
เรื่องนี้พูดยากครับ ในมุมมอง(ส่วนตัว)ของผมนะครับ
เรื่องนี้มีตัวละครมากกว่าหนึ่งตัว (

แต่ไม่ใช่ ชายสี่หมี่เกี๊ยว...)
ขอแบ่งง่ายๆ เป็นสามตัวละครหลัก (เอ๊ย สามฝ่าย)
ฝ่ายแรกภาคอุตสาหกรรม ... อุตสาหกรรมเค้าก็ดำเนินการตามกฎหมาย เท่าที่กฎหมายมีอยู่ จะลงโทษ จะเอาเรื่องกับเขา ก็ต้องกางกฎหมาย(ปัจจุบัน)กันครับ
(ผมไม่ผิด)
ฝ่ายที่สองภาครัฐ ...หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ถือกฎหมายไงครับ กฎหมายตั้งแต่เมื่อไหร่(ผมก็ไม่รู้) .... แต่ผมคิดว่า มันไม่ครอบคลุมในสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งแวดล้อมเรา (อ้าว

)
(หนูไม่รู้)
แล้วจะทำไงดี มีตัวเลือกครับ
ก. ปิดโรงงานเลย.... แต่ว่า จะใช้กฎหมายอะไรไปปิดเขาหละครับ ถ้าบังเอิญเค้าทำตามกฎหมาย(ที่เรามี)
ข. แก้ไขได้ไหม ปัญหาสิ่งแวดล้อมหนะ

(ตามความเห็นส่วนตัวอีกแล้ว) การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าทางดิน ทางน้ำใต้ดิน หรือทรัพยากรต่างๆ สิ่งที่มันเกิดขึ้นแล้วผมว่าตามไปแก้ยากครับ ด้วยเทคโนโลยีด้าน Remediation ในปัจจุบัน (นอกจากยากแล้วยังแพงอีกต่างหาก คนเค้าถึงว่าต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมมันสูงงง แต่บ้านเราไม่เคยคิด ฮาาา)
สิ่งที่ทำได้แค่ ระบบเตือนภัย ระบบเฝ้าระวัง (ซึ่งก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย) อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้ไปจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
ค.ตรวจ DNA เอ๊ย ตรวจสิครับว่าใครเป็นผู้ที่ควรจะรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น โดยส่วนตัว คิดว่าหาระบุผู้รับผิดชอบยากครับ ... ที่ว่ายากคือ คุณจะเอาอะไรไปพิสูจน์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบริษัท หรือโรงงานไหนใครเป็นคนทำ (ก็มีตั้งหลายตัวละคร 555) เพราะเวลาพิสูจน์มันต้องมีข้อมูลก่อนและหลัง(สร้างโรงงาน) ......(ซึ่งคิดว่าภาครัฐเราไม่น่าจะมีครอบคลุมทั้งหมด)
โดยสรุปส่วนตัว ก็ไม่มีการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น จะว่าภาคอุตสาหกรรมก็ว่าไม่ได้เต็มปาก ในเมื่อภาครัฐไม่ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และรัดกุมตั้งแต่ต้น (ยังไม่รวมเรื่อง มัวมาเกี่ยงกันว่า พท.ไหนใครรับผิดชอบ)
คนรับเคราะห์ คือ ฝ่ายที่สามครับ ประชาชน (ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ก่อ)

น่าสงสารเด็ก...(และประชาชนแถวนั้นครับ)
ครับ เมื่อยังแก้ไม่ได้ก็ต้องแก้กันต่อไป เฮ้อ.....ประเทศไทย
ปล. นี่ผมพูดเรื่องมาบตาพุด (จริงๆนะ)