หัวข้อ: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 09, 2011, 08:57:01 PM กระผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเรื่องอาวุธปืนเป็นอย่างมาก หลังจากที่ได้ติดตามข้อมูลจากเวปนี้มานานพอสมควร ก็เลยอยากที่จะได้สร้างกิจกรรมให้คนรักปืนได้ขบคิดเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาเครื่องมือ สำหรับเครื่องต้นแบบได้ทำการออกแบบSolid ไว้แล้ว และวิเคราะห์โครงสร้าง และวัสดุไ้ว้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องการคือ อรรถประโยชน์ และข้อแก้ไขในการออกแบบจากผู้รู้ทุกท่าน คำวิจารณ์ และความคิดเห็นทุกคำถือเป็นคำสอนครับ ::014::
กระผมจะของกล่าวถึงหลักการและเหตุผล และปัญหาที่พอจะนึกได้ ซึ่งต้องการคำแนะนำจากสมาชิกอีกมาก สภาพปัญหาของปืนอัดลม 1. แรงดันของลมที่ได้จากถังไม่คงที่เนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่จะทำการปรับแรงดันให้คงที่ทุกครั้งที่ทำการอัดเข้ากระบอกบรรจุแก็ส หมายความว่า ทุกครั้งที่เราอัดอากาศเข้าไปในปืน แรงดันในถังดำน้ำ(หรือถังO2อื่น) แรงดันในถังจะลดลงเสมอแรงดันในปืนก็จะลดลงทุกครั้งเช่นกัน 2. ความชื้นในอากาศ การใช้Hand pump เพื่อการปรับแรงดัน หรือการอัดอากาศเข้าไปในตัวปืน หมายความว่าจะต้องอัดอากาศจากภายนอกซึ่งมีความชื้นอยู่แม่ทำการลดความชื้นด้วยสารเคมีแล้ว ความเร็วในการอัดอากาศย่อมมีผลต่อการดูดซับความชื้นของสารเคมีย่อมลดลง 3. ราคาของถัง และเครื่องอัดอากาศแรงดันสูง Hand pump และอุปกร์อื่นฯ มีราคาแพง 4. การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไม่สะดวกเนื่องจากขนาดของเครื่องมืออุปกรณ์ จึงได้มีแนวความคิดที่สร้างเครื่องมือที่ตอบปัญหาของสมาชิก ซึ่งมีหลักการที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. การออกแบบไ้ด้สร้างเครื่องที่เป็นไปตามกฤของบอล์ย ( อณุหพลศาสตร์) 2. การวิเคราะห์ความแข็งแรงของวัสดุและการออกแบบใช้โปรแกรม Solid work ในการวิเคราะห์ 3. วัสดุและอุปกรณ์ต้องสามารถหาได้ง่ายและราคาถูก แต่ต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างความปลอดภัยเป็นอย่างดี แนวคิด..................สร้างเครื่องปรับแรงดันให้กับปืนที่มีความสามารถในการสร้างแรงดันได้เท่ากับ หรือสูงกว่าแรงดันที่ต้องการโดยมีความสามารถสร้างแรงดันได้เพียงพอแม้ แหล่งจ่ายแรงดันมีแรงดันต่ำหรือถังแรงดันต่ำที่มีขายอยู่ทั่วไป ซึ่งเครื่องต้องทำงานในลักษณะ ระบบปิด (ไม่ดูดอากาศจากภายนอกเข้ามาทำการอัดหรือใช้แรงดันจากถังO2ที่ผ่านการกรองความชื้นแล้วเท่านั้น)เพื่อป้องกันความชื้นที่เป็นอันตรายกับตัวปืน ทั้งยังมีระบบกรองความชื้นในตัวเครื่องอีกด้วย ซึ่งใช้ระบบการอัดด้วย การผสมระหว่างระบบไฮโดรลิกส์ซึ่งอาศัยของเหลวเป็นตัวกลางในการอัดอากาศเพื่อลดการออกแรงที่ไ่ม่จำเป็นในการอัดอากาศ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: tui086 ที่ มกราคม 09, 2011, 09:27:16 PM ยัง งงงง อยู่ครับ....
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: Dunk ที่ มกราคม 09, 2011, 10:14:32 PM ยัง งงงง อยู่ครับ.... ลมในถังดำนำ้เหลือน้อยก็ยังเติมเข้าปืนใด้200บาร์ ประมาณนั้นแหละมั้งครับพี่ตุ้ย ตามที่ผมเข้าใจนะ เพราะเรื่องนี้เคยคุยกับคุณอู๋ครั้งนึงหัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: AJ_6080 ที่ มกราคม 09, 2011, 10:41:36 PM เข้ามารอดูตอนต่อไปครับ...ยังไม่เข้าใจเลย
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: cm84e ที่ มกราคม 10, 2011, 02:12:02 AM พอจะเข้าใจลางๆ ว่า ต้องใส่ วาล์วกันกับ คร่อมระหว่าง กระบอกอัดไฮดรอใช่ใหม ;D
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มกราคม 10, 2011, 02:39:09 AM เติมจากถังหลักเข้าไปที่ถังปั๊ม ถ้าแรงดันไม่ถึงก็ใช้ปั๊มมืออัดเพิ่มเข้าไปให้ได้แรงดันตามต้องการค่อยเติมจากถังปั๊มเข้าไปที่ถังปืน
ผมเข้าใจถูกต้องมั้ยครับ คุณpramuan หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: komatsu ที่ มกราคม 10, 2011, 07:45:27 AM ผมคิดว่าควรเพิ่มอุปกรณ์อีกดังนี้
1. เกจน์วัดแรงดันอากาศขาเข้า เพื่อใช้ตรวจสอบแรงดันก่อนที่จะเพิ่มแรงดันและใช้ตรวจสอบการทำงานของเช็ควาล์ว 2.เช็ควาล์ว เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับเข้าถัง 3.เซฟวาล์ว เพื่อป้องกันแรงดันเกินขณะทำการเพิ่มแรงดัน 4.วาล์วระบายแรงดัน เพื่อใช้ระบายแรงดันเมื่อทำการเติมลมเสร็จ 5.บอลวาล์ว เพื่อเปิด - ปิดอากาศเมื่อจะใช้งานหรือใช้งานเสร็จแล้ว เพราะถ้าต้องระบายลมทั้งหมดทิ้งเมื่อเติมลมเสร็จจะสิ้นเปลืองลมมาก :D :D ::014:: ::014:: (http://img832.imageshack.us/img832/5453/compressionbooster2.jpg) หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: komatsu ที่ มกราคม 10, 2011, 07:51:27 AM ผมเคยเจอเจ้าตัวนี้ แต่ใช้ใช้อากาศเป็นขับแรงดันครับ :) :)
(http://img192.imageshack.us/img192/9282/boostergen33.jpg) (http://img155.imageshack.us/img155/2814/3scubatankboostersetup.jpg) หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: sitta. ที่ มกราคม 10, 2011, 09:27:58 AM ผมเคยเจอเจ้าตัวนี้ แต่ใช้ใช้อากาศเป็นขับแรงดันครับ :) :) (http://img192.imageshack.us/img192/9282/boostergen33.jpg) (http://img155.imageshack.us/img155/2814/3scubatankboostersetup.jpg) คุณอู๋ครับ ระบบของคุณอู๋เป็นการเพิ่มแรงดันออกให้ได้ 5000 psi โดยใช้อุปกรณ์ในภาพ แต่เราต้องคอยเปิดปิดวาวล์ด้าน 100 psi in หรือเปล่าครับ หรือว่ามันอัตโนมัติ ยังไงก็ตามผมก็ยังคิดถึงปั๊มลมรุ่นแรกที่คุณอู๋คิดจะสร้างเอง มันยังติดตาอยู่จนทุกวันนี้ครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: sitta. ที่ มกราคม 10, 2011, 09:44:02 AM ผมคิดว่าควรเพิ่มอุปกรณ์อีกดังนี้ 1. เกจน์วัดแรงดันอากาศขาเข้า เพื่อใช้ตรวจสอบแรงดันก่อนที่จะเพิ่มแรงดันและใช้ตรวจสอบการทำงานของเช็ควาล์ว 2.เช็ควาล์ว เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับเข้าถัง 3.เซฟวาล์ว เพื่อป้องกันแรงดันเกินขณะทำการเพิ่มแรงดัน 4.วาล์วระบายแรงดัน เพื่อใช้ระบายแรงดันเมื่อทำการเติมลมเสร็จ 5.บอลวาล์ว เพื่อเปิด - ปิดอากาศเมื่อจะใช้งานหรือใช้งานเสร็จแล้ว เพราะถ้าต้องระบายลมทั้งหมดทิ้งเมื่อเติมลมเสร็จจะสิ้นเปลืองลมมาก :D :D ::014:: ::014:: (http://img832.imageshack.us/img832/5453/compressionbooster2.jpg) แสดงว่าคุณอู๋ทดลองทำผ่านมาเยอะจนมีประสบการณ์ หากว่าใต้เกจหัวต่อด้านต่อกับถังอัดลมปืน หากมีบอลวาวล์อยู่แล้วก็ไม่ต้องไปติดตั้งเพิ่มเติม แต่ถ้าไม่มีก็ต้องทำตามแบบที่คุณอู๋บอกไว้ แต่ระบบนี้ จะพบปัญหาเอาแค่แนวคิดก่อน ที่จะคิดถึงความปลอดภัยที่หลังในเรื่องการเลือกใช้น้ำมันทนไฟ ปัญหาที่ว่าคือ ทำอย่างไรให้แรงดันในถังสีเขียวไหลเข้ามาในกระบอกไฮโดรลิก เพราะเมื่อแรงดันในกระบอกไฮโดรลิกแย็กมีสูงกว่า แรงดันในถังสีเขียวย่อมไม่เข้ามาแน่ ผมคิดไม่ออกครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 10, 2011, 07:12:21 PM ก็ได้เรียนไปแต่แรกแล้วว่าต้องสนุกแน่นอน เรื่องของความท้อในการพัฒนากระผมเจอมาพอสมควรตอนที่ทำเครื่องทำเกลียวลำกล้อง อ่าน คิด ทำ จนสำเร็จ ลองหันมาดูเศษเหล็กที่ทำแล้วทิ้ง ทำแล้วทิ้ง ขายของเก่าได้ 6000 กว่าบาท ก็ลองคิดดูซิครับว่าถ้าผมท้อ ก็คงไปซื้อลำกล้องเบอร์ 2 มาทำแล้ว แต่ก็ไม่ซื้อ แต่ก็ต้องหยุดโครงการไว้ตรงที่หาลำกล้องเหล็ก 5.5 mm ไม่ได้มันเกินเทคโนโลยีของทหารจะหาได้ สุดท้ายนักรบที่ดีต้องรู้ว่าจะหยุดตอนไหน ให้เจ็บน้อยที่สุด
สำหรับคำถามทำให้ผมรู้สึกเหมือนตอนสอบหัวข้อไม่มีผิด การทำสิ่งที่มองดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ต้องอาศัยความอดทนนะครับ สำหรับคำถามที่พี่ๆทุกท่านถามนั้น กระผมได้ถามตัวเองมาเป็นร้อยๆครั้งแล้ว จะทำการตอบให้เข้าใจในเวลาประมาณ 3 hr ข้างหน้านี้ ตอนนี้ดูรูปของที่ถูกใจแต่ไม่ถูกต้องไปก่อน และถูกใจถูกต้องด้วยครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 10, 2011, 08:13:50 PM ครับสำหรับหลักการทำงาน ขั้นตอนที่1
เปิด วาล์ว A ปิดวาล์วB C O2 จากถังจะใหลเข้าในถึงอัดโดยผ่านวาล์ว A และเกจวัดแรงดัน (ซึงอ่านค่าของแรงดันได้เท่ากับแรงดันในถังO2 เมื่อแรงดันไม่เพิ่มขึ้นจึงปิดวาล์ว A หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 10, 2011, 08:27:44 PM 2. การอัดแรงดัน เริ่มต้นด้วยการปิดวาล์ว A เปิดวาล์ว B และวาล์ว C อยู่ในตำแหน่งปิด ทำการโยก Hand pump น้ำมันจากถังน้ำมันจะถูกอัดผ่านHand pump เข้ามายังถึงอัดแรงดัน ตามธรรมชาติแล้ว อากาศย้อมอยู่ด้านบนของของเหลวเสมอ(ยกเว้นไปใช้นอกโลก)เมื่อ V ของของเหลวเพิ่ม V ของ o2 ย่อมลดลงแต่มวลของอากาศยังคงที่เนื่องจากเป็นระบบปิดตามหลักการแล้ว 02จะมีP เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก V ลดลง เราก็อัดไปจนกว่าแรงดันของเกจ(ซึ่งในขณะนี้จะวัดค่าของแรงดันในถังอัด ซึ่งถ้ามี 2อันก็ไม่รู้จะเอามาทำอะไร เปลืองเงินเปล่า)จะถึงที่เราต้องการ (200Bar) ในขั้นตอนนี้แหละ เมื่อPเพิ่มขึ้นจะทำให้ความชื้นเข้าสู่สภาวะอิ่มตัวและควบแน่นเป็น "หยดน้ำ" หยดน้ำเหล่านั้นก็จะถูกน้ำมันกวาดไปจนหมด หรือบางหยดที่มีขนาดมากพอที่จะชนะแรงตึงผิว ก็จะตกสู่ผิวน้ำมัน และจมลงในน้ำมันสู่ด้านล่างของถัง
ป.ล. "ลูกสูบที่เป็นของเหลว ไม่มีวันรั่ว นอกจากรั่วมาในลักษณะของของเหลว ซึ่งของเหลวที่รั่ว เราสามารถมองเห็นได้ ง่ายขึ้นเยอะ"นี่คือข้อแตกต่างระหว่าง นิวแมติก และไฮโดรลิกส์ ::007:: หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 10, 2011, 08:57:41 PM ขั้นตอนที่ 3 การคลายแรงดันและการเข้าสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
เริ่มต้นด้วยการปิดวาล์ว B และ๋ท่อบรรจุแก็สของปืนออกแล้วไปทำหน้าสงสั้ย จากนั้นค่อยๆเปิดวาล์ว C Pที่ยังคงค้างในระบบจะค่อยๆดันน้ำมันผ่านวาล์ว C ออกมายังถังเก็บ ซึ่งน้ำที่ควบแน่นแล้วตกอยู่ด้านล่างของถึงอัดก็จะไหลมากับน้ำมันเข้าสู่ถึงเก็บน้ำมันจนหมดก็จะเห็นฟองอากาศพุ่งออกมาพร้อมกับน้ำมันและน้ำ ถ้าแรงดันคงค้างยังไม่หมดก็เปิดวาล์ว A ช้าๆ แรงดันในถังเก็บ 02 ก็จะมาช่วยดันน้ำมันและน้ำออกจากระบบ เมื่อหมดแล้วก็ทำการปิดวาล์ว C แรงดันจากถัง02 ก็จะชาร์ตเข้าสู่ถังเก็บอีกครั้งพร้อมที่จะอัดกระบอกต่อไป สำหรับน้ำที่จมอยู่ใต้ถึงเก็บน้ำมัน ก็คงไม่ยากเกินกว่า Eng บ้านนอก จะทำการดักจับไว้ไม่ให้ไหลกลับเข้าไปในระบบในจังหวะต่อไป ::010:: จะสังเกตุว่า เกจจะทำหน้าที่วัดแรงดันของสภาวะต่างๆได้เมื่อทำการ เปิด หรือปิดวาล์วจึงมีความจำเป็นแค่ 1 อัน(1800บาท) สังเกตุว่า ถ้าใช้เชควาล์วแทนที่วาล์ว A ในจังหวะคลายเข้าสู่สภาวะเริ่มต้น เราจะไม่สามารถควบคุมความเร็วในกระบวนการย้อนกลับได้ ซึ่งอาจเกิดคือ 1. แรงดันจากถัง 02ที่รุนแรงอาจทำการปั่นป่วนในระบบจนทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันจนเป็นเมือกสีขาว(กาวน์)และไม่สามารถควบแน่นไ้ด้ที่แรงดันบรรยากาศ น้ำมันก็จะเสียคุณสมบัติ สังเกตว่า ระบบเป็นระบบปิด ความชื้นขึ้นอยู่กับความสะอาดของ02 และน้ำมัน 02สำหรับปืนของเราก็ได้รับการกรองความชื้นอีกขั้นตอนหนึ่ง ถ้ายังไม่แห้งพอก็นำสารดูดความชื้นมาต่อพ่วงเข้ากับวาล์ว A อีก ความชื้นจากถังก็จะถูกกรองก่อนที่จะเข้าระบบ(ถ้ายังไม่แห้งก็ใส่หลายๆอัด ซึ่งสารดูดความชื้นนี้ หาง่ายๆจาก ดรายเออร์ ของแอร์ บ้าน หรือแอร์รถยนต์นั่นแหละครับ) คำถามต่อไปคงเป็นความแข็งแรงของวัสดุ และความร้อนในระบบใช่ใหม่ครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: YUT_CRUCIFY ที่ มกราคม 10, 2011, 10:13:55 PM แวะมาให้กำลังใจครับ
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 10, 2011, 10:43:41 PM แต่ทุกอย่างที่ได้ออกแบบไว้ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ใช้งาน(ง่าย ถูก เบา)ก็ขอความอนุเคราะห์ทุกท่านช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ
สำหรับเรื่องความร้อนที่เกิดจากกระบวนการ ถ้าลองจับถังดำน้ำดูก็จะรู้ว่ามันไม่ร้อนเลย ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากพลังงานภายในแต่เกิดจากการทะเลาะกันระหว่างมวลภายใน สังเกตุว่าถ้าเปรียบกับรถยนต์ ถ้ามอเตอร์สตาร์ทหมุนช้าแต่ทรงพลังมาก ก็ไม่สามรถทำให้รถสตาร์ทติดได้เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นไม่เพียงพอ(ดีเซล) การอัดของเราที่อัดด้วยมือก็เพื่อให้อากาศได้ระบายความร้อนผ่านน้ำมันและผนั่งกระบอกสูบสู่ภายนอก เครื่องยนต์ดีเซลอัตราส่วนกำลังอัดเท่ากับ 9ถึง11 ต่อ1 มหาศาลแถมยังอัดด้วยความเร็วสูงมาก ย่อมเกิดความร้อนเป็นธรรมดา แต่เราใช้มือกด ถ้าได้ศึกษาเรื่องเทอร์โมไดนามิกส์มาบ้างก็จะทราบว่าเราใช้อัตราส่วนกำลังอัดเพียง2.5ต่อ 1 ก็จะได้แรงดันที่ต้องการ ถ้าคำนวนจากสูตรของบอล์ยลอวส์ ก็จะพบว่า เมื่อเราทราบ p2 และ V2 และทราบ p1 ก็จะสามารถทราบได้ว่า เราต้องให้ v1 เท่าไดจึงจะทำให้เมื่อลด v1 จนเหลือ V2 แล้วได้แรงดัน 200-500-100000-40000000000 bar ขอตอบอย่างคนไม่มีความรู้ว่า การใช้มืออัดด้วยความเร็วสูงสุดก็ไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนพอที่จะเผาน้ำมันดีเซลได้ ยิ่งถ้าใช้น้ำมันไฮโดรลิกส์แล้วยิ่งไม่ต้องกังวลเลย ป.ล. สำหรับคำศัพท์ถ้าใช้ถูกบ้างผิดบ้าง ก็ขออภัยด้วยนะครับเพราะว่า ไม่ค่อยถนัดเท่าไร อย่าลืมช่วยกันวิจารณ์ด้วยนะครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 10, 2011, 10:52:01 PM เติมจากถังหลักเข้าไปที่ถังปั๊ม ถ้าแรงดันไม่ถึงก็ใช้ปั๊มมืออัดเพิ่มเข้าไปให้ได้แรงดันตามต้องการค่อยเติมจากถังปั๊มเข้าไปที่ถังปืน
ผมเข้าใจถูกต้องมั้ยครับ คุณpramuan ถูกต้องครับ เราสามารถกำหนดแรงดันต่ำสุดของถังหลักได้ว่าต้องการประหยัดเท่าไร จากนั้นก็นำไปคำนวนจากปริมาตรของปืนที่ต้องใช้ เราก็จะทราบว่า ขนาดของถังปั้มของเราควรมีปริมาตรเท่าได ตัวอย่างเช่น กระบอกประจุแก็สของปืนมี v =500cc เรากำหนดให้แรงดันเริ่มต้นเท่ากับ 10000บาร์ อัดด้วยอัตราส่วนในการอัดเท่ากับ 1:2 กำหนดให้ถังอัดของเรามีปริมาตร 1000cc เราก็จะได้แรงดันเมือทำการอัดจนปริมาตรเหลือ 500cc เท่ากับ 20000 บาร์ เป็นต้นครับ ผิดถูำกช่วยแนะนำด้วย เข้าใจอย่างนี้ครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 10, 2011, 11:11:28 PM สำหรับคำถามสำหรับความประหยัด ก็ลองคิดดูซิครับ ระบบปิด ไม่มีการปล่อยแรงดันออกสู่ภายนอก ยกเว้นตอนที่ดันน้ำมันกลับถัง และตอนที่เราปลดกระบอกประจุแก็สของปืนออกจากข้อต่อสายเท่านั้น มวลของอากาศที่เสียไปจะน้อยมาก(ที่ค้างอยู่ในสายเท่านั้น) หรือถ้ายังประหยัดไม่่่พอก็ ย้ายวาล์ว B ไปไว้ที่ปลายสายที่ต่อเข้ากับปืนก็จะทำให้มีอากาศที่ค้างอยู่ในรอยต่อไม่เกิน 7 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่านั้นครับแต่ที่ไม่ย้ายวาล์ว B ไปไว้ที่ปลายสายก็เนื่องจาก สายจะต้องรับแรงดันตลอดเวลา คุณภาพของสายจะลดลง ลองคิดดู สาย ราคาเป็นพันบาท กับอากาศที่เสียไป ไม่เกิน 1สตางค์ จะเลือกทางไหน แต่ก็ยอมรับว่า ถ้าปล่อยแรงดันในสายออกขณะที่ ปิดวาล์ว B อาจมีความชื้นจากอากาศภายนอกเข้าไปในสายที่ปลายเปิดบ้างแต่ก็น้อยมาก สำหรับผมถือว่าคุ้มค่า
เราอัดแรงดันมาราคา xxx บาท แต่ใช้ได้จนเกือบหมด แถมยังได้ลมคุณภาพดี ราคาเครื่องไม่เกิน4000บาท แถมยังทดแทน Hand pump แบบเดิมได้ด้วย ถังดำน้ำราคาเป็นหมื่นแรงดันลดลงเรื่อยๆ กับถัง02 ทั่วไปราคาไม่ถึง2000แถมยังสามารถปรับแรงดันได้ด้วย ยืนโยกhand pumpแบบเดิม 200 กว่าครั้งทำให้หายใจเร็ว กล้ามเนื้อเกิดการสั่น หัวใจเต้นเร็ว ยิงไม่ดี กับการกดไืฮโดรลิกส์ 200ครั้ง ซึ่งมีระยะชัก ไม่เกิน 10 ซ.ม. ไม่เหนื่อย ผมว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุนนะ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: tongzeed ที่ มกราคม 10, 2011, 11:19:53 PM อ้างถึง เราอัดแรงดันมาราคา xxx บาท แต่ใช้ได้จนเกือบหมด แถมยังได้ลมคุณภาพดี ราคาเครื่องไม่เกิน4000บาท แถมยังทดแทน Hand pump แบบเดิมได้ด้วย ถังดำน้ำราคาเป็นหมื่นแรงดันลดลงเรื่อยๆ กับถัง02 ทั่วไปราคาไม่ถึง2000แถมยังสามารถปรับแรงดันได้ด้วย ยืนโยกhand pumpแบบเดิม 200 กว่าครั้งทำให้หายใจเร็ว กล้ามเนื้อเกิดการสั่น หัวใจเต้นเร็ว ยิงไม่ดี กับการกดไืฮโดรลิกส์ 200ครั้ง ซึ่งมีระยะชัก ไม่เกิน 10 ซ.ม. ไม่เหนื่อย ผมว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุนนะ ผมเข้าใจแค่นี้ครับ ถ้าทำได้จริง สนับสนุน ครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: cm84e ที่ มกราคม 11, 2011, 02:27:44 AM เป็นกำลังใจให้ครับ ::002::
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: spyman ที่ มกราคม 11, 2011, 10:05:18 AM http://www.airgunexpo.com/calc/calc_fill.cfm? (http://www.airgunexpo.com/calc/calc_fill.cfm?)
ลองเข้าไปคำนวนการใช้ลมดูครับ ถังบ้านเรา น่าจะ 11 ลิตร ไม่แน่ใจครับ หลายๆท่านอาจจะมีแหล่งพลังงานใกล้ๆบ้าน แต่บางคนไกลมาก เท่าที่เห็นวิธีแก้ปัญหา คือ มีถัง 1 ถัง กับ สูบแรงดันสูง เติมจากถัง ประมาณ 2000 psi แล้ว top up จากสูบอีกที อย่างที่ 2 คือ มี ถัง สองถัง ถังหนึ่งเติมแบบแรก แล้วเอาถังสอง ท๊อบอัพ พอถังที่ 1 ลมตก ก็เอาถังที่สองมาแทนถัง1 และไปเติม ถัง 1 มาเป็นตัวท็อบอัพ แทน หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 11, 2011, 01:13:56 PM ลองเข้าไปคำนวนการใช้ลมดูครับ ถังบ้านเรา น่าจะ 11 ลิตร ไม่แน่ใจครับ
หลายๆท่านอาจจะมีแหล่งพลังงานใกล้ๆบ้าน แต่บางคนไกลมาก เท่าที่เห็นวิธีแก้ปัญหา คือ มีถัง 1 ถัง กับ สูบแรงดันสูง เติมจากถัง ประมาณ 2000 psi แล้ว top up จากสูบอีกที อย่างที่ 2 คือ มี ถัง สองถัง ถังหนึ่งเติมแบบแรก แล้วเอาถังสอง ท๊อบอัพ พอถังที่ 1 ลมตก ก็เอาถังที่สองมาแทนถัง1 และไปเติม ถัง 1 มาเป็นตัวท็อบอัพ แทน ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำได้ไปดูมาแล้ว ซึ่งแรงดันได้คำนวนไว้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ปัญหาก็คือยังไม่ทราบว่า ปริมาตร ของกระบอกประจุแก็สของตัวปืนส่วนมาก กี่ CC เพื่อคำนวนหาปริมาตรของ V1 ใครรู้ช่วยตอบด้วย สำหรับเรื่องของคำว่าแหล่งพลังงาน กระผมไม่ได้บอกนะครับว่าต้องเป็นถัง 02 เท่านั้น อะไรก็ได้ที่สามารถสร้างแรงดันได้ ตัวอย่างเช่น ปั้มลมทั่วไปสร้างได้ประมาณ 12-15 บาร์ คอมเพรสเซอร์แอร์บ้าน (ของเก่าราคา6-700บาท) สร้างได้ประมาณ 50 บาร์ ถัง02สร้างได้ประมาณ 100 บาร์ เป็นต้น แรงพลังงานเหล่านี้แหละจะเป็นการสร้างพลังงานตั้งต้น(เพื่อทดแทนพลังงานจากร่างกาย)เพื่อนำไปสร้างพลังงานที่สูงกว่าจากเครื่องนี้ แน่นอนว่า ถ้า พลังงานตั้งต้นมีน้อยมาก ขนาดของเครื่องก็ต้องใหญ่เป็นธรรมดา แต่ถ้าเริ่มประมาณ 100บาร์ขนาดของเครื่องก็จะเล็กมาก และถ้ากระบอกประจุแก็สของปืนมีปริมาตรมาก เครื่องก็ต้องใหญ่ แต่ถ้ามีปริมาตรเล็กเครื่องก็มีขนาดเล็ก อย่างนี้แหละ แต่การนำอากาศจากภายนอกเข้ามาอัด ต้องเตรียมตัวรับความชื้นที่ปนเข้ามาด้วยนะครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: AJ_6080 ที่ มกราคม 11, 2011, 02:05:09 PM อยู่ระหว่าง 180-250 ซีซี. ครับอยู่รุ่นของปืนแต่ละกระบอกและยี่ห้อครับ...
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 11, 2011, 03:35:42 PM ขอบ คุณครับ
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: sitta. ที่ มกราคม 11, 2011, 04:04:05 PM พอเห็นวาวล์ A ในรูปก็เข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ ตามคำอธิบายสามารถทำให้เป็นไปได้แน่นอน
แต่ผมก็ยังไม่ได้คิดละเอียดว่าอุปกรณ์จะต้องใหญ่เล็กแค่ไหนจะหนักเบาแค่ไหน พอจะบอกได้ไหมครับว่า อากาศในถังหลักจะเหลือน้อยสุดได้เท่าไหร่? ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะมีในระดับหนึ่งเพราะความสามารถของตัวอัด ก็มีขีดจำกัดในระดับหนึ่งเหมือนกัน ถ้าจะให้เพิ่มแรงอัดได้ 200 บาร์ ก็ต้องบีบปริมาตรอากาศเหนือน้ำมันลงให้ได้ 200 เท่า แต่พอดีว่าอากาศมีแรงดันในระดับหนึ่งแล้ว สมมุติว่าเหลือ 50 บาร์ ก็ต้องบีบดันอากาศขึ้นไปอีก 150 เท่า เพราะยังไงก็ต้องมีค่าแรงดันที่ มากกว่าแรงดันในถังลมของปืนด้วย สมมุติว่าแรงดันในถังลมปืนมีแรงดัน 190 บาร์แล้ว ก็หมายถึงต้องสร้างแรงดันในตัวไฮดรอลิกให้ได้ 191 บาร์ แต่สมมุติว่าถังหลังเหลือแรงดัน 50 บาร์ ดังนั้นพอปล่อยลมเข้าในถังไฮดรอลิกก็จะได้แรงดัน 50 บาร์หรืออาจน้อยกว่านิดหน่อน ดังนั้นจึงต้องดันน้ำมันขึ้นไปให้เหลือปริมาตร 150:1 ผมก็ไม่ทราบว่าจะต้องโยกแย็กกี่ครั้งนั้นคงต้องดูปริมาตรของแย็กที่ใช้ประกอบด้วย และแรงดันที่ไหลเข้ากระบอกลมของปืนจะได้ครั้งละกี่ซีซีในแต่ละแรงดันในถังหลัก แล้วเราจะรู้ได้ว่าแรงดันที่ไหลเข้าสู่ถังอัดลมของปืนเป็นลมหรือเป็นน้ำมันไฮดรอลิก?? สำหรับแรงดันเครื่องดีเซล ผมจำได้ลาง ๆ ว่า 22 ต่อ 1 ถ้าเป็นพวกเบนซินจะอยู่ระหว่าง 9-10-11 ต่อ 1 ถ้าเป็นเครืองอัดกาศล่วงหน้าเช่น ติดเทอร์โบ หรือ ซูเปอร์ชาร์ทเจอร์ อัตราส่วนจะลดลงไปอีก สุดท้ายนี้ผมอยากให้เครื่องระบบแบบนี้มีตัวตนจริง ๆ นะ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: komatsu ที่ มกราคม 11, 2011, 05:28:06 PM ขั้นตอนที่ 3 การคลายแรงดันและการเข้าสู่ตำแหน่งเริ่มต้น เริ่มต้นด้วยการปิดวาล์ว B และ๋ท่อบรรจุแก็สของปืนออกแล้วไปทำหน้าสงสั้ย จากนั้นค่อยๆเปิดวาล์ว C Pที่ยังคงค้างในระบบจะค่อยๆดันน้ำมันผ่านวาล์ว C ออกมายังถังเก็บ ซึ่งน้ำที่ควบแน่นแล้วตกอยู่ด้านล่างของถึงอัดก็จะไหลมากับน้ำมันเข้าสู่ถึงเก็บน้ำมันจนหมดก็จะเห็นฟองอากาศพุ่งออกมาพร้อมกับน้ำมันและน้ำ ถ้าแรงดันคงค้างยังไม่หมดก็เปิดวาล์ว A ช้าๆ แรงดันในถังเก็บ 02 ก็จะมาช่วยดันน้ำมันและน้ำออกจากระบบ เมื่อหมดแล้วก็ทำการปิดวาล์ว C แรงดันจากถัง02 ก็จะชาร์ตเข้าสู่ถังเก็บอีกครั้งพร้อมที่จะอัดกระบอกต่อไป สำหรับน้ำที่จมอยู่ใต้ถึงเก็บน้ำมัน ก็คงไม่ยากเกินกว่า Eng บ้านนอก จะทำการดักจับไว้ไม่ให้ไหลกลับเข้าไปในระบบในจังหวะต่อไป ::010:: จะสังเกตุว่า เกจจะทำหน้าที่วัดแรงดันของสภาวะต่างๆได้เมื่อทำการ เปิด หรือปิดวาล์วจึงมีความจำเป็นแค่ 1 อัน(1800บาท) สังเกตุว่า ถ้าใช้เชควาล์วแทนที่วาล์ว A ในจังหวะคลายเข้าสู่สภาวะเริ่มต้น เราจะไม่สามารถควบคุมความเร็วในกระบวนการย้อนกลับได้ ซึ่งอาจเกิดคือ 1. แรงดันจากถัง 02ที่รุนแรงอาจทำการปั่นป่วนในระบบจนทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันจนเป็นเมือกสีขาว(กาวน์)และไม่สามารถควบแน่นไ้ด้ที่แรงดันบรรยากาศ น้ำมันก็จะเสียคุณสมบัติ สังเกตว่า ระบบเป็นระบบปิด ความชื้นขึ้นอยู่กับความสะอาดของ02 และน้ำมัน 02สำหรับปืนของเราก็ได้รับการกรองความชื้นอีกขั้นตอนหนึ่ง ถ้ายังไม่แห้งพอก็นำสารดูดความชื้นมาต่อพ่วงเข้ากับวาล์ว A อีก ความชื้นจากถังก็จะถูกกรองก่อนที่จะเข้าระบบ(ถ้ายังไม่แห้งก็ใส่หลายๆอัด ซึ่งสารดูดความชื้นนี้ หาง่ายๆจาก ดรายเออร์ ของแอร์ บ้าน หรือแอร์รถยนต์นั่นแหละครับ) คำถามต่อไปคงเป็นความแข็งแรงของวัสดุ และความร้อนในระบบใช่ใหม่ครับ ผมมีความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้ 1.สาเหตุที่ต้องใช้เกจน์ ตัวที่ 2 เพื่อเอาไว้ตรวจสอบและเปรียบเทียบแรงดันคงเหลือกับแรงดันที่อัดไปแล้ว เมื่อเราทำการเพิ่มแรงดันจะไม่สามารถเปรียบเทียบแรงดันได้ สังเกตุว่าเรกกูเรเตอร์สำหรับแก๊สหรืออ๊อกซิเจนที่ขายกันในท้องตลาดล้วนแล้วแต่มีเกจน์ 2 ตัวเพื่อใช้ตรวจสอบแรงดันภายในถังกับแรงที่ผ่านออกไปแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วตัวที่จะได้ใช้งานบ่อยๆมีเพียงแค่ตัวเดียว แต่อีกตัวถึงจะได้ใช้งานน้อยแต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ครับ สำหรับราคาไม่น่าเกิน 500 บาทครับ 2.สำหรับเช๊ควาล์วติดเพื่อให้ระบบทำงานได้ต่อเนื่องขึ้นเพราะจังหวะอัดเพื่อเพิ่มแรงดันเช๊ควาล์วจะเป็นตัวกันไม่ให้อากาศย้อนกลับ พอจังหวะดูดอากาศก็จะไหลผ่านไปโดยอัตโนมัติ เข้าไปเก็บในห้องเพิ่มแรงดันและดันชุดลูกสูบเพื่อให้ลูกสูบเลื่อนลง สำหรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมโดยใช้วาล์ว C โดยหลักการก็เหมือนกับเราใช้แม่แรงยกรถขึ้น พอจังหวะที่จะเอาลงถ้าค่อยๆคลายวาล์วรถก็จะค่อยๆลง แต่ถ้าปล่อยวาล์วเร็วมันก็จะลงเร็ว สำหรับวาล์ว A ผมคิดว่ามีติดอยู่กับถังทุกถังแล้ว 3.เรื่องวัสดุผมคิดว่าถ้าขนาดไม่ใหญ่ใช้ท่อสตีม หรือท่อสเตก็ได้ เพราะทั้งสองแบบไม่มีตะเข็บและหนา แต่ถ้าขนาดใหญ่คิดว่าใช้กระบอกไฮโดรลิกมาดัดแปลง หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: komatsu ที่ มกราคม 11, 2011, 05:38:25 PM ผมเคยเจอเจ้าตัวนี้ แต่ใช้ใช้อากาศเป็นขับแรงดันครับ :) :) (http://img192.imageshack.us/img192/9282/boostergen33.jpg) (http://img155.imageshack.us/img155/2814/3scubatankboostersetup.jpg) คุณอู๋ครับ ระบบของคุณอู๋เป็นการเพิ่มแรงดันออกให้ได้ 5000 psi โดยใช้อุปกรณ์ในภาพ แต่เราต้องคอยเปิดปิดวาวล์ด้าน 100 psi in หรือเปล่าครับ หรือว่ามันอัตโนมัติ ยังไงก็ตามผมก็ยังคิดถึงปั๊มลมรุ่นแรกที่คุณอู๋คิดจะสร้างเอง มันยังติดตาอยู่จนทุกวันนี้ครับ หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 11, 2011, 08:01:24 PM พอเห็นวาวล์ A ในรูปก็เข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ ตามคำอธิบายสามารถทำให้เป็นไปได้แน่นอน
แต่ผมก็ยังไม่ได้คิดละเอียดว่าอุปกรณ์จะต้องใหญ่เล็กแค่ไหนจะหนักเบาแค่ไหน พอจะบอกได้ไหมครับว่า อากาศในถังหลักจะเหลือน้อยสุดได้เท่าไหร่? ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะมีในระดับหนึ่งเพราะความสามารถของตัวอัด ก็มีขีดจำกัดในระดับหนึ่งเหมือนกัน ถ้าจะให้เพิ่มแรงอัดได้ 200 บาร์ ก็ต้องบีบปริมาตรอากาศเหนือน้ำมันลงให้ได้ 200 เท่า แต่ พอดีว่าอากาศมีแรงดันในระดับหนึ่งแล้ว สมมุติว่าเหลือ 50 บาร์ ก็ต้องบีบดันอากาศขึ้นไปอีก 150 เท่า เพราะยังไงก็ต้องมีค่าแรงดันที่ มากกว่า แรงดันในถังลมของปืนด้วย สมมุติว่าแรงดันในถังลมปืนมีแรงดัน 190 บาร์แล้ว ก็หมายถึงต้องสร้างแรงดันในตัวไฮดรอลิกให้ได้ 191 บาร์ แต่สมมุติว่าถังหลังเหลือแรงดัน 50 บาร์ ดังนั้นพอปล่อยลมเข้าในถังไฮดรอลิกก็จะได้แรงดัน 50 บาร์หรืออาจน้อยกว่านิดหน่อน ดัง นั้นจึงต้องดันน้ำมันขึ้นไปให้เหลือปริมาตร 150:1 ผมก็ไม่ทราบว่าจะต้องโยกแย็กกี่ครั้งนั้นคงต้องดูปริมาตรของแย็กที่ใช้ ประกอบด้วย และแรงดันที่ไหลเข้ากระบอกลมของปืนจะได้ครั้งละกี่ซีซีในแต่ละแรงดันในถังหลัก แล้วเราจะรู้ได้ว่าแรงดันที่ไหลเข้าสู่ถังอัดลมของปืนเป็นลมหรือเป็นน้ำมันไฮดรอลิก?? สำหรับคำถามที่ว่าขนาดของแรงดันและปริมาตรต้องมีขนาดเท่าไรสามารถอธิบายได้ด้วยสมการ P1 *V1= K =P2*V2 สมการนี้ตอบได้ย่อหน้าแรกและย่อหน้าที่2ที่คุณถาม ส่วนคำถามสุดท้าย ขอตอบว่า ถ้าเรารู้ว่าV ของกระบอกสูบมีขนาดเท่าใด ก็ให้เติมน้ำมันในระบบเท่านั้น เมื่อน้ำมันหมดตรงที่เต็มกระบอกสูบพอดี แล้วปั้มมันจะเอาอะไรมาดูดและอัดได้ละครับ ยังไม่ทันได้เห็นหน้าผมก็คิดว่าถ้าุ่คุณเป็นเพื่อนทหารด้วยกัน คนอย่างนี้แหละที่ผมจะยอมไปรบเคียงบ่่าเคียงไหลด้วย ::014:: หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 11, 2011, 08:25:59 PM ผมมีความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1.สาเหตุที่ต้องใช้เกจน์ ตัวที่ 2 เพื่อเอาไว้ตรวจสอบและเปรียบเทียบแรงดันคงเหลือกับแรงดันที่อัดไปแล้ว เมื่อเราทำการเพิ่มแรงดันจะไม่สามารถเปรียบเทียบแรงดันได้ สังเกตุว่าเรกกูเรเตอร์สำหรับแก๊สหรืออ๊อกซิเจนที่ขายกันในท้องตลาดล้วนแล้วแต่มีเกจน์ 2 ตัวเพื่อ ใช้ตรวจสอบแรงดันภายในถังกับแรงที่ผ่านออกไปแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วตัวที่จะได้ใช้งานบ่อยๆมีเพียงแค่ตัวเดียว แต่อีกตัวถึงจะได้ใช้งานน้อยแต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ครับ สำหรับราคาไม่น่าเกิน 500 บาทครับ 2.สำหรับเช๊ควาล์วติดเพื่อให้ระบบทำงานได้ต่อเนื่องขึ้นเพราะ จังหวะอัดเพื่อเพิ่มแรงดันเช๊ควาล์วจะเป็นตัวกันไม่ให้อากาศย้อนกลับ พอจังหวะดูดอากาศก็จะไหลผ่านไปโดยอัตโนมัติ เข้าไปเก็บในห้องเพิ่มแรงดันและดันชุดลูกสูบเพื่อให้ลูกสูบเลื่อนลง สำหรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมโดยใช้วาล์ว C โดยหลักการก็เหมือนกับเราใช้แม่แรงยกรถขึ้น พอจังหวะที่จะเอาลงถ้าค่อยๆคลายวาล์วรถก็จะค่อยๆลง แต่ถ้าปล่อยวาล์วเร็วมันก็จะลงเร็ว สำหรับวาล์ว A ผมคิดว่ามีติดอยู่กับถังทุกถังแล้ว 3.เรื่องวัสดุผมคิดว่าถ้าขนาดไม่ ใหญ่ใช้ท่อสตีม หรือท่อสเตก็ได้ เพราะทั้งสองแบบไม่มีตะเข็บและหนา แต่ถ้าขนาดใหญ่คิดว่าใช้กระบอกไฮโดรลิกมาดัดแปลง 1. ครับเห็นด้วยครับสำหรับGage 2ตัว แต่แนวคิดตั้งต้นของเครื่องคือต้องทำให้ราคาไม่สูงเท่า Hand pump จากต่างประเทศ ก็เลยออกแบบระบบให้ใช้งาน Gage แค่ 1 ตัว แต่ถ้าจะใช้ 2 ตัวก็จะทำให้ระบบการทำงานง่ายขึ้นมากครับ ::014:: 2. เห็นด้วยครับสำหรับเช็ควาล์ว ในตอนแรกที่ออกแบบก็คิดจะใช้เช็ควาล์ว แต่มันติดปัญหาตรงที่ว่า ต่างจังหวัด ไม่สามารถ หาเช็ควาล์วที่ทนแรงดันขนาด 250บา์ร์ได้เนื่องจากใช้งานน้อย และก็ไม่รู้ว่าราคามันจะสูงแค่ไหน จะทำให้ต้นทุนในการสร้างสูงขึ้นแค่ไหน ก็เลยคิดว่าประหยัดไว้ก่อน แต่ถ้าใครจะเอาไปใส่เพิ่มก็ดีมากเลยครับ แต่ก็ต้องระวังเรื่องการทำงานของเช็ควาล์ว เช็ควาล์วส่วนมากทำงานด้วยระบบกลไก ซึ่งมีโอกาศรั่วได้มากกว่า วาล์วธรรมดา ซึ่งตรงบริเวณวาล์ว A ถ้าใช้เกจน์ตัวเดียว ก็จะไม่สามารถตรวจจับได้เลยว่าเกิดการรั่วไหลหรือเปล่า 3. สำหรับวัสดุนั้นต้องขอบคุณมากครับที่ช่วยแนะนำซึ่งกำลังเป็นปัญหาอยู่พอดี แต่การออกแบบต้องทำการคำนวน ค่าความเค้นที่ีเกิดจากแรงดัน ณจุดรับแรงดันต่างๆ ก็เลยยุ่งยากหน่อย ถ้า FOS มากเกินไป น้ำหนักของเครื่องก็จะมากเกินไปแบกกันไม่ไหว สำหรับเครื่องที่ออกแบบไว้ที่เห็นในรูป น้ำหนักก็ประมาณ ป.ก. M60 นั่นแหละครับ ::014:: ::014:: หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: komatsu ที่ มกราคม 11, 2011, 08:47:35 PM ถ้าเป็นเช๊ควาล์วแบบนี้ผมมี 1 ตัว สำหรับระบบไฮโดรลิกรับแรงดัน 3000 psi ( 206 บาร์) ยินดีมอบให้เพื่อเป็นการร่วมด้วยช่วยกัน ถ้าพี่ประมวล (ขออภัยถ้าเรียกผิด ::014:: ) สนใจ PM แจ้งที่อยู่ครับ ;) ;)
สำหรับวัสดุที่จะเอามาทำคิดว่าในบ้านเราต้องพยามค้นหา เพราะคุณสมบัติที่ต้องการนั้นหายากจริงๆ (http://img577.imageshack.us/img577/8960/img0320y.jpg) (http://img211.imageshack.us/img211/7891/img0322w.jpg) หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 11, 2011, 10:04:14 PM เลิมบอกไปว่า เหตุที่ไม่ใช้วาล์วที่ถัง02 ก็เพราะว่า ถ้าแทนค่าในสมการก็จะทราบว่า V2 เราต้องให้มีปริมาตรที่อยู่ในถังอัดน้อยที่สุด และให้ปริมาตรที่มีอยู่ไปมากในกระบอกประจุแรงดันของปืน การที่มีสายต่อจากถึงเข้าวาล์ว A จะทำให้ปริมาตรในถึงอัดเพิ่มขึ้นทั้งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ที่คำนวนไว้ก็เสียไปอีกประมาณ 15 cc เลยต้องเอาวาล์วมาติดที่ถึงเพื่อลดปริมาตร
สำหรับคำแนะนำทุกข้อ กระผมใคร่ขอแสดงความขอบคุณมา ณโอกาสนี้ด้วยครับ ถ้าใครมีข้อมูลเรื่องปริมาตรของกระบอกประจุอากาศแต่ละรุ่นขอให้บอกด้วยนะครับ เครื่องที่ออกแบบไว้แล้วสำหรับปืนที่ใช้ 500 cc อาจมีขนาดใหญ่เกินไป หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: maxmin ที่ มกราคม 14, 2011, 04:45:56 PM เป็นกำลังใจให้ครับ.. ::002::
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 17, 2011, 12:15:55 PM ตอนนี้เครื่องต้นแบบการทำงานเสร็จแล้วดูในกระทู้ "สำเร็จแล้วเครื่องอัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่"ทีี Air gun conner
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ มกราคม 17, 2011, 06:58:47 PM ผมขออนุญาตติดตามไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย ถ้าใช้ได้ผลดีน่าจะผลิตออกมาจำหน่ายแก่สมาชิกนะครับ ::002::
หัวข้อ: Re: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่" เริ่มหัวข้อโดย: pramuan ที่ มกราคม 23, 2011, 09:30:39 AM เครื่องนี้ย้ายไปที่กระทู้ hp01 เครื่องอัดอากาศแรงดันสูง ครับพร้อมผลิตแล้ว
|