เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 12, 2005, 01:51:12 PM



หัวข้อ: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 12, 2005, 01:51:12 PM
       ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดค้านการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจอย่างบริษัทกฟผ.จำกัด (มหาชน) เข้าไปในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
       
       แม้จะแพ้
               แม้จะทานกำลัง “ลูกแกะหลงทาง” ไม่ได้
               แต่ก็ต้องสู้ – สู้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะแพ้
       
        เพื่อที่เมื่อวันหนึ่งข้างหน้า.... หากตายไป จะได้มีคำตอบที่เหมาะที่ควรไว้ตอบแก่ลูกหลานในอนาคตที่จะต้องเป็นผู้รับผลกรรมจากนโยบายไทยลักไทยในวันนี้
       
       อย่าให้ลูกหลานมันสาปแช่งเอาได้ว่าบรรพบุรุษอัปรีย์นั่งหงองอมืองอเท้ายามเมื่อโจรเข้ามาลักของในบ้าน

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000123818


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ กันยายน 12, 2005, 02:00:40 PM
จะช่วยตอบ แต่ตอบไม่ถูกเลยครับ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: P&J ที่ กันยายน 12, 2005, 02:02:26 PM
ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ
ต้องถามว่าการแปรรูปนี้จะขายหุ้นให้เอกชนถือกี่ส่วน รัฐถือกี่ส่วน
อำนาจในการบิหารงานใครเป็นผู้บริหารครับ?

เท่าที่เห็นช่วงปี 97 หลายบริษัทถูกต่างชาติซื้อหุ้น จริงอยู่ครับโดย กม ยังเป็นบริษัทคนไทยอยู่เพราะต่างชาติถือหุ้นน้อยกว่า 50% แต่ต่างชาติอีอำนาจในหารบริหารงาน ผลที่ตามมาคือกำไรจากาการประกอบธุรกิจในประเทศไทยก็ถูกโอนออกไปต่างประเทศอยู่ดีครับ   :~) สังเกตุดูครับหลายๆบริษัท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการเงินหรืออุตสาหกรรมหลักจะมีผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติ  :DD

เรื่องนี้ต้องดูรายละเอียดครับ 


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 12, 2005, 02:03:25 PM
น้ำมันแพงชนิดไม่มีทางแก้ไขในวันนี้เพราะอะไร ?
       
       เพราะปตท.สูญเสียความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดูดซับความเดือดร้อนของประชาชน ไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จะต้องแสวงหากำไร
       
       ไฟฟ้ากำลังจะแพงชนิดไม่มีทางจะแก้ไขในวันหน้าเพราะอะไร ?
       
       เพราะกฟผ.กำลังจะ.สูญเสียความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดูดซับความเดือดร้อนของประชาชน ไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จะต้องแสวงหากำไร
       
       ทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานมีอันต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะอะไร ?

ถึงเวลาแล้วหรือยังครับ พี่ๆ เพื่อนๆ สมาชิก พร้อมที่จะร่วมรบกับผมอีกครั้งไหมครับ

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000123818


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ กันยายน 12, 2005, 02:06:04 PM
          เรื่องนี้ที่กกท.  คัดค้านเต็มที่ครับ  ผมเองก็อยู่ข้างกกท.


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: nice Sky ที่ กันยายน 12, 2005, 02:09:21 PM
ร่วมต่อต้านอำนาจเผด็ดการด้วยคนครับ เข้าตลาดหุ้นแล้วก็กว้านซื้อไว้เองทั้งหมด
                               บริษัท การไฟฟ้ายผลิตชินฯ...จำกัด  :~) :~) :~)


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: P&J ที่ กันยายน 12, 2005, 02:13:23 PM
อีกความเห็นครับ

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ รถเมล์ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นธุรกิจเพื่อสาธารณะประโยชน์ครับ การดำเนินการต้องมีกำไรครับแต่เป็นกำไรที่เล็กน้อยให้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ใช่แสวงหากำไรแบบบริษัทเอกชน ที่สำคัญในต่างประเทศ ไม่ว่าจะฝรั่งเศส อเมริกา สาธารณูปโภคส่วนใหญ่รัฐให้เอกชนดำเนินการแทนครับ แต่ใช้กับบ้านเราไม่ได้เพราะพื้นทางทางเศรษฐกิจและนโยบายรัฐต่างกัน  :-\

ต้องติดตามครับ   ;)


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ กันยายน 12, 2005, 02:14:12 PM
ใจเย็นครับ...ขายไปเถอะครับ...เลือกเค๊าเข้าไปแล้ว....เค๊าต้องตัดสินใจแทนเรา
ขายให้หมด....ยากขายรัฐวิสหกิจขายครับ...ขายไป...วันสุดท้ายก่อนหมดประเทศ..

...ปฎิวัติ....ยึดกลับมาให้หมด....จับไอคนที่ตัดสินใจแทนเราติดคุกยึดทรัพย์กลับมาเป็นของหลวงให้หมด..  >:( >:(


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 12, 2005, 02:21:51 PM
เห็นด้วยกับพี่มะเอ็มอย่างมากๆ เลยครับ ปฎิวัติ....ยึดกลับมาให้หมด....จับไอคนที่ตัดสินใจแทนเราติดคุกยึดทรัพย์กลับมาเป็นของหลวงให้หมดก่อนที่มัน(รัฐบาลชุดนี้)จะขูดเลือดกับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศครับ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ..GlockGlack.. ที่ กันยายน 12, 2005, 02:42:11 PM
1.  จขกท. จะให้ไปร่วมลงชื่อคัดค้านหรือต่อต้านการแปรรูปที่ไหนและอย่างไรครับ?  สมาชิกจะได้ทำพร้อมๆกันไปเลยทีเดียว

2.  การที่รัฐบาลจะตัดสินใจแทนประชาชน  ต้องฟังความเห็นของประชาชนก่อนสิครับ  หากนับคะแนนเสียงที่ทำให้เขาได้เป็นรัฐบาล  19 ล้านเสียงนี่ไม่ถึง 30% ของคนทั้งประเทศนะครับ  จะมาเหมารวบหัวรวบหางมัดมือชกแบบนี้ไม่ได้

3.  พูดถึงการปฏิวัติ  เป็นไปได้ครับที่จะยึดทรัพย์ (เฉพาะที่สืบสาวได้) ของพวกนักการเมืองเลวๆ  แต่รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานใดๆที่มีการแปรรูปไปแล้ว  จะทำให้กลับมาเหมือนเดิมไม่ได้นะครับ  ยกตัวอย่างเช่น ปตท.  แปรรูปไปเป็นบริษัทมหาชนแล้ว  จะทำให้กลับเป็นเหมือนเดิมได้อย่างไร?

4.  บรรดากฎหมายหรือข้อตกลงทางการค้าต่างๆ  หากมีการปฏิวัติยึดอำนาจจริง  จะไปยกเลิกได้หรือครับ?  ต่างชาติจะพากันคว่ำบาตรประเทศเราได้ง่ายๆนะครับ

ผมมองอย่างนี้นะครับ (อาจจะหมิ่นเหม่ไปหน่อย  วมต. เห็นท่าไม่ดี  ลบข้อความที่ไม่เหมาะสมได้เลย  และขอสมาชิกอื่นว่าอย่าใส่ข้อความนี้อ้างในความเห็นของท่านนะครับ)  การปฏิวัติรัฐประหารเป็นช่องทางหนึ่งที่จะจัดการกับนักการเมืองเลวๆพวกนี้  แต่ก็เสี่ยงกับการถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ  ทางออกที่ผมมองเห็นเพียงทางเดียวในตอนนี้ก็คือ  ต้องกดดันให้มีการยกเลิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  แล้วถวายพระราชอำนาจคืนแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ขอพระองค์พระราชทานรัฐบาลแห่งชาติ  รัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เพื่อให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์โปร่งใส ได้คนดีมาบริหารบ้านเมือง


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 12, 2005, 03:06:53 PM
1. จขกท. จะให้ไปร่วมลงชื่อคัดค้านหรือต่อต้านการแปรรูปที่ไหนและอย่างไรครับ? สมาชิกจะได้ทำพร้อมๆกันไปเลยทีเดียว
เรียน พี่ๆ เพื่อนๆ สมาชิกครับ ตอนนี้ผมรอดูท่าทีสหภาพแรงงาน กฟผ. อยู่ครับว่าจะดำเนินแนวทางอย่างไร เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะ ๆ ครับ ที่ตั้งกระทู้ขึ้นมาเพียงจะบอกพี่ๆ เพื่อนๆ สมาชิกครับว่า พวกผมกำลังจะร่วมกันรบอีกครั้งแล้วครับ
แต่ลำพังเพียงพวกผมคงจะสู้หรือทานอำนาจการเมืองไม่ไหวแน่ๆ ครับ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SAVOK CZ ที่ กันยายน 12, 2005, 03:15:31 PM
ขายเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรเท่านั้น การบิน ไปรษณีย์ ปตท. ที รสพ.ขาดทุน ขสมก.ขาดทุน รฟท.ขาดทุนไม่ขาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ปตท.ไง ราคาน้ำมันแพงมหาโหด ค่าการตลาดขาดทุนอยู่อีก 4 บาท แต่โทษทีนะครับภาพรวม ปตท.มีกำไรปีนี้มหาศาล...นี่แหละหุ้นอยู่ในมือกลุ่มนักการเมือง :OO :~)


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาหรือยังครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 12, 2005, 03:39:30 PM
     วิกฤตราคาน้ำมัน วิกฤตราคาค่าไฟฟ้า ถึงเวลาที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วครับ
การผันผวนของราคาน้ำมันที่รัฐบาลหมดปัญญาที่จะตรึงราคาได้ จำเป็นต้องปล่อยราคาลอยตัวส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชนอย่างถ้วนหน้า ทั้งราคาสินค้า ค่าบริการขนส่ง และค่าไฟฟ้าที่จำเป็นต้องขยับตามต้นทุนเชื้อเพลิง ทำให้คนไทยทุกคนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นี่คือผลพวงจากระบบทุนนิยมที่ "เอาเงินเป็นใหญ่ ใช้เงินเป็นตัวตั้งทุกเรื่อง" แม้แต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ใช้ดูแลทุกข์สุขของประชาชน "ยังถูกเปลี่ยนเป็นทุน" รวมทั้ง ไฟฟ้า-ประปา ก็ยังไม่มีการยกเว้น
     เรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจรัฐบาลไม่เคยใส่ใจว่าประชาชนจะคิดอย่างไร ทำโพลกี่ครั้งกี่หนประชาชนที่ร่วมออกเสียง 80 -90% ไม่เห็นด้วยกับการแปรรูป ไฟฟ้า-ประปา แต่รัฐบาลกลับไม่ฟังเสียงรีบเร่งเดินหน้า โดยเอากิจการที่มีผลประกอบการที่ดีมีกำไรดีเข้าไประดมทุนในตลาดเพียงเหตุผลประการเดียวเท่านั้นคือ ต้องการเพิ่มมูลค่าตลาดหุ้นให้โตขึ้น
     การเพิ่มมูลค่าตลาดหุ้นไม่ได้เกิดเป็นประโยชน์ต่อคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ 60 กว่าล้านคน เพราะคนที่ทำมาหากินในตลาดหลักทรัพย์เพียงเศษเสี้ยวอันน้อยนิด ที่สำคัญประเทศไทยเป็นรองเพียงแค่ประเทศรัสเซียที่มีนักการเมืองมีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นอันดับหนึ่งของโลก
     การปรับเพิ่มราคาน้ำมันจึงเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความหายนะของประชาชนที่จะตามมา เพราะสินค้าทุกอย่างขยับขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นกลับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ถือหุ้นในกิจการน้ำมัน เช่น ปตท. เพราะเมื่อไหร่น้ำมันขึ้นราคา นั่นก็คือ "กำไรงาม ๆ" ที่จะตามมา เพราะ ปตท. ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมีเอกชนเป็นเจ้าของแต่กลับเป็นข่าวเศร้าสำหรับประชาชนตาดำ ๆ ที่ต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย
     เหตุการณ์ประท้วงของประชาชนชาวโบลิเวียที่ลุกฮือปิดถนนล้อมเมืองหลวงประท้วงให้รัฐบาลนำกิจการพลังงานกลับมาเป็นของรัฐ เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีต้องลาออกเพราะทะลึ่งเอากิจการพลังงานไปแปรรูปเร่ขาย กรรมจึงตามสนอง
     ถึงเวลาหรือยังที่จะทบทวนและหยุดการแปรรูป กฟผ. หรือจะรอให้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงไล่ผู้นำดังประเทศโบลิเวีย
     "แปรรูป ปตท. ก็เจ็บกันทั้งชาติอยู่แล้ว ขืนแปรรูป กฟผ. อีก... มีหวังตายทั้งชาติแน่ๆ "


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: sniper08 ที่ กันยายน 12, 2005, 03:51:11 PM
แปรแล้วรับรองได้ ค่าไฟแพงขึ้น   ดูอย่าง ปตท. แปรแล้วกำไรเอาไปแบ่งผู้ถือหุ้น 35 เปอร์เซ็น  (ผู้ถือหุ้นมีแต่คนรวยฯทั้งนั้น)ไปรษณีย์ แปรแล้ว จดหมายแพงขึ้น  มันจะยึดประเทศไทยอยู่แล้วครับ  เงินซื้อได้ทุกอย่าง


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ กันยายน 12, 2005, 04:07:03 PM
ไม่อยากให้แปรเหมือนกันครับ เพราะอยากให้ รสก. ที่มีกำไรเป็นของรัฐอยู่ ส่วนที่ดำเนินการขาดทุนก็ควรจะขายทิ้งไปบ้างก็ได้

แต่ที่แน่ ๆ ผมเห็นว่า ไม่ว่าจะแปรรูป กฟผ. หรือไม่ ค่าไฟก็แพงอยู่ดี .... เพราะท่านคิดกันแล้วว่าจะให้มีกำไรเท่าไร ก่อนปรับค่า Ft .... (ไม่รู้เข้าใจถูกหรือไม่) ....


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 12, 2005, 04:57:21 PM
 :)..แปรรัฐวิสาหกิจ.. แปรผลประโยชน์ ที่ควรต้องตกอยู่เป็นของประเทศชาติ.. เป็นของคนไทยทั้งประเทศ  ไปเป็นของกลุ่มพวกพ้องตัวเอง   แม้เพียง ๑ % ก็ยอมไม่ได้.. แม้จะทานกระแส ณ. เวลานี้ไม่ได้  แต่มันยังคงเป็นความรับผิดชอบ ทีรอการสะสางอยู่..
     เป็นความ มักมาก ไม่รู้จักพอ ของกลุ่มคนที่ขึ้นมา เป็นผู้กุมอำนาจรัฐ เป็นผู้ปกครอง .. แอบอ้างว่า เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าซื้อหุ้น.. ประชาชนที่ไหน จะมีปัญญา ไปแข่งซื้อด้วย อ้างว่าขาวสะอาด แต่ลงลึกเป็นเจอตอหมด.. มันตกไปเป็นของกลุ่มเขาล้วน ล้วน.. ปตท..๓๐ % จากผลกำไร. ยังแบ่งกันไม่เพียงพอ อีกหรือ.. :OO
     ผลประโยชน์นี้ เป็นเหมือนท่อน้ำทิ้ง ของพวกประพฤติตัวลืมตน..พวกสุนัขป่าสรวมเสื้อขนแกะ .. ให้เห็นเป็นลูกแกะหลงทาง.. เป็นหมือนการเพียรสร้างสายล่อฟ้าของพวกเขา..  รอเวลาให้ไฟฟ้าสถิตย์ สะสม แปรเปลี่ยน เป็น ฟ้าผ่า.. คนบางคน ที่เลวจริง จริง ..ลูกแกะที่หลงทาง.. ขนอาจสกปรก มือกาง ตีนกาง อย่างเขียด..
     ผมเชื่อในประวัติศาสตร์.. คนดีเท่านั้นที่จะคงทน รอการพิสูจน์ของกาลเวลา..แต่คนเลว สร้างภาพแอบแฝงอยู่ได้ไม่นานหรอกครับ.. :-*
   


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: โจ ที่ กันยายน 12, 2005, 10:00:15 PM
ผมว่าเหมือนเราเดินตามประเทศอาร์เจนติน่ายังไงก็ไม่รู้  :OO :OO
น่ากลัวกว่าตอนที่เราลอยค่าเงินบาท เพราะค่าครองชีพทุกอย่างสูงขึ้น และ รายจ่ายสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ที่ประชาชนจะมาได้จากการทำงาน ขออย่าให้เศรษฐกิจบ้านเราพังแบบอาร์เจนติน่า


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ กันยายน 12, 2005, 11:08:05 PM
:)..แปรรัฐวิสาหกิจ.. แปรผลประโยชน์ ที่ควรต้องตกอยู่เป็นของประเทศชาติ.. เป็นของคนไทยทั้งประเทศ  ไปเป็นของกลุ่มพวกพ้องตัวเอง   แม้เพียง ๑ % ก็ยอมไม่ได้.. แม้จะทานกระแส ณ. เวลานี้ไม่ได้  แต่มันยังคงเป็นความรับผิดชอบ ทีรอการสะสางอยู่..
     เป็นความ มักมาก ไม่รู้จักพอ ของกลุ่มคนที่ขึ้นมา เป็นผู้กุมอำนาจรัฐ เป็นผู้ปกครอง .. แอบอ้างว่า เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าซื้อหุ้น.. ประชาชนที่ไหน จะมีปัญญา ไปแข่งซื้อด้วย อ้างว่าขาวสะอาด แต่ลงลึกเป็นเจอตอหมด.. มันตกไปเป็นของกลุ่มเขาล้วน ล้วน.. ปตท..๓๐ % จากผลกำไร. ยังแบ่งกันไม่เพียงพอ อีกหรือ.. :OO
     ผลประโยชน์นี้ เป็นเหมือนท่อน้ำทิ้ง ของพวกประพฤติตัวลืมตน..พวกสุนัขป่าสรวมเสื้อขนแกะ .. ให้เห็นเป็นลูกแกะหลงทาง.. เป็นหมือนการเพียรสร้างสายล่อฟ้าของพวกเขา..  รอเวลาให้ไฟฟ้าสถิตย์ สะสม แปรเปลี่ยน เป็น ฟ้าผ่า.. คนบางคน ที่เลวจริง จริง ..ลูกแกะที่หลงทาง.. ขนอาจสกปรก มือกาง ตีนกาง อย่างเขียด..
     ผมเชื่อในประวัติศาสตร์.. คนดีเท่านั้นที่จะคงทน รอการพิสูจน์ของกาลเวลา..แต่คนเลว สร้างภาพแอบแฝงอยู่ได้ไม่นานหรอกครับ.. :-*
   

 ;D เห็นด้วยเลยพี่ ;D


ผมว่าเหมือนเราเดินตามประเทศอาร์เจนติน่ายังไงก็ไม่รู้ :OO :OO
น่ากลัวกว่าตอนที่เราลอยค่าเงินบาท เพราะค่าครองชีพทุกอย่างสูงขึ้น และ รายจ่ายสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ที่ประชาชนจะมาได้จากการทำงาน ขออย่าให้เศรษฐกิจบ้านเราพังแบบอาร์เจนติน่า

 :-\ ผมก็กลัวเหมือนกัน :-\


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Mr_Watt ที่ กันยายน 12, 2005, 11:24:04 PM
 :OOผมคิดและอ่านคำถามอยู่นาน ทีแรกกะว่าจะไม่ตอบกลัวไม่ถูกใจท่านเจ้าของกระทู้ เอาเป็นว่าเป็นความคิดของผมคนเดียวก็แล้วกันนะครับ
เรื่องการขายไฟฟ้า ประปา และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ จริงๆแล้วผมในฐานะประชาชนคนหนึ่งไม่ต้องการให้ขายหรือเข้าตลาดหลักทรัพย์หรอกครับ แต่ทำไมยังมีคนอีกหลายๆคนสนับสนุนให้ทำอยู่ เพราะว่ารัฐวิสาหกิจของเราแต่ก่อนทำไว้มากกับประชาชนคนไทยด้วยกันเอง กอบโกยกำไรไปแบ่งปันโบนัส ใช้สวัสดิการฟรีหลายอย่างมาก จนทำให้ประชาชนคนธรรมดาที่ไม่ใช่พนักงานรัฐวิสาหกิจเกิดความไม่พอใจ ตอนนี้ไม่มีสวัสดิการด้งกล่าวแล้ว แต่ภาพเก่าๆมันยังอยู่ในจิตสำนึกของคนไทยเสียส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีใครเข้าไปคัดค้าน นอกจากพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง ท่านลองกลับไปนึกดูนะครับว่าจะทำอย่างไร?ให้ประชาชนยืนอยู่ข้างท่าน แล้ววันนั้นท่านจะชนะไม่พ่ายแพ้อย่างเช่นทุกวันนี้ (เห็นเดือนหน้าค่า FT จะปรับขึ้นทบของเก่าใช่หรือเปล่าครับ อย่างไงสวัสดิภาพแรงงาน กฝผ.ลองประท้วงไม่ให้ขึ้นค่า FT สักครั้งสิครับ ลองทำเพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศบ้าง) ไม่มีรัฐบาลใดหรอกครับ ที่ยืนหรือครองอำนาจอยู่ได้หากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย 


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 12, 2005, 11:29:15 PM
ขอบคุณท่านฅนปั่นไฟคับ...

อ่านกระทู้นี้แล้วชื่นใจคับ...

แพ้ชนะไม่ว่ากัน อย่างน้อยเราได้สู้แล้ว...;)


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: bigbang ที่ กันยายน 13, 2005, 08:23:11 AM
ได้ข่าวว่าจะเปิดให้จองหุ้นเดือนหน้า แล้วจะทำอย่างไรครับ
นายทุนเตรียมจะยึดทุกอย่าง แล้วแต่ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ยังถูกญาติพี่น้องเค้า
คุมเลย แล้วคิดจะปฎิวัติคงลำบาก ไม่รู้อนาคตประเทศไทยจริงๆ :-[




หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: wchaium ที่ กันยายน 13, 2005, 09:42:47 AM
เพื่อนๆ พี่ๆทั้งหลาย น้ำมันที่เราใช้ทุกวันนี้แพงเพราะอะไร ค่าการกลั่นbarrel ละ 10 US.doll.(มาตราฐาน 2US.doll. เท่านั้น)
เราจึงใช้น้ำมันแพงมากๆ  โรงกลั่นน้ำมันกำไรมหาศาล(ท่ามกลางความลำบากของคนไทยทั้งประเทศ)  ปตท.ครึ่งปีกำไรไปแล้วกว่าสี่หมื่นล้านบาท ท่านคิดเองนะครับว่า ค้ากำไรเกินควรหรือไม่ นี่ไม่นับบริษัทน้ำมันต่างชาติ ถ้ารัฐบาลกำหนดให้เป็นสินค้าควรคุมเอากำไรแต่พองาม ราคาน้ำมันจะลดลงได้ลิตรละ 4บาท การแปรรูปคือการแสวงหากำไรครับ ผลประโยชน์
จะตกอยู่กับชนช้นระดับบนเท่านั้น  ผมขอพูดเพื่อปากท้องไม่เกี่ยวการเมืองครับ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 13, 2005, 10:43:54 AM
 :)..พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. ตัวกฎหมายนี้ถ้ายังอยู่ยงคงกระพันธ์..เมื่อหน่วยงานได้เปลี่ยนหัวโขน.. ถึงวาระ กาลเวลาหนึ่ง.บุคคลากรของหน่วยงานนี้ จะได้รับการยกย่อง ชื่นชม..ที่ได้กลับมารับใช้สังคม ปฎิบัติหน้าที่.. สะสาง.. สะสาง.. ทำความสะอาด.ให้กับประชาชน.  ณ.เวลานี้ ปล่อยให้เหลิงไปก่อน.. ประชาชน ชาวบ้านอย่างเรา เรา.รอได้ อยู่แล้ว.. :-*


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ กันยายน 13, 2005, 06:37:13 PM
ดึงขึ้นมาครับ...


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: อั๋น ที่ กันยายน 13, 2005, 08:03:17 PM
ตอนนี้คิดอยู่อย่างเดียวครับ รอ และ อดทน ::)
 


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: NAIJUB ที่ กันยายน 13, 2005, 08:52:42 PM
 ::)..โนไอเดียจริงๆครับ.. ;D


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 14, 2005, 01:49:49 PM
เกาะติดสถานการณ์ครับ นำมาแจ้งให้พี่ๆ เพื่อนๆ รับทราบครับ

ข่าว : นโยบาย กระทรวงพลังงาน ไม่รวมเอฟทีกับค่าไฟฟ้าฐาน

 จากการที่ ครม. มีมติ เมื่อวันที่ 30  สิงหาคม 2548  เห็นชอบมติ กพช. เรื่องอัตรา ค่าไฟฟ้า โดยมี ประเด็นสำคัญ คือ

                1. กำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ อยู่บนพื้นฐานที่ค่าไฟฟ้าขายปลีกเฉลี่ยเมื่อรวมค่า Ft ณ ระดับปัจจุบัน 0.4683 บาท/หน่วย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในระหว่างเดือนตุลาคม 2548 จนถึงปี 2551 การเปลี่ยนแปลงของค่าไฟฟ้า จะปรับตามค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นไป

                2. ปรับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ใหม่ ให้ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักเพียงค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าไฟฟ้าฐานใหม่ (ค่า Ft ณ ระดับ 0.4683 บาท/หน่วย)โดยการประมาณการค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่จะเรียกเก็บ

                ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำรายละเอียดข้อเสนอการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายส่ง สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ การชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตลอดจนกลไกการปรับการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าและการกำกับดูแลประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าตามแนวนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาเห็นชอบก่อนการประกาศใช้ต่อไป

                ล่าสุด นายณอคุณ  สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยแก่สื่อมวลชนภายหลังเป็นประธานการประชุม ร่วมระหว่าง 3 การไฟฟ้า ว่า ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบิลค่าไฟฟ้าใหม่ที่จะออกมา โดยคงค่าไฟฟ้าฐานในอัตราเดิมที่ 2.25 บาท/หน่วย ส่วนค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ประกอบด้วยเอฟทีเดิมที่  0.4683 บาท/หน่วย และเอฟทีใหม่ที่คิดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าเท่านั้น

                ส่วนเรื่องการเกลี่ยค่าไฟฟ้าขายส่งระหว่าง 3 การไฟฟ้า นายณอคุณ กล่าวว่ายังไม่ได้ข้อยุติและจะเจรจาให้จบโดยเร็วที่สุด เพราะจะเกี่ยวเนื่องไปถึงผลตอบแทนการลงทุนของ บมจ.กฟผ. ที่จะต้องมีคำตอบต่อนักลงทุนในช่วงโรดโชว์การกระจายหุ้น ซึ่งในส่วนนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกที่จำหน่ายแก่ประชาชนแต่อย่างใด

                 ด้านนายไกรสีห์  กรรณสูต กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสถานการณ์ที่มีกลุ่มองค์กรคัดค้านการนำ กฟผ. เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่า เรื่องนี้ทาง กฟผ. คงต้องทำความเข้าใจกับประชาชนผ่านสื่อต่างๆ ว่า การเข้าตลาดหลักทรัพย์ นอกจากจะเป็นเรื่องนโยบายแล้ว ยังมาจากความจำเป็นในการระดมทุนเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้ารองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งนับว่า กฟผ. เป็นองค์กรหนึ่งที่ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและสายส่งสูงมากในแต่ละปี

                ส่วนค่าเอฟทีต้องขอยืนยันว่า กฟผ. ไม่สามารถจะปรับขึ้นลงเองได้ เพราะจะมีกลไกของคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าเข้ามาเป็นผู้ดูแลควบคุม 

สำหรับความคืบหน้าเป็นอย่างไร จะรายงานให้ทราบต่อไปครับ

จบข่าว........
ฅนปั่นไฟ...รายงาน




หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Army - รักในหลวงครับ ที่ กันยายน 14, 2005, 04:26:54 PM
แปรรูปโดยยึดผลประโยชน์นักธุรกิจเป็นหลัก กลัวว่าจะซ้ำร้อยกับวิกฤติการณ์ที่แคลิฟอร์เนียเมื่อ 4 ปีก่อนจังเลยครับ มีปัญหาไฟไม่พอใช้ ค่าไฟพุ่งกระฉูดกว่าราคาน้ำมันตอนนี้ บางพื้นที่ต้องสลับกันดับไฟ   :(   

เมืองนอกให้แต่ละบริษัทผลิตไฟมาขายกันเสรี แต่ระบบสายส่งยังเป็นของรัฐโดยมีหน่วยงานอิสระเป็นผู้ดูแล แต่ของไทยเอาเข้าตลาดหุ้นหมด ใครคุมระบบสายส่งไฟฟ้าทั้งประเทศได้ก็เหมือนการได้สัมปทานผูกขาดดีๆนี่เอง พยัคฆ์หน้าเหลี่ยมมาเหนือเมฆอีกแล้ว เฮ้อ!  >:(


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: อั๋น ที่ กันยายน 14, 2005, 04:31:14 PM
กระแสสังคมประชาชนอย่างเราๆ กำลังจับตาดูท่านอยู่ครับ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 14, 2005, 05:10:04 PM
 :)..ตอน แปรรูป  ปตท..มีผลกระทบ ทางอ้อมไม่โดนเต็ม เต็ม กันนัก ..เป็นแบบ ความร้อนลุม  ไม่ได้โดนเปลวไฟเลียผิว.. ทุกคน..
   ..แต่ แปรรูป  กฟผ. มันโดนกันเต็ม เต็ม. ไม่ใช่ ชาว กฟผ.เท่านั้นที่เดือดร้อนแบบหนังหน้าไฟ..
   ..แต่เดือดกันทุกหย่อมหญ้า.. เผื่อแผ่ความเดือดร้อน แทรกถึงทุกตัวคน.. อนาคตของผู้ใช้ไฟฟ้าไม่มีที่ให้ฝากความหวัง.. จะฝากให้รัฐบาลช่วยแก้ไข.. คงหวังไม่ได้ด้วย.ก็เป็นผู้สร้างปัญหาขึ้นซะเอง.. เรายังอยู่ในฐานะ.พลังเงียบ. จ้องดูการสะสม ระดับพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง..  :OO


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ กันยายน 14, 2005, 05:27:28 PM
ไม่มีนัง51
กระทู้นี้ยังไม่ยอมตกไปหน้า2


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: อั๋น ที่ กันยายน 15, 2005, 06:58:20 AM
จัดให้ครับ ลองอ่านดูครับ http://www.mthai.com/webboard/5/143386.html


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 16, 2005, 02:59:29 AM
ลากกระทู้นี้หน่อยคับ...

เรื่องนี้ผมสนใจคับ...


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: ต.แม่สาย ที่ กันยายน 16, 2005, 08:26:24 AM
รัฐบาลไทยกำลังทำอะไรครับ เหมือนชาวนาที่ขาย ที่นา พอขายเสร็จแล้วเราจะเอาอะไรกิน

วันหนึ่งผมมานั่งดูเขาทำอะไรกัน เอาแต่รัฐวิสาหกิจดี ๆ มีกำไร มาขาย ผลประโยชน์ตกอยู่
ที่ใครครับ ลองดูกรณีตัวอย่าง หุ้น ปตท. ใครได้กำไรสูงสุดครับ คนในรัฐบาลทั้งนั้น พอดีผม
ได้ชื่อมาจะโพสต์ไปก็กลัวโดน โฆษณาหมิ่นประมาท ไม่ขอเอ่ยนามนะครับ เรื่องนี้เขารู้กัน
ทั้งวงการ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Chayanin-We love the king ที่ กันยายน 16, 2005, 10:32:03 AM
ขอฟันธง
รัฐวิสาหกิจตั้งมาทำมาย    แล้วปัจจุบันไม่จำเป็นต้องรักษาไว้ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นแล้วเหรอ
เราจะมีอะไร...  ที่เราทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันอย่างท่าวเทียมม่ายด้ายเหรอ  อย่างควายคว้า อุ้ย ไฟฟ้า เนี่ยพวกเราก็ใช้กันอยู่ทู้กวัน


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Mr_Watt ที่ กันยายน 16, 2005, 11:06:31 AM
ขอฟันธง
รัฐวิสาหกิจตั้งมาทำมาย แล้วปัจจุบันไม่จำเป็นต้องรักษาไว้ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นแล้วเหรอ
เราจะมีอะไร... ที่เราทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันอย่างท่าวเทียมม่ายด้ายเหรอ อย่างควายคว้า อุ้ย ไฟฟ้า เนี่ยพวกเราก็ใช้กันอยู่ทู้กวัน

 :Dอันนี้คงต้องจุดธูปถามท่านอาจารย์หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ครับ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: 686 ที่ กันยายน 18, 2005, 10:18:39 PM
เรื่องทั้งหมดมันเกิดขึ้นมาจากตัวเลขครับ รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่ชอบตัวเลขหรู ๆ อย่า GDP ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน และ ดุลบัญชีเดินสะพัด

เรื่องแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็เช่นกัน จะเป็นตัวเร่ง GDP ได้อย่างเห็นผลเร็วที่สุด เพราะ จะทำให้ Market Cap ของตลาดทุนของไทย ขยายตัวได้รวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่น ๆ (ผลกำไรของคนวงในด้วย) อย่าหุ้น ป.ต.ท. มูลค่าเพิ่มขึ้น 7 เท่าของราคา พาร์ หมายถึงผู้ที่ถือหุ้นจะได้กำไร 700% ซึ่งไม่มีการลงทุนใดทำได้ขนาดนี้

แต่การเพิ่มขึ้นของ Market Cap ไม่ไช่การขยายตัวอย่าง ถาวร ของระบบเศรษฐกิจ เพราะ ฐานการผลิต และ บริการ ไม่ได้มีส่วนได้เสียด้วย ในทางกลับกัน ถ้าเป็นบริษัท เอกชนเข้ามาระดมทุนในตลาด เม็ดเงินที่ได้ก็จะกระจายไปสู่การลงทุนที่แท้จริง ไม่ได้เอามาป้อนให้กับคนบางกลุ่มบางพวก

การเข้ามาระดมทุนของบริษัท เอกชนในตลาดทุน จะเป็นการขยาย Market Cap ที่ส่งผลดีให้กับระบบธุรกิจเพราะ จะได้กระจายความเสี่ยง และ ได้ต้นทุนที่ถูกลง แต่ รัฐวิสาหกิจ ที่เข้ามาระดมทุนอย่าง ป.ต.ท. ไม่มีความต้องการอย่างที่ว่า

ทำไมไม่เอารัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนอย่าง ร.ส.พ. หรือ ข.ส.ม.ก. เข้าตลาดทุนบ้างหล่ะครับ ??? ดูสิว่า จะมีใครคัดค้านบ้าง


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 19, 2005, 02:08:43 AM
ใช่คับท่าน 686 อภิปรายได้ตรงจุดคับ...

ชุดนี้เขาชอบสร้างภาพ ชอบตัวเลขสวยๆมาโชว์...:P


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Chayanin-We love the king ที่ กันยายน 19, 2005, 10:38:53 AM
เห็นด้วยกับคุณ 686 อย่างแรง
เดี๋ยวนี้ตลท. เขาใกล้เปิดเทรด set50 index Future  แล้วนะครับ  การพนันชัดๆเลย


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: sp378"รักในหลวง" ที่ กันยายน 19, 2005, 04:48:00 PM
สมบัติของชาติก็ควรเป็นของชาติไม่ไช่เอามาแบงขายหาประโยชน์


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: ชายjirata ที่ กันยายน 19, 2005, 05:02:43 PM
ขอฟันธง
รัฐวิสาหกิจตั้งมาทำมาย แล้วปัจจุบันไม่จำเป็นต้องรักษาไว้ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นแล้วเหรอ
เราจะมีอะไร... ที่เราทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันอย่างท่าวเทียมม่ายด้ายเหรอ อย่างควายคว้า อุ้ย ไฟฟ้า เนี่ยพวกเราก็ใช้กันอยู่ทู้กวัน
คนเขามองไกลครับอยากให้สมบัติของชาติบริหารเร็วกว่าราชการแต่สมบัติของชาติกำลังจะกลายเป็นของพวกไม่รู้จักพอ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Sig228-kolok ที่ กันยายน 19, 2005, 06:07:08 PM
มีบทเรียนจาก ปตท. แล้ว ยังอยากจะแปรรูปอีก กินกันยังไม่อิ่มอีกเหรอ ตายไปพวกนี้กลายเป็นเปรตต้องคอยขอส่วนบุญอดๆอยากๆแน่ๆ ตอนมีชีวิตไม่มีใครทำอะไรได้ตายไปมันจะได้รู้เองพวกนี้  ทำไมไปแปรรูปรถไฟหรือทำให้มันดีๆขึ้นมั่ง  ต่อไปประเทศไทย  THAILAND  ND  จะกลายเป็น KTHAI  แน่ๆ อันลมปากหวานหูไม่รู้หาย


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: @MILO@๏รักในหลวง๏ ที่ กันยายน 19, 2005, 06:21:49 PM
มีบทเรียนจาก ปตท. แล้ว ยังอยากจะแปรรูปอีก กินกันยังไม่อิ่มอีกเหรอ ตายไปพวกนี้กลายเป็นเปรตต้องคอยขอส่วนบุญอดๆอยากๆแน่ๆ ตอนมีชีวิตไม่มีใครทำอะไรได้ตายไปมันจะได้รู้เองพวกนี้ ทำไมไปแปรรูปรถไฟหรือทำให้มันดีๆขึ้นมั่ง ต่อไปประเทศไทย THAILAND ND จะกลายเป็น KTHAI แน่ๆ อันลมปากหวานหูไม่รู้หาย
                 ;) ;) พูดได้โหดดีครับ.........แต่ผมก็เห็นด้วยครับ แต่ผมว่ากรรมตามทันชาตินี้แหละครับรอดูก็แล้วกัน  ::) ::)


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: BEAMSOUND ที่ กันยายน 20, 2005, 11:49:45 AM
น่าจะ ยุติแล้วนะครับ เพราะได้หุ้นเพิ่ม กันแล้วนี่  มาจาก นสพ. ;D


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 20, 2005, 12:05:07 PM
วันที่ 20 ก.ย. 48 (วันนี้) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจหลายองค์กรและกลุ่มพันธมิตรจะรวมตัวกัน  1,000  คนที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อคัดค้านการกระจายหุ้น กฟผ.และการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่

ทำเต็มที่แล้วครับ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ กันยายน 20, 2005, 12:36:55 PM
ไม่มีนัง 51
กระทู้นี้ยังไม่ยอมตกไปหน้า2

เรื่องนี้...ผมเคยได้แสดงความเห็นไปแล้ว ครับ..
เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา....ครับ ท่านซับใน...
และผมเองก็มิได้เปลี่ยนแปลงความเห็นใด ๆ จากเดิม ครับ
เลยมิได้ post เพิ่มเติม...อีก...


ดังนี้.- ครับ

นับได้ว่า...เป็นครั้งแรกเลยครับ...
ที่ผมต้องเรียบเรียง...เนื้อความ....รวมไปถึง...วิเคราะห์ถึงเนิ้อความ...ที่จะ post ลงไปในกรอบ...

ต้องยอมรับเลยครับ...ว่า...คิดกลับไปกลับมาหลายตลบ....คริ คริ

ก่อนอื่น...ผมต้องขอเรียนให้ทราบก่อนว่า...
ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. หรือ EGAT)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. หรือ MEA)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. หรือ PEA)
ต่างค้ำประกันเงินกู้จากแหล่งเงินกู้...ให้กันและกันมานานแล้ว ครับ
รัฐไม่เกี่ยวครับ....สำหรับการค้ำประกัน....

กลับมาว่ากันถึง.....
รัฐวิสาหกิจ...ในประเทศไทย...มิได้เป็น...ในรูปของการแข่งขันมาตั้งแต่แรกเริ่ม...เดิมที ครับ...
แต่เป็นรูปแบบ...ของการผูกขาดโดยรัฐ  มาตลอด ครับ

พอมีการปรับเปลี่ยน...นำการแปรรูปฯ เข้ามาในปัจจุบัน...
ก็ผิดไปจากความเคยชิน....ที่ประสบกันมา...

ผมขอไม่กล่าวถึง  การตีราคา...รัฐวิสาหกิจ นะครับ....
ไม่ขอกล่าวถึง...ผลประโยชน์ในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อมีการตีราคา....เกิดขึ้น....

แต่ขออนุญาตกล่าวถึง...แรงต่อต้าน....เมื่อครั้งสมัยที่มีการเร่งรัดให้แปรรูปฯ ใหม่ ๆ ก่อน...

แรกเริ่มเดิมที...พนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าหน่วยงานใดก็ตาม...
ไม่มีใครเข้าใจหรอกครับว่า...การแปรรูปฯ คืออะไร....
ไม่มีใครเข้าใจหรอกครับว่า...การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ คืออะไร
ไม่มีใครเคยคิดว่า...คำ ๆ นี้ (แปรรูปฯ) จะถูกนำมาใช้ในองค์กรที่ตนปฏิบัติงานอยู่...


มีการรวมตัวการคัดค้านการแปรรูปฯ จากรัฐวิสาหกิจ...หลายองค์กรครับ...
ซึ่งมี สหภาพพนักงาน กฟผ. เป็นแกนนำ....สำคัญ...ในการต่อต้านในครั้งนั้น
ท้ายสุด...พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ได้ดำเนินการถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
คัดค้านถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามนโยบายของรัฐบาล....(ในสมัยนั้น)

ซึ่งเรา..(พนักงาน) ก็ยังคงรอ...ถึงพระราชวินิจฉัย...ในเรื่องนี้อยู่....

หลังจากการถวายฎีกา...แล้ว โดยส่วนตัวผมทราบดีว่า....
ด้วยสาเหตุหลายประการ...และความเหมาะสม...ทั้งปวง....
เหตุการณ์หลังจากถวายฎีกา...แล้ว  จะดำเนินไปเช่นใด....


หลังจากการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่ผ่านมา...
ปรากฎว่า...พรรคการเมืองพรรคเดิม...ได้กลับเข้ามามีอำนาจในสภาฯ อีกครั้งหนึ่ง....
การนำนโยบายการแปรรูปฯ...กลับเข้ามาในรัฐวิสาหกิจ...กระพือขึ้นมาอีกครั้ง...

พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ไม่มีทางเลือก...ครับ...
ครั้งหนึ่งเราเคยเลือกแล้ว....ที่จะปกป้อง...ที่จะคัดค้าน...
แต่เมื่อเสียงจากประชาชนส่วนใหญ่...ที่คิดว่า ดี...คิดว่า ชอบแล้ว....
เป็นเช่นนั้น...


สิ่งที่พนักงานรัฐวิสาหกิจ...กระทำก็คือ....
การยอมรับให้มีการปรับเปลี่ยนองค์กรตามนโยบาย...ซึ่งเคยคัดค้านมาโดยตลอด....

สิ่งที่กระทบต่อพนักงานเอง....เป็นสิ่งแรก...ที่พนักงานได้รับทราบ....
ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง...การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งของตนเองและองค์กร....
รวมไปถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ

คงไม่มีใคร...หรอกครับ...ที่ยอมรับผลกระทบ...แต่เพียงฝ่ายเดียว...

ดังเช่นที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทราบกันอยู่  ง่าย ๆ ก็คือ  สถานะภาพของพนักงานรัฐวิสาหกิจ...เปลี่ยนไป...
เมื่อมีการปรับเปลี่ยนองค์กร....

ถ้าท่านตื่นขึ้นมา...ในเช้าวันรุ่งขึ้น...
ท่านพบว่าตัวท่านเอง...ไม่ได้เป็น...แบบที่ท่านเคยเป็นไปซะแล้ว....
ท่านจะทำอย่างไรครับ....

พนักงานหลายท่าน...ยอมรับความเปลี่ยนแปลงในตรงนี้....
แต่จะให้เขาไปขายเต้าฮวย...เป็นอาชีพเสริมหรือครับ...
ในเมื่อสิ่งที่เขาได้เพิ่มขึ้น...ก็มาจากน้ำพักน้ำแรงของเขาเอง...
มาจากการร่วมแรงร่วมใจ...ของพวกเขา...ไงครับ...


ท้ายสุด...ผลกระทบไปตกอยู่กับ...ประชาชน...ในประเทศ....

ผมเอง...คงมิต้อง post ว่า....แล้วใครล่ะ...ที่เสวยสุขไปบนกองเงินกองทอง...
ที่ได้มาจากการ ตีราคา...รัฐวิสาหกิจในครั้งนี้...

แต่เมื่อประชาชน...เป็นผู้เลือก...แล้ว...
พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามครรลอง...แหละครับ....
เพราะพนักงานรัฐวิสาหกิจ...มิได้เป็นเสียงส่วนใหญ่...ในประเทศ....
และพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง...ก็มิได้มีบ้านที่สองอยู่ในต่างประเทศหรอกครับ...
พนักงานฯ ทุกท่าน...พร้อมที่จะตายเพื่อแผ่นดิน...นี้...เสมอ...เมื่อเวลา....นั้น มาถึง

เสียงจากประชาชน...เป็นสิ่งสำคัญ...ครับ
ที่เราต้องรับฟัง....

เรากระทำทุกวิถีทางแล้วครับ....ทั้งในแนวราบ..และในแนวดิ่ง..


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
ซึมเศร้า...เหงาเพราะ...ร๊ากกกก...team



อีกหน่อย...คงจะมีโครงการ...สามสิบบาท...ใช้ไฟทั้งเดือน  บ้างง่ะครับ...คริ คริ...
ซึ่งผู้สนองโครงการสามสิบบาท (รักษาทุกโรค) นี้...ก็ทราบดีว่า...แท้จริงมันเป็นอย่างไร...

ไม่แน่...นะครับ
ต่อไปอาจมี...บริษัท ปกครองและป้องกัน จำกัด (มหาชน) ก็เป็นได้...

เมื่อวันนั้นมาถึง....เสียงส่วนใหญ่ของประเทศ จะเป็นเช่นไร...

ผมเองไม่อยากให้มีสกู๊ปพิเศษ...ในสารคดีดัง ๆ ระดับโลกแบบที่ต่างประเทศเค้าผลิตหรอกครับ
.....น้อยใจลึก ๆ คริ คริ   ถึงแม้จะ...ควรมิควร...ก็ตาม   แต่ก็ทำไงได้ล่ะครับ...
ในฐานะที่ตราบนหน้าหมวกของบุพการี...เคยเลี้ยงเรามา....






ด้วยความเคารพในน้ำใจ...ของผู้สอบถาม...
และด้วยความเข้าใจในจิตใจของผู้ post เช่นกัน ครับ

น้องห้า-หนึ่ง


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Dhong ที่ กันยายน 20, 2005, 12:38:59 PM
อ่านที่พี่51เขียนแล้วตลกมากครับ.............แต่อ่านลึกๆคิดเป็นจริงเป็นจังแล้วขำไม่ออกครับ :~)


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2005, 12:45:12 PM
วันที่ 20 ก.ย. 48 (วันนี้) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจหลายองค์กรและกลุ่มพันธมิตรจะรวมตัวกัน 1,000 คนที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อคัดค้านการกระจายหุ้น กฟผ.และการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่

ทำเต็มที่แล้วครับ
..
 
.. ขอบคุณมากครับ คุณฅนปั่นไฟ..  มีความคืบหน้า ฉันท์ใด แจ้งด้วย จะ update ได้ทันการณ์..ครับ.. ;D


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ กันยายน 20, 2005, 12:53:35 PM
อ่านที่พี่ 51 เขียนแล้วตลกมากครับ.............แต่อ่านลึก ๆ คิดเป็นจริงเป็นจังแล้วขำไม่ออกครับ :~)

ครับ...โดยเฉพาะคำว่า..."มหาชน"

ถ้าผมยอมรับล่ะครับ...ว่า...
เรา..(พนักงานรัฐวิสาหกิจ) มิได้ต่อสู้เพื่อ...ทรัพย์สมบัติอะไรของชาติทั้งสิ้น...
เรา...ต่อสู้...เพื่อการเกลี่ยผลประโยชน์ที่ลงตัว....กันทั้งสองฝ่าย...

ถ้าการต่อสู้...จบลง...
เรา (พนักงานรัฐวิสาหกิจ) ได้ผลประโยชน์....(ค่าตอบแทน) เพิ่มขึ้น
รัฐ....ได้นำรัฐวิสาหกิจเข้าไประดมทุน...ในตลาดหลักทรัพย์....

แล้วผลเสียตกอยู่กับใครล่ะครับที่นี้...

ขณะนี้....ผลเสีย...ยังอยู่อีกไกลครับ ท่าน ๆ
และเมื่อเรา (พนักงานรัฐวิสาหกิจ) ได้เริ่มต้น...มาแล้ว  เมื่อครั้งก่อน....(ในสมัยที่แล้ว)
ผลเสีย...อาจจะอยู่ใกล้ท่าน ๆ มากกว่า...ในสมัยที่แล้วก็เป็นได้ครับ...

ผมคงไม่สามารถปลุกระดม...หรือโน้มน้าว...บุคคลได้ดีเท่าไรนัก...หรอกครับ
แต่...ผมบอกได้ว่า...
มัน (ผลกระทบ)  มาถึง...ท่าน ๆ เป็นแน่แท้ ครับ
ว่าแต่...เมื่อไรเท่านั้น

 

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...




หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ กันยายน 20, 2005, 01:00:37 PM
ในความคิดของผม....
ผมต้องการ "พลัง" ที่ยิ่งใหญ่......"แนวคิด" ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน....

สิ่งเหล่านี้...จะเกิดขึ้นได้ในทุกบุคคล...
ก็ต่อเมื่อ....มีความยากลำบาก ความเหนื่อย...ความหิว และความกลัวอด...ร่วมกันครับ

วันที่เรา...มีชะตากรรมร่วมกัน...มาถึงแน่...ว่าแต่เมื่อไรเท่านั้น...เอง ครับ

วันนี้...และเมื่อวานนี้...
...เรา (พนักงานรัฐวิสาหกิจ)  ได้ลงมือกระทำแล้ว...และยังคงกระทำอยู่


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...



หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2005, 01:10:10 PM
 :)..ความเห็นของคุณ ๕๑ น่ารับฟังเป็นมุมมอง ที่หยิบ ความเห็นของ คน ปฟผ บางคน อย่างความเห็นว่า..

แต่เมื่อประชาชน...เป็นผู้เลือก...แล้ว...
พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามครรลอง...แหละครับ....
เพราะพนักงานรัฐวิสาหกิจ...มิได้เป็นเสียงส่วนใหญ่...ในประเทศ....
และพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง...ก็มิได้มีบ้านที่สองอยู่ในต่างประเทศหรอกครับ...
พนักงานฯ ทุกท่าน...พร้อมที่จะตายเพื่อแผ่นดิน...นี้...เสมอ...เมื่อเวลา....นั้น มาถึง

เสียงจากประชาชน...เป็นสิ่งสำคัญ...ครับ
ที่เราต้องรับฟัง......
 
..น่าเห็นใจ ความท้อแท้   ที่อาจเกิดจากมองรากเง่าของปัญหาไม่ชัดเจนของ คนกฟผ. เจ้าของความเห็นบางคน..  อาจแยกแยะไม่ถูก ว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง.. เลือกเขาเข้ามาเป็นรัฐบาล บริหารประเทศ ตามของกฎหมาย.. ไม่ใช่ให้เข้ามาเอื้อประโยชน์ โกงกินผลประโยชน์ของชาติไปเป็นของกลุ่มพวกพ้องตัวเอง... ดีไม่มีใครว่า เลวใช่เลวแต่ตัว จะทำให้บ้านเมือง ประชาชนเดือดร้อน เสียหาย .. มันยอมกันไม่ได้..
   ผู้นำในการ ต่อสู้ ทุกแห่ง ทุกขบวนการ ต้องมีหลักคิดยืนหยัดแน่วแน่..ในปัญหาที่ต่อสู้.. หลักการที่ยืนอยู่บนผลประโยชน์ของประชาชนคนส่วนใหญ่ คือสิ่งถูกต้อง จะต้องไม่ยอมประนีประนอม.อย่างเด็ดขาด..  ถึงคนจะเปลี่ยนแต่หลักคิดในการต่อสู้ ต้องไม่เปลี่ยน .. ยังคงอยู่สืบทอด ให้กับคนทั้งแถวที่ร่วมยืนหยัดด้วย..  :-*    ถึงจะทานกระแสไม่ได้  แต่ยังไงก็ไม่เห็นด้วย อย่างเด็ดขาด...
 วันเวลาที่ผ่านฝ่ายต่อต้านสงบลง  แต่อีกฝ่ายไม่เคยละความพยายาม.. และที่สุดก็สามารถเอาชนะจิตใจ แกน นำ กฟผ บางคน..
 ไม่ได้ด้วยเลห์ ต้องเอาด้วยกล..  เอาชนะได้แต่เพียงบางคนเท่านั้น..


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2005, 01:20:39 PM
 :).. แกนนำของ กฟผ. บางคน เริ่มจากผลประโยชน์ฐานะส่วนตัว ความคิดนี้ เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง..ต้องไม่ใช่ต่อสู้เพื่อตนเองเพียงอย่างเดียว..
    มิเช่นนั้น ถ้าเพียงได้รับผลปรโยชน์ คนเหล่านี้ ก็เฉา เลิกต่อสู้..   แล้วใครที่ไหน จะมาร่วมต่อสู้ด้วย..
   ..แต่การต่อสู้ของ คน กฟผ.. หลักการคือการรักษา ผลประโยชน์ที่เป็นของประชาชน..ให้ตกอยู่กับประชาชนคนไทยทั้งชาติ  ต่อไป  ไม่ให้ถูกแปรไปเป็นของส่วนตัว กับบางครอบครัว..    จึงถือว่าเป็นการต่อสู้เพื่อคนไทย ทั้งประเทศ.. เป็นความชอบธรรม ที่องค์กรต่าง ๆ จะโดดเข้าไปมีส่วนร่วมต่อสู้ด้วย.. :-*
   


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Army - รักในหลวงครับ ที่ กันยายน 20, 2005, 02:54:04 PM
ทำใจ รอเลือกตั้งใหม่อย่างเดียว  :(


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 20, 2005, 02:57:20 PM
เปิดโปงแผน...


ขอย้ำ ต้องอ่าน เพราะเป็นแผนฯ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

บทที่ 6
การพัฒนาพลังงาน

1.   สรุปสถานการณ์พลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
1.1   ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวในอัตราสูงเกินกว่าเป้าหมายที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 กำหนดไว้มาก กล่าวคือ มีการขยายตัวในอัตราเฉลี่ยถึงร้อยละ 10.5 ต่อปี เนื่องจากการส่งออก การลงทุน และการท่องเที่ยวขยายตัวสูงมาก นอกจากนี้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรชนบทสู่การผลิตภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยมีการกระจายธุรกิจอุตสาหกรรม ไปยังชุมชนศูนย์กลางในภูมิภาคต่างๆ และพื้นที่เศรษฐกิจใหม่เพิ่มขึ้น
1.2    ผลการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือเพิ่มจาก 388 พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2530 เป็น 605 พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2533 โดยการใช้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 64 เป็นการใช้น้ำมันปิโตรเลียม ในขณะที่การผลิตพลังงานในประเทศมีเพียงวันละ 177
พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2533 เท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน
1.3    โดยเหตุที่ความต้องการใช้พลังงานในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การผลิตมีจำนวนจำกัด จึงต้องมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งนี้ เป็นการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมเกือบทั้งหมด ทำให้สัดส่วนการนำเข้าต่อการใช้พลังงานของประเทศสูงถึงประมาณร้อยละ 60 เกินกว่าเป้าหมายที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศให้เหลือร้อยละ 49 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของประเทศ
1.4   สถานการณ์พลังงานของประเทศที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงปัญหาหลักของการพัฒนา
พลังงานซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาในระยะต่อไป หากไม่มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ
1.4.1   ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีผลทำให้
(1)   การพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะในช่วงสั้นไม่สามารถพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศได้เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของประเทศ
(2)   การลงทุนในการพัฒนาพลังงานเพิ่มขื้นมาก ทำให้ภารการลงทุนของรัฐเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากการพัฒนาส่วนใหญ่ยังคงดำเนินการโดยภาครัฐบาลการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนยังดำเนินการไปได้ช้าและอยู่ในขั้นเริ่มต้น
1.4.2   ในช่วงต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ประเทศไทยได้รับประโยชน์มากจากการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่ในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความไม่แน่นอนสูงมาก ซึ่งจะมี
ผลกระทบต่อฐานะการเงินของประเทศ
1.4.3   โครงสร้างและระดับราคาพลังงานยังไม่สะท้อนถึงต้นทุนการจัดหาที่แท้จริงหรือเป็นไปตามกลไกตลาด เพราะเหตุผลทางด้านการเมือง ทำให้การใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น และเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและไม่ประหยัด โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้า
1.4.4   การผลิตและการใช้พลังงานบางประเภทมีผลทำให้สภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรมลงมาก โดยเฉพาะการใช้พลังงานของยานพาหนะในเมือง และการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวในช่วง 10 ปีข้างหน้า และอาจก่อให้เกิดปัญหาฝนกรดได้ในอนาคต เป็นต้น
1.4.5   กลไกการบริหารและการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐบางส่วนในด้านการพัฒนาพลังงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะพัฒนาพลังงานได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของความต้องการและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเฉพาะด้านเพราะมีการเลื่อนย้ายออกจากหน่วยงานสูง
2.   เป้าหมายการพัฒนาพลังงาน
      แนวนโยบายการพัฒนาพลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 มุ่งที่จะจัดหาพลังงานให้
เพียงพอกับความต้องการ โดยพัฒนาแหล่งงานในประเทศและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้นในการจัดหาแหล่งต้นพลังงานส่วนการบริหารจะจัดการและเร่งรัดให้มีการใช้พลังงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยผ่อนคลายการควบคุมเพื่อให้ระบบพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาดและมีการ
แข่งขันมากที่สุด รวมทั้งสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการมากขึ้น ดังนั้น เป้าหมายการพัฒนาพลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 จึงกำหนดไว้ดังนี้
2.1    เพิ่มการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ ในอัตราร้อยละ 8 ต่อปี จาก 280 พันบาเรล น้ำมันดิบ
ต่อวัน ในปี 2534 เป็น 410 พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2539
2.2    ลดอัตราการเพิ่มการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศโดยส่วนรวม โดยให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.3    รักษาสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 60 ในปี 2539
2.4    เร่งรัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายการเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 หลุม ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (วงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท เพื่อค้นหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ)
2.5   เพิ่มกำลังกลั่นปิโตรเลียมจาก 246 พันบาเรลต่อวันในปี 2534 เป็น 740 พันบาเรลต่อวัน ในปี 2539
2.6   กำหนดเป้าหมายการผลิตก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหินในประเทศ ดังนี้
                  ปี 2534   ปี 2539   
ก๊าซธรรมชาติ (ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน)              760        1,250   
ก๊าซธรรมชาติเหลว (บาเรล/วัน)            22,000    31,000
น้ำมันดิบ (บาเรล/วัน)               24,000     24,000
ถ่านหิน (ล้านตัน/ปี)                   14.6       18.5
(1) เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า                  12         14
(2) เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม                                               2.6         4.5

2.7   เพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าอีก 5,400 เมกกะวัตต์ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 และกำหนด
เป้าหมายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ดังนี้
                  ปี 2534   ปี 2539   
ก๊าซธรรมชาติ :  Gwh               19,900      31,950   
         ล้าน ลบฟ./วัน                        566        780
ถ่านลิกไนท์ :  Gwh               12,431     14,275
          ล้านตัน                   12.1       14.0
ถ่านหินนำเข้า :  Gwh                          0        766
          ล้านตัน                                                 0       0.29

2.8    กำหนดให้กำลังผลิตสำรองของระบบไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดต่อปี
2.9    กำหนดเป้าหมายการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าโดยเอกชนสำหรับระบบการผลิตพลังานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกันอย่างน้อย 500 เมกกะวัตต์ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.10    กำหนดเป้าหมายการลดการใช้พลังงานจากมาตรการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าในระดับ 4,500 จิกกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.11    จำกัดจำนวนไฟฟ้าดับต่อผู้ใช้ไฟฟ้าหนึ่งรายในรอบปี ดังนี้
                         หน่วย  :  จำนวนครั้ง/ปี/ผู้ใช้หนึ่งราย
               ในเขตการไฟฟ้านครหลวง      ในเขตการไฟฟ้าภูมิภาค
               2533      2539            2533           2539
   ไฟฟ้าดับถาวร         6.7      3.3             10.0            7.0
   ไฟฟ้าดับชั่วครู่         10.3      5.0             24.0           17.0
   รวม            17.0      8.3             34.0                       24.0
2.12    กำหนดเป้าหมายให้มีการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษที่มีสารตะกั่วภายในปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.13    จำกัดระดับการปล่อยสารอันตรายจากการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ให้ไม่เกินระดับดังนี้
                        2533      2539
   สารตะกั่วจากยานพาหนะ (ตัน)               1,030      300
   ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จากยานพาหนะ (พันตัน)         950      750
   ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (พันตัน)               840      860
      - ยานพาหนะ               100      50
      - การผลิตไฟฟ้า               555      620
      - อุตสาหกรรมและอื่นๆ             205      190


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 20, 2005, 03:00:39 PM
3. แนวทางการพัฒนาพลังงาน
      เพื่อดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายการพัฒนาพลังงานดังกล่าวแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาพลังงานไว้ดังต่อไปนี้
3.1   จัดหาพลังงานให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการและให้มีความมั่นคงในราคาที่เหมาะสม โดย
3.1.1   เร่งการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลี่ยม
(1)   ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร บุคลากรและระบบข้อมูลปิโตรเลียมของกรมทรัพยากรธรณีให้มีความพร้อมและคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการถ่ายเทบุคลากรสู่ภูมิภาคเอกชน เพื่อรองรับ
พระราชบัญญัติปิโตรเลียมฉบับ พ.ศ. 2532
(2)   จัดทำแผนปฏิบัติการรวมว่าด้วยการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศให้ชัดเจน โดยเฉพาะการผลิตและการใช้ปิโตรเลียมจากแหล่งต่างๆ ที่ได้มีการค้นพบแล้ว และส่งเสริมภาคเอกชนให้มีบทบาทเพิ่มขึ้น
(3)   ศึกษาและประเมินศักยภาพธรณีวิทยาปิโตรเลียมในบริเวณที่เป็นที่สนใจของเอกชน เพื่อเผยแพร่เป็นข้อมูลจูงใจให้มีการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น
(4)   เร่งรัดการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 ให้เป็นรูปธรรมและปฏิบัติการได้โดยเร็ว เพื่อนำไปสู่การเจรจาอนุญาตให้บริษัทน้ำมันสามารถสำรวจและพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาใช้ประโยชน์โดยเร็ว
(5)   เร่งรัดให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติสายประธานให้เพียงพอต่อการผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามเป้าหมาย เช่น การก่อสร้างท่อส่งก๊าซสายประธานจากอ่าวไทย-ระยอง สายที่สอง
3.1.2   เร่งการสำรวจและพัฒนาถ่านหิน
(1)   ปรับปรุงวิธีการดำเนินการและองค์กรและบุคลากรของกรมทรัพยากรธรณี และปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาถ่านหิน โดยเฉพาะการแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและให้การพัฒนาถ่านหินเป็นระบบมากขึ้น
(2)   สนับสนุนบทบาทภาคเอกชนในการลงทุนสำรวจและพัฒนาถ่านหินปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรแหล่งถ่านหินให้ภาคเอกชนเข้าพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งให้เอกชนเข้ามาพัฒนาแหล่งถ่านหินที่ได้กันไว้ให้แก่การไฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและยังไม่มีการพัฒนามาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า
(3)   พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการใช้ถ่านหินให้มีประสิทธิภาพและประหยัด เช่น การผลิตภัณฑ์ถ่านหินในรูปถ่านโค้กและถ่านอัดและผลิตภัณฑ์อื่นๆ
3.1.3   เร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อ
(1)   ร่วมพัฒนาแหล่งพลังงาน ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งน้ำร่วมกับประเทศลาวและพม่า การสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกับพม่า มาเลเซีย
เวียดนามและกัมพูชา รวมทั้งพิจารณากำหนดรูปแบบการร่วมลงทุนที่ชัดเจน โดยเน้นการเพิ่มบทบาทของเอกชน
(2)   ซื้อพลังงาน ได้แก่ การซื้อก๊าซธรรมชาติจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และการซื้อถ่านหินหรือร่วมลงทุนพัฒนาถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย ลาว และพม่า เป็นต้น
3.1.4   ดำเนินการเพื่อให้ระบบการค้า การกลั่น และการขนส่งน้ำมันในประเทศมี
ประสิทธิภาพและมีการแข่งขันสูงต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
(1)   ส่งเสริมตลาดการค้าน้ำมันสำเร็จรูปให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เช่น ส่งเสริมให้มีสถานีบริการน้ำมัน
ภายใต้เครื่องหมายการค้าหลายชนิดมากขึ้น โดยขจัดนโยบายและกฎเกณฑ์ของรัฐที่เป็นอุปสรรครวมทั้งปรับปรุงกฏเกณฑ์ในการจัดซื้อน้ำมันของ
หน่วยงานราชการ โดยลดการผูกขาดจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะการจำหน่ายน้ำมันให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณสูง นอกจากนั้นต้องปรับปรุงขั้นตอนการขออนุญาตตั้งสถานีบริการน้ำมันให้มีความรวดเร็ว และการแก้ไขกฎเกณฑ์การตั้งสถานีบริการให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อกระจายสถานีบริการสู่ภูมิภาคและลดต้นทุนในการประกอบกิจการในเขตเมืองซึ่งที่ดินมีราคาแพง
(2)   ส่งเสริมตลาดก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้มีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้นอย่างเป็นธรรมทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการยกเลิกการควบคุมการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(3)   ปรับโครงสร้างของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานทัดเทียมกับบริษัทเอกชนและให้กิจการน้ำมันที่รัฐถือหันอยู่ทุกแห่งสามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี
(4)   ลงทุนเพิ่มกลังกลั่นปิโตรเลียมในประเทศ เพื่อเพิ่มกำลังกลั่นปิโตรเลียมให้
ใกล้เคียงกับความต้องการใช้โดยเร่งการก่อสร้างโรงกลั่นใหม่ในภาคตะวันออก ขยายโรงกลั่นที่ศรีราชาภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม ดำเนินการออกประกาศเชิญชวนลงทุนสร้างโรงกลั่นปิโตรเลียมฉบับใหม่ และขจัดกฎเกณฑ์และ
ข้อกำหนดของรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันกับโรงกลั่นน้ำมันใน
ต่างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ภายในช่วง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(5)   ปรับปรุงระบบการส่งน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศให้มี
ประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการขนส่งน้ำมัน กระจายศูนย์กลางการจ่ายน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวออกจากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่างๆ และลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร โดยเร่งดำเนินการก่อสร้างท่อน้ำมันศรีราชา-ดอนเมือง-สระบุรี และท่อน้ำมันบางจาก-ดอนเมือง-บางปะอิน ให้เสร็จโดยเร็ว ส่งเสริมให้มีการขนส่งน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางรถไฟมากขึ้น การคลังน้ำมันร่วมกัน และการก่อสร้างคลังน้ำมันในภาค
ตะวันตกและทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร
(6)   ตรวจสอบ ควบคุม ดูแล ให้คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้หน่วยงานของรัฐมีอุปกรณ์ กำลังคนในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ
3.1.5   ลงทุนและปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า
(1)   เร่งพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการได้แก่ การสำรวจและพัฒนาถ่านหินในประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้า การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เพื่อประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า การพัฒนาพลังน้ำขนาดเล็กที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ และสนับสนุนให้มีการผลิตก๊าซธรรมชาติมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า
(2)   ปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้เพียงพอ มีความมั่นคงมีคุณภาพและปลอดภัยในการจ่ายไฟยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอุตสาหกรรมและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคต่างๆ และปรับปรุงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีกำลังความสามารถในการถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
(3)   พิจารณาศึกษาความเหมาะสมในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าทั้งทางเศรษฐศาตร์เทคโนโลยีและความปลอดภัย และเริ่มประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
(4)   เร่งนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพและเมืองใหญ่ในส่วน
ภูมิภาค และสนับสนุนให้การไฟฟ้าประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงาน
ผังเมืองอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การรวมระบบสาธารณูปโภคสอดคล้องกับการวางผังเมือง
3.1.6   ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และการใช้พลังงานนอกแบบที่มีแนวโน้ม
คุ้มค่าเชิงพาณิชย์และเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะ
(1)   การผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนด้วยพลังงานนอกแบบ ได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและ
อุตสาหกรรม เช่น ชานอ้อย แกลบ และขยะ
(2)   การผลิตสารเพิ่มค่าออกแทนในน้ำมันเบนซินโดยวัสดุทางการเกษตรเพื่อลดปริมาณสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันเบนซินในยานพาหนะ
(3)   การส่งเสริมให้เอกชนปลูกป่าไม้พลังงาน เพื่อทำฟืนและเผาถ่านเป็น
อุตสาหกรรมพลังงานชนบท ตลอดจนส่งเสริมและรณรงค์ให้ราษฎรในหมู่บ้าน นักเรียนในโรงเรียนปลูกป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้านและ
โรงเรียนของตน เพื่อใช้ไม้ทำฟืนและเผาผลิตถ่านสำหรับไว้ใช้เองและจำหน่ายเป็นรายได้ของหมู่บ้านและโรงเรียน
(4)   การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและการใช้อุปกรณ์พลังงานที่คุ้มค่า
เชิงพาณิชย์แล้ว เช่น เตาหุงต้มใช้ฟืนและถ่าน เตาเผาผลิตถ่านประสิทธิภาพสูง เตาเผาชีวมวล ฯลฯ และเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานเพื่อให้มีการผลิตและการใช้ให้ได้คุณภาพ และมีมาตรฐานเพื่อผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์
3.2   ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
การใช้พลังงานอย่างประสิทธิภาพและประหยัด นอกจากจะช่วยลดการลงทุนในการจัดหา
พลังงานแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบของการใช้พลังงานต่อสภาวะแวดล้อมอีกด้วยมาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการทางด้านราคา ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้มีการใช้พลังงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ การปรับปรุงและส่งเสริมบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมจิตสำนึกของ
ประชาชน
3.2.1   ปรับปรุงโครงสร้างและระดับราคาพลังงาน รวมทั้งระบบการกำหนดราคาให้สะท้อนถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และเป็นไปตามกลไกตลาดมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยการตัดสินใจระดับการเมือง เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
(1)   ดำเนินการให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ระบบ “ลอยตัวเต็มที่” โดยการยกเลิกการควบคุมราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
ต่อเนื่องจากที่ได้ยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีกแล้ว
(2)   ดำเนินการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว โดยให้มีการนำระบบ “ลอยตัวเต็มที่” มาใช้ภายในช่วงต้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 รวมทั้งยกเลิก
ชดเชยค่าคลังและค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังขายส่งทั่วประเทศ
(3)   กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติให้ชัดเจนและโปร่งในทั้งในระหว่างผู้ผลิตก๊าซ (บริษัทผู้รับสัมปทาน) กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและระหว่างผู้ขายก๊าซ (การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย) กับผู้ใช้ (การ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและผู้ใช้รายอื่นๆ) โดยให้กิจการท่อก๊าซเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งดำเนินการให้มีการทำสัญญาซื้อขายก๊าซระยะยาว ระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศกับผู้ใช้ก๊าซอื่นๆ เพื่อให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงและพลังงานที่ใช้ทดแทน รวมทั้งคุณภาพของเชื้อเพลิงด้วยและในขณะเดียวกันให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้ผลิตและผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ
(4)   ปรับปรุงโครงสร้างและระดับราคาไฟฟ้า รวมทั้งปรับปรุงการจัดกลุ่มประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และจูงใจให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมี
ประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งให้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามราคา
เชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติโดยลดข้อพิจารณาทางสังคมและการเมืองให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(5)   ขยายขอบเขตของระบบอัตราค่าไฟฟ้าในช่วงวันที่แตกต่างกันที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้วในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ให้ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท
อุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหมด และพิจารณาขยายขอบเขตให้ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นด้วย
(6)   ปรับปรุงระบบภาษีสำหรับยานพาหนะ โดยใช้ภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับ
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดใหญ่
(7)   ลดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูงบัลลาสต์ที่กินไฟน้อย เครื่องปรับอากาศที่กินไฟน้อย เป็นต้น
(8)   ลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อลดการนำเข้าพลังงาน ประหยัดพลังงานหรือมลภาวะ
3.2.2   กำหนดและปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
(1)   เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานในลักษณะให้การ
ส่งเสริมการประหยัดพลังงานที่เป็นไปได้อย่างกว้างขวางขึ้น
(2)   ปรับปรุงข้อบังคับและเทศบัญญัติเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร โดยเน้นให้มีข้อพิจารณาด้านประหยัดพลังงาน เช่น มาตรฐานอัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยพื้นที่อาคารไว้ด้วย
(3)   ปรับปรุงระเบียบจัดซื้อของทางราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดซื้อเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน
(4)   กำหนดข้อบังคับมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องใช้พลังงานในบ้านอยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์
(5)   เพิ่มอัตราภาษีสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น
3.2.3   ส่งเสริมให้มีการผลิตเครื่องใช้พลังงานประสิทธิภาพสูง และการผลิตอุปกรณ์หรือวัสดุก่อสร้างที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน
3.2.4   ปรับปรุงระบบการขนส่งและการจราจร โดยสนับสนุนให้มีการใช้รถไฟฟ้าขนส่ง
มวลชน รถรางไฟฟ้า ฯลฯ ตามที่ได้จัดเตรียมโครงการไว้ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 และกำหนดกฎระเบียบไม่ให้มีการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากหรือผ่านกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ไปยังภูมิภาค
3.2.5   ปรับปรุงบทบาทขององค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและระดมความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ
(1)   ให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ดำเนินการด้านการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าโดยจัดองค์กรร่วมเพื่อดำเนินการที่ชัดเจน และใช้มาตรการทางด้านการให้สิ่งจูงใจควบคู่ไปกับการแก้ไขกฎระเบียบของทางราชการ และการฝึกอบรมให้คำ
แนะนำ
(2)   ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา สถาบันทางการเงิน คณะกรรมการวิชาชีพและหน่วยงานต่างๆ มีบทบาทมากขึ้น และร่วมมือกันดำเนินการด้านการประหยัดพลังงานอย่างจริง
3.2.6   เสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประหยัด โดยรณรงค์ ให้การแนะนำ ให้บริการการศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้เกิดการนิยมใช้อุปกรณ์
พลังงานประสิทธิภาพสูง การใช้พลังงานอย่างประหยัด
3.3   ส่งเสริมบทบาทเอกชนและการพัฒนาองค์กรของรัฐ
3.3.1   ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและร่วมทุนกับรัฐด้านพลังงานมากขึ้นต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เพื่อลดภาระการร่วมทุนของรัฐบาล เพิ่มการแข่งขันอันจะนำไปสู่การใช้การจัดหา และการจำหน่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนและการระดมเงินออมจากภาคเอกชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาพลังงานด้วย โดย
(1)   ในกิจการปิโตรเลียม ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านการกลั่น
น้ำมัน (เช่น โรงกลั่นบางจาก) การจำหน่ายน้ำมัน การขนส่งก๊าซธรรมชาติ และการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและ / หรือนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกประเทศไทย
(2)   ส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายเล็กเข้าลงทุนและดำเนินการผลิตไฟฟ้าในรูปการผลิต
พลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกัน และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนอกแบบโดยเร่งการออก “ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก” โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำเพื่อจำหน่ายในเขตนิคมอุตสาหกรรม
(3)   เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อรับซื้อโรงไฟฟ้าบางโรงจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนำหุ้นกระจายเข้าตลาดหลักทรัพย์ เช่น โรงไฟฟ้าระยอง ขนอมและอ่าวไผ่ และระยะปานกลาง เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรูปของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ใน
รูปแบบอื่นๆ ได้ด้วย เช่น การมาลงทุนและบริการด้วยตัวเองหรือแบบบีโอโอ โดยกำหนดเงื่อนไขในการลงทุนที่ชัดเจนและเหมาะสม
(4)   แก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการร่วมทุนกับเอกชน หรือกฎหมายที่เป็น
อุปสรรคต่อการเพิ่มการแข่งขันในการให้บริการด้านพลังงานด้านสาธารณูปโภค
(5)   ในการพัฒนาถ่านหิน ส่งเสริมให้เอกชนได้เข้าทำการสำรวจและทำ
เหมืองถ่านหินในพื้นที่ที่รัฐได้ทำการสำรวจเบื้องต้นไว้แล้วหรือในพื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมิได้ใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า เช่น แอ่งเวียงแหง
3.3.2   พัฒนาองค์กรของรัฐในสามารถบริหารและดำเนินการด้านพลังงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
(1)   ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานให้เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น หรือให้เป็นในรูปบริษัทเอกชน เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการบริหาร การลงทุน และการพัฒนาบุคลากรรวมทั้งเพิ่มการแข่งขัน อันจะนำไปสู่การยกเลิกการควบคุมราคาพลังงานในอนาคต ขณะเดียวกันก็เพื่อเตรียมการสำหรับเพิ่มทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยการจำหน่ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติของรัฐวิสาหกิจ เช่น พระราชบัญญัติการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ให้เกิดความคล่องตัวในการร่วมทุนกับภาคเอกชนและเสริมสร้างการแข่งขัน
(2)   ดำเนินการยกฐานะของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้เป็นหน่วยงานถาวรระดับกรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีพระราชบัญญัติรองรับโดยเร็วที่สุด เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายพลังงาน และเปลี่ยนแปลงสำนักงานพลังงานแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้เป็นหน่วยงานวิจัย พัฒนา กำกับดูแลและปฏิบัติการเพื่อให้การบริหารพลังงานของประเทศมี
เอกภาพ มีความคล่องตัวสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์พลังงานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถประสานงานพัฒนาพลังงานของหน่วยงานต่างๆ อย่างเป็นระบบ
(3)   ยกฐานะกองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี ให้เป็นหน่วยงานระดับกรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและจัดหางานปิโตรเลียมและถ่านหิน
(4)   ปรับปรุงการบริหาร การพัฒนาบุคลากรและการดำเนินงานของหน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพลังงาน ให้เป็นไปตามบทบาท ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: BEAMSOUND ที่ กันยายน 20, 2005, 03:28:01 PM
คุณคนปั่นไฟครับ  ผมสนใจเรื่อง ไฟฟ้าพลังลมและแสงแดด นะครับ อยากจะทำตัวเล็กๆใช้ตามบ้าน
พอจะแนะนำได้มั๊ยครับ ;D
 


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2005, 03:35:43 PM
 :)..องค์การ ด้านไฟฟ้า ท้งหมด เปรียบเสมือน เส้นเลือด ในกายมนุษย์..
     ..มี เม็ดเลือดขาว คือ คนของการไฟฟ้าเองคอยดูแล  อยู่ อยู่ ..ก็มีตัวอะมีบ้า.. ไวรัสเอด ที่ไหน ไม่รู้ ติดมากับเข็มฉีดยา.ยาฉีด.ที่อ้างว่าเพื่อรักษาโรคให้กับเจ้าของร่าง.ที่ผอมแห้ง รอเงินช่วยไม่ไหว..
       เม็ดเลือดขาวน้อยลง ถูกทำลายลง ที่สุด เจ้าของร่างกาย ก็ยากจะทรงกายอยู่ได้ ..
       เมื่อต้องเอาไปชำระล้างด้วยไฟ  อะมีบ้า ไวรัสเอด มันก็ต้องวอดวาย ตามเจ้าของร่างไปด้วย.. :) :OO


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ กันยายน 21, 2005, 09:19:45 AM
คุณคนปั่นไฟครับ ผมสนใจเรื่อง ไฟฟ้าพลังลมและแสงแดด นะครับ อยากจะทำตัวเล็กๆใช้ตามบ้าน
พอจะแนะนำได้มั๊ยครับ ;D
 

เรียนท่าน BEAMSOUND ครับ
            การสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานลมและจากพลังงานแสงอาทิตย์ นั้น งบประมาณที่ใช้มีมูลค่าสูงมากครับ ประกอบกับสภาพภูมิประเทศของประเทศไทย ความเร็วลมสูงสุดจะอยู่ที่บริเวณชายฝั่ง บริเวณเกาะต่างๆ ในอ่าวไทย และในบริเวณภาคใต้ของประเทศเท่านั้นครับ ที่สำคัญพบว่ายังคงมีปัญหาเรื่องชิ้นส่วนบางชนิดชำรุดได้ง่าย เช่น ใบกังหัน หรือตลับลูกปืนชำรุด นอกจากนี้ บางกรณี ยังมีปัญาหาเรื่องการจัดซื้ออะไหล่จากต่างประเทศได้ล่าช้าอีกด้วยครับ
           สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์นั้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ส่วนใหญ่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ได้แก่ ซิลิคอน เยอรมันเนียม หินต่างๆ    การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นขบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า(อิเลคตรอน)ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้ครับ

            จากข้อมูลข้างต้น ผมขอนำข้อมูลและผลการวิจัยเรื่องพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ มาให้รับทราบ ดังนี้ครับ

             พลังงานลม เป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้ว ไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้าและในการสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายในอดีต
             งานศึกษาและทดลองใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาพลังงานลมมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว กฟผ. ได้ศึกษาและติดตามวิทยาการด้านนี้ทั้งใน และต่างประเทศ อีกทั้งได้สาธิต ทดสอบ ตลอดจนติดตั้งกังหันลมขึ้นทดลองใช้งาน และเก็บข้อมูลของการทดสอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางที่จะพัฒนาระบบให้ดีขึ้น และให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
              ในขั้นแรก กฟผ. ได้รวบรวมข้อมูลศักยภาพพลังงานลมทั่วประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมอุตุนิยมวิทยา ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ความเร็วลมในประเทศไทยโดยเฉลี่ยจัดอยู่ในระดับปานกลาง - ต่ำ คือ ต่ำกว่า 4 เมตร ต่อวินาที โดยส่วนที่ความเร็วลมสูงสุดจะอยู่ที่บริเวณชายฝั่ง บริเวณเกาะต่างๆ ในอ่าวไทย และในบริเวณภาคใต้ของประเทศ
               ต่อมาในปี พ.ศ.2526 กฟผ. ได้เลือกบริเวณแหลมพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 5 เมตรต่อวินาที เป็นที่ติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นแห่งแรกของ กฟผ. ซึ่งกังหันลมนี้ได้ผลิตไฟฟ้าร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์จนถึงปัจจุบัน
               ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 - 2535 กฟผ. ได้เริ่มติดตั้งกังหันลมขนาดเล็ก เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าที่สถานีแห่งนี้เพิ่มเติมอีก จำนวน 6 ชุด พร้อมติดตั้งอุปกรณ์บันทึกข้อมูลคือ Digital Data Logger และ Strip Chart Recorder ไว้อย่างครบถ้วน
               สำหรับไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็นำมาใช้ให้แสงสว่างในบริเวณ สถานีทดลองฯ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สรุปได้ว่า การใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ที่บริเวณสถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพนี้ ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องชิ้นส่วนบางชนิดชำรุด เช่น ใบกังหัน หรือตลับลูกปืนชำรุด นอกจากนี้ บางกรณี ยังมีปัญาหาเรื่องการจัดซื้ออะไหล่จากต่างประเทศได้ล่าช้าอีกด้วย
               เมื่อการทดลองใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้าปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ ในปี พ.ศ.2531 กฟผ. จึงได้กำหนดแผนงานเชื่อมโยงระบบกังหันลมผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อการใช้งานจริง และเพื่อศึกษาหาประสบการณ์ในการเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่ายไปพร้อมๆ กัน โครงการดังกล่าวดำเนินไปด้วยดีตามแผนงาน โดยได้รับความร่วมมือจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.2533 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานลมมาใช้งานได้ โดยผลิตและส่งผ่านระบบจำหน่ายไฟฟ้า
               นอกเหนือจากการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าแล้ว ที่บริเวณสถานีพลังงานทดแทนพรมหมเทพแห่งนี้ กฟผ. ยังได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อใช้งานร่วมกับกังหันลม และเชื่อมโยงระบบการผลิตนี้เข้ากับระบบจำหน่ายเช่นกัน
               จากความสำเร็จในการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมดังกล่าว ทำให้ กฟผ. มีความมั่นใจในการศึกษาและติดตั้งกังหันลมเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ.2535 ได้ติดตั้งกังหันลมขนาดกำลังผลิต 10 กิโลวัตต์ เพิ่มอีก 2 ชุด โดยเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าด้วย
               จากประสบการณ์ที่ได้รับจากการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก มากกว่า 13 ปี ตลอดจนผลการติดตามเทคโนโลยีด้านกังหันลมมาโดยตลอด ทำให้ กฟผ. มีความพร้อมที่จะติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ขึ้น ในปี พ.ศ.2539 กฟผ. จึงติดตั้งกังหันลมขนาดกำลังผลิต 150 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นกังหันลมขนาดใหญ่ที่สุด ที่เคยติดตั้งมาในประเทศไทย รวมทั้งกังหันผลมชนิดนี้ มีเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้สำหรับการผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกัน ได้ยกเลิกการใช้งานกังหันลมขนาดเล็กที่ต้องซ่อมบำรุงบ่อย หรือชำรุดเสียหาย ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมจากกังหันลมเหลือเพียง 170 กิโลวัตต์ ต่อมา ในปี พ.ศ.2541 กฟผ. ได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มเติมอีก จึงมีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 180.124 กิโลวัตต์
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกริยาใดๆ อันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์ จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคทรอนิคส์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานได้ทำการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อใช้งานในลักษณะต่างๆ กัน
               กฟผ. ได้รวบรวมข้อมูลด้านพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งใน และต่างประเทศ และได้ทดลองนำเอาเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานตามหน่วยงานต่างๆ ของ กฟผ. ในลักษณะต่างๆ กับ เช่น ใช้วิทยุสื่อสาร สัญญญาณไฟกระพริบ ไฟแสงสว่างสำหรับเจ้าหน้าที่สำรวจ ต่อมา กฟผ. ได้ขยายการใช้งาน โดยการสร้างสถานีพลังงานทดแทนเพื่อสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว คือ ที่สถานีพลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รวมไปถึง ระบบต่อร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น ได้แก่ ต่อร่วมกับพลังน้ำ ที่สถานีพลังงานแสงอาทิตย์คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และต่อร่วม (Hybrid) กับพลังงานลมที่สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
               นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้สร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 500 กิโลวัตต์ ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้เริ่มผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2547 เป็นต้นมา

เซลล์แสงอาทิตย์
             เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ส่วนใหญ่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ได้แก่ ซิลิคอน เยอรมันเนียม หินต่างๆ    การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นขบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า(อิเลคตรอน)ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้
ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ความเป็นมาของโครงการ
            จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันตกที่อยู่บนสุดของ ประเทศไทย สภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาและป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 78 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นที่ราบสองฝั่งลำน้ำและที่ราบในหุบเขาส่วนใหญ่แม่ฮ่องสอน จึงเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังไม่สามารถสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 115 kV. ผ่านเข้าไปได้ด้วยเหตุผลทางด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ กฟผ. จึงต้องจ่ายไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าขนาด 22 kV. ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร ประกอบกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 4.7 MW และโรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน ขนาด 5.4 MW ที่มีอยู่นั้น เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กไม่อาจขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปีได้
             กฟผ. ได้พิจารณาทางเลือกการผลิตไฟฟ้าในอนาคตแล้ว พบว่า การก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าขนาด 115 kV. ผ่านเขต จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ไม่อนุมัติให้หน่วยงานใดใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงเหลือทางเลือกเพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าที่สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว และมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าใกล้เคียงกัน คือ โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล หรือโดยใช้ เซลล์แสงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ กฟผ. จึงได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้น เพื่อผลิตไฟฟ้าเสริมเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมให้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งทางเลือกนี้ได้ให้ผลดีมากกว่าในด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่น้อยลง ด้านความปลอดภัยในการขนส่งเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และเพิ่มโอกาสการศึกษาวิจัย เพื่อขยายผลในอนาคตขึ้นอีกด้วย
ลักษณะของโครงการ
             การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นผู้สนับสนุนโครงการนี้ ซึ่งตัวโครงการมีลักษณะเป็นโครงการสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 500 กิโลวัตต์ เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าเสริมเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดย กฟผ. จะผลิตร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าดีเซลที่มีอยู่เดิม
วัตถุประสงค์โครงการ
             1. เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และสอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและรักษา สิ่งแวดล้อมของจังหวัด
             2. เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านเทคนิค และผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากระบบผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าจาก เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
             3. เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับศึกษาแนวทางที่จะนำไปสู่กระบวนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย
งบประมาณ
              กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนาดกำลังผลิต 500 กิโลวัตต์ โดยใช้งบประมาณ ทั้งหมดเป็นเงิน 187.11 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นเงิน 163.36 ล้านบาท (87.31 %) ส่วนที่เหลือ กฟผ. ออกเงินสมทบ 23.75 ล้านบาท (12.69 % )
ระยะเวลาการดำเนินงาน
             เริ่มก่อสร้าง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
             แล้วเสร็จ 9 เมษายน พ.ศ. 2547
             ทั้งนี้ได้เริ่มทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบส่ง 22 kV. ของ กฟภ. ตั้งแต่ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547 และได้นำโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เข้าใช้งานโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2547
ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
             ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล แบตเตอรี่ และระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งมีรายละเอียดด้านสมรรถนะทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล
             1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิกอนแบบผลึกรวม ( Poly Crystalline) กำลังผลิตต่อแผง 300 วัตต์ จำนวน 1,680 แผง มีประสิทธิภาพแผง (Module Efficiency) ประมาณ 13.0% ภายใต้สภาวะแวดล้อม ตามมาตรฐานการทดสอบ (JIS C8918, IEC1215) คือความเข้มแสงที่ตกกระทบตั้งฉากกับแผงเซลล์ 1,000 วัตต์ต่อตารางเมตร และอุณหภูมิแผงเซลล์ 25 องศาเซลเซียส เพื่อนำแผงเซลล์ขนาด 300 วัตต์มาต่ออนุกรม 12 แผงต่อสตริง(String) รวมจำนวน 140 สตริง จะได้แรงเคลื่อนไฟฟ้า 614.4 โวลต์ต่อสตริง
            2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter/Converter) จำนวน 2 ชุด พร้อมระบบควบคุม ประกอบด้วย Inverter ขนาดกำลังผลิต 250 kVA. จำนวน 2 เครื่อง ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ และ Power Converter ขนาดกำลังผลิต 200 kVAจำนวน 2 เครื่อง เมื่อใช้งานร่วมกับระบบ Batterry จะมีประสิทธิภาพในการแปลงกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 94 % ได้ค่าแรงเคลื่อน ไฟฟ้าด้าน DC-Side 450-650 V. ด้าน AC-Side 400 V. 3 Phase โดยมีค่า Power Factor ไม่ต่ำกว่า 95 %
             3. แบตเตอรี่ (Battery Storage) เป็นชนิดตะกั่วกรด แบบ Stationary Battery จำนวน 280 ลูก มีแรงดันไฟฟ้า 560 V. รวมความจุ 1,200 Ah. แบตเตอรี่จะจ่ายไฟฟ้าเสริมให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เมื่อกำลังผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงกระทันหัน (เช่น ในกรณีที่เฆมเคลื่อนตัวเข้าบดบังแสงอาทิตย์อย่างรวดเร็ว) การใช้แบตเตอรี่เพื่อแก้ปัญหากำลังผลิตไฟฟ้าจาก เซลล์แสงอาทิตย์ที่อาจเปลี่ยนแปลงกระทันหันนี้ จะช่วยลดผลกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีสภาพไม่มั่นคง เช่น ที่เป็นอยู่ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนลงได้
             4. ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล (System Controller and Data Acquisition) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง แปลงกระแสไฟฟ้าทั้ง 2 ชุด ควบคุมการเก็บประจุและคายประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ เพื่อให้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้มีค่าสม่ำเสมอ ระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลจะมีข้อมูลระบบไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นทั้งหมดทุกช่วงเวลา
             5. ระบบจำหน่าย ประกอบด้วย Transformer, Switch Gear, ระบบป้องกัน และ Metering ระบบนี้ จะทำหน้าที่เพิ่ม แรงดันให้มากพอสำหรับจ่ายเข้าระบบส่งของ กฟภ. โดยมีอุปกรณ์วัดเก็บข้อมูล และแสดงผลค่าทางไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ในการซื้อขายไฟฟ้า รวมทั้งมีระบบควบคุมความปลอดภัยที่เชื่อมต่อกับระบบส่งของ กฟภ.
การทำงานของระบบ
             1. เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้ติดตั้งไว้ เซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้ เป็นไฟฟ้ากระแสตรงผ่านระบบควบคุมเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า โดยมีระบบ Maximum Power Point Tracking (MPPT) ที่เลือกค่าแรงดันไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ค่ากำลังผลิตสูงสุดในแต่ละเวลาตามค่าความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ได้รับ
            2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ และจ่ายเข้าระบบจำหน่ายของการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจะเป็นระบบที่ทำให้ประสิทธิภาพเฉลี่ยของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้ามีค่าสูงกว่า 94 % ตลอดทุกช่วงของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ แม้จะมีกำลังผลิตที่ต่ำกว่าปกติมากในช่วงเช้าและเย็นก็ตาม
            3. ในช่วงที่มีเมฆลอยผ่านหรือมีหมอกควันเคลื่อนเข้ามาบังแสงอาทิตย์อย่างกระทันหัน กำลังผลิตไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้จะลดลงไปทันที ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไฟฟ้าในระบบจำหน่าย เนื่องจากทำให้ความถี่และแรงเคลื่อนไฟฟ้าของระบบส่งเปลี่ยนแปลงไป (ขึ้นอยู่กับอัตราเร็วของกำลังผลิตที่ขาดหายไป) ในกรณีดังกล่าวกำลังผลิตจะลดหายไปในช่วงเวลาสั้นๆ (1-3 นาที) ซึ่งระบบผลิตนี้ได้เตรียมการปรับแก้ไว้แล้ว โดยใช้พลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่เข้ามาแทนในช่วงนั้น
             4. ในระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ กำลังผลิตที่ลดหายไปย่อมมีผลกระทบต่อระบบจำหน่ายเป็น อันมาก โดยเฉพาะระบบจำหน่ายที่ไม่มั่นคง เช่น ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จึงต้องใช้แบตเตอรี่ช่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่เกิดปัญหาดังกล่าว โดยออกแบบขนาดคลังแบตเตอรี่ให้สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้นานไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน
             5. ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นี้ จะผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบจำหน่ายเฉพาะ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ทำให้สามารถลดการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่สะงา (เก็บน้ำในอ่าง) ในเวลากลางวันลงได้ เพื่อนำน้ำไปใช้ผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงกว่า และจะช่วยลดการผลิตไฟฟ้า ที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลลงได้มาก
 
สรุป
             โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ผ่านแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยไม่ปล่อยของเสีย หรือสิ่งรบกวนใดๆ ที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และช่วยให้ระบบผลิตไฟฟ้าของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสภาพมั่นคงเพิ่มขึ้น
              นอกจากนั้น สถานที่นี้ยังเป็นแหล่งสาธิตการใช้พลังงานทดแทนที่สะอาด เพื่อการศึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ





หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: BEAMSOUND ที่ กันยายน 21, 2005, 09:33:45 AM
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล   ;D 


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Chayanin-We love the king ที่ กันยายน 21, 2005, 11:00:55 AM
โดย หรุปแล้ว  เราต้องรอให้โอกาสสุกงอมเสียก่อน 


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 11:44:10 AM
ข่าวครับ ดึงขึ้นมาใหม่ครับกำลัง HOT

กพช.ล้มแนวคิด "แม้ว" เลิกกองทุนพยุงค่าไฟ ปล่อยสะท้อนต้นทุนแท้จริง แต่ให้กระทรวงพลังงานหาแนวทางช่วยรายย่อย 9 ล้านครัวเรือน บ้านเรือนไม่ติดแอร์ เร่งหาข้อสรุปทันค่าเอฟทีรอบใหม่ 1 ก.พ.ปีหน้า

  ด้านประธานสหภาพ กฟน.เตรียมยื่นหนังสือจี้ผู้บริหารทวงหนี้ค่าไฟฟ้าบริษัทเอกชนกว่าร้อยบริษัท มูลค่ากว่า 2 พันล้าน ชี้เอาเปรียบชาวบ้าน ให้สิทธิ์คนรวยเบี้ยวไม่โดนตัดไฟ
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติชัดเจนที่จะไม่ตั้งกองทุนพยุงค่าไฟฟ้า แม้ในอนาคตค่าเชื้อเพลิงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นทำให้ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) สูงขึ้นก็ตาม เพราะการสะท้อนต้นทุนแท้จริงจะเพิ่มประสิทธิภาพ และการประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม  กพช.ให้กระทรวงพลังงานหาแนวทางช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยที่เป็นประชาชนทั่วไป จำนวน 9 ล้านครัวเรือน ซึ่งใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน และเป็นบ้านเรือนที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ   แต่ยังไม่อาจยืนยันแนวทางที่ใช้จะเป็นภาระงบประมาณ หรืออาจใช้มาตรการอื่นที่ไม่กระทบเงินงบประมาณ แต่ต้องสรุปก่อนปรับค่าเอฟทีงวดใหม่ในวันที่ 1 ก.พ.2549
ส่วนผู้ใช้ภาคอุตสาหกรรมคงไม่กระทบมากนัก  เพราะค่าไฟของไทยต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับต่างชาติ หากสูงขึ้นก็แข่งขันได้ แต่ภาคเอกชนควรเร่งปรับตัวหามาตรการลดต้นทุนในการผลิต
"ยืนยันว่า ปตท.และ  กฟผ.จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าเอฟทีอีกต่อไป  ภาระจะผ่านประชาชนโดยตรง ส่วนข่าวกองทุนอุ้มค่าไฟฟ้าไม่รู้เกิดขึ้นจากใคร อยู่ๆ ก็มีคนจุดพลุประเด็นนี้ขึ้นมา และอนาคตไม่ว่าราคาเชื้อเพลิงจะเป็นอย่างไร จะไม่มีการปัดฝุ่นแนวคิดนี้ขึ้นมาอีกอย่างแน่นอน" นายเมตตากล่าว
สำหรับแนวคิดการตั้งกองทุนพยุงค่าไฟ เกิดขึ้นในรายการ "นายกฯ ทักษิณพบสื่อ" เมื่อวันที่  27 ต.ค. โดย  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเอฟที โดยเสนอตั้งกองทุนพยุงค่าไฟฟ้าแทนการให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับภาระ
ทั้งนี้  การล้มเลิกแนวคิดการจัดตั้งกองทุนพยุงค่าไฟฟ้าได้สร้างความประหลาดใจให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานและ บริษัท  กฟผ. จำกัด (มหาชน)  ซึ่งก่อนการประชุม กพช.ในช่วงบ่ายนั้น นายเชิดพงษ์  สิริวิชช์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ยังยืนยันการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเพื่อให้รัฐบาลเข้ามาดูแลค่าไฟฟ้าแทน ปตท.และ กฟผ. ในลักษณะเดียวกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ด้านนายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้านครหลวง และประธานเครือข่ายปกป้องไฟฟ้า-ประปาเพื่อชาติและประชาชน  กล่าวว่า  ในวันที่  4  พ.ย.  สหภาพฯ จะประชุมเพื่อทำหนังสือเรียกร้องต่อผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ทวงหนี้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทเอกชนกว่า  100  แห่ง  จำนวนประมาณ 2,262 ล้านบาท โดยเป็นหนี้คงค้างถาวรกว่า 700 ล้านบาท เนื่องจากเป็นยอดหนี้สูงและแม้  กฟน.ได้ผลประโยชน์ในแง่ดอกเบี้ยปรับ  แต่ลักษณะดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยหรือชาวบ้าน  ไม่ว่า  กฟน. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)  การประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ควรมีมาตรการดูแลประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
"ชาวบ้านค้างค่าไฟต้องโดนตัดไฟ  แต่บริษัทธุรกิจเอกชนกลับได้เครดิต  ผัดผ่อนจ่ายหนี้ค่าไฟ ไม่ถูกตัดไฟ  ประชาชนผู้ใช้ไฟรายย่อยก็ควรได้สิทธิ์เช่นกัน  ให้คนจนได้หายใจเท่าคนรวย  เพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน" นายเพียรกล่าว
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา  บอร์ด  กฟน.ได้ประชุมเกี่ยวกับรายงานการจัดเก็บหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระ โดยส่วนราชการมีหนี้ถาวร  964.73  ล้านบาท  รัฐวิสาหกิจ 700.44 ล้านบาท และเอกชน 700.44 ล้านบาท  ซึ่งถ้ารวมหนี้ที่เพิ่งครบดิว  3  ฉบับ รวมกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งสหภาพฯ จะยื่นหนังสือและขอคำตอบภายใน 7 วัน ถ้าผู้บริหาร กฟน.ไม่มีมาตรการที่เป็นธรรมต่อรายย่อย พนักงานคงต้องเตือนและตัดไฟตามระเบียบ.

กฟผ.นำร่องปันผล3สลึง จับตายักษ์สื่อสารผูกขาด
กฟผ.โรดโชว์หุ้นวันแรก ชาวบ้านกว่า 500 คนแห่ฟัง เปิดจองกลางเดือนนี้ ราคาซื้อสูงสุด 28 บาท ผู้บริหารกระตุ้นประกาศจ่ายปันผลปี 48 หุ้นละ 0.75 บาท ด้านวิปฝ่ายค้านยื่นหนังสือคัดค้าน

จับตาธุรกิจโทรคมนาคมรายใหญ่ผูกขาดสายเคเบิลใยแก้ว
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้นำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ต่อนักลงทุนและประชาชนทั่วไป  ซึ่งมีประชาชนกว่า  500  คนเข้าร่วมรับฟัง โดยหุ้นที่กระจายทั้งหมด  1,245 ล้านหุ้น เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปและนักลงทุนรายย่อย 622.5 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 50% นักลงทุนสถาบันในประเทศ 249 ล้านหุ้น หรือ 20% และต่างประเทศ 373.5 ล้านหุ้น หรือ 30%
สำหรับราคาขายเสนอไว้ระหว่าง  25-28 บาทต่อหุ้น เปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อในวันที่ 16-17  พ.ย. ตั้งแต่เวลา  08.30-15.30  น. แต่วันจองซื้ออาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการมีผลบังคับใช้ของหนังสือชี้ชวน  โดยจองซื้อได้ที่ธนาคารกรุงไทย  ทหารไทย  และไทยพาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศ จองซื้อในราคาสูงสุดที่  28  บาทต่อหุ้น  และใช้วิธีกระจายหุ้นอย่างเป็นธรรม ไม่มีการจัดสรรให้ผู้มีอุปการะคุณ
นายบุญชู  ดิเรกสถาพร  ผู้บริหารใหญ่ด้านการเงิน บมจ.กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.มีนโยบายจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า  40%  ของกำไรสุทธิ หลังจากหักทุนสำรองต่างๆ แล้ว และเมื่อวันที่ 16 ก.ย. คณะกรรมการ  กฟผ.มีมติจ่ายปันผลประจำปีสำหรับผลประกอบการปี  2548  จำนวน 0.75 บาท/หุ้น โดยจะเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีอนุมัติประมาณเดือน  เม.ย.2549  ซึ่งการจ่ายปันผลนำมาจากกำไรสุทธิ  หรือกำไรสะสม แม้ปีนี้หาก กฟผ.ขาดทุนสุทธิก็ยังจ่ายปันผลได้ เพราะมีกำไรสะสมกว่า 80,000 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากผู้จัดการจำหน่ายหุ้น  กฟผ.ระบุว่า การกำหนดราคาหุ้น กฟผ.สูงสุดที่ 28 บาท คิดเป็นราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (พี/อี)  8-9  เท่า เมื่อเทียบกับงบการเงินสิ้นปี 2547 โดยพี/อีระดับนี้ต่ำกว่าบริษัทไฟฟ้าอื่นในภูมิภาคนี้ ซึ่งสูงอยู่ที่ 9-11 เท่า
นายสาทิตย์  วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวว่า ในวันที่  3  พ.ย.  ฝ่ายค้านนำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จะนำจดหมายคัดค้านการนำ กฟผ.เข้าจดทะเบียนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไปยื่นกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเตรียมจัดเวทีสาธารณะในกลางเดือน  พ.ย. 
ด้านนายเกียรติ  สิทธิอมร  ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ  พรรคประชาธิปัตย์  กล่าวว่า ธุรกิจโทรคมนาคมในอนาคตต้องพึ่งพาสายเคเบิลใยแก้วที่พาดระบบสายส่งไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ  ซึ่งถ้าแปรสภาพ  กฟผ.  ซึ่งมีบริษัทลูกที่ตั้งมาแล้วชื่อ "EGAT  Telecom" และแปรสภาพระบบสายส่งไปด้วย ก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะมีบริษัทเอกชนเพียงรายเดียวที่มีศักยภาพสูงเข้าควบคุมระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศได้ทั้งหมด  ซึ่งอันตรายที่สุดและจะมีบุคคลคนเดียวที่ร่ำรวยอยู่แล้วมั่งมีเป็นทวีคูณ  โดยใช้ทรัพย์สินของทุกคน.



หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: ป๊อกแมน ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 12:09:02 PM
ผมไปก็อปมาจากเว็ปอื่นครับ  ฟังแล้วขนลุกนะครับ  ช่วย ดาวน์โหลดไปฟังกันนะครับ
********************************************

ขอร้องคนไทยทุกคนเข้าลิงค์นี้นะคับ!!!!เรื่องใหญ่ที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ยินมา..ระดับชาติและพระมหากษัตริย์!!!ก่อนที่ลิงค์นี้จะถูกระงับ
ผู้เขียน : เราคนไทย..ต้องสู้นะ!!!!

http://www.ihud.com/file.php?file=1130700499/fm_2200_0000%20Oct%2029%20(wmr).asf
พวกคุณเข้าไปที่ลิงค์นี้นะคับ แล้วก้ดาวโหลด...แล้วเอาไปฟัง อย่างน้อยขอให้ฟังถึงนาทีที่ 19 นะคับ!!!
คลิกที่ชื่อรายการแล้วหาคำว่า
Your download is ready
หรือ
Click here to download file
นะคับ!!!!!!

download ได้ครับ ก๊อปปี้ URL ข้างบนแล้ว ตามนี้ เลยครับ...
คลิ๊กเม้าส์ขวาที่ Your download is ready
แล้ว Save Target As..
ด่วนส่งต่อ จาก manager radio board
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9480000151631


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Sig228-kolok ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 12:50:09 PM
สงสัยถ้าเอาประเทศไทยเข้าตลาดได้คงเข้าไปแล้ว  ทีช้างอยากจะเข้าไม่ให้เข้าสักที


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: niik รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 01:22:56 PM
คุณฅนปั่นไฟ
เราจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: pitsanukorn ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 02:04:07 PM
คุณฅนปั่นไฟ
เราจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง
ได้ความคืบหน้าอย่างไร และ สร.กฟผ. มีทิศทางอย่างไร จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะครับ
เพราะนี่เป็นเรื่องของประเทศชาติและประชาชน ไม่ใช่เรื่องของ นาย ก กับพวก

ดูนี่ซิครับ
นายบุญชู  ดิเรกสถาพร  ผู้บริหารใหญ่ด้านการเงิน บมจ.กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.มีนโยบายจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า  40%  ของกำไรสุทธิ หลังจากหักทุนสำรองต่างๆ แล้ว และเมื่อวันที่ 16 ก.ย. คณะกรรมการ  กฟผ.มีมติจ่ายปันผลประจำปีสำหรับผลประกอบการปี  2548  จำนวน 0.75 บาท/หุ้น โดยจะเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีอนุมัติประมาณเดือน  เม.ย.2549  ซึ่งการจ่ายปันผลนำมาจากกำไรสุทธิ  หรือกำไรสะสม แม้ปีนี้หาก กฟผ.ขาดทุนสุทธิก็ยังจ่ายปันผลได้ เพราะมีกำไรสะสมกว่า 80,000 ล้านบาท

ลูกหม้อ กฟผ. แท้ๆ ยังออกมาให้ข่าวอย่างไม่มียางอาย ยังไม่ได้กระจายหุ้นก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ แล้วระดมทุนทำแป๊ะทำไม เอากำไรสะสมที่มีอยู่ไปสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ก็ได้นี่นา เห็นบอกต้องการระดมทุน ออกหุ้นมาระดมทุนประมาณ 2 พันล้านหุ้น X 28  บาท = 5.6 หมื่นล้าน กำไรที่มีอยู่เหลือเฟือ ไม่ใช่ตลกคุณเหลือเฟือนะครับ ขอโทษด้วยครับคำบางคำพี่ๆ เพื่อนๆ อาจรับไม่ได้ แต่ผมจำเป็นต้องใช้ครับกับคนแบบนี้ครับ ขนาดผมเป็นคน กฟผ. นะครับยังคิดแบบนี้เลย แล้วพี่น้องประชาชนทั้งประเทศล่ะครับ   :(




หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: NPD ที่ พฤศจิกายน 03, 2005, 02:13:11 PM
ตะหงิด ๆ ตั้งแต่ขาย ปตท. แล้วครับ กำไรที่ได้ก็คือเงินของประชาชนเรา ๆ ท่าน ๆ ถามว่าไม่ใช้ได้มั๊ย ไอ้ไฟฟ้าเนี่ย.. อย่างนี้มันมัดมือชกชัด ๆ


หัวข้อ: Re: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)
เริ่มหัวข้อโดย: Machine_1 ที่ พฤศจิกายน 27, 2005, 02:20:48 PM
 ;D..มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทั้งนั้น..เพียงบางกลุ่ม..บางพวก...สุดท้าย..ประชาชนนั้นแหล่ะที่จะต้องรับกรรมที่ตนเองไม่ได้ก่อ