เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: poth ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:21:45 PM



หัวข้อ: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: poth ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:21:45 PM
Poth Sueysuwan
วันนี้วันวีรไทย นะครับ เป็นวันที่เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นบุกยกพลขึ้นบกในไทยหลายจุด ที่อ่าวมะนาว ประจวบ ที่ท่าเรือ นครศณีธรรมราช ที่ ปะนาเระ ปัตตานี
สูรบกันดูเดือด ตายกันเพียบ ทั้งสองฝ่าย ในที่สุด รัฐบาล ยอมให้ญี่ปุ่นเคลื่อนพลผ่านไปรบกับอังกฤษในพม่า..ต้องมาระลึกถึงวีรชนคนกล้ากันหน่อยนะครับ


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:29:10 PM
ที่นครฯ เหลื่อทหารรุ่นเดียวกับจ่าดำ คนสุดท้ายคนเดียวแล้วครับ 

มาทำพิธีในค่าย ถ่ายทอดออกช่อง 11 หง่อมมาเชียว


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: soveat ชุมไพร ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:30:34 PM
ไม่มีเขาไม่มีเราในวันนี้ครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:32:58 PM
เครดิตจาก http://guru.google.co.th (http://guru.google.co.th)



ปี พ.ศ.2482 เกิดวิกฤตการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรป โดยมีเยอรมนี และอิตาลี ซึ่งเรียกว่าฝ่ายอักษะฝ่ายหนึ่ง กับสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสอีกฝ่ายหนึ่ง
สงครามได้ขยายตัวกว้างขวาง ครั้นถึง ปี พ.ศ.2484  ญี่ปุ่นเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ สงครามลุกลามเข้าสู่ทวีปเอเชีย โดยญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกพร้อมกันในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มลายู และประเทศไทย เมื่อเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกา

ในประเทศไทย ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกพร้อมกันที่สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช และปราจีนบุรี โดยที่ฝ่ายไทยไม่เคยคาดคิด

จังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นที่ตั้งกองกำลังสำคัญของภาคใต้ คือมณฑลทหารบกที่ 6 ในเวลานั้นมีพลตรีหลวงเสนาณรงค์เป็นผู้บัญชาการมณฑล
เช้าวันเกิดเหตุ ได้รับแจ้งข่าวจากนายไปรษณีย์นครศรีธรรมราชว่า ญี่ปุ่นได้ส่งเรือรบประมาณ 15 ลำ มาลอยลำในอ่าวสงขลา และยกพลขึ้นบกทีเมืองสงขลา

พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึงสั่งการรับศึกและสั่งให้เตรียมกำลังเคลื่อนย้ายไปสนับสนุนกองทัพสงขลาโดยด่วน

ขณะเตรียมการอยู่นั้น ได้รับแจ้งจากพลทหารว่า ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่บ้านท่าแพ ตำบลปากพูน ผู้บัญชาการมณฑลจึงสั่งการให้ทุกคนทำการต่อสู่เต็มกำลัง โดยความมุ่งหมายที่จะมิให้กองทหารญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารได้เป็นอันขาด การสู้รบระหว่างทหารไทย ยุวชนทหาร กับทหารญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะประจัญหน้า พื้นที่บริเวณสู้รบอยู่ในแนวเขตทหารด้านเหนือ กับบริเวณตลาดท่าแพ มีถนนราชดำเนินผ่านพื้นที่ในแนว เหนือ-ใต้ การรบทำได้ไม่สะดวกนัก เพราะ ตลอดเวลาตั้งแต่ 07.00-10.00 น. มีฝนตกลงมาอย่างหนักการเตรียมรับมือข้าศึกภายหลังที่ได้รับโทรเลขฉบับนั้น
ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 จึงสั่งการให้เป่าแตรเดี่ยว ณ กองรักษาการณ์ประจำกองบัญชาการ เป็นสัญญาณเหตุสำคัญ และเรียกหัวหน้าหน่วยที่ขึ้นตรงมาประชุมที่กองบัญชาการมณฑลเพื่อเตรียมรับมือข้าศึก ซึ่ง ผบ.มณฑล คาดว่าคงจะบุกขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ในขณะที่ฝนตกลงมาอย่างหนัก

ขณะที่ ผบ.มลฑล ได้สั่งการและมอบหมายหน้าที่รับข้าศึกอย่างรีบเร่งอยู่นั้น ก็ได้รับแจ้งข่าวจาก "พลฯ จ้อน ใจชื่อ และ พลฯ เติม ลูกเสือ สังกัดหน่วย ป.พัน 15 " ซึ่งเป็นเวรตรวจเหตุการณ์ที่บ้านท่าแพ (ใกล้ค่ายวชิราวุธ) ว่า

ได้พบกองทหารญี่ปุ่นกำลังยกขึ้นจากเรือรบไม่ทราบจำนวนพลทหาร และลำเลียงกำลังด้วยเรือท้องแบนมาตามคลองปากพูน จะขึ้นที่ท่าแพ
ในขณะที่พลทหารทั้งสองพยายามจะกลับมารายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ก็ถูกทหารญี่ปุ่นควบคุมตัว แต่ พลฯ จ้อน ใจซื่อ พยายามหลบหนี มารายงานผู้บังคับบัญชาได้ในเวลา 07.00 น.
และในเวลาเดียวกัน ส.ท.ประศาสน์ ลิทธิ์วิลัย ก็วิ่งกระหืดกระหอบมาแจ้งขาวนี้แก่ผู้บังคับการมณฑลด้วย

ผบ.มณฑล สั่งการให้เปิดคลังแสงและจ่ายอาวุธปืนเล็ก ปืนกล และปืนประสุนให้แก่ทุกคนที่ยังไม่มีอาวุธประจำกาย
ประกาศให้ทุกคนทำการสู้อย่างเต็มสติกำลัง โดยความมุ่งหมายที่จะมิให้กองทหารญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารได้เป็นอันขาด
ผู้ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาแน่นอน ก็ให้เข้าสมทบกับหน่วยใดหน่วยหนึ่งซึ่งประจำอยู่ตามแนวต่างๆ ในหน่วย ร.17
พอคำสั่งด้วยวาจาประกาศขาดคำลง ผู้รับคำสั่งทุกคนทุกหมู่ทุกเหล่า ได้รีบลงมือปฏิบัติตามโดยทันที โดยมิได้มีการสะทกสะท้านหวาดกลัว หรือแสดงอาการตื่นเต้นลังเลแม้แต่น้อย
ทหารทุกหน่วยในมณฑลที่6 ได้เข้าประจำการในลักษณะและหน้าที่ ดังนี้

1. หน่วย ป.พัน 15 ทำหน้าที่ดังนี้
- เติมน้ำมันแก่รถยนต์ทุกคันและสำรองไว้อีกคันละ 2 ปีบ ที่เหลือให้กองพลาธิการนำไปซุกซ่อนตามภูมิประเทศหลังโรงที่อยู่ของหมวด สภ.
- พลาธิการเตรียมสัมภาระพร้อม เสบียงอาหาร เพื่อขนย้ายได้ทันท่วงที
-ส่งทหารเข้ายึดแนวรั้วไร่กสิกรรม ของ ป.พัน 15 ร้อย 2 ด้านใต้ เพื่อยิงต้านทานและเมื่อมีกำลังมาเสริมก็ได้ต่อแนวไปทางทิศตะวันตก สักครู่ปรากฏว่ามีกระสุนของฝ่ายญี่ปุ่นยิงมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงอาหาร ผบ.ร้อย 1 จึงนำปืนใหญ่ 2 กระบอกไปตั้งยิงสวนไป
- กองร้อย 1 ใช้ปืน ปบค.105 จำนวน 4 กระบอก ปืน ป.63 จำนวน 2 กระบอก จากโรงเก็บ ออกมาตั้งยิงบริเวณหน้าและข้างโรงเก็บ ส่วนทหารในกองรักษาการณ์ภายในใช้ปืนเล็กทำการต่อสู้
- กองร้อย 2 ลากปืนใหญ่ ป.105 จำนวน 1 กระบอก ซึ่งนำคืนมาจากร้านงานฉลองรัฐธรรมนูญ ณ สนามหน้าเมือง ในตอนเช้าตรู่ มาตั้งยิงใกล้คลังกระสุน
แต่เนื่องจากกองร้อยนี้ต้องไปรักษาการณ์ภายนอก จึงมีทหารอยู่น้อยไม่พอที่จะทำหน้าที่พลประจำปืน ประกอบกับที่อยู่ของกองร้อยนี้อยู่ใกล้ไปทางท่าแพมาก เมื่อฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มเคลื่อนที่และยิงมา ทำให้หมดความสามารถที่ทหารจะเข้าไปลากเอาปืนใหญ่มาตั้งยิงเสียแล้ว จึงต้องใช้ปืนเล็กยิงต่อสู้

2. หน่วย ร.พัน39 ทำหน้าที่ดังนี้
- ร้อย 1 และหมวด ส. เป็นกองรบซึ่งยกไปต้านทานทหารญี่ปุ่นที่ตลาดท่าแพ โดยวางแนวรบเป็น 2 แนว แนวแรกคือ แนวบ้านพักนายทหาร ป.พัน 15 กับโรงที่อยู่ของทหาร ป.พัน15 ส่วนแนวที่ 2 คือ แนวตลาดท่าแพ
- รอง ผบ.ร.พัน 39 นำกำลังบางส่วนคือ ทหารของ ร.17 ที่ฝากฝึกในหมวด สภ. นายสิบกองหนุนที่เข้ารับการอบรมกับ ปก.หนัก 1 หมวด ที่เหลือไปยึดภูมิประเทศทางทิศตะวันออกของที่ตั้ง ร.พัน 39 เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายญี่ปุ่นเข้ายึดโรงทหารจากทิศตะวันออกได้
- เข้าเสริมแนวรบโดยต่อแนวไปทางปีกขวาบ้าง ปีกซ้ายบ้าง ยึดภูมิประเทศข้างหลัง แนวรบเพื่อทำหน้าที่เป็นกองหนุนบ้าง และเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นได้กำลังส่วนหนึ่งเข้าโอบทางปีกขวา หน่วยนี้ก็ได้ส่งกำลังเข้าปะทะต้านทานไว้
3. หน่วย พ.มณฑล ๖ ทำหน้าที่ดังนี้
ผู้รับมอบหมายนำทหารขึ้นรถยนต์มายังหน้าที่ตั้งกองรักษาการณ์ของ ป.พัน 15 แล้วขยายแถวเข้ายึดแนวไร่กสิกรรมของ ป.พัน 15 ร้อย 2 โดยสมทบกับทหาร ป.พัน 15 และกองรักษาการณ์ภายนอกประจำ จว.ทบ.นศ. บ้าง และเข้าต่อแนวไปทางปีกขวาบ้าง
ทหารหน่วยนี้แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เข้าประจำแนวยิงแรก อีกส่วนหนึ่งคงมียึดภูมิประเทศในแนวที่ 2 ซึ่งห่างจากแนวแรกประมาณ 100 เมตร
แต่ยังมิได้ทำการยิง ก็ได้เวลาสงบศึกเสียก่อน
4. หน่วย ส.พัน ๖ ทำหน้าที่ดังนี้
จัดทหารถือปืนเล็กยึดภูมิประเทศบริเวณโรงที่อยู่ของทหาร ใน พ.มณฑล และโรงที่อยู่ของทหารใน ส.พัน 6 เพื่อไว้เป็นกำลังหนุนในโอกาสต่อไป
แต่ยังมิได้ทำการยิง ก็พอดีการรบยุติลง
5. หน่วย สร.มณฑล ๖ ทำหน้าที่ดังนี้
จัดเปลออกไปรับคนเจ็บ ขนเวชภัณฑ์และสัมภาระมีค่า ออกมาจากแนวยิง นอกจากนี้ยังมียุวชนทหารจากหน่วยฝึกยุวชนที่ 55 จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนประมาณ 30 คน มีปืนเล็กประจำกายมาสมทบ เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. และได้รับคำสั่งให้ยึดภูมิประเทศในแนวเดียวกับหน่วย ส.พัน 6
แต่ยังมิได้ทำการยิงก็พอดีการรบยุติลง

เวลาประมาณ 11.00 น. เศษ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ได้รับสำเนาโทรเลขคำสั่งให้ยุติการรบ
การต่อสู้ระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่นจึงสงบลง
ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 สั่งให้นำกำลัง ยุวชนทหารกลับ และติดต่อให้ญี่ปุ่นส่งผู้แทนมาเจรจา เพื่อตกลงกันในรายละเอียด

ผลการเจรจายุติการรบ โดยสรุป มีดังนี้

1. ญี่ปุ่นขอให้ถอนทหารไทยจากที่ตั้งปกติไปให้พ้นแนวคลองสะพานราเมศวร์ ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 3 ชั่วโมง เพราะญี่ปุ่นต้องการใช้สนามบินโดยด่วน
2. ฝ่ายไทยยินยอมให้หน่วยทหารญี่ปุ่น เข้าพักอาศัยในโรงทหารของไทยได้ทั้งหมด โดยฝ่ายไทยพร้อมทั้งครอบครัวนายทหารและนายสิบจะย้ายไปพักในบริเวณตัวเมืองนครศรีธรรมราช โดยอาศัยตาม โรงเรียน วัด และบ้านพักข้าราชการเป็นต้น
3. ฝ่ายไทยขอขนอาวุธและสัมภาระติดตัวไปด้วย ยกเว้นอาวุธหนัก กระสุน และวัตถุระเบิด และน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วน ตลอดจนเครื่องบิน แต่ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ยินยอม
4. ฝ่ายญี่ปุ่นแสดงความเสียใจที่ได้มีการสู้รบกัน มีความรู้สึกเห็นใจ และยกย่องชมเชยวีรกรรมของทหารไทย

การสู้รบในเช้าวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 นั้น
ฝ่ายไทยสูญเสียชีวิต 38 คน เป็นนายทหารสัญญาบัตร 3 คน นายทหาร 3 คน พลทหาร 32 คน
ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ทราบจำนวน
ภายหลังเสร็จสิ้นสงครามมหาเชียบูรพา ประชาชนและข้าราชการได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ วีรไทย(พ่อจ่าดำ) เป็นรูปทหารถือดาบปลายปืนในท่าออกศึก ซึ่งออกแบบปั้นโดยนายสนั่น ศิลากรณ์ ข้าราชการกรมศิลปากรในสมัยนั้น และได้ประดิษฐานในค่าย วชิราวุธเมื่อ พ.ศ.2492


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:38:10 PM
ที่ยกมาเมื่อกี้ นี่เฉพาะที่นครศรีธรรมราชเท่านั้นนะครับ

และเป็นที่มาของอนุสาวรีย์วีรไทย"จ่าดำ" ให้พวกผมได้กราบไหว้มาตั้งแต่ไปเที่ยววันเด็ก....เป็นทหารเกณฑ์ ....

ถึงปลดประจำการแล้ว ก็ยังทำความเคารพทุกครั้งที่ขับรถผ่าน


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:52:54 PM
Poth Sueysuwan
วันนี้วันวีรไทย นะครับ เป็นวันที่เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นบุกยกพลขึ้นบกในไทยหลายจุด ที่อ่าวมะนาว ประจวบ ที่ท่าเรือ นครศณีธรรมราช ที่ ปะนาเระ ปัตตานี
สูรบกันดูเดือด ตายกันเพียบ ทั้งสองฝ่าย ในที่สุด รัฐบาล ยอมให้ญี่ปุ่นเคลื่อนพลผ่านไปรบกับอังกฤษในพม่า..ต้องมาระลึกถึงวีรชนคนกล้ากันหน่อยนะครับ

ปัจจุบันวีรชนคนกล้ายังมีอยู่ในทุกพื้นที่ของแผ่นดิน จะหนักตอนนี้ คงเป็น 3 จชต. ขอให้ปลอดภัย เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ  ::014::

ขอบพระคุณครับ พี่Poth   ::014::


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ ธันวาคม 08, 2010, 04:55:31 PM
 จำอนุสาวรีย์จ่าดำได้ตั้งแต่เด็กครับ อยู่ถัดจากเทคนิคไปไม่ไกล

เพราะวีระชนคนกล้าเราจึงได้มีแผ่นดินนี้สืบมา


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: SA-KE ที่ ธันวาคม 08, 2010, 05:08:39 PM
ทหารหาญบ้านเราหรือไม่เว็นแม้แต่ข้าราชการและประชาชนอื่นๆ ถ้าดูประวัติแล้วมีคนกล้ามากมายอยู่ในทุกสมรภูมิ  
ที่สำคัญปัจจุบันนี้ท่านใดเมื่อเป็นวีรชนแล้ว การจะถูกหยิบยกขึ้นมาเช่นอดีตให้เป็นที่ยกย่องเชิดชู ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด
เพราะ มักมีกระแสอื่นเข้ามาบดบัง จนจางหายและกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสีย  ไม่เหมือนเช่นในอดีต

ชั้นประถมต้น-ปลาย  ผมเรียนที่โรงเรียนกองทัพบกอุปภัมถ์โยธินบำรุง ที่ "อนุสาวรีย์พ่อจ่าดำ" ตั้งอยู่ด้านหน้ากลางถนน
ทุกวันที่ 8 ธันวาคม จะมีพิธีฯ ทุกปี และชอบที่สุดคือ ช่วงเช้าไม่ต้องเรียนด้วย   แต่เดี่ยวนี้ไม่รู้ว่าแถวนั่น เปลี่ยนไปมากแค่ไหน?
เพราะไม่ได้ผ่านไปแถวนั่นนานมากแล้ว

ข้าราชการหรือประชาชน ส่วนใหญ่ที่อยู่ในค่ายฯ จะให้ความเคารพและนับถือท่านมาก ..ชอบที่สุดทุกครั้งที่แม่นำของไปแก้บน..  :D


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 08, 2010, 05:35:41 PM
ร่วมรำลึกถึงวีรชนครับ   ::014::


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ ธันวาคม 08, 2010, 10:43:54 PM

                      เพิ่งทราบ   .......   ขอบคุณครับนายหัว



หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ ธันวาคม 09, 2010, 07:17:17 AM
ร่วมรำลึกถึงวีรชนครับ


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Sig228-kolok ที่ ธันวาคม 09, 2010, 10:13:29 AM
ขอบคุณครับพี่โพธ ..  ร่วมรำลึกถึงวีรชนครับ   ::014::


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: neunang-นิ้วนาง ที่ ธันวาคม 09, 2010, 11:03:18 AM
ขอร่วมสดุดีวีรชนคนกล้า ด้วยคนครับ


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 09, 2010, 11:16:01 AM
(http://www.bloggang.com/data/n/nakhonsi/picture/1288778986.jpg)

(http://www.bloggang.com/data/n/nakhonsi/picture/1288779015.jpg)

(http://www.bloggang.com/data/n/nakhonsi/picture/1288778797.jpg)


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 09, 2010, 11:20:30 AM
ฝั่งหนึ่ง เป็นโรงเรียนโยธินบำรุง  อีกฝั่ง เป็นสนามยิงปืนค่ายวชิราวุธ

อนุสาวรีย์ ประดิษฐานอยู่กลางถนนเลย อยู่ในเขตทหาร ของค่ายวชิราวุธ นครศรีฯ


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 09, 2010, 11:21:58 AM
(http://www.bloggang.com/data/n/nakhonsi/picture/1288778753.jpg)


หัวข้อ: Re: วันวีรไทย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 09, 2010, 11:27:10 AM
ครูลำยอง วิศุภกาญจน์

(http://2.bp.blogspot.com/_I7VHd62gHKk/TPj2bQOoPWI/AAAAAAAAAA4/oW5g-5AzA1s/s1600/aa3f16498b439a4db007fd68ee1a325a.jpg)


ครูลำยอง วิศุภกาญจน์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นบุตรของนายแดง นางย้อย วิศุภกาญจน์ ภูมิลำเนา เดิมเป็นชาวจังหวัดภูเก็ต


 การศึกษา

ครูลำยองเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนปลูกปัญญา และเริ่มเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต จนจบชั้นมัธยม
ปีที่ 8 ต่อจากนั้นได้เข้ากรุงเทพฯ ศึกษาต่อวิชาครูประกาศนียบัตรครูประโยคประถม(ป.ป.) และได้เริ่มรับราชการครั้งแรกที่
จังหวัดกระบี่ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนสุราษฎร์ธานี


เหตุการณ์ประวัติศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพเรือญี่ปุ่นได้มุ่งตรงเข้าสู่อ่าว บ้านดอน
และบุกขึ้นตลาดบ้านดอน ในวันนั้นได้มีประชาชนจำนวนมากประกอบพิธีวันฉลองรัฐธรรมนูญที่หน้าศาลากลางจังหวัด
สุราษฎร์ธานีเมื่อทราบข่าวการบุกขึ้นตลาดบ้านดอนจึงเกิดความวุ่นวายขึ้น บางคนได้หนีเอาตัวรอดแต่บางคนก็พร้อมที่
จะสู้ศึก ทางด้านคลังแสงได้แจกจ่ายอาวุธแก่บรรดาผู้รักชาติในครั้งนี้ ในกลุ่มนี้ครูลำยอง วิศุภกาญจน์ เป็นผู้หนึ่งรวมอยู่
ด้วยโดยได้รับแจกปืนพระรามหกพร้อมกระสุนออกสู้รบต้านทานทหารญี่ปุ่น


ก่อนมีการสู้รบได้มีการเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ของฝ่ายไทยกับญี่ปุ่น แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จึงเกิดการสู้รบกันขึ้น
ครูลำยองซึ่งประจำแนวรบทางด้านปีกขวา ได้ใช้รั้วสังกะสีเป็นที่กำบังใช้ปืนยิงทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตหลายคน เมื่อทหาร
ญี่ปุ่นบุกหนักทางปีกซ้ายครูลำยองหาทางออกไม่ได้ เพราะมีรั้วสังกะสีกั้นอยู่จึงโผล่ศีรษะขึ้นขณะประทับปืนบนไหล่
ทำให้ทหารญี่ปุ่นยิงท่านถูกที่หน้าผาก และท่านก็ได้ถึงแก่กรรมเมื่อเวลา 11.15 นาฬิกาของวันเดียวกัน


 การรำลึก

การสู้รบของครูลำยองอย่างกล้าหาญครั้งนี้ทางราชการได้นำความกราบบังคมทูลจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ นอกจากนี้ยังได้รับยศเป็นทหารยศจ่าสิบเอกอีกด้วย ครูลำยองเป็นครูที่สุขุมเยือกเย็น
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเอาจริงเอาจังความกล้าหาญความเสียสละของท่าน ครั้งนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่ชาว
สุราษฎร์ธานีโดยถ้วนทั่ว ขุนวิชาการพิศิษฐ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานีในขณะนั้นจึงได้ ขนานนามวันที
8 ธันวาคมว่า "วันวิญญาณ" ซึ่งในวันนี้ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จะมีการประกอบพิธีสักการะดวง วิญญาณของครู
ลำยองในทุกๆปี โดยเป็นการรวมศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี
ของท่านสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยขณะทำพิธีจะต้องมีการท่องบทวิญญาณสดุดี พร้อมทั้งมีการวางพวงมาลา
ที่หน้าอนุสาวรีย์อ.ลำยองอีกด้วย


บทวิญญาณสดุดี ใช้ในการสดุดีวีรกรรม คุณครูลำยอง วิศุภกาญจน์ ที่ได้สละชีพไปในสงครามมหาเอเชียบูรพาใน
วันที่8ธันวาคม2484 ทุกๆวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปี ท่านผู้มีเกียรติ นักเรียน บุคลากร ศิษย์เก่าทุกรุ่น จะร่วมย้อน
รำลึกถึงวีรกรรมของผู้กล้าของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี โดยการวางพวงมาลา ดอกไม้และกล่าวบทบูชาวิญญาณสดุดี
บริเวณหน้าอนุสาวรีย์คุณครูลำยอง วิศุภกาญจน์ ซึ่งอยู่หน้าหอประชุมลำยอง ภายในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี โดยจะ
เรียกพิธีในวันนี้ว่า วันวิญญาณ

บทวิญญณสดุดี

แปดธันว์แปดสี่นั้น ดัสกร

ญี่ปุ่นยกทัพรอน รุกบ้าน

ไทยชาติมาดหมายทอน ทัพหยุด อยู่ฤๅ

จึ่งร่วมฤทธิ์แรงต้าน ตื่นทั้งชายหญิง

ประวิงทัพญี่ปุ่นด้วย ทำนอง ยุทธพ่อ

รักชาติศาสน์กษัตริย์ปอง ปกาสสู้

เลิศชายชื่อลำยอง วิศุภ-กาญจน์เฮย

พลีชีพชูชาติกู้ เกียรติไว้กลางสมร

บวรมิตรศิษย์ญาติพ้อง ภักดี

ต่างมอบกายพจี จิตรพร้อม

กตัญญูกตเวที เทิดเกียร-ติคุณเฮย

มุ่งแผ่กุศลน้อม ระลึกเบื้องแปดธนู

(http://123.242.172.2/home/images/stories/p_surat/p_surat2.jpg)


(http://www.arjarnpoo.com/forum/uploads/monthly_12_2009/post-300-1260516927.jpg)


เวบไซด์อ้างอิง (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5)

เวบไซด์อ้างอิง (http://www.bunnarak.com/index.php?topic=357.0)