เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 09, 2025, 04:22:05 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ''หลังฝนควรดูอะไรเป็นพิเศษกับรถของคุณ ''  (อ่าน 852 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
dingy
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2006, 09:01:10 AM »

หลังฝนควรดูอะไรเป็นพิเศษกับรถของคุณ


เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถมากขึ้น สำหรับขั้นตอนการตรวจและวิธีการตรวจมีอะไรบ้างนั้น และท่านสามารถตรวจสภาพรถของท่านด้วยตัวท่านเองได้ เริ่มกันที่ การตรวจสภาพรถทั่วไป 7 ประการ ดังต่อไปนี้

           การตรวจสภาพรถทั่วไปประการแรก คือ การตรวจสภาพความอับชื้นภายในรถ  ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอน ถ้ามีความอับชื้นอยู่ภายในรถท่าน อย่างน้อยมันจะมีกลิ่นอับภายในรถ ทำให้มลภาวะในห้องโดยสารต้องเสียไป นอกจากนนี้เจ้าพรมปูพื้นจะผุเปื่อยเร็วกว่าปกติ และปัญหาใหญ่ประการสำคัญที่ตามมาก็คือ จะทำให้พื้นรถผุเป็นสนิมเร็วขึ้น

         ความอับชื้นมันเข้าไปในรถของท่านได้อย่างไร  น้ำเข้ารถของท่านได้หลายทางด้วยกันดังต่อไปนี้คือ
1. เข้าทางกระจก  โดยท่านอาจลืมปิดกระจกหรือปิดกระจกไม่สนิทเมื่อฝนตกหนัก ข้อนี้รวมไปถึงรางกระจกชำรุดปิดไม่ได้ แบบนี้ฝนตกก็เปียกแน่ๆ

2. ท่อระบายน้ำของอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นภายในรถ  คือ ค่อน้ำจากคอยล์เย็นอุดตัน หรือไม่กระชับแน่น จึงทำให้น้ำไหลนองพื้นได้อีกกรณีหนึ่งเช่นกัน
3. พื้นรถผุกร่อนจนมีรอยทะลุ   ในกรณีนี้มีปัญหาแน่นอน แค่วิ่งลุยฝนล้อก็จะรีดน้ำสาดเข้าใต้ท้องรถสาดซึมขึ้นมาเปียกพื้นรถเป็นแน่แท้
4. การขับลุยน้ำที่ท่วมสูง  บางครั้งสูงกว่าพื้นรถเสียอีก น้ำจึงทะลักเข้ารถจนเปียกหมด

        ทั้ง 4 ประการนี้แหล่ะครับเป็นที่มาของการทำให้พรมปูพื้นรถ ใช้มือลูบจับดูความเปียกชื้นของพรมปูพื้นรถ ตรงไหนเปียก ท่านจะทราบได้จากการสัมผัส สำหรับรถที่ไม่มีพรมก็ตรวจด้วยสายตาและการสัมผัสได้เช่นกัน

       สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาจากความเปียกชื้นดังที่กล่าวมาไม่ยากเลย ในวันที่อากาศแจ่มใสจอรถกลางแดดเปิดประตูให้กว้างทุกบานเพื่อให้แสงแดดและกระแสลมพัดผ่านไล่ความเปียกชื้นและกลิ่นอับไปให้หมด หรือถ้าพรมเปียกมาก เห็นทีจะแห้งในวันเดียวไม่ได้ ก็ให้หาเครื่องเป่าผมไฟฟ้า เอาลมร้อนไล่ความชื้นก็จะร่นเวลาการแห้งของพรมให้เร็ว

ประการที่ 2 การตรวจสภาพการทำงานของมอเตอร์สตาร์ต
        การตรวจก็ไม่มีการยุ่งยากอะไรเลย แค่การบิดสวิตซ์ สตาร์ตติดเครื่องยนต์ธรรมดาๆ เพียงแต่ให้สังเกตการทำงานของไดสตาร์ต ถ้าหมุนอืดช้าๆ เสียงอี๊ดๆ ช้ามากก็ใช้ไม่ได้ หรือประเภทมีเสียงดังแซ๊ะๆ ก่อนไดสตาร์ตจะหมุนเร็วและฉุดให้เครื่องติดได้ลักษณะนี้แสดงว่าโรคจากน้ำได้ฟักตัวและอยู่ในระยะกำเริบแล้ว คือทำให้เกิดฉนวนตามหน้าสัมผัสของสะพานไฟในมอเตอร์สตาร์ต ทำให้กระแสไฟไหลผ่านได้น้อยหรือไหลผ่านไม่ได้เลน ถ้าบิดสวิตซ์แล้วไม่มีเสียงใด ๆทั้งสิ้น   

       การแก้ไขกรณีนี้ก็ให้ถอดไดสตาร์ตออกมาขัดทำความสะอาด ขุดคอนแทรคของโซฮอยล์ชุดแปลงถ่านและซี่คอมมิวเกเตอร์ด้วยกระดาษทรายให้สะอาดและใส่กลับที่เดิมรับรองถ้าแบตเตอรี่ไฟดีมันจะทำงานได้เช่นปกติ ถ้าท่านเจ้าของรถที่พอจะทำเป็นก็บริการรถท่านเองได้เลย

ประการที่ 3 ของการตรวจรถทั่วไปหลังฤดูฝน คือ ตรวจลูกปืนคลัตซ์
        โดยตรวจต่อเนื่องจากข้อที่ 2 เพราะเข้าไปนั่งสตาร์ต โดยตรวจต่อเนื่องจากข้อที่ 2 เพราะเข้าไปนั่งและสตาร์ตเครื่องอยู่แล้วก็ให้ตรวจสภาพของลูกปืนคลัตซ์ โดยเหยียบคลัตซ์แล้วปล่อย ทำหลายๆ ครั้งแล้วฟังเสียงผิดปกติ ถ้าขณะเหยียบมีเสียงกรี๊ดๆๆ เล็กๆ  ถ้าตรวจพบเสียงนี้ต้องรีบนำเข้ารับบริการ ตรวจเปลี่ยนลูกปืนคลัตซ์ มิฉะนั้นจะทำให้หวีคลัตซ์ นิ้วคลัตซ์ หรือที่บางครั้งเรียกว่า "ตีนผี" สึกหรอเสียหายได้ อย่าทำการซ่อมเอง ให้รีบไปใช้บริการที่อู่ สะดวกสบายที่สุด

ประการที่ 4  คือ การตรวจสภาพของการใช้งานเบรกมือ
         เพียงทดลองดึงเบรกมือว่าที่ดึงสูงมากผิดปกติหรือเปล่า ที่จริงแค่ 5 แก๊กก็พอ อันนี้เราสามารถปรับสายเบรกมือให้ตึงขึ้นก็จะแก้ปัญหานี้ได้ จากนั้นให้ตรวจสภาพการทำงาน  คือหลังจากดึงเบรกมือแล้ว ทดลองออกรถในตำแหน่งเกียร์หนึ่ง ถ้ารถเคลื่อนตัวออกได้แสดงว่าเบรคมือใช้ไม่ได้ ต้องรีบนำเข้าไปแก้ไข เพราะเบรกช่วยให้ท่านสะดวกขณะขับในสภาพการจราจรติดขัดบนคอสะพาน ซึ่งจอดรถในถนนลาดชันและยังช่วยหยุดรถเมื่อเบรคแตกได้อีกด้วย อย่านิ่งนอนใจนะครับถ้าตรวจพบว่ามันใช้การไม่ได้ ให้นำรถเข้าศูนย์บริการเลย สิ่งนี้ก็มีผลมาจากการลุยน้ำในหน้าฝนได้เช่นกัน

ประการที่ 5  การตรวจการทำงานของคลัตซ์ ที่จะแนะนำนี้เป็นวิธีการหนึ่งของการตรวจสภาพการทงานของคลัตซ์ว่าปรกติหรือไม่
         ประการแรก ตรวจคลัตซ์ลื่น วิธีการก็ไม่ยาก ดึงเบรกมือขึ้นให้สุด แล้วสตาร์ตเครื่องเข้าเกียร์ในตำแหน่งเกียร์สูงสุด ถ้าเป็นแบบ  5 เกียร์ ก็เข้า เกียร์ 5 ถ้า 4 เกียร์ ก็เข้าเกียร์ 4 แล้วออกรถในเกียร์ดังกล่าว โดยเร่งเครื่องปล่อยคลัตซ์เพื่อให้รถวิ่ง ถ้าผลปรากฎ ออกมาว่ารถไม่ขยับเขยื้อนแต่เครื่องยนต์ไม่ดับ ก็แสดงว่าคลัตซ์ลื่นครับ  อีกประการหนึ่งให้ทดลองออกรถตามปกติ เช่น พบว่ารถจะสั่งเมื่อเริ่มออกรถทุกครั้ง หลังจากรถลุยน้ำหรือลุยฝนมา นี่ก็แสดงว่าคลัตซ์ลื่นเช่นกัน อย่างนี้จะต้องนำรถไปปรึกษาช่างแล้วหล่ะ

ประการที่ 6  คือ ตรวจเบรกว่าปัดเป๋กินซ้ายหรือกินขวา การตรวจเบรก
         ท่านเองก็ทำได้สบายมาก เพียงหาที่ว่าง หรือถนนว่างเพื่อลองเบรก โดยถนนจะตัดได้ระดับลมยางและดอกยางถูกต้องใกล้เคียงกัน วิธีการตรวจให้ขับรถด้วยความเร็วประมาณ 40 กม./ชม. ตั้งพวงมาลัยให้ตรงไปข้างหน้า มือไม่ต้องจับพวงมาลัย แล้วเหยียบเบรกทันทีทันใด ถ้ารถปัดเป๋ไปข้างใดข้างหนึ่งก็แสดงว่าระบบเบรกมีปัญหา อาจเกิดจากการติดตายเพราะน้ำเข้า หรือเกิดการรั่วซึมในระบบ กรณีนี้ต้องรีบนำรถเข้าเช็คที่ศูนย์บริการเบรดโดยด่วน อย่าลืมว่า "เบรก คือ ชีวิต"

ประการที่ 7 ซึ่งเป็นประการสุดท้ายของการตรวจสภาพรถทั่วไปของรถหลังฝน คือตรวจระยะฟรีพวงมาลัย
        ซึ่งวิธีการตรวจนั้นง่ายมาก ให้ท่านจับพวงมาลัยแล้วออกแรงที่มือเบาๆ หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายหรือขวาในตำแหน่งระยะฟรี ถ้ารัศมีของระยะฟรีมาก เช่น เป็นครึ่งรอบ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ผู้ขับบังคับรถยาก เพราะในบางคันหมุนพวงมาลัยไปครึ่งรอบหน้ารถจึงจะมีปฏิกริยาตอบสนองเกิดจะต้องเลี้ยวอย่างฉับพลันคงจะเลี้ยวไม่ทันผลที่ตามมาคือต้องเฉี่ยวชนกัน "อันตราย" ควรรีบนำรถไปให้อู่ซ่อมบริการ

ทีมา : CarVariety  ครับ
บันทึกการเข้า
บางแก้ว
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 259
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6546


หมูยอ..น่ากินป่ะ


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2006, 09:09:47 AM »

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆครับ. Grin
บันทึกการเข้า
y_kato
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 5
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 648



« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2006, 04:36:45 PM »

 Smiley Smiley Smiley
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 21 คำสั่ง