เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 26, 2025, 03:46:46 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามพี่ๆครับเป็นเลขา นายก อบต นี้ซื้อปืนโครงการได้หรือเปล่าครับ  (อ่าน 4062 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฅนบ้านนอก
นำแหน่พ่ออ่าว
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 401
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1228


หากินซามฮ้อดมื้อตาย


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 17, 2011, 10:57:25 AM »

ผู้ช่วยส่วนตัว และเลขาส่วนตัว ที่ถามมาในกระทู้นี้....ซื้อไม่ได้ครับ

เพราะตำแหน่งเลขาหรือผู้ช่วยที่ว่านี้ไม่ใช่ตำแหน่งทางการครับ

ผู้ช่วย ส.ส. ก็ด้วยครับ

อย่างเพื่อนผมเป็นผู้ช่วยนักการเมือง เขาซื้อปืนจากโครงการเพราะเป็นข้าราชการ ไม่ได้ซื้อด้วยตำแหน่งผู้ช่วยครับ

แต่ถ้าเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อันนี้ได้ครับ เพราะเป็นข้าราชการ
                        +ให้ครับ  เยี่ยม      ทำงานอีกสัก 3 ปีผมจะกลับไปลงสมัคร  อบต. หรือ ผญ.ดีมั้ยหน๊า   Cheesy
บันทึกการเข้า


   แนวนาม เขียดอีโม่นาหน้าต่ำ มันบ่สมส่ำเซื้อเครือเจ่าซาติหงส์ ดอกตี๋
โย ยิงเป็ด
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 307
ออฟไลน์

กระทู้: 1932


ใช้ไปเฝ้าหน้าฮ้านหมอลำ เท่านั้น


« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 17, 2011, 11:32:10 AM »

เลขา นายก.อบต. ก็เป็นสมาชิกในองค์กรส่วนท้องถิ่น

เมื่อกี้ผมโทรคุยกับร้านที่ทำปืนโครงการ สน.อส. เขาบอกว่าได้


สปมท  เท่านั้นครับ
ในเมืองรน่าน  ซื้อแล้ว
วังไชยาไม่ยอมออกใบตัดโอน  ส่วนภูมิภาคให้ครับ
จะคืนปืน  ขอเงินคืน ร้านก็เฉย  เล่นเอาลมทวนหู 

---------------------------------------------------------------------


หน่วยงานที่มีสิทธิ์สั่งซื้อ อาวุธปืน โครงการ สน.สก. ได้

 


1.ข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง

 
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน
สมาชิก อส.ผู้บริหาร / สมาชิกและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ทั้งข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย
และส่วนราชการที่กรมการปกครองอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว ได้แก่

 

ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม และผู้พิพากษา
สำนักงานอัยการ และสำนักงานอัยการสูงสุด บุคลากรองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

 

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
กรมป่าไม้
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กรมสรรพสามิต
กรมศุลกากร
กรมสรรพากร
กรมราชทัณฑ์
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
สภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานศาลปกครอง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง และผู้พิพาษา
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ


กลุ่มข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย

1. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
2. กรมการปกครอง
3. กรมพัฒนาชุมชน
4. กรมที่ดิน
5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
6. กรมโยธาธฺการและผังเมือง
7. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 

2. หน่วยรัฐวิสาหกิจ

 

1. การประปานครหลวง
2. การประปาส่วนภูมิภาค
3. การไฟฟ้านครหลวง
4. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5. องค์การตลาด

 
3. องค์กรอิสระ ตาม รัฐธรรมนูญ

 

1. ปปช.
2. กกต.
3. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
4. ผู้ตรวจการแผ่นดิน



----------------------------------------------------------



โครงการปืนสวัสดิการ

 
เป็นโครงการจัดหาปืนให้แก่ราชการกรมการปกครอง และข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยสำนักกรสอบสวนและนิติการ (สน.สก)

 

 

การจัดทำโครงการปืนสวัสดิการของทางราชการ

 
 
ขั้นตอน


ขั้นตอนที่ 1
 
หน่วยงานของรัฐตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้ริเริ่มโดยการติดต่อประสานงานกับร้านค้าหรือเอกชนที่มีขีดความสามรถในการสั่งอาวุธปืนจากผู้ผลิต 
นำเข้ามาในราชอาณาจักร ในรายละเอียดการตกลง จะต้องระบุ รุ่นปืนและราคาที่เป็นธรรม รวมทั้งการชำระเงินทั้งสดและผ่อน 
ที่ข้าราชการในสังกัดกรมนั้นๆ มีขีดความสามารถที่จะชำระได้ รวมทั้งจะต้องตกลงกันในเรื่องความรับผิดชอบ การจัดเก็บเงินในกรณีเงินผ่อน
ต้องตกลงกันก่อน เรื่องรุ่นปืน ราคายอมรับได้ไหม ร้านค้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการสั่งของ หน่วยงานจะเป็นคนทำบัญชีรายชื่อและเก็บเงินให้


 
ขั้นตอนที่ 2

 
เมื่อหน่วยงานของรัฐกับร้านค้าทำข้อตกลงได้แล้ว หน่วยงานต้องทำหนังสือขออนุมัติต่อเจ้ากระทรวงก็คือ รมว.กระทรวง เมื่อเจ้ากระทรวงอนุมัติแล้ว
กระทรวงนั้นๆจะทำหนังสือขออนุมัติต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขออนุมัติจัดโครงการปืนสวัสดิการ


 
ขั้นตอนที่ 3

 


เมื่อมหาดไทยอนุมัติให้จัดโครงการแล้ว หน่วยงานจะเป็นผู้ออกหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานระดับรองลงไปที่อยู่ในสังกัด ว่า ขณะนี้ 
กรมนี้ได้จัดโครงการปืนสวัสดิการแล้ว มีรุ่นปืนดังนี้ ราคาเท่านี้ สั่งได้กี่กระบอก ข้าราชการผู้ใดที่ประสงค์จะซื้อ ให้ ลงชื่อ ระบุรุ่นปืน ราคา การชำระเงินว่า
สดหรือผ่อน แล้วการชำระจะชำระอย่างไร เช่น เงินสด ให้ชำระเมื่อรับปืนงวดเดียว เงินผ่อน 
ให้ฝ่ายการเงินของหน่วยงานนั้นๆหักเป็นงวดๆแล้วนำส่งร้านค้าเมื่อเจ้าตัวไปรับปืนฯลฯ โดยมีกำหนดวัน เวลาปิดรับการจอง


 
ขั้นตอนที่ 4

 


เมื่อปิดรับการจองแล้ว หน่วยต่างๆก็จะรวบรวมยอด รายชื่อคนจอง จำนวนปืน(รุ่นไหนกี่กระบอก) 
ส่งมายังหน่วยงานเจ้าของโครงการๆก็จะส่งยอดนี้ให้แก่ร้านค้า แล้วตั้งเรื่อง ขออนุมัติ รมว.มหาดไทย ให้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงงการ 
นำปืนเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม บัญชีรายชื่อคนจอง และตามจำนวน ขนาดปืน
เป็นการขอออก ป.2 นำเข้าปืนมาในราชอาณาจักร ตามที่มหาดไทยได้อนุมัติให้จัดโครงการ โดยมียอดจำนวนปืน และรายชื่อผู้มีสิทธ์ ขั้นตอนนี้ ถ้า
รมว.มหาดไทยอนุมัติ ก็จะออกป.2ในลักษณะรวม และระบุด้วยว่า นำเข้ามาเพื่อขายให้แก่ข้าราชการที่มีรายชื่อ 
ดังนั้นร้านค้าจะขายให้ประชาชนทั่วไปไม่ได้


 
ขั้นตอนที่ 5 



เมื่อมหาดไทยอนุมัติให้โดยออกใบป.2 ให้ร้านค้าที่ร่วมโครงการแล้ว ร้านค้าก็สั่งปืนจากผู้ผลิต 
โดยต้องสั่งตามรุ่นที่มีผู้จองเท่านั้น(ระบุในใบป.2) ง 
ระหว่างนี้หน่วยงานเจ้าของโครงการจะมีการเรียกเก็บเงินผ่อนจากข้าราชการในสังกัดที่ระบุชำระเป็นเงินผ่อน โดยหน่วยงานฯจะเป็นผู้ถือเงินก้อนนี้ไว้เอ
ส่วนคนที่ระบุว่าจะจ่ายเงิยสด หน่วยงานฯจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ระยะเวลาการนำเข้าปืนมาในราชอาณาจักร อาจใช้เวลานานหลายเดือน ทั้งนี้อยู่ที่ผู้ผลิตปืนว่า สามารถส่งปืนตามorderได้เร็วหรือช้า 
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร้านค้าที่ร่วมโครงการ 


 
ขั้นตอนที่ 6

 

เมื่อปืนเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ผ่านขั้นตอนทางศุลกากรและของมหาดไทยแล้ว จะถูกนำไปเก็บไว้ที่ร้านค้าร่วมโครงการ หรือคลังของหน่วยงานเจ้าของโครงการ ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกัน แต่ต้องแจ้งให้มหาดไทยทราบว่า ปืนถูกเก็บอยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ มีรุ่น ขนาดอะไรบ้าง หมายเลขอะไร จากนั้นหน่วยงานเจ้าของโครงการ ก็จะมีหนังสือเวียนแจ้งให้หน่วยระดับล่างในสังกัดทราบ ว่าปืนได้เข้ามาแล้ว ทางมหาดไทยได้รับทราบแล้ว ให้หน่วยระดับล่างแจ้งข้าราชการที่ลงชื่อจอง ไปดำเนินการขอใบป.3 ที่ภูมิลำเนาของตนเอง รวมทั้งหน่วยเจ้าของโครงการจะเป็นผู้ส่งรายชื่อคนจองไปที่มหาดไทย ข้าราชการที่จองปืน ก็ไปขอ ป.3 ต่อนายทะเบียนภูมิลำเนาตนเอง เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องดำเนิการดังนี้.-
-ผู้ที่ระบุว่าชำระเงินสด นำใบป.3 ไปขอรับปืน ณ ที่เก็บ ชำระเงินกับเจ้าหน้าที่(ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหรือพนักงานร้านค้า ก็แล้วแต่ข้อตกลง) รับปืน แล้วนำปืนไปให้นายทะเบียนทำเครื่องหมายและออกใบอนุญาต ป.4
-ผู้ที่ระบุว่าชำระเงินผ่อน ต้องตรวจสอบว่าผ่อนหมดหรือยัง(ผ่อนโดยฝ่ายการเงินหักเงินเดือนไว้) ถ้ายังไม่หมดต้องผ่อนให้หมด ถ้าผ่อนหมดแล้ว ก็จะได้ใบรับรองการชำระเงินจากฝ่ายการเงินของหน่วย สำหรับไปยื่นแสดงหลักฐานเพื่อรับปืน ณ ที่เก็บ และนำปืนไปทำเครื่องหมายและออกใบป.4
ข้าราชการที่จอง นายทะเบียนต้องออกใบป.3ให้โดยไม่มีข้อแม้ เนื่องจากเป็นผู้ที่มหาดไทยอนุมัติตาม ป.2 ที่อนุมัติในครั้งนำปืนเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่แรกแล้ว
หน่วยงานเจ้าของโครงการจะทำการตกลงกับมหาดไทย ให้นายทะเบียนระบุลงไปในใบอนุญาตป.4ว่า ห้ามโอนเป็นเวลา กี่ปี หรือ ห้ามโอนยกเว้นทางมรดก ฯลฯ ซึ่งนายทะเบียนจะได้รับหนังสือเวียนจากมหาดไทยให้ปฏิบัติ เช่น สวัสดิการของกองบัญชาการทหารสูงสุด ระบุห้ามโอนภายใน 5 ปี ของกองทัพบก ห้ามโอนภายใน 5 ปี ของกองทัพเรือ ห้ามโอนยกเว้นทางมรดก ของกองทัพอากาศ ห้ามโอนยกเว้นทางมรดกและเจ้าของต้องเสียชีวิตแล้ว ของตำรวจ ห้ามโอนภายใน 5 ปี เป็นต้น

 

ข้อมูลจาก กรมสวัสดิการทหารบก
 

 
 ไหว้
บันทึกการเข้า

อุบลเมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซ่บหลาย 
หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.128 วินาที กับ 21 คำสั่ง