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: หนานปั๋น ที่ ธันวาคม 01, 2006, 04:43:26 PM ขอบคุณครับ อยากรู้ว่าปีนี้เราได้เครื่องราชอะไรพิมพ์เข้าไปสอบถามได้ครับ คราวที่แล้วผมทดสอบเรตติ้งชื่อผมและของครอบครัว ในกูเกิล มีชื่อพี่ได้เครื่องราชด้วยครับ ฮิ ฮิ
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: อดิศักดิ์--รักในหลวง-- ที่ ธันวาคม 01, 2006, 05:35:58 PM ผมเองอยู่ป่ามานาน ไม่ค่อยได้แต่งเครื่องแบบ เดี๋ยวนี้แต่งไม่ค่อยถูกแล้วละครับ แถบเครื่องราช ฯ เก็บไว้ในตู้ยังใหม่เอี่ยมครับ :)
หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: deang ที่ ธันวาคม 02, 2006, 04:46:12 PM งานหลวง ... ....ก็ ทำมา จน ผ่าน เหรียญ ดื้อ ..... ใบประกาศ +เหรียญ เท่าไร ๆ ... (เก็บ ซุก อยู่ที่ใหนบ้าง ก็ ยัง ไม่รู้.. ไม่ได้โชว์ อยู่บน ฝาบ้าน )
แม้แต่ .. ชุดกากี ไม่ เคย แต่งซักครั้ง .... ชุด ขาวไม่ถึง 10 ครั้ง .... เลย เป็นว่า ไม่ รู้ว่า อารัย เป็น อารัย เล้ย ... ซัก กะ อย่าง ... อย่าไปยึด ติด ถือ มั่น เลยยย .. อ่า ครับ หัวข้อ: Re: เรียนถามท่านข้าราชการ อีกครั้ง เริ่มหัวข้อโดย: M 60 - 7 รักในหลวง ที่ ธันวาคม 02, 2006, 04:54:37 PM ได้ความรู้เพิ่มจากคำตอบของหลายๆ ท่านครับ ขอบพระคุณมากครับ
|