เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: thachang ที่ ตุลาคม 25, 2007, 06:12:42 PM



หัวข้อ: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: thachang ที่ ตุลาคม 25, 2007, 06:12:42 PM
ความหมายของคำว่า  "โอนลอย"  เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ  มีผลดี-เสีย  ต่อผู้ที่ต้องการจะซื้อปืนมาเป็นเพื่อนข้างกายอย่างไรบ้างครับ รบกวนแนะนำหน่อยครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: rockguns ที่ ตุลาคม 25, 2007, 07:21:16 PM
             เซ็นชื่อเจ้าของปืนสลักหลังอย่างเดียวไม่ระบุชื่อผู้รับโอน ประกอบกับสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของปืน ซึ่งกฎหมายถือว่าไม่สมบูรณ์ผิดกฎหมายครับ แต่มีคนฝ่าฝืนกัน  ผู้ครอบครองปืนผิดกฎหมายอาวุธปืนผิดมือ ต้องโทษจำคุก   ใบป.4 ถือว่าเสียแล้ว ปืนไม่มีเจ้าของ
             บางที่บัตรประชาชนหมดอายุต้องตามกันอีกยาก บางทีเจ้าของเดิมตายแล้วก็มี จะไปตามที่ไหน ทำให้ปืนที่ถูกต้องกลายเป็นเถื่อนไปต้องส่งปืนคืนทางราชการ มีทำกันเยอะในวงการพนันที่จำนำแล้วขายต่อเลย
             ดีที่สุดคือ จูงมือเจ้าของไปโอนกันที่สำนักที่โอนทะเบียน ที่กรุงเทพฯวังไชยา ต่างจังหวัดที่ว่าการอำเภอ ดีกว่าครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: .。.C╠╣ⓔ t. ที่ ตุลาคม 25, 2007, 09:24:14 PM
ลองค้นหาดูครับ พิมพ์คำว่าโอนลอย ในช่องค้นหาจะมีกรณีต่างๆให้ศึกษาได้ความรู้มากขึ้นครับ 8)


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 26, 2007, 07:39:11 AM
โอนลอย ไม่ผิดกฎหมายในตัวของมันเอง
แต่ผลของการโอนลอย  อาจจะทำให้
ผู้ขายมีความผิดฐานโอนปืนให้กับผู้ (ยัง) ไม่ได้รับใบอนุญาต
ผู้ซื้อมีความผิดฐานครอบครอง ฯ แบบปืนผิดมือ

แต่ก็มีวิธีที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโอนลอย  ไม่ผิดกฎหมาย

ลองอ่านหน้ากฎหมายของ อวป. ย้อนกลับไปสักปีเศษ ๆ


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: skajy ที่ ตุลาคม 26, 2007, 09:37:26 AM
 อันนี้ผมลอกมาจากหนังสือ gunsandgames ที่ผู้การสุพินท์ เขียนไว้ ลองเอาไปใช้ดุแล้วกันนะครับ
เซพไปแล้วจัดหน้าไหม่ ก็ใช้ได้




                                                                         สัญญาซื้อขายอาวุธปืน

                        เขียนที่.....................................
                        .............   ..................................
วันที่...........................................

สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง...................................................................ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ขาย” ฝ่ายหนึ่งกับ.........................................................................ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ซื้อ” อีกฝ่ายหนึ่ง ผู้ซื้อและผู้ขาย
ได้ตกลงซื้อขายอาวุธปืน............................................ขนาด...............เลขปืน...........................................เครื่องหมายเลขทะเบียน.......................................
โดยผู้ขายได้รับเงินค่าอาวุธปืนไว้แล้ว และผู้ซื้อได้รับอาวุธปืนพร้อมใบอณุญาต, สำเนาทะเบียบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวของผู้ขายไว้แล้วเมื่อวันที่...............................................เวลา.......................
   ภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 459     ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกันว่ากรรมสิทธิ์ในอาวุธปืนที่ขายจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อต่อเมื่อผู้ซื้อได้รับใบอณุญาตจากนายทะเบียนอาวุธปืนแล้ว
   ผู้ขายได้มอบอำนาจให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำพาอาวุธปืนที่ขายไปทำการตรวจ และบัญทึกหลักฐานประกอบการโอนอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ต่อนายทะเบียนอาวุธปืน


                                                                               ........................................................... ...ผู้ขาย
                                                                         (... ...........................................................)
                                                                               ........................................................... .....ผู้ซื้อ
                                                                                   (........................................................... ...)
                                                                               ........................................................... ..พยาน
                                                                        (........................................................... ...)
                                                                               ........................................................... .พยาน
                                                                         (........................................................... ...)


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: thutsayu - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 26, 2007, 09:54:47 AM
ขอถามครับ
พยาน 2 ท่าน ที่ต้องลงนาม
จะต้องเป็นใครครับ.....ผมหมายความว่า
เป็นประชาชนธรรมดาใครที่บรรลุนิติภาวะก็เป็นพยานได้
หรือต้องเป็นพวกของนายทะเบียนปืน(ข้าราชการ)ครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 26, 2007, 10:56:36 AM
ขอถามครับ
พยาน 2 ท่าน ที่ต้องลงนาม
จะต้องเป็นใครครับ.....ผมหมายความว่า
เป็นประชาชนธรรมดาใครที่บรรลุนิติภาวะก็เป็นพยานได้
หรือต้องเป็นพวกของนายทะเบียนปืน(ข้าราชการ)ครับ

เรื่องง่าย ๆ แค่นี้  บรรลุนิติภาวะก็พอครับ
บางเรื่อง เช่นพินัยกรรม  ค่อยให้ความสำคัญกับพยาน
เช่นคนหนึ่งเป็นแพทย์ เพื่อยืนยันว่าสติสมบูรณ์ ตอนเซ็นไม่บ้า หรือติงต๊อง   อีกคนหนึ่งเป็นทหารหรือตำรวจ เพื่อยืนยันว่าเจ้ามรดกไม่ถูกข่มขู่


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ ตุลาคม 26, 2007, 11:07:51 AM
โอนลอย ไม่ผิดกฎหมายในตัวของมันเอง
แต่ผลของการโอนลอย  อาจจะทำให้
ผู้ขายมีความผิดฐานโอนปืนให้กับผู้ (ยัง) ไม่ได้รับใบอนุญาต
ผู้ซื้อมีความผิดฐานครอบครอง ฯ แบบปืนผิดมือ


แต่ก็มีวิธีที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโอนลอย  ไม่ผิดกฎหมาย

ลองอ่านหน้ากฎหมายของ อวป. ย้อนกลับไปสักปีเศษ ๆ

...น่าจะเป็นด้วยเหตุนี้  ใครจะประกาศขายปืนในเว็บ อวป.  จึงต้องระบุว่า "ไม่โอนลอย" ครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 26, 2007, 11:28:42 AM
คำว่า "โอนลอย"  ไม่ใช่คำที่มีอยู่ ใน พรบ.อาวุธปืนฯ
เพียงแต่เป็นการเลือกใช้คำกันเอง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

ฉะนั้นโดยคำ คำนี้ คือข้อเท็จจริง ตาม พรบ.อาวุธปืนฯ มาตรา ๓๔
ที่กฎหมายบังคับที่เจ้าของอาวุธปืน จะต้องกระทำให้ถูกต้องมิฉะนั้น
จะเข้าข้อเท็จจริงตามคำว่า  " โอนลอย" 
สาระสำคัญอยู่ที่ ไม่ไปขออนุญาตให้มีและใช้ให้ถูกต้อง ก่อนการซื้อขาย
ก่อนการส่งมอบการครอบครองอาวุธปืน

ผู้ที่ฝ่าฝืน มาตรา ๓๔  จะมีโทษอยู่ใน มาตรา ๗๓ ทวิ. . ครับ :)



หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 26, 2007, 11:34:01 AM

การใดที่กฎหมาย บังคับให้ต้องกระทำตามแบบ.  ในคดีที่มีโทษอาญา จะกำหนดโทษไว้
จะต้องกระทำตามนั้น แบบสัญญาใดที่ทำขึ้นต่อกัน.. เป็นเรื่องการผูกพันต่อคู่กรณี

และใช้ยันในความบริสุทธิ์ กรณี ที่อาวุธปืนถูกนำไปก่ออาชญกรรม ..
แต่ไม่ได้ทำให้ท่านต้องพ้นผิด..  ตามมาตรา ๗๓ ทวิ


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: rockguns ที่ ตุลาคม 26, 2007, 04:01:22 PM
                 รับทราบความรู้อันนี้แต่ละท่านคือสารานุกรม ขออนุญาตแนะนำทำให้กระทู้นี่ไม่ตกหน้า  ผมเห็นว่าคงมีคนจำนวนมากที่ทำแบบนี้เยอะ น่าช่วยให้หลายท่านมาอ่านโดยไม่ต้องตั้งกระทู้ใหม่ขึ้นมาถามอีกนะครับ ด้วยความเคารพ ครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: thachang ที่ ตุลาคม 26, 2007, 04:48:08 PM
ที่ทางคุณพี่ skajy  ระบุถึงหลักฐานของผู้ขายที่ต้องนำมาด้วย (กรณีโอนลอย)  ที่เขียนว่าใบอณุญาติ  คำว่าใบอณุญาตินี้คือ  ใบ  ป.4  อย่างเดียวใช่ไหมครับ  รบกวนอีกครั้งครับ 


หัวข้อ: Re: ความหมายของคำว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไรครับ และถูกกฎหมายไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: rockguns ที่ ตุลาคม 26, 2007, 04:54:38 PM
ที่ทางคุณพี่ skajy  ระบุถึงหลักฐานของผู้ขายที่ต้องนำมาด้วย (กรณีโอนลอย)  ที่เขียนว่าใบอณุญาติ  คำว่าใบอณุญาตินี้คือ  ใบ  ป.4  อย่างเดียวใช่ไหมครับ  รบกวนอีกครั้งครับ 
           
             ในที่นี้ต้องหมายถึง ป3. ครับ อนุญาตให้รับโอนครับ แล้วถึงนำ ป3 ไปออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ป4 .อีกทีครับ