เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: อาฮุย ที่ กันยายน 19, 2010, 07:10:28 PM



หัวข้อ: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: อาฮุย ที่ กันยายน 19, 2010, 07:10:28 PM
ผมในฐานะสมาชิกใหม่คนหนึ่ง ได้อ่านและศึกษากระทู้เก่าๆ ได้พบปัญหาการขอใบอนุญาต ป. ๓ มากมาย
วันนี้มีโอกาสจึงขอรวบรวมปัญหาและแสดงความคิดเห็น รวมถึงข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
           สรุปสภาพปัญหา
                เมื่อประชาชนได้ขอใช้สิทธิเพื่อมีและใช้อาวุธปืนตามกฎหมาย (ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ) ซึ่งในหลายๆ กรณีที่ประชาชนมีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีลักษณะต้องห้าม  แต่ปรากฎว่านายทะเบียนใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม (ไม่มีกฎหมายมารองรับ) เช่น
                ๑. การขออาวุธมีและใช้อาวุธปืนในแต่ละท้องที่มีรายละเอียดและบรรทัดฐานของการอนุมัติที่แตกต่างกัน บางที่ของ่ายชนิดใดก็ได้  บางที่ขอยากหรืออาจไม่ให้เลย (ทั้งๆ ที่นายทะเบียนเป็นนายทะเบียนอาวุธปืนจากกฎหมายฉบับเดียวกัน ประเทศเดียวกัน)
                ๒. บางพื้นที่ยังมีความสับสนว่าอาวุธปืนขนาด .๔๕ และ .๓๕๗ ว่าเป็นอาวุธสงครามที่ออกใบอนุญาตไม่ได้ ...หรือบางพื้นที่บอกเป็นอาวุธสงครามแต่อาจออกให้ได้ถ้าเป็นการขอเพื่อการกีฬา..เอ๊ะ!ยังไง.. (หรืออาจแกล้งสับสนเพื่อจะเรียกรับเงินที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย)
                ๓. การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนให้แต่ละบุคคลมีอาวุธปืนได้เพียงอาวุธปืนสั้น ๑ กระบอก และอาวุธปืนยาว ๑ กระบอก (หากต้องการมีมากกว่านั้นต้องขอเพื่อการกีฬาเท่านั้น..เหรอ???)

                กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
               ๑. การขออนุญาตเพื่อมีและใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันทรัพย์สิน และเพื่อการกีฬาเป็นไปตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
               ๒. การขออนุญาตเพื่อมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บเป็นไปตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
               ๓. กฎหมายอนุบัญญัติอื่นๆ เช่น กฎกระทรวง  หรือ หนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย           

               การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
               ๑. เมื่อประชาชนไปขอใช้สิทธิและมีการใช้บรรทัดฐานของดุลยพินิจที่แตกต่างกัน ประชาชนบางคนยอมตาม (เรื่องจบ) บางคนไม่ยอม (กรณีแรก อาจขอจ่ายเงินเพื่อให้ได้มา กรณีที่สอง ใช้เส้นสายเพื่อให้ได้มา กรณีสาม ต่อสู้ตามแนวทางกฎหมาย คือ อุทธรณ์ จนถึง ศาลปกครอง) กรณีที่สี่ กรณีอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมา ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของแต่ละคน
               ๒. อาวุธสงครามมิได้มีการนิยามกำหนดเอาไว้ในกฎหมาย คงมีเพียงอาวุธที่นายทะเบียนสามารถออกใบอนุญาตให้มีและใช้เท่านั้นที่มีการกำหนดไว้ ซึ่งอาวุธปืนขนาด .๓๕๗ และ .๔๕ อยู่ในขนาดกำหนดของอาวุธปืนที่นายทะเบียนสามารถออกใบอนุญาตให้ได้  
               ๓. นายทะเบียนใช้ดุลยพินิจโดยยึดหลักเกณฑ์ที่ไม่มีกฎหมายรองรับ หรือตามหนังสือเวียน  เช่น ใช้ดุลพินิจไม่ออกใบอนุญาตสำหรับอาวุธปืนพกขนาด .๔๕ โดยกำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องขอเพื่อการกีฬาและมีหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนไม่น้อยกว่า ๖๐ วันมาแสดงเพื่อประกอบการพิจารณา โดยยึดตามประกาศนายทะเบียนอาวุธปืนกรุงเทพฯ ที่ ๓๐ /๒๕๔๖ (กรณีนี้ศาลปกครองได้เคยวินิจฉัยว่าการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ  (คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ที่ ๑๖๑๖/๒๕๕๐) 
               ๔. กรณีการขอปืนซ้ำขนาดในกระบอกที่สองนั้น ก็สามารถกระทำได้ตามแนวทางคำพิพากษาศาลปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก ที่ ๔๐/๒๕๕๒) ในคำพิพากษาดังกล่าวยังวางแนวทางว่า การกำหนดในเรื่องให้บุคคลควรมีอาวุธปืนพก ๑ กระบอก ปืนยาว ๑ กระบอก ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๕๐๑/ ว ๘๘๖ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๑ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติภายในเท่านั้น มิได้มีสภาพบังคับเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชน ดังเช่นกฎแต่อย่างใด การใช้ดุลพินิจโดยไม่คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นอื่นประกอบ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
                ๑. เพื่อให้การใช้สิทธิของประชาชนเป็นไปโดยเท่าเทียมและเสมอภาคกัน จึงควรเสนอให้มีการ
ยกเลิกคำสั่งหรือหนังสือภายในที่ไม่เหมาะสม และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ประชาชนสามารถเข้าใจได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจถึงสิทธิของตนตามกฎหมายและการใช้ดุลยพินิจของนายทะเบียนมีความโปร่งใส เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
                ๒. เสนอให้มีการแก้ไขปัญหาการใช้สิทธิของประชาชนในการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน โดยอาจจำกัดดุลยพินิจของนายทะเบียน แต่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิขออนุญาต โดยอาจมีแนวทางการกำหนดถึงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิขออนุญาตที่เข้มงวดมากขึ้น แต่ต้องชัดเจน  เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวตามกฎหมายมีสิทธิยื่นขออนุญาตต่อนายทะเบียน แล้วนายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพื่ออนุญาตโดยให้มีดุลยพินิจน้อยที่สุด (จะกำหนดคุณสมบัติให้เข้มงวด หรือจะให้เป็นอย่างไร ก็เขียนไว้ในกฎหมายให้เข้าใจกันเลย)
                ๓. การขออนุญาตเพื่อการกีฬาและการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ในพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มิได้มีการกำหนดรายละเอียดที่แตกต่างกัน อีกทั้งในทางปฏิบัติเมื่อขออนุญาตตามเหตุผลทั้งสองประการนี้ การมีและใช้ก็มิได้มีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน จึงมิควรมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าขอเพื่ออนุญาตเพื่อการกีฬาสามารถขออนุญาตให้มีหลายกระบอกได้ แต่หากเป็นการปกป้องทรัพย์สินมีได้เพียงกระบอกเดียว หรือ อาวุธปืนขนาด  .๓๕๗ และ .๔๕ ต้องขอเพื่อการกีฬาเท่านั้น  ทั้งที่ปืนทั้งสองชนิดอยู่ในขนาดที่ประชาชนสามารถมีไว้เพื่อครอบครองได้ และก็ใช้ได้กับการกีฬา รวมถึงใช้ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินได้เช่นกัน จึงเห็นว่าข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ควรมี
               ๔. ประชาชนต้องตระหนักถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย มีการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ถูกต้อง อย่าใช้เงินหรืออภิสิทธิ์เพื่อให้มีการดำเนินการตามกฎหมาย อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสม และนำไปสู่ปัญหาการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ  ส่วนเจ้าหน้าที่ฯ จนถึงนายทะเบียนอาวุธปืนฯ ก็ควรจะใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย อันเป็นไปตามหลักนิติรัฐ
              ขออนุญาตเขียนยาวหน่อยนะครับ
              ด้วยความเคารพแด่ทุกท่านครับ ::014::
           
              ....ขอพาท่าน ผบ. ที่บ้านไปทานอาหารก่อนละครับ  เดี๋ยวท่านขุ่นเคืองใจจะพาลมิให้อนุญาตซื้อปืนกระบอกใหม่เอา....(ท่านผบ. ที่บ้านนี้มักใช้ดุลยพินิจโดยไม่มีกฏหมายรองรับซะด้วยสิ...555+++) ;D ;D ;D     
           
             "...ทิศทางจะเบี่ยงเบนไปเบื้องไหน
             ยุติธรรม ต้องยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่ง
             ต้องยืนหยัดเป็นหลักที่พักพิง
             ไม่ทอดทิ้งศรัทธา ประชาชน..."


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: วายุ - รักในหลวง ที่ กันยายน 19, 2010, 07:33:23 PM
ดีครับ :D


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: smitxx2005'รักในหลวง' ที่ กันยายน 19, 2010, 08:08:18 PM
+1 กับ   ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ครับแต่ใครจะแก้นะ


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: อาฮุย ที่ กันยายน 19, 2010, 09:07:49 PM
               ขอบคุณสำหรับคะแนนแรกของผมในเวปนี้   ::014:: ::014:: ::014::

               สำหรับการแก้ไขในเรื่องนี้นั้นผมมีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในกฎหมายนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ การเสนอกฎหมายใหม่หรือการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนั้นมีอยู่ ๓ วิธีคือ
               ๑. ประชาชน ๕๐,๐๐๐ ชื่อรวมกันเสนอกฎหมายหรือขอแก้ไขกฎหมาย (เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน)
               ๒. ส.ส. รวมชื่อกัน ๒๐ ชื่อ เพื่อขอเสนอกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย (เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยแบบตัวแทน...ที่เชื่อว่า ส.ส. ย่อมสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน)
               ๓. รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายทั้งกฎหมายใหม่ และ แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย (ในทางปฏิบัติหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายฉบับนั้นๆ จะเสนอเรื่องในการแก้ไขปรับปรุง)

               ดังนั้นหากถามความเป็นไปได้ในการเสนอแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน (พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ) นั้น ก็อาจเกิดขึ้นได้จาก ๓ ประการที่กล่าวมาแล้ว ก็คือ ประชาชน พ่อแม่พี่น้อง ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว (ผู้สนใจและอยากมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองอย่างถูกกฎหมาย) ร่วมชื่อกันขอเสนอกฎหมาย หรือไม่ก็ เรียกร้องผ่าน ส.ส. ผู้เป็นปากเสียงของเราให้ดำเนินการให้ และทางสุดท้ายก็คงต้องรอให้กระทรวงมหาดไทย (หน่วยงานเจ้าของเรื่อง) ทำเรื่องขอเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
               ผมเสนอวิถีทางแล้ว พ่อแม่พี่น้องก็ลองพิจารณาดูกันนะครับว่าจะมีหนทางใดที่พอเป็นไปได้มากที่สุด....(เฮ้อ! จะมีมั้ยเนี่ยะ) หรือทางไหนที่พอจะเป็นไปได้บ้างนะครับ...

                 ;) ;) ;)
               


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ กันยายน 19, 2010, 09:35:33 PM
               ขอบคุณสำหรับคะแนนแรกของผมในเวปนี้   ::014:: ::014:: ::014::

               สำหรับการแก้ไขในเรื่องนี้นั้นผมมีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในกฎหมายนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ การเสนอกฎหมายใหม่หรือการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนั้นมีอยู่ ๓ วิธีคือ
               ๑. ประชาชน ๕๐,๐๐๐ ชื่อรวมกันเสนอกฎหมายหรือขอแก้ไขกฎหมาย (เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน)
               ๒. ส.ส. รวมชื่อกัน ๒๐ ชื่อ เพื่อขอเสนอกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย (เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยแบบตัวแทน...ที่เชื่อว่า ส.ส. ย่อมสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน)
               ๓. รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายทั้งกฎหมายใหม่ และ แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย (ในทางปฏิบัติหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายฉบับนั้นๆ จะเสนอเรื่องในการแก้ไขปรับปรุง)

               ดังนั้นหากถามความเป็นไปได้ในการเสนอแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน (พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ) นั้น ก็อาจเกิดขึ้นได้จาก ๓ ประการที่กล่าวมาแล้ว ก็คือ ประชาชน พ่อแม่พี่น้อง ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว (ผู้สนใจและอยากมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองอย่างถูกกฎหมาย) ร่วมชื่อกันขอเสนอกฎหมาย หรือไม่ก็ เรียกร้องผ่าน ส.ส. ผู้เป็นปากเสียงของเราให้ดำเนินการให้ และทางสุดท้ายก็คงต้องรอให้กระทรวงมหาดไทย (หน่วยงานเจ้าของเรื่อง) ทำเรื่องขอเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
               ผมเสนอวิถีทางแล้ว พ่อแม่พี่น้องก็ลองพิจารณาดูกันนะครับว่าจะมีหนทางใดที่พอเป็นไปได้มากที่สุด....(เฮ้อ! จะมีมั้ยเนี่ยะ) หรือทางไหนที่พอจะเป็นไปได้บ้างนะครับ...

                 ;) ;) ;)
              



ผู้การสุพินท์เคยตอบไว้แล้วครับ สำหรับการรวมชื่อเพื่อแก้กฎหมาย ใช้ไม่ได้กับ กฎหมาย อาวุธปืนครับ



   มาตรา ๑๖๓  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด ๓ และหมวด ๕ แห่งรัฐธรรมนูญนี้
หมวด ๓   สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หมวด ๕   แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ประชาชนหนึ่งหมื่นคน  ไม่มีสิทธิเข้าชื่อแก้ไข พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ ครับ


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: jine ที่ กันยายน 19, 2010, 09:49:19 PM
เรื่องปืน ผมว่าเป็นเืรื่องพูดยากครับ สังคมเราบางเรื่องยังเป็นหัวเก่าอยู่นะครับ อย่างผมจะซื้อปืนนี้ พอแม่ผมทราบท่านถามผมว่าจะเอาไปยิงใครไม่ให้ซื้อ (แต่ผมก็แอบซื้อมาจนได้   ::005:: ) ผมว่าทางการก็ไม่อย่าให้เรามีปืนนะครับ คงกลัวว่าเราจะไปยิงใครมั้งครับ หรือ เราจะเอาไปทำเรื่องผิดกฎหมาย (แต่ทางการก็ไม่สามารถปกป้องชีวิตเราได้เมื่อเกิดเรื่อง หรือกว่าจะมาก็สายมากแล้ว) ส่วนเรื่องแก้กฎหมายการขอปืนนี้ผมว่าไม่เท่าไหร่ แต่ว่าจะทำอย่างไรให้ปืนและกระสุนปืนถูกกว่านี้ เป็นเรื่องเร่งด่วนกว่ามากครับ

ปล กระสุนแพงโ-ตร  :~)  +1ให้ครับ


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: indojeen@รักในหลวง ที่ กันยายน 19, 2010, 10:35:07 PM
RIP   ::002::

++++๑   ::014::


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: TAE-tae ที่ กันยายน 19, 2010, 10:41:07 PM
ถ้านายทะเบียนปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด ปัญหาคงไม่เกิด เรื่องระยะเวลาก็มีพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เป็นแนวทางให้ปฏิบัติอยู่แล้ว หรือเรื่องดุลพินิจก็มี พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 บอกไว้ชัดเจนว่าคำสั่งทางปกครองต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

ผมว่าปัญหาอยู่ที่นายทะเบียนครับ ไม่ใช่กฏหมายหรอก ::013::


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กันยายน 19, 2010, 10:44:41 PM
                ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
                               ๔. ประชาชนต้องตระหนักถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย มีการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ถูกต้อง อย่าใช้เงินหรืออภิสิทธิ์เพื่อให้มีการดำเนินการตามกฎหมาย อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสม และนำไปสู่ปัญหาการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ  ส่วนเจ้าหน้าที่ฯ จนถึงนายทะเบียนอาวุธปืนฯ ก็ควรจะใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย อันเป็นไปตามหลักนิติรัฐ
             

ข้อ ๔ ที่ท่านจขกท.เสนอไว้ ..... ผมเห็นด้วย....ตรงที่ว่า......เป็นสิ่งที่ประชาชนทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพิงใครทั้งสิ้น 
.....  และหากคนส่วนมากไม่มักง่ายเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ...... จนท.ที่ฉ้อฉลก็จะเกรง ไม่กล้ากลั่นแกล้ง ทุจริต เรียกรับสินบน
ปัญหาจะลดน้อยลง หรือหมดไป

แต่น่าเศร้า ที่เรายังเห็นการชี้นำให้เห็นการให้ประโยชน์ การให้สินบน ในรูปการเรี่ยไร อ้างเป็นค่าใช้จ่าย
หรือถึงขั้นกำหนดเป็นอัตรา สำหรับปืนขนาดต่างๆ มาเล่าเป็นเรื่องปกติ ....... วุฒิภาวะของคนเหล่านี้ กับการครอบครองอาวุธ ยังน่ากังขา

แนวทางการแก้ไขของท่านจขกท. ที่ว่าไว้นั้น....

๑. ประชาชนเข้าชื่อ....ตามรัฐธรรมนูญทำไม่ได้
๒. นักการเมืองเข้าชื่อ.....ต้องเพื่อประโยชน์ของพรรค หรือคะแนนเสียง
๓. รัฐบาลทำเอง....กระทรวงมหาดไทยมีคณะทำงานแก้ไขพ.ร.บ.อาวุธปืนฯอยู่แล้ว .... ยกร่างรออยู่.... แต่คงไม่ใช่เพื่อผ่อนปรน มีแต่จะเขียนให้อำนาจตัวมากขึ้น

การใช้สิทธิเรียกร้องความถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมาย เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ต้องทำเอง ทำแทนไม่ได้
แต่หากมีคนต่อสู้เพิ่มมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้เอง ..... แนวทางนี้ สพป.ทำอยู่   ::014::



หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: วายุ - รักในหลวง ที่ กันยายน 19, 2010, 10:54:23 PM
ปัญหาอยู่ที่คน... ทั้งผู้มีอำนาจอนุมัติ (รับสินบน) และทั้งผู้ยื่นขออนุญาต (ให้สินบน) ....


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: Phoenixs ที่ กันยายน 19, 2010, 11:09:13 PM
เรื่องปืน ผมว่าเป็นเืรื่องพูดยากครับ สังคมเราบางเรื่องยังเป็นหัวเก่าอยู่นะครับ อย่างผมจะซื้อปืนนี้ พอแม่ผมทราบท่านถามผมว่าจะเอาไปยิงใครไม่ให้ซื้อ (แต่ผมก็แอบซื้อมาจนได้   ::005:: ) ผมว่าทางการก็ไม่อย่าให้เรามีปืนนะครับ คงกลัวว่าเราจะไปยิงใครมั้งครับ หรือ เราจะเอาไปทำเรื่องผิดกฎหมาย (แต่ทางการก็ไม่สามารถปกป้องชีวิตเราได้เมื่อเกิดเรื่อง หรือกว่าจะมาก็สายมากแล้ว) ส่วนเรื่องแก้กฎหมายการขอปืนนี้ผมว่าไม่เท่าไหร่ แต่ว่าจะทำอย่างไรให้ปืนและกระสุนปืนถูกกว่านี้ เป็นเรื่องเร่งด่วนกว่ามากครับ

ปล กระสุนแพงโ-ตร  :~)  +1ให้ครับ

ครับ เห็นด้วยครับว่าสังคมบ้านเราหัวเก่าอยู่
อย่างผมเนี่ยจะขอ ป.3 ต้องไปขอหนังสือรับรองจากหัวหน้าและจากฝ่ายบุคคลเพื่อประกอบการขอ ป.3
คำถามเหมือนกันเด๊ะเลยครับ "จะเอาไปยิงใคร" นี่คนจะมีปืน ต้องตั้งใจเอาไปยิงคนเท่านั้นรึครับ
ทีพ่อกับแม่ผม ท่านทราบว่าผมจะซื้อปืน ท่านไม่เห็นว่าซักคำ ไม่ห้ามด้วย(ไม่ถามด้วยว่าจะเอาไปยิงใคร) แถมวันที่ไปขอ ป.3 ท่านยังไปด้วยเลยครับ
นั่งคุยกับปลัดฯแทนผมอีก คุยไปคุยมา คุณแม่ท่านบอกปลัดว่า วันหลังมาขอบ้างดีกว่า (อ้าว) ::007:: ::007:: ::007::
.
.
.
เห็นด้วยครับ ว่าปัญหาอยู่ที่นายทะเบียน
โชคหน่อยที่ท้องที่ผม ขอเช้า บ่ายๆได้ (ถ้าไม่ได้ไปราชการที่ไหน)
โชคร้ายเรื่องเดียว ขอ .45 และ .357 ไม่ได้(ปลัดบอก)  แต่ว่าหากอยากได้จริง ให้ยื่นเรื่องไว้ ให้นายทะเบียน(นายอำเภอ)พิจารณา
แต่ยังไม่ได้ลงครับ ยังไม่ต้องการขนาดนั้น
รอให้ปืนดูดปืนก่อนครับ
 :~) :~) :~)
 ::005:: ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: อาฮุย ที่ กันยายน 19, 2010, 11:37:25 PM
ในฐานะที่ตั้งข้อสังเกตและเสนอแนะข้างต้น จึงขอใช้สิทธิกล่าวต่อเลยนะครับ  :)

ด้วยความเคารพต่อความเห็นท่านผู้การสุพินธ์ฯ ตามที่ท่านหนองหัวพรานอ้างมานั้น  ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องราว และบริบทประกอบความเห็นที่ท่านผู้การอ้างไว้ จึงขออนุญาตไม่พาดพิงถึงท่านผู้การฯ แต่ขออธิบายดังต่อไปนี้นะครับ

ประการแรก  แนวทางในการเสนอกฎหมายที่ตัวกระผมกล่าวถึงนั้น เป็นไปตามมาตรา ๑๔๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยครับ  ส่วนภายใต้บังคับของมาตรา ๑๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่กล่าวไว้ในหมวด ๓ และหมวด ๕ นั้น  มันอยู่ที่หลักการและเหตุผล  รวมถึงบันทึกประกอบร่างของร่างกฎหมายที่เราต้องการเสนอครับว่าเราจะเขียนหลักการและเหตุผลให้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิและหน้าที่อย่างไร  ยกตัวอย่างว่า ถ้าผมได้มีโอกาสเป็นผู้ร่างกฎหมายที่พวกเรารวมชื่อกัน ๑๐,๐๐๐ ชื่อ ขอเสนอร่างกฎหมาย จะตั้งชื่อว่า "พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่..) พ.ศ. ...." โดยมีหลักการ เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอเนื่องจากมีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการมีและใช้อาวุธปืนของประชาชนว่าเป็นอย่างไร รวมถึงอ้างความเสมอภาคที่ไม่เท่าเทียมกันว่าเป็นอย่างไร (ชักแม่น้ำทั้งห้ามาอ้างให้หมดก่อน)
จากนั้นก็เข้าหลักการซึ่งรายละเอียดยังไม่ได้คิดนะครับ แต่โครงคร่าวๆ นั้นกระผมจะอ้างมาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ รวมถึง มาตรา ๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ซึ่งอยู่ในหมวด ๓ และหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญฯ) เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ถึงที่มาของร่างกฎหมายนี้ กับ การเสนอชื่อของประชาชนครับ

ประการที่สอง ความเห็นที่ผมได้กล่าวไปนั้นเป็นเพียงวิธีการทางกฎหมาย ซึ่งหากวิธีการโดยประชาชนนั้นทำไม่ได้ หรือเรามองว่ายาก ก็คงต้องสะท้อนทาง ส.ส. หรือไม่ก็ ภาวนาให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องคิดแก้ไขก็ได้ครับ  แต่ด้วยความบริสุทธิ์ใจนะครับ ผมยังมองว่าแนวทางโดยประชาชนยังไม่ปิดตายครับ....

 :) :) :)



หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: Enruoblem ที่ กันยายน 20, 2010, 01:02:12 AM
1ชม.กับเจ้าหน้าที่วังไชยาทำเอาเปลี่ยนไปเป็นคนละคนกับ1เดือนก่อนหน้านี้เลย ;D ;D


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กันยายน 20, 2010, 08:34:40 AM
ด้วยความเคารพ.....เรียนท่านจขกท. acenniti cmu

ผมเห็นว่าพ.ร.บ. อาวุธปืนฯนั้นโดยภาพรวมดีอยู่แล้ว ทั้งให้สิทธิประชาชนและให้อำนาจฝ่ายปกครองไว้ .... ผมว่าสมดุล
แต่ฝ่ายปกครองเองกลับตีความขยายอำนาจของตัวเองออกไป
ออกระเบียบ/หนังสือซึ่งเป็นเพียงแนวทางกำกับภายใน แล้วมาอ้างใช้เป็นกฎ ... เจอคนรู้คนสู้จึงแพ้ความ

อีกทั้ง จนท.และนายทะเบียนฯบางที่ใช้ ลูกยื้อ+ลูกยุ่ง+ลูกดอง เลือกปฏิบัติ
ทั้งๆที่มีวิ.ปกครองฯ และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารฯ กำกับอยู่

มท.เองนั้นอยากแก้ไขพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ อยู่แล้ว ..... กระทั่งเคยออกแผน5ปีเตรียมยึดปืนตั้งแต่ครั้งรัฐบาลคุณทักษิณ
ทุกวันนี้ก็เตรียมร่างเพิ่มอำนาจตัวอยู่    ลองเปิดช่องก็อาจเข้าทาง ....

ผมไม่อยากเป็นพวกติเรือทั้งโกลน .... หากท่านจขกท.เห็นว่ามาตราใดของพ.ร.บ.อาวุธปืน ควรแก้ไข
ก็อยากให้ยกขึ้นมารายมาตรา ว่าจะแก้ข้อใด ให้เป็นอย่างไร
หรือหากจะยกใหม่ทั้งหมด ก็ย่อมได้

หากมีผู้เห็นชอบ.....ก็จะได้เข้าชื่อลงเสียงสนับสนุนกัน
ส่วนการเสนอตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ .... ท่านว่ามีช่องทาง...ก็ค่อยไปว่ากันข้างหน้าอีกที  ::014::




หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: อาฮุย ที่ กันยายน 20, 2010, 10:10:49 AM
1ชม.กับเจ้าหน้าที่วังไชยาทำเอาเปลี่ยนไปเป็นคนละคนกับ1เดือนก่อนหน้านี้เลย ;D ;D


....ถูกต้องแล้วครับ  ;D ;D   ผมเลยไม่อยากให้คนอื่นที่ไม่รู้ต้องเป็นอย่างผมครับ...แล้วก็ต้องเสียเวลา+อารมณ์ ในการใช้สิทธิตามกฎหมายน่ะครับ....


ด้วยความเคารพ.....เรียนท่านจขกท. acenniti cmu

ผมเห็นว่าพ.ร.บ. อาวุธปืนฯนั้นโดยภาพรวมดีอยู่แล้ว ทั้งให้สิทธิประชาชนและให้อำนาจฝ่ายปกครองไว้ .... ผมว่าสมดุล
แต่ฝ่ายปกครองเองกลับตีความขยายอำนาจของตัวเองออกไป
ออกระเบียบ/หนังสือซึ่งเป็นเพียงแนวทางกำกับภายใน แล้วมาอ้างใช้เป็นกฎ ... เจอคนรู้คนสู้จึงแพ้ความ

อีกทั้ง จนท.และนายทะเบียนฯบางที่ใช้ ลูกยื้อ+ลูกยุ่ง+ลูกดอง เลือกปฏิบัติ
ทั้งๆที่มีวิ.ปกครองฯ และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารฯ กำกับอยู่

มท.เองนั้นอยากแก้ไขพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ อยู่แล้ว ..... กระทั่งเคยออกแผน5ปีเตรียมยึดปืนตั้งแต่ครั้งรัฐบาลคุณทักษิณ
ทุกวันนี้ก็เตรียมร่างเพิ่มอำนาจตัวอยู่    ลองเปิดช่องก็อาจเข้าทาง ....

ผมไม่อยากเป็นพวกติเรือทั้งโกลน .... หากท่านจขกท.เห็นว่ามาตราใดของพ.ร.บ.อาวุธปืน ควรแก้ไข
ก็อยากให้ยกขึ้นมารายมาตรา ว่าจะแก้ข้อใด ให้เป็นอย่างไร
หรือหากจะยกใหม่ทั้งหมด ก็ย่อมได้

หากมีผู้เห็นชอบ.....ก็จะได้เข้าชื่อลงเสียงสนับสนุนกัน
ส่วนการเสนอตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ .... ท่านว่ามีช่องทาง...ก็ค่อยไปว่ากันข้างหน้าอีกที  ::014::

เรียน คุณธำรง

ขอบคุณสำหรับข้อสังเกตนะครับ ::014::

ผมเห็นด้วยว่าภาพรวมของ พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดีอยู่แล้วครับ

แต่ที่ยังมีข้อสังเกตเนื่องจากหลักเกณฑ์การใช้สิทธิของประชาชนยังมีปัญหาอยู่ และหลักเกณฑ์เหล่านี้ก็ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งยังมีการอ้างคำสั่งและระเบียบปฏิบัติจากหลายๆ ที่ จนบางครั้งเกิดเป็นความสับสนกับคนทั่วไป...
ยกตัวอย่างง่ายๆ (ที่เกิดกับผมเองซึ่งขนาดว่าพอรู้กฎหมายกับเค้าอยู่บ้าง :-[) จะไปขอใบอนุญาตมีและใช้อาวุธปืน อ่านกฎหมายก็แล้วตีความเองก็แล้ว ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเลยครับ พออ่านในเวปงงไปใหญ่ จนต้องปรึกษากับเพื่อนที่มีประสบการณ์ก่อน จึงได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรถึงได้มีความกล้าไปขอ ป.3 ใบแรกในชีวิตน่ะครับ ยิ่งเพื่อนผมเล่าให้ฟังถึงความช่วยเหลือของ ส.พ.ป. ต่อเพื่อนสมาชิกผมก็ทึ่งและขอชมเชย แต่ก็แอบคิดว่าถ้าอย่างเป็นผมหรือคนอื่นที่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้ และไม่ได้รู้จักกับ ส.พ.ป. ล่ะ เขาจะทำอย่างไร???
ดังนั้น ผมจึงเห็นว่ากฎหมายควรมีลักษณะที่ชัดเจน เช่นกำหนดไปเลยว่า
1. ใคร+ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จึงมีสิทธิขออนุญาต
2. อาวุธใดบ้างที่สามารถออกใบอนุญาตให้กับประชาชนได้
3. .....(ตามข้อสังเกตและความคิดเห็นอื่นๆ ที่ท่านผู้มีประสบการณ์ต่างๆ ประสบมา)
4.              ฯลฯ.
พูดง่ายๆ คือ กฎหมายต้องมีความชัดเจนที่สุด เพื่อลดการใช้ดุลยพินิจให้มีการใช้ดุลยพินิจน้อยที่สุด หรือให้มีได้เท่าที่จำเป็น
ไม่ต้องกลัวว่าหากมีการทำให้ชัดเจนแล้วจะทำให้ประชาชนใช้สิทธิยากขึ้น เพราะกระบวนการในการออกกฎหมายนั้นมีขั้นตอนและการตรวจสอบในตัวเอง เช่น ต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาค  การได้สัดส่วน  ต้องกระทบกระเทือนสิทธิของประชาชนน้อยที่สุด เป็นต้น

ส่วนกรณีที่คุณธำรงกล่าวว่าทางกระทรวงมหาดไทยมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขกฎหมายอยู่นั้น คงเป็นเรื่องการแก้ไขจากทางหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ซึ่งอาจมีการเพิ่มอำนาจดุลยพินิจของหน่วยงาน...และก็อาจกระทบสิทธิของเรา (อันนี้น่าเป็นห่วงจริงๆ ครับ) ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ::014:: ::014:: ::014::

(ส่วนต่อจากนี้อาจไม่ถูกต้องนักต้องใช้วิจารณญานเยอะหน่อย) ผมเห็นว่าหากหน่วยงาน (มท) จะมีการแก้กฎหมายนั้น โดยปกติก็ต้องมีการยกร่างกฎหมายมาจากหน่วยงาน ซึ่งต้องมีการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายก่อน ตามที่มติคณะรัฐมนตรี(มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗) กำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายก่อน ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นจากทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับความคิดเห็นจากภาคประชาชน ก็อยู่ในส่วนนี้ ซึ่งหากหน่วยงานต้องการเสนอกฎหมายก็ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นเพื่อรับฟังปัญหาและข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านก่อนเสนอกฎหมาย (ตรงนี้เองที่เป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถเสนอข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อกฎหมายนั้นๆ ได้) ซึ่งประชาชนสามารถใช้สิทธิในส่วนนี้ได้....แต่ก็อีกนั่นแหละครับว่าในทางปฏิบัติหน่วยงานมักจัดให้มีการรับฟังอย่างเร่งรีบ ใช้วีธีการที่สะดวกสำหรับหน่วยงานแต่ไม่สะดวกสำหรับประชาชน รวมถึงประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูลอย่างแท้จริง จึงไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในส่วนนี้ (ดังนั้นการกระจายข่าวเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นต้องเผยแพร่และบอกต่อๆ กันให้ภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องไปร่วมกันเยอะๆ ครับ)
แต่หากยังไม่สำเร็จในส่วนนี้ ก็คงต้องฝากความหวังไว้กับฝ่ายที่ตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) ซึ่งหลายๆ ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เชื่อถือได้ว่าจะมีการกลั่นกรองกฎหมายให้มีความเหมาะสม   และท้ายที่สุดของความหวังก็คือ ส.ส. ผู้แทนของท่านๆ ทั้งหลายนี่แหละว่าจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชนได้มากน้อยเพียงใดในการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติผู้ออกกฎหมาย

คงได้แต่หวังว่ากฎหมายในอุดมคติที่จะต้องมีความชัดเจน กระทบกับสิทธิของประชาชนน้อยที่สุด และจำกัดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ให้มีเท่าที่มีความจำเป็น จะมิได้เป็นเพียงความฝันเท่านั้นครับ

....ผมชอบดูโฆษณาที่บอกว่าตีกอล์ฟต้องคิดว่าจะตีให้ถึงดวงจันทร์  เพราะหากไปไม่ถึงดวงจันทร์ก็ยังได้อยู่ท่ามกลางหมู่ดาวครับ...ฟังแล้วมันสร้างกำลังใจดีครับ ;D ;D ;D
 
 


หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กันยายน 20, 2010, 10:40:27 AM
เรียนท่านอาฮุย .... ท่านเปลี่ยนนามเรียกขาน  .... ผมนึกถึงและนิยมตัวละครอาฮุยในเรื่องฤทธิมีดสั้น  ::002::

กรณีประชาพิจารณ์......ผมขอเรียนเป็นข้อมูลว่า.....

กรมการปกครองได้เคยจัดให้มีการประชุมสัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้อยู่ใต้บังคับกฎหมายตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ที่โรงแรมบางกอกพาเลส เมื่อวันนี้ 8 พ.ค. 2551 เพื่อนำความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพ.ร.บ.ที่กรมการปกครองได้มีการยกร่างไว้....

มีการจัดแบ่งกลุ่มสัมมนาเป็น 4 กลุ่ม คือ
1/ผู้เกี่ยวข้องของมหาดไทย
2/ขรก.หน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3/ผู้ประกอบการค้าอาวุธปืน
4/ประชาชน

ประเด็นเนื้อหา มี 9 ประเด็น เกี่ยวเนื่องด้วย....

1. ตัวพ.ร.บฯ ได้แก่

1.1/  การแก้ไขปัญหา BB Gun และสิ่งเทียมอาวุธปืน
1.2/  สนามยิงปืน
1.3/ อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และเจ้าหน้าที่
1.4/ การควบคุมการซ่อม เปลี่ยนแปลง แก้ไข อาวุธปืน
1.5/ ยกเว้นการบังคับเรื่อง “ภูมิลำเนา 6 เดือน” ตามมาตรา 13 ให้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
1.6/ อำนาจในการออกใบอนุญาต ป.12
1.7/ ดอกไม้เพลิง
1.8/ อำนาจนายทะเบียนในการเปรียบเทียบปรับ
1.9/ เกี่ยวกับบุคคลต้องโทษตามมาตรา 13

2. ข้อกำหนดในกฎกระทรวง

2.1/ ซองกระสุนเกิน 10 นัด
2.2/ ปืนขนาด 11 มม.


จากวันนั้นถึงวันนี้......
ข้อ 2.2 ที่จะให้ .45 เฉพาะจนท.คงตกไปแล้ว เพราะเป็นการเลือกปฏิบัติ ขัดรัฐธรรมนูญ
ข้อ 2.1 ได้มีการแก้ไขกฎกระทรวงเรื่องซองกระสุนให้บรรจุได้ถึง 20 นัดแล้ว

ส่วนตามข้อ 1 ก็มีร่างแก้ไขออกมา...... รอผ่านครม./กฤษฎีกา/สภาฯ ต่อไป
ท่านใดพอล็อบบี้มท.๑ หรือมีเสียงสส.ในสภา ก็ลองไปขอร่างที่กระทรวงมหาดไทยมาดูครับ



หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: อาฮุย ที่ กันยายน 20, 2010, 11:24:23 AM
เรียน คุณธำรง

ผมก็เป็นแฟนนิยายทั้งของโกวเล้งเหมือนกันครับ... ;D ;D ;D


ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ::014:: ::014:: ::014::

ผมคงต้องติดตามเรื่องร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ บ้างแล้ว....(ซึ่งเข้าใจว่ายังอยู่ที่หน่วยงาน มท)  เสียดายที่ ตอน ปี ๒๕๕๑ ไม่ได้ไปร่วมรับฟังความคิดเห็นครับ

ข้อมูลเป็นไปตามที่คุณธำรงกล่าวไว้.... ::002:: ::002:: ::002::

ผมขออนุญาตเพิ่มเติมในบางส่วนก็แล้วกันครับ....
เรื่อง BB Gun (ซึ่งหลายท่านอาจรู้แล้ว)  แต่บางท่านอาจยังไม่รู้...
บันทึก เรื่อง BB Gun เป็นอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 หรือไม่ � คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) � เรื่องเสร็จที่ 846/2551
มาตรา 4 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490  
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ได้กำหนดบทนิยามคำว่า �อาวุธปืน หมายความรวมถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืน� และบทนิยามคำว่า �เครื่องกระสุนปืน หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก�  แต่วัตถุที่ BB Gun ใช้ส่งด้วยกำลังแรงดันของแก๊สเป็นสิ่งที่ทำมาจากพลาสติกหรือเซรามิคสังเคราะห์ ซึ่งมิใช่เครื่องกระสุนปืน อีกทั้งโครงสร้าง BB Gun ไม่มีความแข็งแรงทนทานเพียงพอที่จะใช้เป็นอาวุธส่งเครื่องกระสุนปืนได้  BB Gun จึงไม่เป็นอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ

ทิ้งท้ายกับคำคม
 "ข้าพเจ้าร่ำสุรา มิใช่เพราะข้าพเจ้าชอบรสสุรา แต่ข้าพเจ้าชอบบรรยากาศแห่งการร่ำสุรา"
......"ปิศาจสุรา" โกวเล้ง...



หัวข้อ: Re: ดุลพินิจของนายทะเบียนฯ กับ การขอใบอนุญาตเพื่อมีอาวุธปืน (ใบ ป. ๓)
เริ่มหัวข้อโดย: edit1597 ที่ กันยายน 23, 2010, 10:16:20 PM
ถ้าพี่จะรวมรายชื่อเพื่อแก้กฎหมาย บอกผมด้วยผมขอร่วมด้วยครับ