หัวข้อ: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: popeye ที่ สิงหาคม 13, 2005, 07:55:56 PM http:// เหล็ก
เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการผลิตปืนมากที่สุด เพราะเป็นวัสดุที่ทุกคนให้การยอมรับว่านอกจากจะมีความแข็งแรง แล้วเหล็กจะแพ้สนิม มีเหล็กที่ไหนก็มีสนิมที่นั่นครับ หากคุณนำปืนที่ทำจากเหล็กไปเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้น ก็อาจจะทำให้ปืนคุณเป็นสนิมและเกิดความชำรุด เสียหายได้ในที่สุดครับ และอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีปัญหาสำหรับเหล็กเสมอในการสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆก็คือ เหล็กไม่สามารถสร้างความแข็งแรงในมวลที่น้อยได้ หรือพูดง่ายๆก็คือ เหล็กมีความหนาไม่พอ ความแข็งแรงก็มีไม่พอ ทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย หากนำมาใช้ทำปืนก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ได้ง่ายเช่นกัน และถ้าต้องการให้เกิดความแข็งแรงก็จะต้องใช้เหล็กที่มีความหนามาก แต่ข้อเสียก็คือ จะมีน้ำหนักมาก ทำให้ความนิยมของเหล็กนั้นลดน้อยลงไป และทำให้มีโลหะชนิดใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งบางอย่างอาจจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเหล็กหรือมีข้อดีมากกว่าเหล็กนั่นเองครับซึ่งโลหะต่อไปนี้ได้รับความนิยมแทนที่เหล็กครับ สเตนเลส ตามความคิดของคนทั่วๆไปจะคิดว่า สเตนเลสเป็นเหล็กอีกชนิดหนึ่ง แต่จะต่างจากเหล็กทั่วๆไปตรงที่ไม่เป็นสนิม ไม่ว่าจะโดนน้ำหรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นก็จะไม่เป็นสนิม แต่ถ้าจะทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องแล้วล่ะก็ สเตนเลส ก็คือ โลหะสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเหล็กมาก แต่คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีมากกว่าเหล็กก็คือ ความแข็งที่มีมากกว่า และยังไม่เป็นสนิมอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมในปัจจุบันจึงนิยมใช้สเตนเลสในการผลิตปืนมากกว่าการใช้เหล็ก ซึ่งจะสังเกตุความแตกต่างได้จากปืนรุ่นเดียวกัน คือ เหล็กรมดำกับสเตนเลส ราคาของปืนที่ทำให้จากสเตนเลสสูงกว่าปืนที่ทำจากเหล็กเล็กน้อย ถึงแม้ว่าปืนที่ทำจากสเตนเลสจะมีราคาที่แพงกว่าปืนที่ทำจากเหล็กและมีคุณสมบัติที่ดีกว่า แต่นักเล่นปืนส่วนมากก็ยังให้ความเชื่อมั่นในปืนที่ทำจากเหล็ก จึงทำให้ปืนที่ทำจากเหล็กยังได้รับความนิยมอยู่เสมอนั่นเองครับ อะลูมินั่ม สำหรับส่วนประกอบของปืนหลังจากที่มีการนำสเตนเลสมาใช้แล้ว ก็ยังมีการพัฒนาต่อโดยการนำอะลูมินั่มเป็นตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบทบาท ซึ่งในการเลือกใช้ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกเช่นกัน เพราะอลูมินั่มที่จะสามารถนำมาใช้ได้ต้องเป็นเบอร์พิเศษจริงๆ นะครับ ซึ่งส่วนมากจะใช้ตั้งแต่เบอร์ 7005ขึ้นไป และแน่นอนถ้ายิ่งนำไปประกอบเป็นชิ้นส่วนต่างๆ จะทำให้มีอัตราการกระแทกหรือมีแรงกดดันที่ค่อนข้างสูง ส่วนข้อดีของอะลูมินั่มก็เหมือนกับข้อดีของสเตนเลสก็คือ เรื่องของน้ำหนักที่อะลูมินั่มเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบากว่าสเตนเลส แต่ความนิยมส่วนมากมักจะนำอะลูมินั่มมาใช้เป็นวัสดุผสมมากกว่าที่จะนำมาใช้ทำปืนทั้งกระบอก โพลิเมอร์ โพลิเมอร์ เป็นวัสดุที่มีลักษณะคล้ายกับพลาสติกเมื่อนำมาใช้ทำปืนจึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ซึ่งกว่าจะทำให้นักเล่นปืนยอมรับได้ก็ต้องใช้เวลามากพอสมควรทีเดียวครับ เพราะลักษณะของปืนจะเหมือนปืนเด็กเล่นมากกว่าปืนที่ใช้งานได้จริง แต่ไม่นานหลังจากที่พิสูจน์ตัวเองได้ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 86% และยังมีความเหนียวกว่าเหล็ก เรียกได้ว่า เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบามากที่สุดในบรรดาวัสดุที่นำมาใช้ทำปืนนอกจากจะมีความเบาแล้วและเหนียวแล้ว คุณสมบัติอีกประการหนึ่งก็คือ สารสังเคราะห์ประเภทนี้จะลดแรงสะท้อนของตัวปืน และสามารถที่จะลุยใช้งานได้ทุกสภาพและทุกสถานการณ์ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการติดขัดของตัวปืนที่ทำจากวัสดุชนิดนี้ ในช่วงแรกๆ จะมีเพียงGLOCKเท่านั้นที่นำโพลิเมอร์มาใช้ ซึ่งในตอนหลังๆก็มีอีกหลายๆยี่ห้อนำโพลิเมอร์มาใช้ในการผลิตอาวุธปืนตามมา ไททาเนียม ไททาเนียม เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยม โดยส่วนมากจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆที่นำมาใช้ทดแทนของเดิมของปืน เช่น ไกปืนนก หรือเข็มแทงชนวน เป็นต้น คุณสมบัติของไททาเนียมจะมีความแข็งมากกว่าเหล็กและจะมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 40% เมื่อเทียบมวลนี้ขนาดเท่ากันและมีความแข็งกว่าอะลูมินั่ม (อะลูมินั่มจะมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กประมาณ 20%) แต่จะมีความแข็งแรงเท่าเหล็ก ทนแรงสึกกร่อนและความร้อนได้มากกว่า ดังนั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่บริษัทปืนยักษ์ใหญ่อีกหลายยี่ห้อ สนใจนำไททาเนียมมาผลิตปืนของตนเองแต่เนื่องจากไททาเนียมมีราคาแพงมาก ซึ่งไม่ใช่เพราะหายาก แต่เนื่องจากการนำมาสกัดและขึ้นรูปยาก เพราะการหล่ะของเครื่องจักรกล และการแต่งขัดจะมีความยากมาก และยังต้องมีขั้นตอนการอบผิว ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สร้างความแข็งให้กับไททาเนียมมายิ่งขึ้น ทำให้เรียกว่า กว่าจะออกมาเป็นชิ้นส่วนไททาเนียมได้นั้นมีความยากลำบากมาก ดังนั้นความแพงของปืนจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพเสมอ ในปัจจุบันบริษัท SMITH&WESSONได้นำไททาเนียมมาทำการผลิตลูกโม่ขนาด .38 แล้วครับ ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็นได้ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:20:56 PM ขอบคุณครับ................
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: billy the kid @ Love The King @ ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:29:15 PM ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาเผยแพร่ครับ
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Choltit ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:33:20 PM ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็นได้ครับ ยังอ่านไม่หมด แค่เรื่องเหล็ก ข้อมูลไม่น่าจะถูกต้องครับ เหล็ก สามารถสร้างให้แข็งแรงได้ ที่จริงสามารถสร้างให้แข็งแรงได้สูงมาก สูงจนเกินความต้องการในการสร้างปืนก็ยังได้ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: โจ ™ ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:36:23 PM ขอขอบพระคุณมากๆครับ
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: popeye ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:40:52 PM ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็นได้ครับ ยังอ่านไม่หมด แค่เรื่องเหล็ก ข้อมูลไม่น่าจะถูกต้องครับ เหล็ก สามารถสร้างให้แข็งแรงได้ ที่จริงสามารถสร้างให้แข็งแรงได้สูงมาก สูงจนเกินความต้องการในการสร้างปืนก็ยังได้ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Choltit ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:55:27 PM ไม่ทราบว่ามีข้อมูลของการทำให้เหล็กแข็งมากกว่าเดิมไหมครับ ไม่มีครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:56:00 PM เหล็กเป็นวัสดุงานช่างที่แข็งแรงที่สุด อาจจะอ่อนกว่าทังสเตนคาร์ไบด์ แต่ก็เหนียวกว่า สำหรับวัสดุทำปืน ใช้เหล็กเบอร์แข็งกลาง ๆ อย่างเช่น 4140 หรือ 4350 ก็พอแล้ว
เหล็กแข็งพิเศษ จะเป็นเหล็กเบอร์เฉพาะของแต่ละโรงงาน ซึ่งต้องชุบแข็งตามวิธีการที่ผู้ผลิตกำหนดมา หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ สิงหาคม 13, 2005, 09:57:43 PM เหล็ก ผสม คาร์บอน ในอัตราที่เหมาะสม จะมีคุณสมบัติดีขึ้นครับ........อาทิ เหล็กดามัสกัส
ต้องให้ท่านเตารีดมาให้ข้อมูลอีกครับ..........กระผมนะ หาง ๆ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 13, 2005, 10:10:15 PM เหล็ก ผสม คาร์บอน ในอัตราที่เหมาะสม จะมีคุณสมบัติดีขึ้นครับ........อาทิ เหล็กดามัสกัส ต้องให้ท่านเตารีดมาให้ข้อมูลอีกครับ..........กระผมนะ หาง ๆ เหล็กดามัสกัส เป็นเหล็กในยุคที่ยังผสมเหล็กไม่ได้ ไฟก็ยังร้อนไม่พอที่จะทำให้เหล็กละลาย จึงต้องนำเหล็กบ่อต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีรวมกัน เช่นเหล็กเหนียว เหล็กแข็งเปราะแต่คมนาน เหล็กเนื้ออ่อน แต่กระจายตัวช่วยในการยึดประสานได้ดี หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: plo-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 13, 2005, 11:21:20 PM ไม่ทราบว่ามีข้อมูลของการทำให้เหล็กแข็งมากกว่าเดิมไหมครับ ไม่มีครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: ps355 ที่ สิงหาคม 14, 2005, 12:59:33 AM จริงครับ เรื่องของเหล็กนี่ จะทำให้แข็ง ให้เหนีนวอย่างไรก็ได้ครับ ขึ้นกับสารประกอบ 4 กลุ่มหลักคือ
1.คาร์บอน 2. ซิลิคอน 3. แมงการนีส 4. อัลลอยอื่น ๆ (คุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ) เช่นพวก โมลิดินั่ม, โครเมียม ถ้าสนใจเรื่องเหล็ก จริง ๆ ผมจะหาข้อมูลมาเพิ่มให้ เพราะผมเคยอยู่โรงงานเหล็ก มา 2 โรงครับ คือเหล็กสยามยามาโตะ และ อุตสาหกรรมเหล็กกล้าไทย หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: ekkawit ที่ สิงหาคม 14, 2005, 03:22:39 AM แล้วเหล็กที่ทำเป็นกระสวยอวกาศละครับ ผสมอะไรบ้างถึงได้แข็งและทนคสามร้อนสูง ;D ;D ;D
ถ้าเอามาทำปืนคงจะแข็งน่าดูฮิฮิๆๆๆๆๆ ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Iron ที่ สิงหาคม 14, 2005, 04:38:02 AM จริงครับ เรื่องของเหล็กนี่ จะทำให้แข็ง ให้เหนีนวอย่างไรก็ได้ครับ ขึ้นกับสารประกอบ 4 กลุ่มหลักคือ 1.คาร์บอน 2. ซิลิคอน 3. แมงการนีส 4. อัลลอยอื่น ๆ (คุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ) เช่นพวก โมลิดินั่ม, โครเมียม ถ้าสนใจเรื่องเหล็ก จริง ๆ ผมจะหาข้อมูลมาเพิ่มให้ เพราะผมเคยอยู่โรงงานเหล็ก มา 2 โรงครับ คือเหล็กสยามยามาโตะ และ อุตสาหกรรมเหล็กกล้าไทย ;D เท่าที่อ่านดู ท่านเจ้าของกระทู้เขียนได้เข้าใจง่ายดีครับ ลองเอาประสบการณ์ตรง ที่ทำงานในโรงงานเหล็กมาเล่าให้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ฟัง น่าจะได้ความรู้ดีครับ ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Nattapol ที่ สิงหาคม 14, 2005, 07:55:25 AM ยังอ่านไม่หมด แค่เรื่องเหล็ก ข้อมูลไม่น่าจะถูกต้องครับ เหล็ก สามารถสร้างให้แข็งแรงได้ ที่จริงสามารถสร้างให้แข็งแรงได้สูงมาก สูงจนเกินความต้องการในการสร้างปืนก็ยังได้ครับ ยืนยันตามนี้ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ สิงหาคม 14, 2005, 12:52:21 PM เรื่อง พอลิเมอร์ก็ยังไม่ตรงนัก
เริ่มจากคำอ่านเลย ที่ถูกต้องตามหลักภาษาต้องใช้ พอลิเมอร์ ไม่ใช่ โพลิเมอร์ (จะว่าไปผมก็ชอบใช้ผิดเช่นกัน) และที่จำได้คือยี่ห้อแรกที่ใช้พอลิเมอร์ทำโครงปืนคือ HK ในรุ่น VP70 ครับ .... Glock นั้นทำทีหลังแน่ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 14, 2005, 05:48:35 PM จริงๆแล้วสแตนเลสกับเหล็กปลอดสนิมก็คือโลหะชนิดเดียวกันนะครับเพียงแต่ว่าจะแบ่งตามเกรดหรือแบ่งว่าใช้อะไรผสมส่วนใหญ่ที่เราๆคุ้นกัน
ก็คือเหล็กผสมโครเมียมครับก็ช้อนส้อมที่เรากินข้าวกันน่ะแหละครับแต่จะเป็นโลหะประเภทผสมต่ำส่วนที่เอามาทำอาวุธหรือชิ้นส่วนอากาศยานเป็นโลหะผสมสูง ผลของธาตุผสม ธาตุผสมในเหล็กกล้ามีผลต่อคุณสมบัติของเหล็กกล้าต่างๆ กัน ผลของธาตุผสมหนึ่งๆ ในเหล็กกล้าอาจกระทบโดยธาตุผสมอื่น โดยทั่วไป ผลของธาตุผสมต่อคุณสมบัติของเหล็กกล้าสามารถสรุปได้ดังนี้ คาร์บอน (C) อลูมิเนียม (Al) ตะกั่ว (Pb) วาเนเดียม (V) แมงกานีส (Mn) แคลเซี่ยม (Ca) โครเมี่ยม (Cr) โบรอน (B) ซิลิคอน (Si) คอปเปอร์ (Cu) โมลิดินั่ม (Mo) ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P) นิกเกิล (Ni) ไทเทเนียม (Ti) ออกซิเจน ซัลเฟอร์ (S) ดีบุก (Sn) ไนโอเบียม (Nb) คาร์บอน (C) คาร์บอนเป็นธาตุผสมหลักในเหล็กและมีผลต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็กอย่างมาก จึงได้มีการแบ่งชนิดของเหล็กตามปริมาณคาร์บอนที่ผสมโดย เหล็กกล้า (Steel) C <= 2 % เหล็กหล่อ (Iron) C > 2% คาร์บอนช่วยเพิ่มความแข็งแรง (Strength), ความแข็ง (Hardness) และความต้านทานการสึกหรอ (Wear resistance) ของเหล็กแต่ลดเปอร์เซ็นต์การยืดตัว (Percentage of elongation) คาร์บอนมาจาก Pig iron และเศษเหล็ก (Scrap) การควบคุมปริมาณคาร์บอนในเหล็กทำได้ขณะที่น้ำเหล็กอยู่ที่ Electric arc furnace (EAF) โดยการพ่นออกซิเจนเพื่อเข้าไปรวมตัวเป็นก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ C + 1/2O2 --> CO + Heat แมงกานีส (Mn) แมงกานีสมาจากเศษเหล็ก แมงกานีสมีผลให้เพิ่ม Yield strength ของเหล็ก แมงกานีสมีประสิทธิภาพเป็น 1/6 เท่าของคาร์บอนในการเพิ่มความแข็งแรงให้เหล็ก แมงกานีสสามารถรวมกับซัลเฟอร์ (Sulphur) เป็นสารประกอบ MnS ซึ่งให้ผลดีกว่าที่ซัลเฟอร์รวมกับเหล็กเป็น FeS แมงกานีสสามารถควบคุมได้ขณะที่น้ำเหล็กอยู่ที่ EAF โดยรวมตัวกับออกซิเจนที่พ่นเข้าไปเป็น MnO ซึ่งเบากว่าน้ำเหล็กและลอยไปรวมกับ Slag Mn + O --> MnO (Low density) --> Slag เราสามารถเติมแมงกานีสให้เหล็กได้ระหว่างที่น้ำเหล็กอยู่ที่ LHF ในหลายลักษณะ เช่น Ferromanganese และ Silicomanganese ซิลิคอน (Si) ใน Silicon killed steel จะใช้ Si เพื่อเป็นตัวกำจัดออกซิเจน ซิลิคอนมาได้ทั้งจากเศษเหล็กและจากการ Pick up จากอิฐทนความร้อน (Refractory) ในกรณีที่น้ำเหล็กถูกเก็บไว้ใน Ladle นาน ซิลิคอนเพิ่มความแข็งแรง (Strength) ให้เหล็ก ปริมาณซิลิคอนยังมีผลต่อความสามารถของการชุบสังกะสีด้วย ปริมาณซิลิคอนที่สูงนี้จะทำให้ผิวเหล็กหยาบ อย่างไรก็ตาม ในเหล็กบางเกรดจะมี Si ประมาณ 0.25% เพื่อเพิ่มความแข็งแรง (Strengthening) และความสามารถในการอบชุบความร้อน (Heat treatability) ซิลิคอนสามารถควบคุมได้ที่ EAF โดยจะรวมกับออกซิเจนฟอร์ม Slag Si + O2 --> SiO2 ฟอสฟอรัส (P) ฟอสฟอรัสเป็นสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการในเหล็ก ฟอสฟอรัสสามารถมาได้จาก Pig iron, เหล็กบางชนิด, สี, น้ำมันที่ติดมากับเศษเหล็ก ฟอสฟอรัสทำให้เหล็กเปราะและง่ายต่อการเกิดรอยแตก (Cracking) ในเหล็กบางเกรดมีการเติมฟอสฟอรัสเพื่อเพิ่มความแข็งแรง, ความสามารถในการตัดกลึง (machinability) และความสามารถในการทาสีติด (Paintability) การลดฟอสฟอรัสทำได้ง่ายใน EAF โดยจะรวมกับออกซิเจนและ Lime (CaO) เกิดเป็นสารประกอบที่มีความถ่วงเฉพาะต่ำ (Low density) และลอยไปรวมกับ Slag ดังสมการ FeO + P --> P2O5 + Fe P2O5 + CaO --> CaO.P2O5 (Low density) --> Slag สำหรับเหล็กบางเกรดจะมีการเติม P เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน ซัลเฟอร์ (S) ซัลเฟอร์เป็นสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการในเหล็ก (นอกจากกรณีที่ต้องการความสามารถในการตัดกลึงสูง (Machinability)) ซัลเฟอร์มาจากน้ำมัน, เหล็กโครงสร้าง เช่น I-beams ซัลเฟอร์ลดความแกร่ง (Toughness) ของเหล็กและทำให้เกิดการแตก (Cracking) ของเหล็กระหว่าง Casting เหล็กที่มีซัลเฟอร์ (S) สูงและแมงกานีสต่ำ S จะรวมกับเหล็ก (Fe) เป็น FeS ซึ่งจะแยกตัวออกมาตามขอบเกรน สารประกอบ FeS มีจุดหลอมเหลวต่ำทำให้มีปัญหา Hot shortness เวลาที่ทำการแปรรูปที่อุณหภูมิสูงโดยเฉพาะเมื่อรับแรงดึงด้วย เหล็กที่มีซัลเฟอร์ (S) ต่ำและแมงกานีส (Mn) สูง S จะรวมกับ Mn เป็น MnS สารประกอบ MnS มีความสามารถในการยืดตัวสูงสามารถยืดตัวตามเนื้อเหล็กได้ขณะแปรรูป ซัลเฟอร์สามารถควบคุมได้ที่ Ladle heating furnace (LHF) โดยการเติม Lime (CaO) และอลูมิเนียม (Al) 3CaO + 2Al + 3S --> 3CaS + Al2O3 อลูมิเนียม (Al) อลูมิเนียมเป็นตัวไล่ออกซิเจนได้ดีและใช้ปรับรูปร่างของ Inclusion เพื่อเพิ่มความสามารถในการหล่อ (Castability) หมายเหตุ เหล็กที่มีความสามารถในการหล่อดีหมายถึงน้ำเหล็กสามารถลื่นไหลไปใน Mold ได้ดี ทำให้สามารถใช้ Mold ที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ โดยน้ำเหล็กจะหล่อได้เต็ม Mold แคลเซี่ยม (Ca) แคลเซี่ยมที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กมีหลายรูปแบบ แคลเซี่ยมในรูป Lime (CaO) ใช้สำหรับเป็น Flux (สารที่ใช้เพื่อจับกับสิ่งสกปรกไปฟอร์ม Slag) แคลเซี่ยมในรูป Calcium carbide (Ca2C), CaSi, CaFe wire ใช้เพื่อขจัดออกซิเจน, ขจัดซัลเฟอร์และควบคุมรูปร่างของ Inclusion คอปเปอร์ (Cu) คอปเปอร์เป็นธาตุที่ไม่สามารถขจัดออกไปได้จากขบวนการผลิตเหล็ก คอปเปอร์ (หรือทองแดง) ติดมากับเศษเหล็ก, Electric motors, Wiring จากเศษชิ้นส่วนรถยนต์ Shreded cars, เหล็กโครงสร้าง ข้อเสียของทองแดง คือ สามารถทำให้เกิดรอยแตกเป็นขนที่ผิวเหล็กหลังจากการทดสอบดัดโค้งและรอยแตกที่ขอบ (Edge cracks) ข้อดีของทองแดงคือ เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน (Corrosion resistance) ให้เหล็ก Edge crack Cu ไม่สามารถขจัดจากน้ำเหล็กระหว่างขบวนการผลิต การควบคุมปริมาณ Cu ทำโดยการเลือก/ผสมเศษเหล็กต่างๆ, การผสม Pig iron การผสม Ni ในเหล็กที่มี Cu สูงจะช่วยลดผลเสียของ Cu ต่อเหล็กกล้าได้ส่วนหนึ่ง นิกเกิล (Ni) นิกเกิลเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรง, ความแข็ง, ความแกร่งและความต้านทานการกัดกร่อนของเหล็ก นิเกิลมาจากเศษเหล็ก (โดยเฉพาะจากเศษเหล็ก Stainless) Ni สามารถเติมได้ในระหว่างที่เหล็กอยู่ที่ LHF และเหมือนกับ Cu คือ Ni ไม่สามารถขจัดจากน้ำเหล็กได้ระหว่างขบวนการผลิตเหล็ก นิเกิลช่วยลดผลเสียของทองแดง (โดยการเพิ่มความสามารถในการละลายของทองแดงในเหล็ก) ดีบุก (Sn) ดีบุกติดมากับเศษเหล็กที่ใช้ทำกระป๋องน้ำอัดลมโดยเป็นชั้นเคลือบที่ด้านใน ดีบุกขจัดได้ยากเหมือนกับทองแดง ข้อเสียของดีบุก คือ ทำให้เหล็กเปราะและง่ายต่อการเกิดรอยแตก (Cracking) และเป็นอันตรายต่อการขึ้นรูปร้อนโดยลดความสามารถในการละลายของธาตุอื่นในเหล็ก Sn ในน้ำเหล็กไม่สามารถขจัดออกได้ระหว่างขบวนการผลิตเหล็ก ปริมาณของ Sn ควบคุมโดยการเลือก/ผสมเศษเหล็ก ตะกั่ว (Pb) ตะกั่วมาจากเศษเหล็กและบางครั้งเติมเข้าไปในเหล็กเพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดกลึง ตะกั่วมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำจึงไม่เป็นปัญหาต่อการขจัดออกในขบวนการผลิตเหล็ก โครเมี่ยม (Cr) โครเมี่ยมเป็นธาตุที่เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน, ความต้านทานการสึกกร่อนและยังเพิ่มความแข็งแรง เหล็กที่เรียกว่า Stainless steel มี Cr ผสมมากกว่า 10.5 % ต่างจาก Cu และ Ni โครเมี่ยมสามารถควบคุมได้โดยการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังสมการ 2Cr + 3O --> Cr2O3 โมลิดินั่ม (Mo) โมลิดินั่มเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรง, ความแข็งและความต้านทานการสึกกร่อน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนในเหล็กกล้าไร้สนิม Mo มาจากเศษเหล็กกล้าเครื่องมือ เมื่อมี Mo ในน้ำเหล็กแล้วไม่สามารถขจัดออกได้ ไทเทเนียม (Ti) ไทเทเนียมเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงโดยรวมตัวกับคาร์บอน ช่วยลดการกัดกร่อนที่ขอบเกรน (Intergranular corrosion) ในเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดออสเตนนิติค นอกจากนี้ในเหล็กกล้าบางเกรดใช้เติมเพื่อจับไนโตรเจน ไนโอเบียม (Nb) ไนโอเบียมเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงและความต้านทานการสึกหรอ วาเนเดียม (V) วาเนเดียมเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงและความต้านทานการสึกหรอ โบรอน (B) โบรอนเป็นธาตุผสมที่ใช้ในปริมาณต่ำมาก (~0.0005%) เพื่อเพิ่มความแข็งในเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำและใช้จับไนโตรเจน, ออกซิเจนและ/หรือซัลเฟอร์ โบรอนสามารถเติมได้ขณะที่น้ำเหล็กอยู่ที่ LMF ในรูป Ferroboron ไนโตรเจน ไนโตรเจนเป็นเป็นสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการในเหล็ก ไนโตรเจนทำให้เหล็กเปราะ (Embrittlement) และลดความสามารถในการขึ้นรูปเป็นผลให้เกิดการแตกเมื่อนำไปขึ้นรูป ออกซิเจน เหล็กที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำจะหมายถึงเหล็กสะอาด ออกซิเจนจะรวมกับธาตุอื่นๆ เป็น Inclusion เราขจัดออกซิเจนโดยการเติม Deoxidizers ระหว่าง Tap และที่ LMF ธาตุที่เป็น Deoxidizer ได้แก่ Al, Si, C, Mn โดยที่ Al เป็นธาตุ Deoxidizer.ที่แรงที่สุดในกลุ่ม ธาตุที่สามารถขจัดได้ด้วยการพ่นออกซิเจนเข้าไปในเตาได้แก่ C, Mn (บางส่วน), P (ได้ถ้าสภาพ Slag ดี), Si, Cr (บางส่วน), Pb (บางส่วน), Ca, Al, V (บางส่วน), Nb (บางส่วน), Ti, B. ธาตุที่ไม่สามารถขจัดได้ด้วยการพ่นออกซิเจนเข้าไปในเตาได้แก่: S, Cu, Ni, Mo, Sn หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 14, 2005, 05:54:36 PM ความหมายของเหล็กกล้าไร้สนิม
เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steels) หมายถึงเหล็กกล้าที่ผสมโครเมี่ยมอย่างน้อย 10.5 % ทำให้มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อน โดยเหล็กกล้าไร้สนิมจะสร้างฟิล์มของโครเมี่ยมออกไซด์ที่บางและแน่นที่ผิวเหล็กกล้า ซึ่งจะปกป้องเหล็กกล้าจากบรรยากาศภายนอก กลุ่มต่างๆ ของเหล็กกล้าไร้สนิม เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างจุลภาคได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 1. เหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติก (Ferritic grade) 2. เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติก (Austenitic grade) 3. เหล็กกล้าไร้สนิมดูเพล็กซ์ (Duplex grade) 4. เหล็กกล้าไร้สนิมมาร์เทนซิติก (Martensitic grade) 5. เหล็กกล้าไร้สนิมอบชุบแข็งด้วยการตกผลึก (Precipitation-hardening grade) เหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติกที่ใช้กันมากจะผสมโครเมี่ยม (Cr) ประมาณ 12% หรือ 17% (ช่วงของส่วนผสมของ Cr +/-1%) มีนิกเกิลน้อยมาก (ติดมากับวัตถุดิบ) เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้จะมีโครงสร้างจุลภาคเป็นเฟอร์ไรต์และมีคุณสมบัติที่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้ มีค่าความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก (Yield strength) และค่าความต้านทานแรงดึง (Tensile strength) ปานกลาง มีค่าความยืด (Elongation) สูง เช่น เกรด 430, 409 เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดเฟอร์ริติกมีราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มออสเตนนิติก แต่อาจพบปัญหาเรื่องเกรนหยาบ (Grain coarsening) และสูญเสียความแกร่ง (Toughness) หลังการเชื่อม การใช้งาน เช่น ชิ้นส่วนเครื่องซักผ้า ชิ้นส่วนระบบท่อไอเสีย และในบางเกรดจะผสมโครเมี่ยมสูงเพื่อใช้กับงานที่ต้องทนอุณหภูมิสูง เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติกที่ใช้กันมากจะผสมโครเมี่ยมประมาณ 17% (ช่วงของส่วนผสมของ Cr +/-1%) และนิกเกิล (Ni) ประมาณ 9% (ช่วงของส่วนผสมของ Ni +/-1%) การผสมนิกเกิลทำให้เหล็กกลุ่มนี้ต่างจากกลุ่มเฟอร์ริติกโดยนิกเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน และทำให้โครงสร้างจุลภาคเป็นออสเตนไนต์ เหล็กกลุ่มนี้บางเกรดจะผสมโครเมี่ยมและนิเกิลเพิ่มเพื่อให้สามารถทนต่อการเกิดออกซิเดชั่นที่อุณหภูมิสูง ซึ่งทำให้สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของเตาหลอม เหล็กกลุ่มออสเตนนิติกนี้จะทนทานต่อการกัดกร่อนดีกว่าเหล็กกลุ่มเฟอร์ริติก ในด้านคุณสมบัติเชิงกล เหล็กกลุ่มออสเตนนิติกจะมีค่าความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก (Yield strength) ใกล้เคียงกับของกลุ่มเฟอร์ริติก แต่จะมีค่าความต้านทานแรงดึง (Tensile strength) และค่าความยืด (Elongation) สูงกว่าจึงสามารถขึ้นรูปได้ดีมาก เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กไม่ดูดติด (ในสภาพผ่านการอบอ่อน) เช่น เกรด 304, 316L, 321, 301 การใช้งาน เช่น หม้อ ช้อน ถาด เหล็กกล้าไร้สนิมมาร์เทนซิติก จะผสมโครเมี่ยมประมาณ 11.5-18% เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้มีคาร์บอนพอสมเหมาะและสามารถชุบแข็งได้ เหล็กกล้ากลุ่มนี้มีค่าความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก (Yield strength) และความต้านทานแรงดึง (Tensile strength) สูงมาก แต่จะมีค่าความยืด (Elongation) ต่ำ เช่น เกรด 420 การใช้งาน เช่น ใช้ทำเครื่องมือตัดชิ้นส่วน มีด เหล็กกล้าไร้สนิมดูเพล็กซ์ จะมีโครงสร้างผสมระหว่างออสเตนไนต์และเฟอร์ไรต์ มีโครเมี่ยมผสมประมาณ 21-28% และนิกเกิลประมาณ 3-7.5% เหล็กกล้ากลุ่มนี้จะมีความต้านทานแรงดึงที่จุดครากสูงและค่าความยืดสูง จึงเรียกได้ว่ามีทั้งความแข็งแรงและความเหนียว (Ductility) สูง เช่น เกรด 2304, 2205, 2507 เหล็กกล้าไร้สนิมอบชุบแข็งด้วยการตกผลึก มีโครเมี่ยมผสมประมาณ 15-18% และนิกเกิลอยู่ประมาณ 3-8% เหล็กกล้ากลุ่มนี้สามารถทำการชุบแข็งได้ จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊ม หัววาล์ว ตัวอย่างเกรดของเหล็กกลุ่มนี้ เช่น PH13-9Mo, AM-350 หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 14, 2005, 05:58:20 PM ผิวสำเร็จชนิดต่างๆ ของเหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดของผิว(Surface finish) ลักษณะ No.1 ผิวผ่านการรีดร้อน อบอ่อน ขจัดสนิมและกัดกรด (Descaling & Pickling) ผิวมีสีขาวเทา ค่อนข้างหยาบเนื่องจากผ่านการกัดกรดที่รุนแรง 2D ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อนและกัดกรด 2B ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อน กัดกรดและรีดปรับความเรียบผิว (skin pass rolling) BA ผิวผ่านการรีดเย็นและอบอ่อนในสภาพบรรยากาศควบคุมทำให้ผิวมีลักษณะมัน เงา No.3 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 100-120 No.4 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 150-180 #240 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 240 #320 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 320 #400 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 400 HL ผิวผ่านการขัดละเอียดโดยมีรอยขัดเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม (Hair line) หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: boon ที่ สิงหาคม 14, 2005, 06:06:45 PM ขอบคุณมากๆครับ อ่านแล้วได้ความรู้ความมากเลย บางอย่างอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าที่ควร แต่ได้ความรู้มากครับ
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Ninja 19 + รักในหลวง + ที่ สิงหาคม 14, 2005, 07:38:21 PM ............... ;D..อ่านแล้วงงบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็ขอบคุณครับ...สุดยอดดดดดดดดดดดด..... :OO หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ สิงหาคม 14, 2005, 09:18:35 PM ไอ้พวก "หินเหล็กหินไหลหินไฟเบอร์" ที่ตอนเราแซวหญิงตอนเรียนอุดมศึกษา...มันเปนงัยอ่ะ
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ สิงหาคม 14, 2005, 09:41:26 PM ;D เพียบเลย ขออนุญาติคุณไฮดร้าคัดลอกไว้นะครับ ;D
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Choltit ที่ สิงหาคม 14, 2005, 11:38:25 PM เหมือนกลับไปนั่งเรียน :-*
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: boon ที่ สิงหาคม 14, 2005, 11:47:59 PM ไอ้พวก "หินเหล็กหินไหลหินไฟเบอร์" ที่ตอนเราแซวหญิงตอนเรียนอุดมศึกษา...มันเปนงัยอ่ะ นั่นมันเป็นศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติของหินครับ เป็นวิชาอีกแขนงหนึ่ง ผู้มีความรู้ด้านนี้เท่าที่ทราบ ก็มีคุณโคด้า คุณจอย คุณป้อมทอง คุณบ้านชายหาด ท่านเหล่านี้ ได้ทำการศึกษา ทดสอบ จนมีความรู้แตกฉาน สามารถเขียนตำราได้เป็นเล่นๆ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: srimalai_รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 12:34:49 AM ตอนนี้มีสแกนเดียมอีกอย่างครับสมิธเริ่มทำออกมาแล้ว และมีวัสดุเก่าแก่อีกชนิดหนึ่ง คือ ทองคำ มีขายแถวร้านร้อยปูเซ็ง
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 12:47:39 AM ไอ้พวก "หินเหล็กหินไหลหินไฟเบอร์" ที่ตอนเราแซวหญิงตอนเรียนอุดมศึกษา...มันเปนงัยอ่ะ นั่นมันเป็นศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติของหินครับ เป็นวิชาอีกแขนงหนึ่ง ผู้มีความรู้ด้านนี้เท่าที่ทราบ ก็มีคุณโคด้า คุณจอย คุณป้อมทอง คุณบ้านชายหาด ท่านเหล่านี้ ได้ทำการศึกษา ทดสอบ จนมีความรู้แตกฉาน สามารถเขียนตำราได้เป็นเล่นๆ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 02:48:16 AM ไอ้พวก "หินเหล็กหินไหลหินไฟเบอร์" ที่ตอนเราแซวหญิงตอนเรียนอุดมศึกษา...มันเปนงัยอ่ะ นั่นมันเป็นศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติของหินครับ เป็นวิชาอีกแขนงหนึ่ง ผู้มีความรู้ด้านนี้เท่าที่ทราบ ก็มีคุณโคด้า คุณจอย คุณป้อมทอง คุณบ้านชายหาด ท่านเหล่านี้ ได้ทำการศึกษา ทดสอบ จนมีความรู้แตกฉาน สามารถเขียนตำราได้เป็นเล่นๆ ;D ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 05:13:47 PM แล้วอีกเรื่องที่งงกันก็พือคำว่า polimer จะอ่านว่าอะไรอันนี้มันแล้วแต่หนังสือครับบางเล่มเรียก
โพลิเมอร์ บางเล่มก็ พอลิเมอร์ สรุปว่าถูกตามตำราหมดครับแต่ตัวผมเองอ่าน โพลิเมอร์ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 05:18:38 PM การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิม
โดยทั่วไป เหล็กกล้าไร้สนิมจะต้านทานต่อการกัดกร่อนโดยการสร้างชั้นฟิล์มบางๆ ของโครเมี่ยมออกไซด์ที่แน่นและเสถียร (passive) ที่ผิว ทำให้ออกซิเจนจากบรรยากาศยากที่จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเหล็กใต้ผิวชั้นฟิล์ม จึงต้านทานต่อการกัดกร่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสิ่งสกปรกมาเกาะที่ผิว เช่น ฝุ่น หรือวัสดุอื่นๆ จะขัดขวางขบวนการสร้างฟิล์มที่เสถียรและเกิดบริเวณที่อาโนดและคาโธด (เช่น เศษเหล็กจากเครื่องมือ (tool) ที่ใช้ขึ้นรูปเกาะติดผิวเหล็กกล้าไร้สนิมนั้นควรจะทำความสะอาดให้ออกไป) ทำให้เกิดการกัดกร่อน เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถทำความสะอาดได้ง่ายๆ หลายวิธีโดยไม่ต้องกลัวว่าผิวเนื้อโลหะจะหลุดออกเหมือนโลหะเคลือบอื่นๆ นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกความหยาบหรือลวดลายบนพื้นผิว (ชนิดของผิวสำเร็จ) ตลอดจนการออกแบบให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เช่น การทำความสะอาดโดยน้ำฝนตามธรรมชาติ (สำหรับการใช้งานภายนอก) ได้ด้วย รูปแบบของสิ่งสกปรกบนพื้นผิว สิ่งสกปรกที่เกิดกับเหล็กกล้าไร้สนิมมีหลายรูปแบบ เช่น ฝุ่น เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถมีฝุ่นและดินมาเกาะได้ โดยสิ่งสกปรกมาจากหลายแหล่งโดยลมที่เราสัมผัสอยู่ทุกวัน สิ่งสกปรกต่างๆ จะให้ผลต่างกันไปต่อความสวยงาม การกัดกร่อน และความยาก-ง่ายในการขจัดออก บางอย่างสามารถขจัดออกได้ง่าย แต่บางอย่างต้องการสารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพเฉพาะ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นเป็นแบบไหน บ่อยครั้งที่น้ำอุ่น / สบู่ / แอมโมเนีย / ผงซักฟอก ก็เพียงพอที่จะใช้ทำความสะอาดได้ โดยสามารถใช้ร่วมกับผ้านุ่ม หรือฟองน้ำ (หรือแปรงไนล่อน ถ้าสิ่งสกปรกเกาะแน่น) ในการทำความสะอาดก็ได้ ข้อควรระวัง - แปรงเหล็กกล้าทั่วไป หรือฝอยเหล็กกล้าไม่ควรใช้กับทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมเนื่องจากอาจมีอนุภาคของเหล็กกล้าฝังที่เหล็กกล้าไร้สนิมแล้วทำให้เกิดสนิมได้ หลังการทำความสะอาดควรใช้น้ำที่สะอาด ล้างตามด้วยเสมอ นอกจากนี้ สำหรับน้ำที่มีแร่หรือของแข็งเป็นองค์ประกอบจะทิ้งคราบน้ำไว้เมื่อแห้ง การเช็ดผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยผ้าที่แห้งจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ รอยนิ้วมือและคราบบางๆ เป็นผลจากการใช้งานตามปกติซึ่งพบทั่วไป อย่างไรก็ตาม มันมักมีผลกระทบเพียงเรื่องความสวยงาม และไม่ค่อยจะมีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน รอยนิ้วมือและคราบบางๆ สามารถที่จะขจัดออกได้ง่ายโดยหลายวิธี เช่น รอยนิ้วมือที่อาจเป็นปัญหาสำหรับผิวที่ขัดมัน หรือผิวสำเร็จชนิด bright finished นั้น สามารถขจัดออกได้ด้วยการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ thrichlorethylene หรือ acetone ล้าง (rinse) ด้วยน้ำที่สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง อย่างไรก็ตาม มีผิวสำเร็จเฉพาะหลายผิวสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเรื่องรอยนิ้วมือ เข่น ผิวมีลวดลายนูนจากการรีด (embossed) หรือผิวสำเร็จแบบ line pattern เป็นต้น น้ำมันและคราบมัน น้ำมัน อาจมีคราบมัน ขี้ผงและเศษโลหะอยู่ด้วย ทำให้ผิวสกปรกหลังผ่านงาน shop สิ่งสกปรกเหล่านี้จะกัดกร่อน และอาจทำให้ผิวเหล็กกล้าไร้สนิมไม่สามารถรักษาความเสถียร (passive) ได้ ดังนั้น การขจัดออกเป็นครั้งคราวจึงเป็นสิ่งจำเป็น เริ่มจากอาจลองใช้สบู่หรือผงซักฟอกกับน้ำในการทำความสะอาด การทำความสะอาดอย่างง่ายๆ ทำโดยให้ตัวสารละลายให้สัมผัสกับผิวเหล็กที่จะทำความสะอาด และปล่อยให้การละลายของสิ่งสกปรกเกิดขึ้น เช่น การกวนของชิ้นส่วนเหล็กกล้าไร้สนิมเล็กๆ ในถาดของสารละลาย นอกจากนี้ การล้างผิวด้วย trichloroethylene หรือ ตัวทำละลายชนิด Non-halogented เช่น อะเซโตน (acetone) หรือแอลกอฮอล์ เช่น methyl alcohol, ethyl alcohol, methyl ethyl ketone, benzene, isopropyl alcohol หรือน้ำมันสน ก็สามารถใช้ได้ดี จากนั้น จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 05:19:37 PM ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานเหล็กกล้าไร้สนิม
1) สวมถุงมือหรือใช้ผ้าที่สะอาดป้องกันคราบหรือรอยนิ้วมือเมื่อต้องขนย้ายเหล็กกล้าไร้สนิม 2) หลีกเลี่ยงการใช้เศษผ้าที่เปื้อนน้ำมันหรือจารบีเช็ดผิวเหล็กกล้าไร้สนิม 3) ทำความสะอาดผิวที่เปิด (exposed) ของเหล็กกล้าไร้สนิมเป็นประจำ 4) การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยการใช้กรดกัด (เช่น เพื่อขจัดสิ่งสกปรกประเภทโลหะ รอยเชื่อม และ heat-treating scales) นั้น (ASTM A380) ไม่ควรใช้กับเพื่อ descaling เหล็กกกล้าไร้สนิมชนิดออสเตนนิติกที่สูญเสียโครเมี่ยม (sensitized austenitic stainless steels) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดมาร์เทนซิติกที่ผ่านการชุบแข็งหรือ บริเวณที่สัมผัสกับชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน 5) หลังจากทำความสะอาดควรล้าง (rinse) ผิวเหล็กด้วยน้ำสะอาดตาม 6) ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดด้วยตัวทำละลายที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ 7) แม้แต่ผงขัดที่ละเอียดที่สุดก็สามารถสร้างรอยขีดข่วนแก่ผิวสำเร็จบางผิวของเหล็กกล้าไร้สนิมได้ สำหรับผิวประเภทที่ได้จากการขัด (polished finish) การเช็ดทำความสะอาดควรทำในทิศทางเดียวกับรอยจากผิวสำเร็จ ไม่ควรทำขวางรอยจากผิวสำเร็จ 8) ไม่ใช้ตัวทำละลายในบริเวณที่ปิด (closed space) หรือระหว่างการสูบบุหรี่ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: St.Bernard ที่ สิงหาคม 15, 2005, 05:42:00 PM ขอบคุณครับสำหรับความรู้ใหม่จากท่านเจ้าของกระทู้และคุณ Hydra ;D ;)
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ สิงหาคม 15, 2005, 05:53:46 PM ไม่ใช่สแตนเลส...
และไม่ใช่โพลิเมอร์... อ่านของคุณ Hydra แล้วก็ให้คิดถึงคุณชัช จารบี... คุณเหล็กแกร่ง... หรือคุณเตารีดครับ... เย้ [ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ] [ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ] หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 05:56:02 PM อันนี้เป็นพื้นฐานนะครับพี่ๆหลายคนคงจะรู้แล้วเอามาฝากคนที่ยังไม่รู้ครับ
จริงๆแล้วธาตุที่มีผลกับเหล็กมากที่สุดคือ คาร์บอน ครับคุณสมบัติของเหล็กจะดีหรือไม่อยู่ที่ธาตุนี้ ถ้าพี่คนไหนเคยไปเห็นพวกเด็กช่างกลกลึงๆงานกันอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กเหนียวหรือ st37 คือรับแรงดึงได้ 37 N./mm2 เป็นเหล็กคาร์บอนต่ำครับผลคือกลึงง่ายและชุบแข็งไม่ขึ้นถ้าจะชุบแข็ง ก็ต้องเติมคาร์บอนที่ผิวครับแล้วชุบถึงจะขึ้นแต่ได้เฉพาะผิวเนื้อในก็เหมือนเดิมส่วนเหล็กคาร์บอนปานก็พวกเหล็กเครื่องมือทั้งหลายเช่นพวกปากกาจับงาน ส่วนคาร์บอนสูงก็พวกดอกสว่านสีดำๆดอกละ10-20บาทน๋ะครับ ถ้าพวกดอกสว่านหรึอมีดกลึงสีขาวเงาๆอันนั้นเรียกว่า Hi Speed Still เป็นเหล็กล้าผสมสูงชนิดหนึ่งครับคุณสมบัติก็คือคงความแข็งไว้ได้ที่ความร้อนสูงแต่ทนอุณหภูมได้เท่าไหร่ก็แล้วแต่เกรดครับต่ำสุดคือเกรด500 สูงสุดที่เคยเห็นคือเกรด4000 หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Iron ที่ สิงหาคม 15, 2005, 07:33:53 PM ไม่ใช่สแตนเลส... และไม่ใช่โพลิเมอร์... อ่านของคุณ Hydra แล้วก็ให้คิดถึงคุณชัช จารบี... คุณเหล็กแกร่ง... หรือคุณเตารีดครับ... เย้ ;D ตอนนี้ได้มาอีกชื่อจากพี่แก้วครับ "เหล็กไหล" ชื่อนี้ฟังแล้วชอบมากครับ แต่กลัวอย่างเดียว ใครจะนึกว่าเหนียวแล้วลองปืน เลยไม่กล้าใช้ครับ ;D พอลิเมอร์ โพลิเมอร์ polymer ตอนนี้ไม่รู้จักแล้วครับ ชอบเรียก ป้าดติกมากกว่า พลาสติกก็ไม่เอาครับ อิอิ ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: srimalai_รักในหลวง ที่ สิงหาคม 15, 2005, 07:48:49 PM เมื่อก่อนมี โพลี่โพพัยรีน อีกตัว อิอิ เจ้าสารสารอินทรีย์ ตัวนี้มีปัญหาเรียกยากจัง
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่ง_รักในหลวงมากครับ ที่ สิงหาคม 16, 2005, 11:02:38 AM ;D ขอบคุณครับท่าน Hydra อ่านแล้วได้ความรู้ดี (ปนงง ด้วย เพราะไม่ได้เรียนมาทางนี้) ขยันพิมพ์น่าดูนะครับ ;D
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Chayanin-We love the king ที่ สิงหาคม 16, 2005, 11:17:56 AM ขอบคุณครับ คุณ Hydra และพี่ๆทุกท่าน
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: CT_Pro4 ที่ สิงหาคม 16, 2005, 11:26:48 AM ...ข้อมูลคุณ Hydra แน่นจริงๆ ขอบคุณครับ... ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: SDH2th ที่ สิงหาคม 16, 2005, 11:37:19 AM ...ข้อมูลคุณ Hydra แน่นจริงๆ ขอบคุณครับ... ;D ;D ;D แน่นจนจุก อะครั....บ...บยอดจริง...(อ่านไม่จบหรอก...) หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: นาจา™รักในหลวง ที่ สิงหาคม 16, 2005, 08:56:49 PM ไม่ใช่สแตนเลส... และไม่ใช่โพลิเมอร์... อ่านของคุณ Hydra แล้วก็ให้คิดถึงคุณชัช จารบี... คุณเหล็กแกร่ง... หรือคุณเตารีดครับ... เย้ ;D ตอนนี้ได้มาอีกชื่อจากพี่แก้วครับ "เหล็กไหล" ชื่อนี้ฟังแล้วชอบมากครับ แต่กลัวอย่างเดียว ใครจะนึกว่าเหนียวแล้วลองปืน เลยไม่กล้าใช้ครับ ;D พอลิเมอร์ โพลิเมอร์ polymer ตอนนี้ไม่รู้จักแล้วครับ ชอบเรียก ป้าดติกมากกว่า พลาสติกก็ไม่เอาครับ อิอิ ;D เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ...พี่แก้วอาจหมายว่าไหลไปทั่ว...อิอิ ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: warut ที่ สิงหาคม 16, 2005, 09:24:51 PM ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้มากจริงๆครับ
4) การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยการใช้กรดกัด (เช่น เพื่อขจัดสิ่งสกปรกประเภทโลหะ รอยเชื่อม และ heat-treating scales) นั้น (ASTM A380) ไม่ควรใช้กับเพื่อ descaling เหล็กกกล้าไร้สนิมชนิดออสเตนนิติกที่สูญเสียโครเมี่ยม (sensitized austenitic stainless steels) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดมาร์เทนซิติกที่ผ่านการชุบแข็งหรือ บริเวณที่สัมผัสกับชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน ขออนุญาติถามเพิ่มเติม เราจะมีวิธีกำจัด Heat treating scale ของ Martensitic stainless steel ได้อย่างไรบ้างครับ .....นอกจากการขัด ถ้ามีน้ำยาหรือสารละลายอะไรที่ใช้ได้ก็คงดีครับ :) ขอบคุณมากครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 16, 2005, 10:35:13 PM ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้มากจริงๆครับ ;Dถามเผื่อเอาไว้ไปตีมีดหรือเปล่าครับท่านกุมารทอง ;D4) การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยการใช้กรดกัด (เช่น เพื่อขจัดสิ่งสกปรกประเภทโลหะ รอยเชื่อม และ heat-treating scales) นั้น (ASTM A380) ไม่ควรใช้กับเพื่อ descaling เหล็กกกล้าไร้สนิมชนิดออสเตนนิติกที่สูญเสียโครเมี่ยม (sensitized austenitic stainless steels) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดมาร์เทนซิติกที่ผ่านการชุบแข็งหรือ บริเวณที่สัมผัสกับชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน ขออนุญาติถามเพิ่มเติม เราจะมีวิธีกำจัด Heat treating scale ของ Martensitic stainless steel ได้อย่างไรบ้างครับ .....นอกจากการขัด ถ้ามีน้ำยาหรือสารละลายอะไรที่ใช้ได้ก็คงดีครับ :) ขอบคุณมากครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Iron ที่ สิงหาคม 16, 2005, 10:50:02 PM ไม่ใช่สแตนเลส... และไม่ใช่โพลิเมอร์... อ่านของคุณ Hydra แล้วก็ให้คิดถึงคุณชัช จารบี... คุณเหล็กแกร่ง... หรือคุณเตารีดครับ... เย้ ;D ตอนนี้ได้มาอีกชื่อจากพี่แก้วครับ "เหล็กไหล" ชื่อนี้ฟังแล้วชอบมากครับ แต่กลัวอย่างเดียว ใครจะนึกว่าเหนียวแล้วลองปืน เลยไม่กล้าใช้ครับ ;D พอลิเมอร์ โพลิเมอร์ polymer ตอนนี้ไม่รู้จักแล้วครับ ชอบเรียก ป้าดติกมากกว่า พลาสติกก็ไม่เอาครับ อิอิ ;D เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ...พี่แก้วอาจหมายว่าไหลไปทั่ว...อิอิ ;D ;D น่าน เจอพี่นาจาแซวซะ (ถือว่าผมโชคดีเพราะพี่นาจาไม่ค่อยแซวใคร) อิอิ ;D ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: นาจา™รักในหลวง ที่ สิงหาคม 16, 2005, 10:52:58 PM ไม่ใช่สแตนเลส... และไม่ใช่โพลิเมอร์... อ่านของคุณ Hydra แล้วก็ให้คิดถึงคุณชัช จารบี... คุณเหล็กแกร่ง... หรือคุณเตารีดครับ... เย้ ;D ตอนนี้ได้มาอีกชื่อจากพี่แก้วครับ "เหล็กไหล" ชื่อนี้ฟังแล้วชอบมากครับ แต่กลัวอย่างเดียว ใครจะนึกว่าเหนียวแล้วลองปืน เลยไม่กล้าใช้ครับ ;D พอลิเมอร์ โพลิเมอร์ polymer ตอนนี้ไม่รู้จักแล้วครับ ชอบเรียก ป้าดติกมากกว่า พลาสติกก็ไม่เอาครับ อิอิ ;D เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ...พี่แก้วอาจหมายว่าไหลไปทั่ว...อิอิ ;D ;D น่าน เจอพี่นาจาแซวซะ (ถือว่าผมโชคดีเพราะพี่นาจาไม่ค่อยแซวใคร) อิอิ ;D ;D อื๋ยย...กลับเป็นงั้นไป ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ สิงหาคม 16, 2005, 11:56:28 PM ;D น่าน เจอพี่นาจาแซวซะ (ถือว่าผมโชคดีเพราะพี่นาจาไม่ค่อยแซวใคร) อิอิ ;D ;D อื๋ยย...กลับเป็นงั้นไป ;D;D นั่นสิ กลับเป็นอย่างนั้นไป เพราะผมออกจะโดนพี่นาจาแซวบ่อยนะพี่เตารีด ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 17, 2005, 01:09:10 AM ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้มากจริงๆครับ 4) การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยการใช้กรดกัด (เช่น เพื่อขจัดสิ่งสกปรกประเภทโลหะ รอยเชื่อม และ heat-treating scales) นั้น (ASTM A380) ไม่ควรใช้กับเพื่อ descaling เหล็กกกล้าไร้สนิมชนิดออสเตนนิติกที่สูญเสียโครเมี่ยม (sensitized austenitic stainless steels) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดมาร์เทนซิติกที่ผ่านการชุบแข็งหรือ บริเวณที่สัมผัสกับชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน ขออนุญาติถามเพิ่มเติม เราจะมีวิธีกำจัด Heat treating scale ของ Martensitic stainless steel ได้อย่างไรบ้างครับ .....นอกจากการขัด ถ้ามีน้ำยาหรือสารละลายอะไรที่ใช้ได้ก็คงดีครับ :) ขอบคุณมากครับ :D วันนี้ท่าน warut พกกุมารทองมาแล้ว... ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: warut ที่ สิงหาคม 17, 2005, 01:25:50 AM :D วันนี้ท่าน warut พกกุมารทองมาแล้ว... ;D คราวก่อนคุณหมอทักทีนึงแล้ว........คราวนี้เลยไม่ลืมครับ ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Iron ที่ สิงหาคม 17, 2005, 06:30:53 AM ;D น่าน เจอพี่นาจาแซวซะ (ถือว่าผมโชคดีเพราะพี่นาจาไม่ค่อยแซวใคร) อิอิ ;D ;D อื๋ยย...กลับเป็นงั้นไป ;D;D นั่นสิ กลับเป็นอย่างนั้นไป เพราะผมออกจะโดนพี่นาจาแซวบ่อยนะพี่เตารีด ;D ;D งั้นก็ยกให้นายใหม่โชคดีกว่าผมนิดนึงแล้วกัน อิอิอิ ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: หินเหล็กไฟ ที่ สิงหาคม 17, 2005, 09:02:00 PM ;D ;D ท่าน warut เคยเป็นสมาชิกของ FORUM.IN.TH.หรือเปล่าครับถ้าเป็นคนเดียวกันก็ขอต้อนรับปรมาจารย์เรื่องเหล็กครับโดยเฉพาะเหล็กทำมีด ;D ;D
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: warut ที่ สิงหาคม 18, 2005, 12:02:41 AM ;D ;D ท่าน warut เคยเป็นสมาชิกของ FORUM.IN.TH.หรือเปล่าครับถ้าเป็นคนเดียวกันก็ขอต้อนรับปรมาจารย์เรื่องเหล็กครับโดยเฉพาะเหล็กทำมีด ;D ;D ครับผม ตอนนี้ Forum.in.th เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น http://www.thaiblades.com ครับ ห้องสนทนามีความหลากหลายมากขึ้น (ขออนุญาติประชาสัมพันธ์ครับ :D) เรื่องเหล็กเรื่องมีด ผมเพิ่งเริ่มศึกษาได้ซัก 3-4 ปีเองครับ หาอ่านไปเรื่อยๆ ไม่ได้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษครับ ต้องขอความรู้จากท่านทั้งหลายอีกเยอะครับ ฮิฮิ ว่าแต่มีใครพอทราบไหมครับว่ามีสารละลายอะไรเอามาล้าง heat treat scale ของสเตนเลสได้บ้าง เตาที่ผมจะไปแอบใช้ ไม่ได้เป็นเตาสุญญากาศ....ขี้เกียจหา stainless foil มาห่อด้วยครับ ;D scale มันจะขึ้นแน่ๆ แต่ถ้าหาวิธีทำความสะอาดง่ายๆก็น่าลองใช้ครับ (สรุปว่าขี้เกียจขัด) ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: นาจา™รักในหลวง ที่ สิงหาคม 18, 2005, 01:57:24 AM ;D น่าน เจอพี่นาจาแซวซะ (ถือว่าผมโชคดีเพราะพี่นาจาไม่ค่อยแซวใคร) อิอิ ;D ;D อื๋ยย...กลับเป็นงั้นไป ;D;D นั่นสิ กลับเป็นอย่างนั้นไป เพราะผมออกจะโดนพี่นาจาแซวบ่อยนะพี่เตารีด ;D ;D งั้นก็ยกให้นายใหม่โชคดีกว่าผมนิดนึงแล้วกัน อิอิอิ ;D ;D ;D ;D ;) กลายเป็นตัวโชคดีซะแล้วผม ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: หินเหล็กไฟ ที่ สิงหาคม 18, 2005, 09:16:16 AM ครับผม ตอนนี้ Forum.in.th เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น http://www.thaiblades.com ครับ ห้องสนทนามีความหลากหลายมากขึ้น (ขออนุญาติประชาสัมพันธ์ครับ :D) เรื่องเหล็กเรื่องมีด ผมเพิ่งเริ่มศึกษาได้ซัก 3-4 ปีเองครับ หาอ่านไปเรื่อยๆ ไม่ได้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษครับ ต้องขอความรู้จากท่านทั้งหลายอีกเยอะครับ ฮิฮิ ว่าแต่มีใครพอทราบไหมครับว่ามีสารละลายอะไรเอามาล้าง heat treat scale ของสเตนเลสได้บ้าง เตาที่ผมจะไปแอบใช้ ไม่ได้เป็นเตาสุญญากาศ....ขี้เกียจหา stainless foil มาห่อด้วยครับ ;D scale มันจะขึ้นแน่ๆ แต่ถ้าหาวิธีทำความสะอาดง่ายๆก็น่าลองใช้ครับ (สรุปว่าขี้เกียจขัด) ขอบคุณครับ ;D ;D ดีใจจริงๆครับที่เจอท่านอีกครั้งในเวบนี้ตอนแรกนึกว่าท่านใช้ชื่อในนี้ว่า rute เคยลองถามไปเหมือนกันปรากฎว่าไม่ไช่....เป็นคนละคนกัน...ผมไม่ได้เข้าฟอรั่มนานมากเลยไม่รู้ก่ารเปลี่ยนแปลง....มิน่าละพอเข้าทีไรกลายเป็นเวบข้างเคียงทุกทีถ้าท่านไม่บอกก็คงจะไม่ทราบนะครับ...ในนี้มีท่านสมาชิกสอบถามเรื่องวิธีการรมดำผมเข้าไปหาข้อมูลเก่าที่เคยถามใว้ไม่เจอขอความกรูณาท่านช่วยตอบด้วย ;D ;D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 18, 2005, 12:04:55 PM ขออนุญาติถามเพิ่มเติม
เราจะมีวิธีกำจัด Heat treating scale ของ Martensitic stainless steel ได้อย่างไรบ้างครับ .....นอกจากการขัด คราบสนิม แช่หรือทำให้ผิวเปียกด้วยสารละลายกรด oxalic ทิ้งไว้ 15-20 นาที ล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเช็ดให้แห้ง การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยการใช้กรดกัด (เช่น เพื่อขจัดสิ่งสกปรกประเภทโลหะ รอยเชื่อม และ heat-treating scales) นั้น (ASTM A380) ไม่ควรใช้กับเพื่อ descaling เหล็กกกล้าไร้สนิมชนิดออสเตนนิติกที่สูญเสียโครเมี่ยม (sensitized austenitic stainless steels) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดมาร์เทนซิติกที่ผ่านการชุบแข็งหรือ บริเวณที่สัมผัสกับชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน หลังจากทำความสะอาดควรล้าง (rinse) ผิวเหล็กด้วยน้ำสะอาดตาม ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดด้วยตัวทำละลายที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ ไม่ใช้ตัวทำละลายในบริเวณที่ปิด (closed space) หรือระหว่างการสูบบุหรี่ :D :D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 18, 2005, 12:11:58 PM การกัดกร่อนของโลหะและการป้องกัน
(Metallic Corrosion and Its Prevention) ปัจจุบัน เรามีการใช้เหล็กเป็นวัสดุพื้นฐานสำหรับงานต่างๆ มากมาย ซึ่งข้อพิจารณาในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล็ก นอกจากจะดูที่ความแข็งแรง ความเหนียว (Toughness) ความสามารถในการขึ้นรูปและความสามารถในการเชื่อมประกอบแล้ว เรายังต้องพิจารณาถึงความต้านทานการกัดกร่อนด้วย เพื่อให้ใช้งานเหล็กได้อย่างคุ้มค่า ลดความจำเป็นในการซ่อมบำรุง และมั่นใจในความปลอดภัย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร การขนส่งเชื้อเพลิงโดยท่อเหล็ก เป็นต้น บทความนี้จะเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบการกัดกร่อนบางประเภทที่เกิดกับโลหะและการป้องกัน การกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอ (Uniform corrosion) เป็นการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากโลหะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยอัตราการสูญเสียของเนื้อโลหะที่บริเวณต่างๆ จะใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถวัดอัตราการกัดกร่อนและออกแบบการบำรุงรักษาตามช่วงระยะเวลาได้ การกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์ (Galvanic corrosion) เช่น เมื่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกันมาเชื่อมต่อกันจะเกิดความต่างศักย์ขึ้น ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนระหว่างโลหะทั้งสอง โลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนได้น้อยกว่าจะเป็นอาโนด โลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนได้มากกว่าทำหน้าที่เป็นคาโธด โดยระดับการกัดกร่อนขึ้นกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่โลหะทั้งสองสัมผัส ระยะห่างจากรอยต่อ (การกัดกร่อนแบบกัลวานิคจะรุนแรงที่สุดบริเวณใกล้รอยต่อระหว่างโลหะทั้งสอง และอัตราการกัดกร่อนจะลดลงเมื่อระยะห่างจากรอยต่อนั้นเพิ่มขึ้น) สัดส่วนพื้นที่ของคาโธดต่อพื้นที่ของอาโนด (ยิ่งสัดส่วนดังกล่าวมาก ความรุนแรงของการกัดกร่อนที่อาโนดก็จะยิ่งสูงขึ้น) การกัดกร่อนแบบช่องแคบ (Crevice corrosion) เป็นการกัดกร่อนเฉพาะบริเวณ (localised corrosion) แบบหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณช่องแคบหรือรอยแยกของโลหะ ที่สัมผัสกับสารละลายที่สามารถแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า (electrolyte) ได้ การกัดกร่อนแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้โลหะสัมผัสกับอโลหะ เช่น rubber gasket อัตราการกัดกร่อนในช่องแคบจะสูงกว่าของเนื้อโลหะโดยรวม (bulk) นอกจากนี้การกัดกร่อนแบบช่องแคบมักเกิดกับโลหะที่โลหะผสมที่ผิวเป็น passive เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม การกัดกร่อนแบบเป็นหลุม (Pitting) เป็นการกัดกร่อนเฉพาะที่ (localized attack) อีกแบบหนึ่ง การกัดกร่อนแบบนี้ทำให้เกิดความเสียหายได้แม้สูญเสียน้ำหนักโลหะเพียงเล็กน้อย แต่เป็นอันตรายเพราะมักเป็นการเสียหายแบบฉับพลัน โดยจะทะลุเป็นรูและยากที่จะตรวจหา เพราะขนาดเล็กและอาจถูกปกคลุมด้วยผลิตภัณฑ์จากการกัดกร่อน (corrosion product) การกัดกร่อนแบบเป็นหลุมมักจะเกิดกับโลหะที่ผิวเป็น passive ซึ่งจะทำให้มีแรงขับ (driving force) ที่จะทำให้เกิดกระแสการกัดกร่อนไหลไปในหลุมสูง ถ้าผิวภายนอก active ก็จะขาดแรงขับต่อการเกิดการกัดกร่อนกัดแบบหลุม การกัดกร่อนแบบหลุมจะพบบ่อยในสารละลายที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำทะเล การกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion) โดยปกติการกัดกร่อนบริเวณขอบเกรน (grain boundary) จะเกิดได้ดีกว่าที่โลหะพื้น (matrix) เล็กน้อย แต่ในบางสภาวะ การกัดกร่อนบริเวณขอบเกรนจะไวมาก เช่น ปัญหาที่พบบ่อยของการกัดกร่อนแบบนี้ในเหล็กกล้าไร้สนิม คือ บริเวณรอยเชื่อมของเหล็กกล้าไร้สนิมที่เกิดการสูญเสียโครเมี่ยมในรูปของคาร์ไบด์ (Cr23C6) ทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบนี้ในบริเวณใกล้แนวเชื่อม เนื่องจากขาดโครเมี่ยมสำหรับการสร้างฟิล์มโครเมี่ยมออกไซด์ที่แน่นและป้องกันเนื้อเหล็ก การผุกร่อนแบบเลือก (Selective leaching or Dealloying) จะเกิดกับโลหะผสมที่ธาตุหนึ่งเสถียรกว่าอีกธาตุหนึ่งเมื่อสัมผัสกับบรรยากาศ เช่น - การผุกร่อนแบบ Dezincification ของทองเหลือง (ทองแดงผสมสังกะสี) ที่สังกะสีจะถูกละลายออกไป เหลือไว้เหลือแต่ทองแดงที่เป็นรูพรุน ซึ่งแม้ว่ารูปทรงจะเหมือนเดิม แต่ความแข็งแรงจะลดลง ปัญหาดังกล่าวสามารถลดลงได้โดยการเติมดีบุกประมาณ 1 % ลงในทองเหลือง - Graphitization ของเหล็กหล่อเทา คือ การผุกร่อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหล็ก (อาโนด) ผุกร่อนไป เหลือตาข่ายกราไฟต์ลักษณะแผ่น (Graphite flake) ที่เป็นคาโธดไว้ ทำให้โครงสร้างเหล็กหล่อเทาสูญเสียความแข็ง การแก้ปัญหาทำโดยการใช้เหล็กหล่อกราไฟต์กลม หรือเหล็กหล่ออบเหนียว (Malleable cast iron) แทน การกัดเซาะ (Erosion corrosion) เป็นการกัดกร่อนที่เกิดจากทั้งทางเคมีและทางกล เช่น ในท่อส่งสารละลายที่กัดกร่อนซึ่งอาจมีสารแขวนลอยของแข็งผสม การกัดกร่อนแบบนี้จะถูกเร่งด้วยการชนของอนุภาค ซึ่งอาจทำให้เนื้อโลหะหลุดออก หรือแค่ทำให้ออกไซด์แน่นที่ปกป้องผิวหลุดออก เปิดให้เนื้อโลหะถูกกัดกร่อนง่ายขึ้น Stress corrosion เป็นการกัดกร่อนที่เกิดโดยความเค้นและสภาพแวดล้อมที่กัดกร่อน โดยสภาพความเค้นของโลหะอาจเกิดจากความเค้นภายในเหลือค้าง (Residual internal stress) เช่น - จากการขึ้นรูปเย็น (Cold forming) ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยทำการอบอ่อน (Annealing) หลังการขึ้นรูป - การเย็นตัวอย่างไม่สม่ำเสมอจากอุณหภูมิสูง เป็นต้น ความเค้นจากภายนอก เช่น - การสั่นสะเทือน - การรับการดัดโค้ง - ผลของความร้อน (ขยายตัวหรือหดตัว) เป็นต้น การป้องกันการกัดกร่อน เราสามารถชะลอการกัดกร่อนของโลหะได้โดย 1. การเลือกใช้วัสดุ (Material selection) ที่เหมาะสม เช่น ในกรณีที่ต้องเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกัน ควรเลือกโลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้ารีดักชัน (Reduction potential) ใกล้เคียงกัน เพื่อป้องกันการกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์ (Galvanic corrosion) ในกรณีของเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้งานบริเวณที่ใกล้ทะเล เราสามารถลดแนวโน้มการเกิดการกัดกร่อนแบบหลุม (Pitting) ได้โดยเลือกใช้เกรด 316 ที่ผสมโมลิบดินั่มประมาณ 2 % แทนเกรด 304 ในกรณีของเหล็กกล้าไร้สนิมที่หนาและต้องทำการเชื่อม เราสามารถป้องกันการกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion) ได้ โดยเลือกใช้เกรดที่มีคาร์บอนต่ำ (ไม่เกิน 0.03% เช่น เกรด 316L) หรือเกรดที่ผสม Ti หรือ Nb (ซึ่งมีความสามารถในการจับกับคาร์บอนได้ดีกว่าโครเมียม) ใส่ใจเรื่องการเลือกใช้ลวดเชื่อม เพื่อป้องกันการกัดกร่อนบริเวณรอยเชื่อม (ดูรายละเอียดในบทความเรื่อง การเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม ได้ที่ http://www.isit.or.th/techinfo.asp (http://www.isit.or.th/techinfo.asp)) เป็นต้น 2. การออกแบบ (Design) ที่เหมาะสม เช่น ออกแบบให้สัดส่วนพื้นที่ของอาโนดต่อพื้นที่ของคาโธดที่สูงจะลดการกัดกร่อนแบบ Galvanic ได้ดีกว่า ทำการเคลือบโดยการพิจารณาอย่างรอบคอบ เช่น การทาสีบนโลหะที่ทนการกัดกร่อนน้อย (anode) โดยไม่ทาสีบนโลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนมากกว่า (คาโธด) นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เนื่องจากรูขนาดเล็ก (pin-holes) ในบริเวณที่ทาสีไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดพื้นที่อาโนดขนาดเล็ก แต่มีพื้นคาโธดที่ขนาดใหญ่ จึงเป็นการเร่งการกัดกร่อนเฉพาะบริเวณที่อาโนด ลดการสัมผัสทางไฟฟ้าระหว่างโลหะต่างชนิดกันเพื่อป้องกัน Galvanic corrosion เช่น ใช้ฉนวน (insulator) คั่น ใช้ปะเก็น (Gasket) ที่เป็นของแข็ง เช่น เทฟลอนแทนวัสดุที่ดูดซับของเหลวได้ ออกแบบควบคุมการไหลของสารที่ขนส่งในท่อและวาล์วให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงรูปร่างและลักษณะทางเรขาคณิต หรือการเพิ่มความหนาของวัสดุบริเวณที่ถูกกัดเซาะสูง (Erosion corrosion) เป็นต้น ในกรณีที่ส่งผ่านของเหลวที่มีตะกอนตามท่อโลหะ อาจพิจารณาใช้ตัวกรองเพื่อกรองของแข็งออก เพื่อช่วยลดการกัดเซาะ ออกแบบเผื่อให้ชิ้นงานให้มีความหนามากขึ้น หรือออกแบบให้ชิ้นงานที่เป็นอาโนดสามารถถอดเปลี่ยน ซ่อมบำรุงได้ง่าย สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมที่ได้สูญเสียโครเมี่ยมไปในรูปของคาร์ไบด์ (sensitised) เช่น ชิ้นงานหนาที่ผ่านการเชื่อม การปรับปรุงโดยกระบวนการทางความร้อนเพื่อละลายคาร์ไบด์จะสามารถช่วยป้องกันการกัดกร่อนตามขอบเกรนได้ เราสามารถลด Stress corrosion cracking ได้โดยการลดความเค้นเหลือค้างในชิ้นงานให้ต่ำลง โดยการอบคลายความเครียด ใช้การเชื่อมแทนการใช้หมุดย้ำ (Rivet) หรือสลักเกลียว (Bolt) ในการยึดวัสดุ การเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกัน ควรเลือกใช้โลหะที่ใช้เชื่อมที่ต้านทานการกัดกร่อนสูงกว่าโลหะพื้น (Base metal) ที่ต้องการยึดต่ออย่างน้อย 1 ตัว 3. การปรับสภาพแวดล้อม (Modification of environment) และการบำรุงรักษาโลหะ เช่น การใช้สารยับยั้งการกัดกร่อน (inhibitor) เติมในสารละลายที่ต้องการใช้ลำเลียง จัดเก็บหรือใช้ทำการผลิต เพื่อลดการกัดกร่อนของอุปกรณ์โลหะที่สัมผัส การศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการกัดกร่อน เช่น การเปลี่ยนสภาพจากคาโธดเป็นอาโนดในระบบสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น ทำความสะอาด ตรวจสอบอุปกรณ์และขจัดตะกอนที่ตกค้างอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 4. การเคลือบผิว/ทาสี (Coating/painting) มีด้วยกันหลายแบบ เช่น การเคลือบผิวเหล็กด้วยสังกะสี ดีบุก หรืออีนาเมล เป็นต้น 5. วิธีการทางไฟฟ้า-เคมี (Electrochemical methods) วิธี Cathodic protection โดยการทำให้โครงสร้างที่ต้องการป้องกันเป็นคาโธด ซึ่งอาจทำโดยการให้กระแสไฟฟ้า (impressed current) หรือการใช้อาโนดสิ้นเปลือง (sacrificial anode) โดยใช้วัสดุตัวอื่นซึ่งทำหน้าที่เป็นอาโนดต่อเข้ากับโลหะที่ต้องการป้องกัน เพื่อให้ผุกร่อนแทน วิธี Anodic protection โดยการใช้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกทำให้โลหะที่ต้องการปกป้องสร้างชั้นฟิล์มที่เสถียร (protective film) ที่ผิวซึ่งจะใช้ได้กับโลหะเพียงบางชนิด ต่างจาก Cathodic protection ที่สามารถใช้กับโลหะได้ทุกชนิด ;) ;) หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Quart ที่ สิงหาคม 18, 2005, 12:41:32 PM ขอบคุณท่านผู้รู้ครับ
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 23, 2005, 03:10:05 PM พี่ที่ถามวิธีกำจัดสนิมแบบไม่ต้องขัดตอบให้แล้วนะครับ ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: warut ที่ สิงหาคม 23, 2005, 06:44:04 PM พี่ที่ถามวิธีกำจัดสนิมแบบไม่ต้องขัดตอบให้แล้วนะครับ ;D ;D ;D ขอบคุณครับ :) หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: jom2549 ที่ สิงหาคม 23, 2005, 10:40:42 PM มีลำกล้องปืนที่ ใช้ เซรามิค มีกรรม วิธี อย่างไร
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2005, 04:47:55 PM เรื่องเซรามิคนี่ไม่ค่อยสันทัดเท่าไหร่นะครับเดี๋ยวจะไปหาข้อมูลมาให้แต่ตอนนี้มันระบาดไปทั้วแล้วครับตั้งแต่ผ้าเบรค จานเบรค ใบกังหันเทอร์โบ ;D ;D
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: ban.cha ที่ พฤศจิกายน 26, 2009, 02:09:27 PM http:// เหล็ก เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการผลิตปืนมากที่สุด เพราะเป็นวัสดุที่ทุกคนให้การยอมรับว่านอกจากจะมีความแข็งแรง แล้วเหล็กจะแพ้สนิม มีเหล็กที่ไหนก็มีสนิมที่นั่นครับ หากคุณนำปืนที่ทำจากเหล็กไปเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้น ก็อาจจะทำให้ปืนคุณเป็นสนิมและเกิดความชำรุด เสียหายได้ในที่สุดครับ และอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีปัญหาสำหรับเหล็กเสมอในการสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆก็คือ เหล็กไม่สามารถสร้างความแข็งแรงในมวลที่น้อยได้ หรือพูดง่ายๆก็คือ เหล็กมีความหนาไม่พอ ความแข็งแรงก็มีไม่พอ ทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย หากนำมาใช้ทำปืนก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ได้ง่ายเช่นกัน และถ้าต้องการให้เกิดความแข็งแรงก็จะต้องใช้เหล็กที่มีความหนามาก แต่ข้อเสียก็คือ จะมีน้ำหนักมาก ทำให้ความนิยมของเหล็กนั้นลดน้อยลงไป และทำให้มีโลหะชนิดใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งบางอย่างอาจจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเหล็กหรือมีข้อดีมากกว่าเหล็กนั่นเองครับซึ่งโลหะต่อไปนี้ได้รับความนิยมแทนที่เหล็กครับ สเตนเลส ตามความคิดของคนทั่วๆไปจะคิดว่า สเตนเลสเป็นเหล็กอีกชนิดหนึ่ง แต่จะต่างจากเหล็กทั่วๆไปตรงที่ไม่เป็นสนิม ไม่ว่าจะโดนน้ำหรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นก็จะไม่เป็นสนิม แต่ถ้าจะทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องแล้วล่ะก็ สเตนเลส ก็คือ โลหะสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเหล็กมาก แต่คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีมากกว่าเหล็กก็คือ ความแข็งที่มีมากกว่า และยังไม่เป็นสนิมอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมในปัจจุบันจึงนิยมใช้สเตนเลสในการผลิตปืนมากกว่าการใช้เหล็ก ซึ่งจะสังเกตุความแตกต่างได้จากปืนรุ่นเดียวกัน คือ เหล็กรมดำกับสเตนเลส ราคาของปืนที่ทำให้จากสเตนเลสสูงกว่าปืนที่ทำจากเหล็กเล็กน้อย ถึงแม้ว่าปืนที่ทำจากสเตนเลสจะมีราคาที่แพงกว่าปืนที่ทำจากเหล็กและมีคุณสมบัติที่ดีกว่า แต่นักเล่นปืนส่วนมากก็ยังให้ความเชื่อมั่นในปืนที่ทำจากเหล็ก จึงทำให้ปืนที่ทำจากเหล็กยังได้รับความนิยมอยู่เสมอนั่นเองครับ อะลูมินั่ม สำหรับส่วนประกอบของปืนหลังจากที่มีการนำสเตนเลสมาใช้แล้ว ก็ยังมีการพัฒนาต่อโดยการนำอะลูมินั่มเป็นตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบทบาท ซึ่งในการเลือกใช้ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกเช่นกัน เพราะอลูมินั่มที่จะสามารถนำมาใช้ได้ต้องเป็นเบอร์พิเศษจริงๆ นะครับ ซึ่งส่วนมากจะใช้ตั้งแต่เบอร์ 7005ขึ้นไป และแน่นอนถ้ายิ่งนำไปประกอบเป็นชิ้นส่วนต่างๆ จะทำให้มีอัตราการกระแทกหรือมีแรงกดดันที่ค่อนข้างสูง ส่วนข้อดีของอะลูมินั่มก็เหมือนกับข้อดีของสเตนเลสก็คือ เรื่องของน้ำหนักที่อะลูมินั่มเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบากว่าสเตนเลส แต่ความนิยมส่วนมากมักจะนำอะลูมินั่มมาใช้เป็นวัสดุผสมมากกว่าที่จะนำมาใช้ทำปืนทั้งกระบอก โพลิเมอร์ โพลิเมอร์ เป็นวัสดุที่มีลักษณะคล้ายกับพลาสติกเมื่อนำมาใช้ทำปืนจึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ซึ่งกว่าจะทำให้นักเล่นปืนยอมรับได้ก็ต้องใช้เวลามากพอสมควรทีเดียวครับ เพราะลักษณะของปืนจะเหมือนปืนเด็กเล่นมากกว่าปืนที่ใช้งานได้จริง แต่ไม่นานหลังจากที่พิสูจน์ตัวเองได้ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 86% และยังมีความเหนียวกว่าเหล็ก เรียกได้ว่า เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบามากที่สุดในบรรดาวัสดุที่นำมาใช้ทำปืนนอกจากจะมีความเบาแล้วและเหนียวแล้ว คุณสมบัติอีกประการหนึ่งก็คือ สารสังเคราะห์ประเภทนี้จะลดแรงสะท้อนของตัวปืน และสามารถที่จะลุยใช้งานได้ทุกสภาพและทุกสถานการณ์ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการติดขัดของตัวปืนที่ทำจากวัสดุชนิดนี้ ในช่วงแรกๆ จะมีเพียงGLOCKเท่านั้นที่นำโพลิเมอร์มาใช้ ซึ่งในตอนหลังๆก็มีอีกหลายๆยี่ห้อนำโพลิเมอร์มาใช้ในการผลิตอาวุธปืนตามมา ไททาเนียม ไททาเนียม เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยม โดยส่วนมากจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆที่นำมาใช้ทดแทนของเดิมของปืน เช่น ไกปืนนก หรือเข็มแทงชนวน เป็นต้น คุณสมบัติของไททาเนียมจะมีความแข็งมากกว่าเหล็กและจะมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 40% เมื่อเทียบมวลนี้ขนาดเท่ากันและมีความแข็งกว่าอะลูมินั่ม (อะลูมินั่มจะมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กประมาณ 20%) แต่จะมีความแข็งแรงเท่าเหล็ก ทนแรงสึกกร่อนและความร้อนได้มากกว่า ดังนั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่บริษัทปืนยักษ์ใหญ่อีกหลายยี่ห้อ สนใจนำไททาเนียมมาผลิตปืนของตนเองแต่เนื่องจากไททาเนียมมีราคาแพงมาก ซึ่งไม่ใช่เพราะหายาก แต่เนื่องจากการนำมาสกัดและขึ้นรูปยาก เพราะการหล่ะของเครื่องจักรกล และการแต่งขัดจะมีความยากมาก และยังต้องมีขั้นตอนการอบผิว ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สร้างความแข็งให้กับไททาเนียมมายิ่งขึ้น ทำให้เรียกว่า กว่าจะออกมาเป็นชิ้นส่วนไททาเนียมได้นั้นมีความยากลำบากมาก ดังนั้นความแพงของปืนจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพเสมอ ในปัจจุบันบริษัท SMITH&WESSONได้นำไททาเนียมมาทำการผลิตลูกโม่ขนาด .38 แล้วครับ ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็นได้ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: BAI ที่ พฤศจิกายน 26, 2009, 03:22:28 PM ขอบคุณครับผม
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: CHAWALIT2009 ที่ พฤศจิกายน 26, 2009, 05:08:18 PM ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: addcon ที่ พฤศจิกายน 29, 2009, 05:13:23 PM ชิ้นส่วนหลักของปืนมีความต้องการความแข็งที่ผิวครับ หากมีความแข็งทั้งแท่งก็จะเปราะแตกหักง่าย ดังนั้นความแข็งใช่ว่าจะดีที่สุด แต่ต้องมีความเหนียว และ ทนความร้อน ได้ดีความแข็งที่ผิวจะช่วยลดการสึกหรอจากการเสียดสี
( เหมือนมีดครับชุบแข็งมากๆก็บิ่นง่าย) หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: zajang ที่ พฤศจิกายน 30, 2009, 06:05:00 PM ขอขอบพระคุณมากๆครับ
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Kapiman - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 30, 2009, 08:24:19 PM แล้วเหล็กที่ทำมีดซามูไร(ของแท้) ทำไมถึงได้เหนียว แข็ง ทน ได้ลงตัวจังครับ ทั้งที่ช่างตีดาบญี่ปุ่นสมัยก่อนก็ไม่มีเครื่องมือวัดค่าของเหล็กก่อนตีดาบด้วย พวกเค้าทำยังไงถึงได้ลงตัวแบบนี้ครับ (แข็งไปก็เปราะ เหนียวไปก็คดงอ)
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: addcon ที่ พฤศจิกายน 30, 2009, 09:07:44 PM ใช้ความชำนาญในการดูสีของเหล็กที่เผาครับหากเผาได้อุณหภูมิที่พอดีและชุบเป็นเหล็กจะแข็งตามต้องการครับ
สังเกตุว่าการชุบมีด,ขวานเมื่อเผาเหล็กได้ที่จะไม่ชุบมีดลงไปทั้งอันทีเดียวครับแต่จะชุบส่วนคมก่อนแล้วจึงจุ่มมีดลงไปทั้งนี้เหล็กที่เปลียนอุณหภูมิเร็ว(คมมีด)จะแข็งกว่าสันมีดครับ ทั้งนี้ระยะเวลาในการเผาก็สำคัญครับ เพื่อให้โมเลกุลคาร์บอน และ เหล็ก มีการเรียงตัว ก่อนชุบครับ เอ...พูดเหมือนรู้จริงแฮะ อันนี้เล่าให้ฟังตามประสพการณ์ครับผิดถูกยังไงท่านที่รู้ช่วยแก้ไขด้วยครับ :DD หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 30, 2009, 09:56:39 PM แล้วเหล็กที่ทำมีดซามูไร(ของแท้) ทำไมถึงได้เหนียว แข็ง ทน ได้ลงตัวจังครับ ทั้งที่ช่างตีดาบญี่ปุ่นสมัยก่อนก็ไม่มีเครื่องมือวัดค่าของเหล็กก่อนตีดาบด้วย พวกเค้าทำยังไงถึงได้ลงตัวแบบนี้ครับ (แข็งไปก็เปราะ เหนียวไปก็คดงอ) ดาบคาตานะ ของญี่ปุ่นใช้เหล็ก2ชนิดที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีทบเข้าด้วยกันครับ ส่วนที่เป็นคมดาบจึงแข็งส่วนเนื้อในเหนียว ดาบของไทยเราก็ตีขึ้นโดยเหล็ก2ชนิดเช่นกัน แต่วิธีการอาจจะต่างกัน หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: outpost 1969 รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 30, 2009, 10:28:24 PM ::014::สวัสดีครับ ::014::
::002:: ขอขอบพระคุณทุกท่านโดยเฉพาะท่าน จขกท.ที่จุด"ไฟแห่งความรู้"นี้ขื้นมา ::002:: หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: FORD-TECH-CHI-CHI รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 03:15:23 AM ขออนุญาตเรียนถามครับ
ผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ตรงชิ้นส่วนที่เป็นลำกล้อง มีที่ทำจากแสตนเลสมั๊ยครับ เนื่องจากข้อความที่ว่าแสตนเลสแข็งกว่าเหล็ก และไม่เป็นสนิมด้วยครับ แต่ผมสงสัยว่าเท่าที่เคยสัมผัสปืนมา ก็เห็นแต่ลำกล้องที่ทำจากเหล็กเท่านั้นครับ ::014:: หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 03:50:22 AM ขออนุญาตเรียนถามครับ .44 เรื่อนแสนที่คุณเพิ่งจะซื้อมา ไม่ทราบหรือครับว่าใช้วัสดุอะไรผลิตผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ตรงชิ้นส่วนที่เป็นลำกล้อง มีที่ทำจากแสตนเลสมั๊ยครับ เนื่องจากข้อความที่ว่าแสตนเลสแข็งกว่าเหล็ก และไม่เป็นสนิมด้วยครับ แต่ผมสงสัยว่าเท่าที่เคยสัมผัสปืนมา ก็เห็นแต่ลำกล้องที่ทำจากเหล็กเท่านั้นครับ ::014:: หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Sundance ที่ ธันวาคม 01, 2009, 12:14:24 PM ตอนที่เสตนเลสออกมาเป็นปืนใหม่ๆ คิดว่าประมาณ 30 ปีมาแล้ว ผมมีอคติกับเสตนเลส ได้รับคำบอกเล่าจากหนังสือ (แมกกาซีน) ปืนว่า เหล็ก (steel) นั้นเนื้อมันเป็นเส้น เรียบเรียงเกาะกัน จึงเหนียว ส่วนเสตนเลสนั้นเนื้อเป็นเม็ด ไม่มีความเหนียว และยังบอกด้วยว่าแม้ปืนจะเป็นเสตนเลสข้างนอก แต่ชิ้นส่วนข้างในก็ยังใช้ steel (เหล็กดำกันอยู่) เพราะมีความลื่นในการสัมผัสระหว่างชิ้นส่วน แต่ Metallurgy สมัยนี้คงก้าวหน้าไปมากแล้ว
ฝากความระลึกถึงคุณชัช จารบี ผู้ที่ผมพบเป็นคนแรกในการประชุมครั้งแรกของคนนิยมปืนที่กรมทหารที่เกียกกาย หรือสพานแดงด้วย วันนั้นได้พบคุณ coda คุณ 524 (Ro@d) คุณต๊อก คุณสมชาย (ฮา) คุณ Ninja 19 เท่าที่จำได้และทราบนาม คุณ Arjuna นี่เคยใช้ชื่อ ศรอรชุน ไหมครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: FORD-TECH-CHI-CHI รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 01:09:46 PM ขออนุญาตเรียนถามครับ .44 เรื่อนแสนที่คุณเพิ่งจะซื้อมา ไม่ทราบหรือครับว่าใช้วัสดุอะไรผลิตผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ตรงชิ้นส่วนที่เป็นลำกล้อง มีที่ทำจากแสตนเลสมั๊ยครับ เนื่องจากข้อความที่ว่าแสตนเลสแข็งกว่าเหล็ก และไม่เป็นสนิมด้วยครับ แต่ผมสงสัยว่าเท่าที่เคยสัมผัสปืนมา ก็เห็นแต่ลำกล้องที่ทำจากเหล็กเท่านั้นครับ ::014:: อันนี้ผมก็ดูไม่ออกครับ ว่าเป็นวัสดุอะไร แต่ว่าปืนทุกกระบอกที่ผมมี ผมจะโชลมน้ำมันลำกล้องทุกกระบอกเว้นแต่อัดลม.177ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 01:40:42 PM ตอนที่เสตนเลสออกมาเป็นปืนใหม่ๆ คิดว่าประมาณ 30 ปีมาแล้ว ผมมีอคติกับเสตนเลส ได้รับคำบอกเล่าจากหนังสือ (แมกกาซีน) ปืนว่า เหล็ก (steel) นั้นเนื้อมันเป็นเส้น เรียบเรียงเกาะกัน จึงเหนียว ส่วนเสตนเลสนั้นเนื้อเป็นเม็ด ไม่มีความเหนียว และยังบอกด้วยว่าแม้ปืนจะเป็นเสตนเลสข้างนอก แต่ชิ้นส่วนข้างในก็ยังใช้ steel (เหล็กดำกันอยู่) เพราะมีความลื่นในการสัมผัสระหว่างชิ้นส่วน แต่ Metallurgy สมัยนี้คงก้าวหน้าไปมากแล้ว ไม่เคยใช้ชื่อ ศรอรชุน ครับ พี่Sundance ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Hydra ครับ ::014:: ::014::ฝากความระลึกถึงคุณชัช จารบี ผู้ที่ผมพบเป็นคนแรกในการประชุมครั้งแรกของคนนิยมปืนที่กรมทหารที่เกียกกาย หรือสพานแดงด้วย วันนั้นได้พบคุณ coda คุณ 524 (Ro@d) คุณต๊อก คุณสมชาย (ฮา) คุณ Ninja 19 เท่าที่จำได้และทราบนาม คุณ Arjuna นี่เคยใช้ชื่อ ศรอรชุน ไหมครับ ขออนุญาตเรียนถามครับ .44 เรื่อนแสนที่คุณเพิ่งจะซื้อมา ไม่ทราบหรือครับว่าใช้วัสดุอะไรผลิตผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ตรงชิ้นส่วนที่เป็นลำกล้อง มีที่ทำจากแสตนเลสมั๊ยครับ เนื่องจากข้อความที่ว่าแสตนเลสแข็งกว่าเหล็ก และไม่เป็นสนิมด้วยครับ แต่ผมสงสัยว่าเท่าที่เคยสัมผัสปืนมา ก็เห็นแต่ลำกล้องที่ทำจากเหล็กเท่านั้นครับ ::014:: อันนี้ผมก็ดูไม่ออกครับ ว่าเป็นวัสดุอะไร แต่ว่าปืนทุกกระบอกที่ผมมี ผมจะโชลมน้ำมันลำกล้องทุกกระบอกเว้นแต่อัดลม.177ครับ หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: FORD-TECH-CHI-CHI รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 01:50:41 PM ตอนที่เสตนเลสออกมาเป็นปืนใหม่ๆ คิดว่าประมาณ 30 ปีมาแล้ว ผมมีอคติกับเสตนเลส ได้รับคำบอกเล่าจากหนังสือ (แมกกาซีน) ปืนว่า เหล็ก (steel) นั้นเนื้อมันเป็นเส้น เรียบเรียงเกาะกัน จึงเหนียว ส่วนเสตนเลสนั้นเนื้อเป็นเม็ด ไม่มีความเหนียว และยังบอกด้วยว่าแม้ปืนจะเป็นเสตนเลสข้างนอก แต่ชิ้นส่วนข้างในก็ยังใช้ steel (เหล็กดำกันอยู่) เพราะมีความลื่นในการสัมผัสระหว่างชิ้นส่วน แต่ Metallurgy สมัยนี้คงก้าวหน้าไปมากแล้ว ไม่เคยใช้ชื่อ ศรอรชุน ครับ พี่Sundance ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Hydra ครับ ::014:: ::014::ฝากความระลึกถึงคุณชัช จารบี ผู้ที่ผมพบเป็นคนแรกในการประชุมครั้งแรกของคนนิยมปืนที่กรมทหารที่เกียกกาย หรือสพานแดงด้วย วันนั้นได้พบคุณ coda คุณ 524 (Ro@d) คุณต๊อก คุณสมชาย (ฮา) คุณ Ninja 19 เท่าที่จำได้และทราบนาม คุณ Arjuna นี่เคยใช้ชื่อ ศรอรชุน ไหมครับ ขออนุญาตเรียนถามครับ .44 เรื่อนแสนที่คุณเพิ่งจะซื้อมา ไม่ทราบหรือครับว่าใช้วัสดุอะไรผลิตผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ตรงชิ้นส่วนที่เป็นลำกล้อง มีที่ทำจากแสตนเลสมั๊ยครับ เนื่องจากข้อความที่ว่าแสตนเลสแข็งกว่าเหล็ก และไม่เป็นสนิมด้วยครับ แต่ผมสงสัยว่าเท่าที่เคยสัมผัสปืนมา ก็เห็นแต่ลำกล้องที่ทำจากเหล็กเท่านั้นครับ ::014:: อันนี้ผมก็ดูไม่ออกครับ ว่าเป็นวัสดุอะไร แต่ว่าปืนทุกกระบอกที่ผมมี ผมจะโชลมน้ำมันลำกล้องทุกกระบอกเว้นแต่อัดลม.177ครับ ::014::จริงเหรอครับ ผมเพิ่งทราบน่ะเนี่ยว่า เป็นสแตนเลส ดีใจจังเลย :VOV: ;D ::002:: จะได้ไม่ห่วงเรื่องสนิมขุมครับ ถ้า อ.เอ ไม่บอก ผมก็ไม่รู้น่ะเนี่ย แสดงว่าตัวนี้ไม่มีจุดใหนที่จะเป็นสนิมได้เลยใช้มั๊ยครับ ขอบพระคุณมากครับ ขอเรียนถามอีกกระบอกว่า 686-6 (ลูกรักอีกตัว) ไม่ทราบว่าเป็นเหล็กหรือแสตนเลสครับ อารจารย์ ::014:: หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: FORD-TECH-CHI-CHI รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 01:52:36 PM ตอนที่เสตนเลสออกมาเป็นปืนใหม่ๆ คิดว่าประมาณ 30 ปีมาแล้ว ผมมีอคติกับเสตนเลส ได้รับคำบอกเล่าจากหนังสือ (แมกกาซีน) ปืนว่า เหล็ก (steel) นั้นเนื้อมันเป็นเส้น เรียบเรียงเกาะกัน จึงเหนียว ส่วนเสตนเลสนั้นเนื้อเป็นเม็ด ไม่มีความเหนียว และยังบอกด้วยว่าแม้ปืนจะเป็นเสตนเลสข้างนอก แต่ชิ้นส่วนข้างในก็ยังใช้ steel (เหล็กดำกันอยู่) เพราะมีความลื่นในการสัมผัสระหว่างชิ้นส่วน แต่ Metallurgy สมัยนี้คงก้าวหน้าไปมากแล้ว ไม่เคยใช้ชื่อ ศรอรชุน ครับ พี่Sundance ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Hydra ครับ ::014:: ::014::ฝากความระลึกถึงคุณชัช จารบี ผู้ที่ผมพบเป็นคนแรกในการประชุมครั้งแรกของคนนิยมปืนที่กรมทหารที่เกียกกาย หรือสพานแดงด้วย วันนั้นได้พบคุณ coda คุณ 524 (Ro@d) คุณต๊อก คุณสมชาย (ฮา) คุณ Ninja 19 เท่าที่จำได้และทราบนาม คุณ Arjuna นี่เคยใช้ชื่อ ศรอรชุน ไหมครับ ขออนุญาตเรียนถามครับ .44 เรื่อนแสนที่คุณเพิ่งจะซื้อมา ไม่ทราบหรือครับว่าใช้วัสดุอะไรผลิตผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่า ตรงชิ้นส่วนที่เป็นลำกล้อง มีที่ทำจากแสตนเลสมั๊ยครับ เนื่องจากข้อความที่ว่าแสตนเลสแข็งกว่าเหล็ก และไม่เป็นสนิมด้วยครับ แต่ผมสงสัยว่าเท่าที่เคยสัมผัสปืนมา ก็เห็นแต่ลำกล้องที่ทำจากเหล็กเท่านั้นครับ ::014:: อันนี้ผมก็ดูไม่ออกครับ ว่าเป็นวัสดุอะไร แต่ว่าปืนทุกกระบอกที่ผมมี ผมจะโชลมน้ำมันลำกล้องทุกกระบอกเว้นแต่อัดลม.177ครับ ::014::จริงเหรอครับ ผมเพิ่งทราบน่ะเนี่ยว่า เป็นสแตนเลส ดีใจจังเลย :VOV: ;D ::002:: จะได้ไม่ห่วงเรื่องสนิมขุมครับ ถ้า อ.เอ ไม่บอก ผมก็ไม่รู้น่ะเนี่ย แสดงว่าตัวนี้ไม่มีจุดใหนที่จะเป็นสนิมได้เลยใช้มั๊ยครับ ขอบพระคุณมากครับ ขอเรียนถามอีกกระบอกว่า 686-6 (ลูกรักอีกตัว) ไม่ทราบว่าเป็นเหล็กหรือแสตนเลสครับ อารจารย์ ::014:: ถ้าเราเช็คด้วยแม่เหล็กจะสามารถทำได้มั๊ยครับ ด้วยความเคารพ ::014:: หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 03:12:58 PM ::014::จริงเหรอครับ ผมเพิ่งทราบน่ะเนี่ยว่า เป็นสแตนเลส ดีใจจังเลย :VOV: ;D ::002:: จะได้ไม่ห่วงเรื่องสนิมขุมครับ ถ้า อ.เอ ไม่บอก ผมก็ไม่รู้น่ะเนี่ย แสดงว่าตัวนี้ไม่มีจุดใหนที่จะเป็นสนิมได้เลยใช้มั๊ยครับ ขอบพระคุณมากครับ ขอเรียนถามอีกกระบอกว่า 686-6 (ลูกรักอีกตัว) ไม่ทราบว่าเป็นเหล็กหรือแสตนเลสครับ อารจารย์ ::014:: ถ้าเราเช็คด้วยแม่เหล็กจะสามารถทำได้มั๊ยครับ ด้วยความเคารพ ::014:: 686 เป็น stainless steel ครับ ส่วนแม่เหล็กจะดูดติดหรือไม่ติดผมไม่แน่ใจครับ ชื่อผมอ่าน อา-จู-นา นะครับ ภาษาไทย คืออรชุน ;D :D หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: Kapiman - รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2009, 03:30:01 PM เคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไม ช้อน ส้อม ที่เป็นสแตนเลสทำไมสนิมขึ้นได้....(สแตนเลสมีหลายกลุ่มหลายประเภท)
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: maranon01 ที่ เมษายน 10, 2013, 12:47:52 PM ::014::
หัวข้อ: Re: วัสดุที่ใช้ทำปืน เริ่มหัวข้อโดย: DEMON - รักในหลวง ที่ เมษายน 10, 2013, 01:41:45 PM ;D กระทู้เก่าที่มีประโยชน์มาก
ฝรั่งอุตส่าห์มาขุดกระทู้ให้ ต้องขอบคุณฝรั่งครับ ;D |