หัวข้อ: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 06:48:16 AM ที่มา...Siamhealth
โรคหัวใจวาย Heart failure โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม สาเหตุการตายก็เปลี่ยนจากการติดเชื้อเป็นอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคเอดส์ ปัจจุบันการตายจากโรคหัวใจก็เพิ่มมากขึ้น บางคนก็เสียชีวิตเฉียบพลัน บางคนก็กลายเป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อน โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วบางรายอาจจะถึงแก่ชีวิต การเปลี่ยนแปลงของโรคไม่แน่นอนท่านอาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะทราบพยากรณ์ของโรค เมื่อเป็นโรคหัวใจนอกจากเกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้วยังกระทบกับครอบครัว เพื่อนและครอบครัวต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ทั้งเรื่องอาหาร การทำความสะอาด หัวใจวายคืออะไร หัวใจวายหมายถึงภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้น เราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจน เมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากหัวใจห้องซ้ายวายก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นเกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ ชนิดของหัวใจวาย เราทราบกันแล้วว่าหัวใจคนเรามี สี่ห้องคือมีหัวใจ การแบ่งหัวใจวายจะแบ่งเป็นหัวใจวายห้องขวาซึ่งประกอบด้วยห้องบนขวา ( right atrium) และหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle) และหัวใจวายห้องซ้ายซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนซ้าย( left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) หัวใจห้องซ้ายล้มเหลวleft-sided heart failure หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจข้างนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่น หากหัวใจข้างนี้วายร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edema นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า หัวใจห้องขวาล้มเหลว หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบเลือดไปปอด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า สาเหตุของหัวใจวาย เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นหรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยการหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด สาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่ หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (coronary heart disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอกล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลันกล้ามเนื้อหัวใจเอง ได้แก่โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อไวรัสบางตัวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดล้มเหลว (cardiomyopathy) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงความดันโลหิตสูง (Hypertension)เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวต้องทำงานมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้ลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจ รูมาติก rheumatic heart disease ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ หรือมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโรคปอดเช่นโรคถุงลมโป่งพองก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวายโรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจคือผู้ป่วยมักจะอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงหัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป (bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถป้ำเลือดได้อย่างเพียงพอสารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจเป็นต้นผู้ป่วยที่มีโลหิตจางมากก็ทำให้เกิดหัวใจวายผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษการปรับตัวของหัวใจเมื่อเป็นโรคหัวใจวาย โรคหัวใจวายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคอยู่ตลอดเวลา หากเป็นใหม่มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่มาก เนื่องจากหัวใจมีการปรับตัวดังนี้ หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกว่าหัวใจโต Cardiomegaly การที่หัวใจมีขนาดโตขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการเลือดของร่างกาย แต่เมื่อโตถึงระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจถึงยืดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น Hypertrophy เพื่อเพิ่มแรงบีบให้กับหัวใจ หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น อาการของโรคหัวใจวาย ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ได้ใส่ใจ บางรายเป็นขณะทำงานพอพักแล้วหาย จึงยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เป็นจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวายควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้างและควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้น หากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆทีพบได้ รูปแสดงปอดในสภาพปกติ และรูปปอดที่เป็นหัวใจวายและมีน้ำท่วมปอด เหนื่อยง่ายหากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะหอบเฉพาะเวลาทำงานหนัก หรือขึ้นบันได พอพักจะหายเหนื่อย dyspnea on exertion แต่ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเหนื่อยง่ายงานที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย หากเป็นมากขึ้นกิจกรรมปกติก็จะเหนื่อย จนกระทั่งเวลาพักก็เหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนในทางที่แย่ลงต้องปรึกษาแพทย์อาการเหล่านี้เกิดจากน้ำท่วมปอด Pulmonary edmaนอนราบไม่ได้จะเหนื่อย ต้องลุกมานั่งหลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง บางรายต้องนั่งหลับ หน้าแข้งและหลังเท้าบวม เมื่อกดหลังเท้าจะพบรอยบุ๋ม orthopnea แน่นหน้าตอนกลางคืน ต้องลุกขึ้นมานั่งอ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรงข้อเท้าบวม บวมท้องเนื่องจากมีการคั่งของน้ำและเกลือน้ำหนักเพิ่มอย่างเร็วไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีเลือดปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย์เพราะนั้นคืออาการของน้ำท่วมปอดเบื่ออาการ คลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงความจำเสื่อม มีการสับสนใจสั่นหัวใจเต้นเร็วปรึกษากับแพทย์ของท่านหากท่านมีโรคหัวใจอยู่ก่อนและเกิดอาการดังกล่าว อาการ ต้นเหตุ อาการของผู้ป่วย แน่นหน้าอก เลือดคั่งในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด เหนื่อยเวลาทำงานหนัก เหนื่อยเวลาพัก เหนื่อยหรือแน่นหน้าอกเวลานอน ไอเวลานอน เลือดคั่งในปอดและมีการรั่วของเลือดเข้าในปอด ไอเวลานอน แน่นหน้าอกเวลานอน ต้องลุกนั่งจึงจะหาย บวม เลือดไม่สามารถผ่านหัวใจ เกิดการคั่งในเนื้อเยื่อ และมีการรั่ว บวมหลังเท้า ข้อเท้า ท้อง และมือ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เนื่องจากหัวใจฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อน้อย เกิดการคั่งของของเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเดินหรือขึ้นบันได คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร กระเพาะลำไส้ได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อย รู้สึกแน่นท้องตลอดเวลา สับสน ความจำไม่ดี เนื่องจากมีคั่งของเกลือแร่ ผู้ป่วยมีอาการมึนงง ความจำไม่ดี ใจสั่น หัวใจต้องเต้นเร็ว ใจสั่น เหนื่อยง่าย แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยโรคหัวใจวายจะวินิจฉัยจากประวัติการหอบเหนื่อยหรืออาการบวม และจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการและแพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีโรคหัวใจวายแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการก็เพื่อหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจวาย เจาะเลือดตรวจเพื่อดูการทำงานของตับและไตตรวจปัสสาวะX-RAY ปอดและหัวใจเพื่อจะดูขนาดของหัวใจ และดูว่ามีน้ำท่วมบอดหรือไม่ ผู้ป่วยหัวใจวายจะมีขนาดหัวใจโตตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวหรือไม่ การเต้นของหัวใจปกติหรือไม่ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ Echocardiography วิธีการตรวจเครื่องจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับ ทำให้เราสามารถเห็นความหน้าของกล้ามเนื้อหัวใจ เห็นการบีบตัวของหัวใจเพื่อตรวจวัดว่าหัวใจบีบตัวดีหรือไม่ มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือไม่ คนที่เป็นโรคหัวใจวายหัวใจจะมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติ กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การตรวจนี้ไม่เจ็บปวดใช้เวลาประมาณไม่ถึงครึ่งชั่วโมงการตรวจทางนิวเคลีย Radionuclide ventriculography เพื่อวัดปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกไปในแต่ละครั้งการตรวจด้วยวิธีการวิ่งบนสายพาน Treadmil Exercise เป็นการตรวจเพื่อดูว่าเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่ การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจ การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจก็เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและดูแลตัว แพทย์จะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับดังนี้ ความรุนแรง ปริมาณผู้ป่วย อาการของผู้ป่วย I 35% ผู้ป่วยไม่มีอาการ สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ II 35% มีอาการเล็กน้อยเวลาทำงานปกติ พักจะไม่เหนื่อย III 25% ไม่สามารถทำงานปกติได้เพราะเหนื่อย เช่นเดินก็เหนื่อย แต่พักจะไม่เหนื่อย IV 5% ไม่สามารถทำงานปกติเช่นการอาบน้ำ การเดิน ขณะพักก็เหนื่อย. การรักษา โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมากพอจึงเกิดอาการของหัวใจวาย โปรดจำไว้ว่าการรักษาโรคหัวใจวายไม่ใช่การรักษาแล้วหายขาด การรักษาหัวใจวายเป็นการปรับให้ร่างกายสู่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิต หลักการรักษามีดังนี้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยารักษาอาหารกับโรคหัวใจการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่นการทำ ballon หลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การใส่เครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ การป้องกันโรคหัวใจวาย โรคหัวใจเมื่อเป็นแล้วมักจะรักษาไม่หาย ดังนั้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคหัวใจวายเรียก Primary prevention น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด 1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด 2.รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ 3.ตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจ 4.การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ จะพบแพทย์บ่อยแค่ไหน ช่วงปรับยาอาจจะพบแพทย์ทุกอาทิตย์หลังจากปรับยาได้เหมาะสมแพทย์จะนัดห่างออกไป จะพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร ท่านควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น เช่นหากท่านรู้สึกเหนื่อยง่าย นอนแล้วแน่นหน้าอก น้ำหนักขึ้น'หรือบวมเท้า ควรปรึกษาแพทย์ ********************************************************************************************************************************* ด้วยความห่วงใยด้วยความผูกพันธ์พี่น้องชาว อวป. ::014:: สวัสดีครับ ... pasta :VOV: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 07:41:55 AM เชื่อว่า "โรคหัวใจ" ถ่ายทอดทางพันธุกรรมครับ
เมื่อวานคนรู้จัก ๓ ท่านเสียชีวิต ๒ ใน ๓ หัวใจวายเฉียบพลัน ::012:: อีกรายทะเลาะกับสามีปืนลั่นใส่ ::004:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 08:26:59 AM ลุงปูอย่าหักโหมให้มากนะครับ ;D
หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 08:27:40 AM เชื่อว่า "โรคหัวใจ" ถ่ายทอดทางพันธุกรรมครับ เมื่อวานคนรู้จัก ๓ ท่านเสียชีวิต ๒ ใน ๓ หัวใจวายเฉียบพลัน ::012:: อีกรายทะเลาะกับสามีปืนลั่นใส่ ::004:: อีกรายทะเลาะกับสามีปืนลั่นใส่.............หัวใจมักง่าย หรือ นอกใจแล้วครับ.... ::005:: ::005:: ::005:: ::005:: ส่วนลุงปู โน้นกาแล๊คซี่ หัวใจวายแน่ :D~ :D~ :D~ :D~ ขอบคุณครับ น้องอรรถ หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 08:31:27 AM :<< โดนจนได้อ้ายพวกนิ๊ ::001::
หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 08:35:43 AM หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 08:39:03 AM ขอบคุณครับ +1 ไป
4.การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ ลุงปูนั้นน่าห่วงตรงนี้มากกว่า เวลาเจอน้อง ๆ ในเครื่องแบบขาวดำ ::005:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 08:43:53 AM > 2381
789 255 780 < > ;D จัดให้ครับ :VOV: < หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 08:57:22 AM ยังไม่สิ้นเดือนเลย น้องอรรถ ใบ้หวยแล้ว ::005::
หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 09:07:20 AM ยังไม่สิ้นเดือนเลย น้องอรรถ ใบ้หวยแล้ว ::005:: :OO :~) ::005:: ::005:: ::005:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: steam.รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 09:11:55 AM ผมว่าวันหนึ่งผมต้องตายเพราะโรคนี้สักวัน ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 09:13:48 AM ผมว่าวันหนึ่งผมต้องตายเพราะโรคนี้สักวัน ;D ;D ;D ผมก็ว่างั้น .... สวยเน๊อะ ::005:: ::005:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: steam.รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 09:16:42 AM ผมว่าวันหนึ่งผมต้องตายเพราะโรคนี้สักวัน ;D ;D ;D ผมก็ว่างั้น .... สวยเน๊อะ ::005:: ::005:: มีแซว ;D อย่าลืมไปงานผมนะครับลุงปู ::005:: ::005:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: NOOM 19 รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 09:29:42 AM อีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวครับ....น้องที่ทำงาน (อายุ 30 ปี) เป็นอยู่ตอนนี้ระยะสุดท้ายแล้วครับ ::004:: ::004:: ::004::
มะเร็งลูกอัณฑะ สาเหตุของน้องเขาเกิดจาก มีไข่อีกฟองอยู่ในท้อง โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบ พอถึงวัยเจริญพันธุ์ไข่ที่อยู่ในท้องมันจึงสร้างอสุจิ แต่เนื่องจากไข่มันอยู่ในท้องจึงทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าไข่ที่อยู่ภายนอก (สาเหตุที่คนเรามีไข่อยู่ข้างนอก) ทำให้ตัวอสุจิผิดปรกติและกายเป็นเชื้อมะเร็ง...พี่ๆเพื่อนคนไหนหรือว่าญาติๆที่มีไข่ 1 ฟองควรไปพบหมอให้ทำการตรวจนะครับ ::014:: ::014:: แต่ถึงอย่างไรถึงจะมีครบสองฟองก็อย่างพึ่งวางใจครับ สามารถเป็นได้ทั้งนั้น โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) พบได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยอายุไม่มาก แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี จะพบว่าโรคมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้ การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง ผู้ชายทุกคนควรตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง โดยการคลำเพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ ซึ่งถือเป็นการตรวจร่างกายด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้น เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ เวลาหลังอาบน้ำ เพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะจะหย่อนและคลำได้ง่าย ตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆ คลำเลื่อนไปเรื่อยๆ คลำดูว่ามีก้อนหรือการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะคลำได้ส่วนหยุ่นๆ ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ถ้าคลำได้ก้อนหรือส่วนใดผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ความผิดปกตินั้นอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอดบริเวณลูกอัณฑะซึ่งพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกหรือมะเร็งลูกอัณฑะ ปล.ควรตรวจด้วยตนเองนะครับอย่าให้คนอื่นตรวจให้ ::003:: ::003:: ::003:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 09:33:55 AM อีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวครับ....น้องที่ทำงาน (อายุ 30 ปี) เป็นอยู่ตอนนี้ระยะสุดท้ายแล้วครับ ::004:: ::004:: ::004:: มะเร็งลูกอัณฑะ สาเหตุของน้องเขาเกิดจาก มีไข่อีกฟองอยู่ในท้อง โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบ พอถึงวัยเจริญพันธุ์ไข่ที่อยู่ในท้องมันจึงสร้างอสุจิ แต่เนื่องจากไข่มันอยู่ในท้องจึงทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าไข่ที่อยู่ภายนอก (สาเหตุที่คนเรามีไข่อยู่ข้างนอก) ทำให้ตัวอสุจิผิดปรกติและกายเป็นเชื้อมะเร็ง...พี่ๆเพื่อนคนไหนหรือว่าญาติๆที่มีไข่ 1 ฟองควรไปพบหมอให้ทำการตรวจนะครับ ::014:: ::014:: แต่ถึงอย่างไรถึงจะมีครบสองฟองก็อย่างพึ่งวางใจครับ สามารถเป็นได้ทั้งนั้น โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) พบได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยอายุไม่มาก แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี จะพบว่าโรคมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้ การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง ผู้ชายทุกคนควรตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง โดยการคลำเพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ ซึ่งถือเป็นการตรวจร่างกายด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้น เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ เวลาหลังอาบน้ำ เพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะจะหย่อนและคลำได้ง่าย ตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆ คลำเลื่อนไปเรื่อยๆ คลำดูว่ามีก้อนหรือการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะคลำได้ส่วนหยุ่นๆ ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ถ้าคลำได้ก้อนหรือส่วนใดผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ความผิดปกตินั้นอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอดบริเวณลูกอัณฑะซึ่งพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกหรือมะเร็งลูกอัณฑะ ปล.ควรตรวจด้วยตนเองนะครับอย่าให้คนอื่นตรวจให้ ::003:: ::003:: ::003:: > ::014:: ขอบคุณครับผม ::002:: < > 138 < หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: Nat_usp ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 11:04:10 AM โรคนี้น่ากลัวครับ ไปโดยฉับพลัน ไม่ได้สั่งเสีย
1. ลุงผมซักผ้าเสร็จ พอลุกขึ้นยืนก็หัวใจวายตาย 2. ลุงที่รู้จักกันในหมู่บ้าน วันนั้นแกตัดหญ้า ดายหญ้า แต่งสวน พอกลางคืนหัวใจวายตาย 3. แฟนของรุ่นพี่ หัวใจวายตายขณะนั่งรถมาทำงาน Note : ลุงทั้ง 2 คน ดื่มค่อนข้างจัด + สูบบุหรี่ แฟนของรุ่นพี่เครียดเรื่องงาน ( ทนแรงกดดันไม่ไหว ) ก็ขอให้พี่ๆเพื่อนๆ รักษาสุขภาพด้วยครับ หัวใจX ก็ไม่ปลอดภัยครับอนาคตอาจจะY ^_^" หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 11:45:38 AM อีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวครับ....น้องที่ทำงาน (อายุ 30 ปี) เป็นอยู่ตอนนี้ระยะสุดท้ายแล้วครับ ::004:: ::004:: ::004:: ขอบคุณครับ ผมลองตรวจดูแล้ว แต่ยังไม่ได้ความอะไรเลย ต้องหยุดไว้ก่อน เนื่องจากพบความผิดปกติอย่างอื่น ::005:: มะเร็งลูกอัณฑะ สาเหตุของน้องเขาเกิดจาก มีไข่อีกฟองอยู่ในท้อง โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบ พอถึงวัยเจริญพันธุ์ไข่ที่อยู่ในท้องมันจึงสร้างอสุจิ แต่เนื่องจากไข่มันอยู่ในท้องจึงทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าไข่ที่อยู่ภายนอก (สาเหตุที่คนเรามีไข่อยู่ข้างนอก) ทำให้ตัวอสุจิผิดปรกติและกายเป็นเชื้อมะเร็ง...พี่ๆเพื่อนคนไหนหรือว่าญาติๆที่มีไข่ 1 ฟองควรไปพบหมอให้ทำการตรวจนะครับ ::014:: ::014:: แต่ถึงอย่างไรถึงจะมีครบสองฟองก็อย่างพึ่งวางใจครับ สามารถเป็นได้ทั้งนั้น โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) พบได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยอายุไม่มาก แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี จะพบว่าโรคมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้ การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง ผู้ชายทุกคนควรตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง โดยการคลำเพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ ซึ่งถือเป็นการตรวจร่างกายด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้น เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ เวลาหลังอาบน้ำ เพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะจะหย่อนและคลำได้ง่าย ตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆ คลำเลื่อนไปเรื่อยๆ คลำดูว่ามีก้อนหรือการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะคลำได้ส่วนหยุ่นๆ ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ถ้าคลำได้ก้อนหรือส่วนใดผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ความผิดปกตินั้นอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอดบริเวณลูกอัณฑะซึ่งพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกหรือมะเร็งลูกอัณฑะ ปล.ควรตรวจด้วยตนเองนะครับอย่าให้คนอื่นตรวจให้ ::003:: ::003:: ::003:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 11:49:20 AM ...+1 ครับ (ทั้งโรคหัวใจและอัณฑะ)
...อย่าลืมออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครับ หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 11:57:55 AM อีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวครับ....น้องที่ทำงาน (อายุ 30 ปี) เป็นอยู่ตอนนี้ระยะสุดท้ายแล้วครับ ::004:: ::004:: ::004:: มะเร็งลูกอัณฑะ สาเหตุของน้องเขาเกิดจาก มีไข่อีกฟองอยู่ในท้อง โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบ พอถึงวัยเจริญพันธุ์ไข่ที่อยู่ในท้องมันจึงสร้างอสุจิ แต่เนื่องจากไข่มันอยู่ในท้องจึงทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าไข่ที่อยู่ภายนอก (สาเหตุที่คนเรามีไข่อยู่ข้างนอก) ทำให้ตัวอสุจิผิดปรกติและกายเป็นเชื้อมะเร็ง...พี่ๆเพื่อนคนไหนหรือว่าญาติๆที่มีไข่ 1 ฟองควรไปพบหมอให้ทำการตรวจนะครับ ::014:: ::014:: แต่ถึงอย่างไรถึงจะมีครบสองฟองก็อย่างพึ่งวางใจครับ สามารถเป็นได้ทั้งนั้น โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) พบได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยอายุไม่มาก แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี จะพบว่าโรคมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้ การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง ผู้ชายทุกคนควรตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง โดยการคลำเพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ ซึ่งถือเป็นการตรวจร่างกายด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้น เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ เวลาหลังอาบน้ำ เพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะจะหย่อนและคลำได้ง่าย ตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆ คลำเลื่อนไปเรื่อยๆ คลำดูว่ามีก้อนหรือการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะคลำได้ส่วนหยุ่นๆ ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ถ้าคลำได้ก้อนหรือส่วนใดผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ความผิดปกตินั้นอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอดบริเวณลูกอัณฑะซึ่งพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกหรือมะเร็งลูกอัณฑะ ปล.ควรตรวจด้วยตนเองนะครับอย่าให้คนอื่นตรวจให้ ::003:: ::003:: ::003:: ผมรู้แล้วว่าเหตุใดหลายท่านจึงชอบไปอาบอบนวด เพราะกลัวเป็นมะเร็งลูกอัณฑะนี่เอง (เอาไข่แช่น้ำกับถ่ายน้ำอสุจิออกเพื่อไม่ให้อุณภูมิสูงเกินไป) ::005::::014:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: saengsakul-รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 12:46:48 PM +๑ ขอบคุณ คูณ pasta สำหรับข้อมูลดีๆ ภรรยาผม มีครบทุกข้อมูลที่นำเสนอมา.......ทำใจไว้แล้วครับ
ขึ้นอยู่ว่าเจ้าตัวจะรักษาระบบความสมดุลของร่างกายหรือไม่ ถึงเวลานี้น้ำท่วมปอดไปแล้วครับ..... ::004:: ::014:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: Tulakan11 ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 01:25:16 PM อีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวครับ....น้องที่ทำงาน (อายุ 30 ปี) เป็นอยู่ตอนนี้ระยะสุดท้ายแล้วครับ ::004:: ::004:: ::004:: มะเร็งลูกอัณฑะ สาเหตุของน้องเขาเกิดจาก มีไข่อีกฟองอยู่ในท้อง โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบ พอถึงวัยเจริญพันธุ์ไข่ที่อยู่ในท้องมันจึงสร้างอสุจิ แต่เนื่องจากไข่มันอยู่ในท้องจึงทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าไข่ที่อยู่ภายนอก (สาเหตุที่คนเรามีไข่อยู่ข้างนอก) ทำให้ตัวอสุจิผิดปรกติและกายเป็นเชื้อมะเร็ง...พี่ๆเพื่อนคนไหนหรือว่าญาติๆที่มีไข่ 1 ฟองควรไปพบหมอให้ทำการตรวจนะครับ ::014:: ::014:: แต่ถึงอย่างไรถึงจะมีครบสองฟองก็อย่างพึ่งวางใจครับ สามารถเป็นได้ทั้งนั้น โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) พบได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยอายุไม่มาก แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี จะพบว่าโรคมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้ การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง ผู้ชายทุกคนควรตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง โดยการคลำเพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ ซึ่งถือเป็นการตรวจร่างกายด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้น เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ เวลาหลังอาบน้ำ เพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะจะหย่อนและคลำได้ง่าย ตรวจลูกอัณฑะทีละข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆ คลำเลื่อนไปเรื่อยๆ คลำดูว่ามีก้อนหรือการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะคลำได้ส่วนหยุ่นๆ ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ถ้าคลำได้ก้อนหรือส่วนใดผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ความผิดปกตินั้นอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอดบริเวณลูกอัณฑะซึ่งพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกหรือมะเร็งลูกอัณฑะ ปล.ควรตรวจด้วยตนเองนะครับอย่าให้คนอื่นตรวจให้ ::003:: ::003:: ::003:: ผมเคยได้ยินมาว่าสามีสามารถตรวจเต้านมให้ภรรยาได้ทุกวัน (กรณีมะเร็งเต้านม)เพื่อหาสิ่งผิดปกติก่อนที่จะลุกลาม โดยที่ไม่รู้ตัว ส่วนภรรยาไม่ทราบว่าหมอได้แนะนำให้ตรวจลูกอัณฑะให้สามีได้หรือเปล่า....ไม่ได้ทะลึ่งนะครับ เพียงแต่รู้สึกว่า ถูกเอาเปรียบอย่างไรไม่รู้ ::005:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 03:43:54 PM +๑ ขอบคุณ คูณ pasta สำหรับข้อมูลดีๆ ภรรยาผม มีครบทุกข้อมูลที่นำเสนอมา.......ทำใจไว้แล้วครับ ขึ้นอยู่ว่าเจ้าตัวจะรักษาระบบความสมดุลของร่างกายหรือไม่ ถึงเวลานี้น้ำท่วมปอดไปแล้วครับ..... ::004:: ::014:: > 34 < ขอส่งพลังใจช่วยภรรยาของพี่ saengsakul ให้หายป่วยโดยไวครับผม ::014:: และเป็นกำลังใจให้พี่ saengsakul ร่วมต่อสู้เคียงข้างกับภรรยาด้วยครับ ::014:: ...+1 ครับ (ทั้งโรคหัวใจและอัณฑะ) ...อย่าลืมออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครับ > 941 < ::014:: ขอบคุณครับพี่ coda / ครั้งหนึ่งผมยังไม่ลืม... ชื่อ pasta พี่ coda บอกว่า...เพราะดี :VOV: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 04:25:11 PM กำลังตรวจลูกอัณฑะ อุ้ย...อุ๊ย เฮ้ย!!! เฉี้ยเอ้ย หาย ไปไหน ว่ะ อุ๊ยๆๆๆๆ ซี้ดๆๆๆๆๆ :DD :DD :DD :DD อ๋อ......ยังอยู่นึกว่าหายไปไหน :~) หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 04:30:41 PM กำลังตรวจลูกอัณฑะ อุ้ย...อุ๊ย เฮ้ย!!! เฉี้ยเอ้ย หาย ไปไหน ว่ะ อุ๊ยๆๆๆๆ ซี้ดๆๆๆๆๆ :DD :DD :DD :DD อ๋อ......ยังอยู่นึกว่าหายไปไหน :~) " ใครฟ่ะ ทำสบู่เหลว หกไม่ยอม ล้างแอ้งเอ้ย ตูเหยียบลืนตัวฟาดขอบโถ ส้วม " :OO :~) :~) :~) หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: พญาจงอาง +รักในหลวง+ ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 04:33:14 PM ทางบ้านผม ถ้าตายแบบปัจจุบันทันด่วนแบบนี้ ชาวบ้านจะไม่เรียกว่าโรคหัวใจ แต่จะเรียกว่า"ผีปอบกิน" จากนั้น2-3วันให้หลัง หมอผีจะงานเข้าทันที เพราะจะมีพิธีไล่ผีปอบกัน ;D :VOV: ::005::
หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 04:48:10 PM กำลังตรวจลูกอัณฑะ อุ้ย...อุ๊ย เฮ้ย!!! เฉี้ยเอ้ย หาย ไปไหน ว่ะ อุ๊ยๆๆๆๆ ซี้ดๆๆๆๆๆ :DD :DD :DD :DD อ๋อ......ยังอยู่นึกว่าหายไปไหน :~) " ใครฟ่ะ ทำสบู่เหลว หกไม่ยอม ล้างแอ้งเอ้ย ตูเหยียบลืนตัวฟาดขอบโถ ส้วม " :OO :~) :~) :~) พูดถึงเรื่องลูกอัณฑะ ผมคงต้องเล่าสู่กันฟัง ::005:: .... ลูกพี่ลูกน้องกัน ตอนเด็กปีนข้ามรั้วลวดหนามทางโคนต้นมะขาม แต่พลาดท่าโดนลวดหนามเกี่ยวไข่ไหล :OO อายุสัก 10-11 ปีในตอนนั้น กกน.ไม่ใส่ๆ กก.บอล :D ... ตอนนี้เป็น ตร.อยู่โครตเจ้าชู้ ::008:: อีกคนเป็นลูกชายพ่อค้าขายข้าวแกง +ตามสั่ง ตอนนั้นรุ่นเดียวกับผม ... ตอนสายมันปวดฉี่ด้วยความที่เร่งรีบหรือฯลฯ ก็แล้วแต่ กางเกงซิ๊บ ... รูดแล้วหนีบไข่ ::009:: ... ปลดก็ไม่ได้ ร้องแหกปาก :~) อายุ 12-13 ปี ได้ ตอนนั้น ... ลุงแข... ผู้สื่อข่าวที่หาข่าวอยู่ตามโรง พัก ..... แกแกล้งจะเขียนข่าวลง เพื่อล้อเด็ก ::010:: เพื่อนผมโครตอายไม่ยอมให้ใครช่วยแม้แต่หมอ ... สุดท้ายหมอต้องค่อยๆ ขลิบเลาะออก :: ::005:: ::005:: ::005:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 25, 2011, 04:51:44 PM ทางบ้านผม ถ้าตายแบบปัจจุบันทันด่วนแบบนี้ ชาวบ้านจะไม่เรียกว่าโรคหัวใจ แต่จะเรียกว่า"ผีปอบกิน" จากนั้น2-3วันให้หลัง หมอผีจะงานเข้าทันที เพราะจะมีพิธีไล่ผีปอบกัน ;D :VOV: ::005:: โรคนี้ถ้าเป็นปลัดฯ อาจจะไม่ตายครับครู ;D ::005:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: saengsakul-รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 27, 2011, 03:10:13 PM ขอบคุณครับ คุณ pasta ที่ส่งพลังใจให้ภรรยาผมหายป่วย วันนี้ออกจาก รพ.พร้อมกับยาถุงใหญ่หมอให้มาพักฟื้นที่บ้าน
นัดให้ไปทันทีที่มีอาการผิดปกติ หมอบอกว่าถ้าจะให้ดีควรจะทำบอลลูน แต่ต้องเข้ามารักษาที่ กทม.ครับ หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: ฅนบ้านนอก ที่ พฤษภาคม 27, 2011, 05:22:07 PM ข้อมูลที่จารย์ อรรถ ให้มาตรงเป๊ะเลยนะครับ พี่ชายผมเสียที่ซาอุฯสมัยผมเป็นเด็ก ม.1 ล่าสุดเพื่อนผม ตาย อาทิตย์ที่แล้วเป็นเชฟ ใหญ่ ลูกสาวของเพื่อนบอกว่า ช่วงเช้าอยู่ด้วยกัน ป๋า บอกหายใจไม่ออก แล้วก็ล้มไปต่อหน้าต่อตา นำส่ง รร. ราชวิถี หมอบอกว่าตายตั้งแต่ที่แก่ล้มแล้ว ::004:: ::014:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 28, 2011, 10:15:50 AM ขอบคุณครับ คุณ pasta ที่ส่งพลังใจให้ภรรยาผมหายป่วย วันนี้ออกจาก รพ.พร้อมกับยาถุงใหญ่หมอให้มาพักฟื้นที่บ้าน นัดให้ไปทันทีที่มีอาการผิดปกติ หมอบอกว่าถ้าจะให้ดีควรจะทำบอลลูน แต่ต้องเข้ามารักษาที่ กทม.ครับ ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางครับผม :VOV: เป็นกำลังใจให้ครับ ::002:: ::014:: > 37 < ข้อมูลที่จารย์ อรรถ ให้มาตรงเป๊ะเลยนะครับ พี่ชายผมเสียที่ซาอุฯสมัยผมเป็นเด็ก ม.1 ล่าสุดเพื่อนผม ตาย อาทิตย์ที่แล้วเป็นเชฟ ใหญ่ ลูกสาวของเพื่อนบอกว่า ช่วงเช้าอยู่ด้วยกัน ป๋า บอกหายใจไม่ออก แล้วก็ล้มไปต่อหน้าต่อตา นำส่ง รร. ราชวิถี หมอบอกว่าตายตั้งแต่ที่แก่ล้มแล้ว ::004:: ::014:: จารย์อรรถ :OO จารย์ใบ้หวยหรือเปล่าครับ ::005:: ... ;D > 240 < หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤษภาคม 28, 2011, 10:22:48 AM น้องปูเป็นไงมั่งครับน้าอรรถ หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ พฤษภาคม 28, 2011, 10:37:01 AM ระวังกันไว้ครับ ;D ;D ;D ออกกำลังกายช่วยได้
หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 28, 2011, 10:38:57 AM น้องปูเป็นไงมั่งครับน้าอรรถ เหลือแผลแห้งตกสะเก็ดครับ ส่วนแผลเย็บ 5 เข็มเรียบร้อยดีครับ ปวดเมื่อยและเจ็บสะโพกอยู่ครับผม ขอบคุณครับน้าปู ::014:: :VOV: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: saengsakul-รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 28, 2011, 05:45:53 PM ขอบคุณครับ คุณ pasta ::014:: <455>
หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤษภาคม 28, 2011, 06:28:45 PM จัดต่อ 456 สวย หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 29, 2011, 12:03:48 PM ขอบคุณครับ คุณ pasta ::014:: <455> ::002:: สู้ตาย > 39 < ::014:: จัดต่อ 456 สวย ::014:: ขอบคุณครับผม > 2399 < วันนี้ 08.40 น. พารุ่นพี่อายุ 49 ปี ส่ง รพ. อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ... แกบอกเหมือนหลังจะขาด ( ไม่มีโรคประจำตัว ) / ก่อนผมกลับมานี้กำลังตรวจหัวใจ ปอด ผมรอจนน้องสาวเขามา ( 10.30 น. ) และส่งไม้ต่อรับช่วงไป หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: saengsakul-รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 29, 2011, 03:32:12 PM ขอบคุณครับ คุณ pasta ::014:: <455> ::002:: สู้ตาย > 39 < ::014:: จัดต่อ 456 สวย ::014:: ขอบคุณครับผม > 2399 < วันนี้ 08.40 น. พารุ่นพี่อายุ 49 ปี ส่ง รพ. อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ... แกบอกเหมือนหลังจะขาด ( ไม่มีโรคประจำตัว ) / ก่อนผมกลับมานี้กำลังตรวจหัวใจ ปอด ผมรอจนน้องสาวเขามา ( 10.30 น. ) และส่งไม้ต่อรับช่วงไป โรคหัวใจ,เบาหวาน,มะเร็ง เป็นโรคยอดฮิต คนไทยนิยมเป็นกันมาก(จำยอม).....เมื่อวานผมชมรายการของ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา เกี่ยวกับสรรพคุณของ "น้ำมันมะพร้าว" ที่เป็นน้ำมันมหัศจรรย์ของชาวเอเซียที่ถูกลืมมากว่า ๔๐ ปี ไปหลงชื่นชมยินดีกับน้ำมันถั่วเหลืองของ พวกฝรั่ง....น้ำมันมะพร้าวมนุษย์รู้จักและใช้ประโยชน์มา ๔,๐๐๐ กว่าปี ป้องกัน รักษาได้หลายโรค...น่าเข้าไปศึกษานะครับ #458# หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤษภาคม 29, 2011, 09:55:26 PM ขอบคุณครับ คุณ pasta ::014:: <455> ::002:: สู้ตาย > 39 < ::014:: จัดต่อ 456 สวย ::014:: ขอบคุณครับผม > 2399 < วันนี้ 08.40 น. พารุ่นพี่อายุ 49 ปี ส่ง รพ. อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ... แกบอกเหมือนหลังจะขาด ( ไม่มีโรคประจำตัว ) / ก่อนผมกลับมานี้กำลังตรวจหัวใจ ปอด ผมรอจนน้องสาวเขามา ( 10.30 น. ) และส่งไม้ต่อรับช่วงไป โรคหัวใจ,เบาหวาน,มะเร็ง เป็นโรคยอดฮิต คนไทยนิยมเป็นกันมาก(จำยอม).....เมื่อวานผมชมรายการของ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา เกี่ยวกับสรรพคุณของ "น้ำมันมะพร้าว" ที่เป็นน้ำมันมหัศจรรย์ของชาวเอเซียที่ถูกลืมมากว่า ๔๐ ปี ไปหลงชื่นชมยินดีกับน้ำมันถั่วเหลืองของ พวกฝรั่ง....น้ำมันมะพร้าวมนุษย์รู้จักและใช้ประโยชน์มา ๔,๐๐๐ กว่าปี ป้องกัน รักษาได้หลายโรค...น่าเข้าไปศึกษานะครับ #458# น้ำมันมะพร้าว ::002:: ... ขอบคุณครับ ::014:: หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤษภาคม 30, 2011, 06:27:55 PM ะลึง! คนไทยเป็น 5 โรคเรื้อรังพุ่ง เสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต 10 ล้านคนวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:26:30 น.
Share9 เพราะวิถีการดำเนินชีวิตขาดความสมดุล สิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัย มีปัจจัยเสี่ยงสารพัดที่กระทบต่อสุขภาพ เช่นอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารจานด่วนประเภททอด ปิ้ง ย่าง หนักไปทางเนื้อกับไขมัน อาหารรสจัดๆ โดยเฉพาะหวานมากและเค็มจัด ไม่รับประทาน ผักผลไม้ มีความสะดวกสบายเกินไปจะใช้อะไรก็แค่ปลายนิ้วสัมผัส ร่างกายแทบไม่ต้องขยับ ที่สำคัญมีความเครียดสูง แถมดื่มเหล้าสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการรณรงค์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนเรามีปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมากขึ้น และส่งผลให้กลายเป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า โรควิถีชีวิต แพร่ระบาดไปทั่ว และทั้งที่โรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ แต่สถานการณ์ปัจจุบันกลับเข้าขั้นวิกฤต องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี 2548 ในจำนวนการตายของประชากรโลกทั้งหมดประมาณ 58 ล้านคน มีถึงร้อยละ 60 ที่ตายจากโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น 2 ปีที่ผ่านมา มีคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 3.5 ล้านคน แต่มีถึง 1.1 ล้านคนที่ไม่รู้ว่าตนเองป่วย ที่น่าห่วงยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้ป่วยเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูงกว่าคนปกติถึง 2-4 เท่า และมากกว่าครึ่งมีความผิดปกติของระบบประสาท และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า และไต ในรายที่เป็นไม่มากผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ในรายที่เป็นมาก (ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล.) จะมีอาการให้สังเกตได้คือ ปัสสาวะบ่อยและมาก หิวและกระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลียไม่มีแรง บางคนปัสสาวะแล้วมีมดขึ้น อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าถึงขั้นน่าเป็นห่วง ต่อมาก็เป็น โรคความดันโลหิตสูง ในช่วงปีเดียวกันนั้นมีคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคนี้สูงมากถึง 10.8 ล้านคน โดย 5.4 ล้านคนที่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นอยู่ ความร้ายแรงแบบโดมิโนของโรคความดันโลหิตสูง อยู่ตรงที่คนที่เป็นโรคนี้มักมีคอเรสเตอรอลสูงกว่าคนปกติ 6-7 เท่า เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 25 ตามลำดับ และมีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายถึงร้อยละ 60-75 หลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตันร้อยละ 20-30 ไตวายร้อยละ 5-10 และมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า และโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติ 2-4 เท่า คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะแรกจะไม่แสดงอาการ แต่ก็เป็น เพชรฆาตเงียบ ที่สร้างความเสียหายอย่างมากมายต่อหลอดเลือดและอวัยวะอื่นๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาจะเกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ตา หัวใจ และไต ทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก จนเกิดเป็นอัมพาต และอาจทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายตามมา รวมทั้งเกิดโรคไตวายเรื้อรัง สำหรับ โรคหัวใจ 2 ปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ย 50 คนต่อวัน หรือชั่วโมงละ 2 คน และเจ็บป่วยนับเฉพาะที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในมีมากเฉลี่ยถึง 1,185 รายต่อวัน โรคหัวใจที่พบได้มากมีทั้ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจวาย และอื่นๆ และนับวันก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลการสำรวจพฤติกรรมคนไทยล่าสุดพบว่า คนไทยมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงถึงร้อยละ 86 เพราะความนิยมบริโภคอาหารไขมันสูง ทำให้มีไขมันสะสมในเส้นเลือดแดง ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดตีบตามมา จนมีคนไทยจำนวนมากที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอีกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มการเกิดผู้ป่วยที่สูงขึ้นมาก โรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โรคหลอดเลือดสมองแตก และโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน เฉพาะปี 2550 มีคนไทยอายุ 15-74 ปี ที่ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนคน คาดว่าแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 150,000 ราย ทุกวันนี้มีคนไทยที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคนี้อย่างไม่รู้ตัวอยู่ประมาณ 10 ล้านคน ยิ่งเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3-17 เท่าตัว เป็นโรคเบาหวานเสี่ยงเพิ่ม 2 เท่า ภาวะไขมันคอเลสเตอรอลสูงเสี่ยงเพิ่ม 1.5 เท่า และหากมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าหนึ่งปัจจัย โอกาสเกิดโรคนี้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีก โดยเฉพาะ โรคหัวใจขาดเลือด โรคสมองเสื่อม โรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง และมะเร็ง โรคนี้ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น อายุ เชื้อชาติ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง ความอ้วน การสูบบุหรี่-ดื่มสุรา คนทั่วไป โดยเฉพาะคนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป หากมีอาการแขนขาชาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือฟังไม่เข้าใจ เดินเซ เวียนศีรษะเฉียบพลัน ตามองเห็นภาพซ้อน หรือมองมืดมัวข้างใดข้างหนึ่ง ต้องรีบไปพบแพทย์ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะนี่คือสัญญาณเตือนของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ด้านการรักษาปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลดี การป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด โดยลดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือด ความเครียด งดสูบบุหรี่ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โรคมะเร็ง สาเหตุการตายอันดับ 1 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2551 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ราว 120,000 ราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ในช่วง 10 ปี มะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกคือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และน่าสังเกตว่า ผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มพบมากในสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป และพบสูงสุดในกลุ่มอายุ 45 ปี เกือบร้อยละ 50 อยู่ในระยะที่มีการกระจายในต่อมน้ำเหลืองแล้ว มะเร็งระยะแรกๆ มักไม่ปรากฏอาการ จนเมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการเฉพาะ ซึ่งขึ้นกับชนิดของโรคมะเร็งที่เป็น แต่โดยรวมแล้วอาการที่พบทั่วไปในมะเร็งทุกชนิด ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อาจมีไข้เรื้อรัง ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ซีด หน้ามืดเป็นลม ใจหวิว เป็นต้น สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อาหารไขมันสูง อาหารเค็มจัด-หวานจัด อาหารปิ้งย่างเผาเกรียม สารเคมีในผัก-ผลไม้และสารที่ใช้ในการถนอมอาหาร อาหารที่มีสารเจือปนผสมสีสังเคราะห์ สารอะฟาทอกซิน การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ การสัมผัสแสงแดดจัดเป็นประจำ การได้รับเชื้อไวรัส การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ และอื่นๆ มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากความผิดปกติในร่างกายหรือพันธุกรรม หันมาดูตัวเองแล้ว หากใครจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ก็ควรหมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง เพราะการตรวจพบระยะแรก โอกาสรักษาให้หายขาดจะมีมากขึ้น การรู้เท่าทันโรคภัยพร้อมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่พฤติกรรมใหม่ที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ จะเป็นวิถีทางสู่การ ลดทุกข์ สุขเพิ่ม เพื่อการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306744065&grpid=01&catid=&subcatid= (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306744065&grpid=01&catid=&subcatid=) หัวข้อ: Re: * * * โรคหัวใจวาย * * * เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤษภาคม 30, 2011, 07:03:19 PM ผลวิจัยชี้คนไทยตายก่อนวัยอันควรจากการสูบบุหรี่ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:25:56 น.
Share6 ทพ.ญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ หัวหน้าโครงการพัฒนาการดำเนินการจัดทำเครื่องชี้วัดภาระโรคและปัจจัยเสี่ยง ของประเทศไทย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ศึกษาภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชาชนไทย โดยทำการศึกษาทุก 5 ปี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การสูบบุหรี่ล่าสุดในปี 2552 พบว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้ประชากรไทยเสียชีวิตประมาณ 5 หมื่นคนต่อปี โดยเฉลี่ย ผู้ชาย 1 ใน 6 คน และผู้หญิง 1 ใน 25 คนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ทำให้สูญเสียปีสุขภาวะ(ปีที่มีสุขภาพดี)จากการตายก่อนวัยอันควรและความพิการ 6 แสนปีหรือร้อยละ 11.1 ของภาระโรคทั้งหมดในผู้ชาย และสูญเสียปีสุขภาวะ 8.8 หมื่นปี หรือร้อยละ 2.1 ของภาระโรคทั้งหมดในผู้หญิง ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 24 และมะเร็งปอดร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามพบว่า แนวโน้มผู้สูบบุหรี่ลดลงเล็กน้อย แต่ภาระจากโรคยังคงเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการสูบบุหรี่ในอดีต โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด หากคนไทยทุกคนไม่สูบบุหรี่ จะทำให้ภาระโรคจากการสูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 86 ในเพศชาย และร้อยละ 61 ในเพศหญิง ซึ่งปีสุขภาวะทีสูญเสียไปนั้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และเศรษฐกิจด้วย ทพ.ญ.กนิษฐา กล่าว ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา กรรมการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ คลินิกฟ้าใส กล่าวว่า การสำรวจพฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่ พบว่า จากจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด มีร้อยละ 60 ที่มีความคิดอยากเลิกสูบบุหรี่ โดยกว่าครึ่งเคยเริ่มเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง ซึ่งในจำนวนนี้กว่าครึ่งไม่สามารถเลิกเองได้ การให้คำแนะนำและสนับสนุนให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ปัจจุบันพบว่าภาครัฐยังไม่ได้บรรจุสิทธิเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเลิกสูบ บุหรี่เข้าไปในหลักประกันสุขภาพทุกระบบ โดยมีเพียงคำแนะนำ แต่ยังไม่มีการจัดเตรียมยาเลิกบุหรี่ ซึ่งผู้ที่ติดบุหรี่หนัก ตั้งแต่วันละ 1 ซองขึ้นไป จะไม่สามารถเลิกเองได้ จำเป็นต้องมียาช่วย แต่เมื่อต้องจัดหายาด้วยตนเอง จึงทำให้ส่วนหนึ่งล้มเลิกความตั้งใจ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายจากการเลิกบุหรี่ พบว่า คุ้มค่าในการลงทุน เพราะมีค่าใช้จ่ายวันละ 40-60 บาท เพียง 3 เดือน แต่หากยังสูบบุหรี่ก็จะเสียทั้งเงินและเกิดโรคมากมาย ปัจจุบันประชาชนขอคำแนะนำเลิกบุหรี่ได้ที่สายด่วน 1600 หรือ คลินิกฟ้าใส หรือสอบถามได้ที่ 02-7166556 |