หัวข้อ: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: ชายเจษฎ์ ที่ กรกฎาคม 19, 2005, 09:48:14 PM คือผมไม่ค่อยจะเข้าใจใน พรก. ใหม่ที่จะนำมาใช้ใน 3 จชต. รบกวนผู้รู้ด้วยครับ แล้วรายละเอียดมีอะไรบ้างครับ เพราะตอนนี้ข่าวลือมากเหลือเกิน ต่างคนต่างพูดกันไป เลยคิดว่าน่าจะได้ความคิดเห็นดีๆและมุมมองกว้างๆบ้างครับ
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: นาจา™รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 19, 2005, 09:56:07 PM ......เผด็จการ.....
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 19, 2005, 09:57:52 PM ......เผด็จการ..... >:( สั้น ๆ ง่าย ๆ ตรงจุด ไม่มีคำไหนชัดกว่าคำนี้เลยครับ >:( หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ กรกฎาคม 19, 2005, 10:19:35 PM http://www.dsi.go.th/dsi/news_index.jsp?id=719
ข้อมูลนะครับลองอ่านะดูนะครับว่าเค้ากำหนดอะไรบ้าง หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: INTEND ที่ กรกฎาคม 19, 2005, 10:27:44 PM ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเชื่อใครดี บางคนก็สนับสนุน บางคนก็คัดค้าน เลยไม่รู้ว่าจะมีผลดีผลเสียไปในทิศทางอย่างไร
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 19, 2005, 11:19:52 PM มันควรจะมีกฎหมายมาคั่นกลาง ระหว่างกฎหมายในสถานการณ์ปกติ กับสถานะสงคราม เพราะเหตุการณ์ในภาคใต้ ยังไม่ถึงขนาดที่จะใช้กฎอัยการศึก
แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ ก็ยังมีลักษณะเผด็จการมากเกินไป และไม่มีเนื้อหาที่ปกป้องประชาชน รวมทั้งควบคุมการใช้อำนาจเกินขอบเขตของ จนท. หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: b@ll - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 19, 2005, 11:38:03 PM เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ...ต้นเหตุจริงๆคงหมดหนทางที่จะปราบปรามพวกนั้นแล้วกระมัง
ดีแต่พูดว่าเรารู้ตัวคนทำแล้ว....เราควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว แต่ไม่เห็นจับกุมปราบปรามได้สักที มีแต่จะร้ายแรงขึ้นทุกวันๆ หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: pnc3888 ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 12:11:34 AM เชิญชม ถึงลูก ถึงคน ช่อง 9 ..19 กค. 48
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 02:24:48 AM ......เผด็จการ..... พี่นาจาตอบครอบคลุมแล้วคับ... ;) หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: Army - รักในหลวงครับ ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 10:40:03 AM สงสัยเหมือนกันครับ อยากทราบว่าอำนาจของเจ้าหน้าที่ระหว่างการประกาศกฎอัยการศึกหรือการประกาศภาวะฉุกเฉินมีน้อยกว่ากฎหมายฉบับนี้เหรอครับ จึงต้องออกกฎหมายใหม่ เพราะผมนึกว่าถ้าประกาศกฎอัยการศึกแล้วเจ้าหน้าที่มีอำนาจทุกรูปแบบในการควบคุมความสงบเรียบร้อย งงครับ ??? :
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: salin - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 01:19:02 PM ทุกคนก็อยากให้ภาคใต้สงบ น่าเสียใจที่ผ่านมาแก้ปัญหาภาคใต้เหมือนหนูลองยา คุยกับแต่ละหน่วยให้คำตอบถึงปัญหาไม่เหมือนกันเลย พรก.ฉบับนี้เป็นยาอีกขนานที่รัฐบาลใช้ แต่ยานี้ผสมผิดสูตรเลยออกมาเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ น่าเป็นห่วงผู้บริสุทธิ เรายังควบคุมระดับผู้ปฏิบัติระดับล่างไม่ได้เลย ที่ผ่านมาก็เห็นอยู่แล้วกรณีตากใบที่จับยัดใส่รถโดยขาดความรอบคอบ ตายและพิการไปเป็นสิบ ถ้า พรก.ให้อำนาจมากขนาดนี้น่าเป็นห่วงจริง
บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หลักการ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุผล โดยที่กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติต่างๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐที่มีหลากหลายรูปแบบให้ยุติลงได้โดยเร็ว และเนื่องจากที่ในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐซึ่งมีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้น จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต และก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ รวมทั้งทำให้ประชาชนได้รับอันตรายหรือเดือดร้อนจนไม่อาจใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข และไม่อาจแก้ไขปัญหาด้วยการบริหารราชการในรูปแบบปกติได้ สมควรต้องกำหนดมาตรการในการบริหารราชการสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้รัฐสามารถรักษาความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนให้กลับสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ร่างพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 44 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 มาตรา 4 ในพระราชกำหนดนี้ สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจจะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา 5 เมื่อปรากฏว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น และนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกันช่วยเหลือ ป้องกัน แก้ไข ปราบปราม หรือระงับยับยั้ง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตบางท้องที่ได้ตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อนแล้ว ดำเนินการให้ได้รับความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรีภายในสามวัน หากมิได้ดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนด หรือคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ให้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลา ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศขยายระยะเวลาการใช้บังคับออกไปอีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกินสามเดือน เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ หรือเมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ และเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรรมการ และเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ติดตามและตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่อาจเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามมาตรา 5 หรือสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงตามมาตรา 11 และในการใช้มาตรการที่เหมาะสมตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อการป้องกัน แก้ไขหรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ความในมาตรานี้ไม่กระทบกระเทือนการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 5 ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุการณ์จำเป็นเร่งด่วน อันอาจเป็นภัยต่อประเทศหรือประชาชน มาตรา 7 ในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามมาตรา 5 ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง หรือหลายกระทรวงหรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายใดก็ตาม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปรม หรือระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว เพื่อให้การสั่งการและการแก้ไขสถานการณ์เป็นไปโดยมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ การกำหนดให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี ตามกฎหมายใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชกำหนดนี้ และเพื่อปฏิบัติงานตามกฎหมายที่ได้รับโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง โดยให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายนั้น ในการนี้ นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้ส่วนราชการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ หรือทหารซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี ผู้บัญชาการตำรวจ แม่ทัพ หรือเทียบเท่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และกำหนดให้เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ และบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนี้ ให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปตามการสั่งการ ของหัวหน้าผู้รับผิดชอบนั้น เว้นแต่การปฏิบัติหน้าที่ทางทหารให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร แต่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการ ที่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็น คณะรัฐมนตรีอาจให้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้เป็นการชั่วคราวได้ จนกว่าจะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนหนึ่ง หรือหลายคนเป็นผู้ใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง วรรคสาม หรือวรรคสี่แทน หรือมอบหมายให้เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสาม หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามวรรคสี่ และหน่วยงานตามวรรคห้าได้ และให้ถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ข้าราชการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการประสานการปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์ และความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่ นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจมีคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคลหรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงาน ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ได้ ให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ตามขอบเขตการปฏิบัตหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง มาตรา 9 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ (1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น (2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย (3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร (4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ (5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ (6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดเงื่อนไขเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดพื้นที่ และรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุได้ มาตรา 10 เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ให้สามารถกระทำได้โดยรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีอาจมอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบตามมาตรา 7 วรรคสี่ เป็นผู้ใช้อำนาจออกข้อกำหนดตามมาตรา 9 แทนก็ได้ แต่เมื่อดำเนินการแล้วต้องรีบรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว และถ้านายกรัฐมนตรีมิได้มีข้อกำหนดในเรื่องเดียวกัน ภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกข้อกำหนด ให้ข้อกำหนดนั้นเป็นอันสิ้นผลใช้บังคับ มาตรา 11 ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้น เป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง และให้นำความในมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อมีประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว นอกจากอำนาจตามมาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 10 ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (1) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุม และควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือที่เป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือที่ปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใดๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง (2) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน (3) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน (4) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็ว และหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที (5) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ โดยอนุโลม (6) ประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน (7) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักร จะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัยของประเทศ (8) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการ ให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม (9) ประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบ หรือก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด (10) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดดเด่น ทั้งนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายทหารจะทำได้ในกรณีใดได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยกาศึก เมื่อเหตุการณ์ร้ายแรงตามวรรคหนึ่งยุติลงแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศตามมาตรานี้โดยเร็ว มาตรา 12 ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยตามประกาศในมาตรา 11 (1) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลา การควบคุมตัวต่อได้อีกคราวละเจ็ดวัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่าสามสิบวันเมื่อครบกำหนดแล้ว หากจะต้องควบคุมตัวต่อไป ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาต ตามวรรคหนึ่ง และจัดสำเนารายงานนั้นไว้ ณ ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ การร้องขออนุญาตต่อศาลตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการขอออกหมายอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 13 สิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ประกาศตามมาตรา 11 (9) หากเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร นายกรัฐมนตรีอาจประกาศให้ใช้มาตรการดังกล่าวทั่วราชอาณาจักรหรือในพื้นที่อื่นซึ่งมิได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ มาตรา 14 ประกาศและข้อกำหนดตามมาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 11 และมาตรา 15 เมื่อมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มาตรา 15 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา 16 ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา 17 พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มาตรา 18 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 13 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 19 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรี หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: JJ-รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 01:23:47 PM ......เผด็จการ..... ถูกต้องคร๊าบ... :~)หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: paisit ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 01:27:04 PM ถอยหลังเข้าคลองจิงๆ
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: babor ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 01:28:45 PM มันควรจะมีกฎหมายมาคั่นกลาง ระหว่างกฎหมายในสถานการณ์ปกติ กับสถานะสงคราม เพราะเหตุการณ์ในภาคใต้ ยังไม่ถึงขนาดที่จะใช้กฎอัยการศึก เห็นด้วยครับ ... เกรงแต่ว่าออก พรก. นี้มาเพื่อที่จะได้ปิดบังกระแสขาลงของตนเอง ทำให้ดูดีขึ้น เพราะสามารถควบคุมสื่อในการฉายภาพและเสียงได้แล้วนี่ หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: NINE A ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 01:40:29 PM (10) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดดเด่น ทั้งนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายทหารจะทำได้ในกรณีใดได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยกาศึก
มาตร 11 (10) อันนี้เข้าคลองมากที่สุด :<< หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่ง_รักในหลวงมากครับ ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 02:08:57 PM ;Dนาย ก เคยบอกไม่ใช่หรือมันก็แค่ โจรกระจอก เดี๊ยวนี้โจรกระจอกต้องใช้ พรก. เชียวหรือ
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 02:17:44 PM ;Dนาย ก เคยบอกไม่ใช่หรือมันก็แค่ โจรกระจอก เดี๊ยวนี้โจรกระจอกต้องใช้ พรก. เชียวหรือ อย่าให้ท่านกลืนน้ำลายตัวเองเลยครับ ท่านจะลำบากต้องหาถังใหญ่ๆ มาใช้ตัก หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 02:56:14 PM ในที่สุดก็หมดน้ำยา แต่เอ๊ะ....เขาเรียกความไม่สงบนี่ว่า ... "สงคราม" ... แล้วหรือ ??? ???
น่าจะปรับเปลี่ยนแนวคิด และคนทำงาน เพราะเห็นเปลี่ยนหน้า เปลี่ยนคน แต่ความคิดก็เดิมๆ เก่าๆ ที่มันไม่เป็นผล เอาคนส่วนกลาง คนของตนเอง คนที่เคยมีผลงานเมื่อชาติที่แล้ว แต่ความคิดไม่ทันสมัยมานั่งเป็นใหญ่ ผลาญเงินชาติเปล่าๆ หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: yakdee ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 03:54:07 PM มันเป็นสิ่งที่แสดงสัจธรรมที่ว่า อำนาจ เป็นของผู้ใช้ และมนุษย์ผู้ใช้อำนาจ..ย่อมถูกอำนาจใช้ให้ไปในทางที่...(กลัวเวปล่ม)
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ กรกฎาคม 20, 2005, 08:18:09 PM ...หมดความน่าเชื่อถือไปทุกที :-\
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 21, 2005, 07:59:37 AM :). แนวทางผิด เป้าเปลี่ยน.. จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมาอีก. อยากให้ ๓ จังหวัดภาคใต้สงบ. ยังหวังให้ผู้รับผิดในการแก้ปัญหา. จะได้เดินถูกทาง. โดยไม่หยิบฉวยสถานการณ์เพื่อเพิ่มอำนาจแก่กลุ่มตน.. อำนาจใช้ผิด..จะทำให้คนใช้ชิบ..ทั้งโค ตระ.. ???
หัวข้อ: Re: ขอถามนักกฏหมายครับ เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ กรกฎาคม 21, 2005, 08:08:18 AM :). แนวทางผิด เป้าเปลี่ยน.. จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมาอีก. อยากให้ ๓ จังหวัดภาคใต้สงบ. ยังหวังให้ผู้รับผิดในการแก้ปัญหา. จะได้เดินถูกทาง. โดยไม่หยิบฉวยสถานการณ์เพื่อเพิ่มอำนาจแก่กลุ่มตน.. อำนาจใช้ผิด..จะทำให้คนใช้ชิบ..ทั้งโค ตระ.. ??? ... :-\ >:( |