ขออนุญาติครับ ชั่ง 3 ครั้ง ไม่ทราบน้ำหนักที่ผิดปกติ ถ้าไม่ฟลุ๊คจริงๆ ไม่ไหวแน่นอน
เพราะ
แบ่งเป็น กองละ 6 เหรียญ ชั่งครั้งที่ 1 ตาชั่งต้องเอียงแน่ๆ แต่เราก็ไม่ทราบว่า เอียงเนื่องจาก ข้างนึงหนัก หรือ เอียงเพราะข้างนึงเบา ก็เลยไม่รู้ว่าเหรียญที่ผิดปกติอยู่กองไหนกันแน่
เท่าที่คิดออก ชั่งให้น้อยครั้งที่สุดนะครับ
แบ่งเหรียญออกเป็น 3 กอง กองละ 4 เหรียญ สมมุติ กอง A B C
ชั่งครั้งที่ 1 นำคู่ใดก็ได้ชั่ง สมมุติ A - B แบ่งเป็น 2 กรณีครับ
กรณีที่ 1 ถ้าตาชั่งตรง แสดงว่าเหรียญที่ผิดปกติ อยู่ในกอง C
ชั่งครั้งต่อไป ก็นำเอาเหรียญ จาก กอง A หรือ B เหรียญนึง มาชั่งเทียบกับทุกเหรียญในกอง C ก็อีก 4 ครั้งครับ ถ้าเหรียญในกอง C เหรียญใด ทำให้ตาชั่งเอียง ก็แสดงว่าเหรียญนั้นผิดปกติ
สรุป กรณีนี้ชั่ง 5 ครั้ง ครับ
กรณีที่ 2 ถ้าตาชั่งเอียง แสดงว่า เหรียญที่ผิดปกติ อยู่ใน กอง A หรือ B
แสดงว่าในกรณีนี้ เหรียญ กอง C เป็นปกติทุกเหรียญแน่ ก็ให้เอากอง C มาชั่งแทน A หรือ B ก็ได้ สมมุติว่าแทนกอง A แล้วตาชั่ง เอียง แสดงว่าเหรียญที่ผิดปกติอยู่ในกอง B
แต่ถ้าแทนแล้ว ตาชั่งตรง แสดงว่าเหรียญที่ผิดปกติอยู่ในกอง A
ชั่งครั้งต่อไป ก็นำเอาเหรียญ จาก กอง C เหรียญนึง มาชั่งเทียบกับทุกเหรียญในกองที่มีเหรียญผิดปกติ ก็อีก 4 ครั้งครับ ถ้าเหรียญใด ทำให้ตาชั่งเอียง ก็แสดงว่าเหรียญนั้นผิดปกติ
สรุป กรณีนี้ชั่ง 6 ครั้ง ครับ
สรุป เหรียญ 12 เหรียญ ผิดปรกติ ไม่ทราบว่า หนักกว่า หรือเบากว่า ใช้ตาชั่งสองแขน ชั่งอย่างมากที่สุด 6 ครั้งครับ
ปล. ท่านใดมีวิธีเด็ดๆกว่านี้ไหมครับ ผมจนปัญญาแล้ว

ผมได้ 3 กับ 4 ครั้งครับ แบ่งสามกอง กองละ 4 เหรียญเหมือนกัน
กรณีที่ 1
1. ชั่ง A = B แสดงว่า C มีเหรียญไม่ปรกติ
2. นำเหรียญ 2 เหรียญ จาก A หรือ B ก็ได้ ชั่งเทียบกับ 2 เหรียญ จากกอง C
2.1 ถ้าน้ำหนักเท่ากัน แปลว่า เหรียญผิดปรกติ อยู่ใน 2 เหรียญที่เหลือของ C
2.2 ถ้าน้ำหนักไม่เท่ากัน ก็จะรู้ว่า ในสองเหรียญนี้มีเหรียญไม่ปรกติ และรู้ว่าหนักหรือเบากว่าเหรียญปรกติ
3. ชั่งครั้งที่สาม
3.1 จากข้อ 2.1 ชั่งเหรียญปรกติจาก A หรือ B 1 เหรียญ เทียบกับเหรียญใดเหรียญหนึ่งจาก 2 เหรียญที่มีแววไม่ปรกติของ C
3.1.1 ถ้าเหรียญหนักเท่ากัน แปลว่า อีกเหรียญที่เหลือไม่ปรกติ
3.1.2 ถ้าเหรียญหนักไม่เท่ากัน เหรียญจากกอง C เหรียญนั้นไม่ปรกติ
3.2 จากข้อ 2.2 ชั่งเหรียญปรกติจาก A หรือ B 1 เหรียญ เทียบกับเหรียญใดเหรียญหนึ่งจาก 2 เหรียญของกอง C ที่อยู่บนตาชั่งปัจจุบัน
3.2.1 ถ้าเหรียญหนักเท่ากัน แปลว่า อีกเหรียญที่เหลือไม่ปรกติ
3.2.2 ถ้าเหรียญหนักไม่เท่ากัน เหรียญจากกอง C เหรียญนั้นไม่ปรกติ
กรณีที่ 1 ใช้การชั่ง 3 ครั้ง
กรณีที่ 2
1. ชั่ง Aได้ไม่เท่ากับ B แสดงว่ากอง C เป็นกองปรกติ
2. ชั่ง A เทียบ C หรือ B เทียบกับ C ก็ได้ จะรู้ว่ากองไหนแน่ที่ไม่ปรกติ
3. จากนั้นทำตามขั้นตอน 2 ถึง 3 ของกรณีแรก แต่เปลี่ยนชื่อกองเหรียญไม่ปรกติ จาก C เป็น A หรือ B ตามที่เราระบุได้จากขั้นตอน 2
กรณีที่ 2 นี้ใช้การชั่งทั้งหมด 4 ครั้ง
ผมคิดออกแค่นี้ครับ ใครได้ 3 ครั้งแบบชัวร์ๆบ้างครับ คิดไม่ออกแย้ววววววววววววววว