จำนำได้ครับ ไม่มีความผิด แต่ต้องเป็น อวป.ที่ถูกกฎหมายนะครับ
1.เนื่องการจำนำมิใช่การโอนปืน ตามความในมาตรา 59 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ดังนั้นผู้นำไปจำนำจึงไม่ผิด
2.ส่วนผู้รับจำนำ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ อวป. ก็ไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเพียงการยึดถือไว้ชั่วขณะ ซึ่งมิใช่กรณี การมี อวป.โดยไม่ได้รับอนุญาต (คำพิพากษาศาลฎีกา 1279/2508)
*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

มาแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒ ให้แล้วกันครับ
จากกระทู้นี้นะครับ
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=95867.0 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘ การที่จำเลยที่ ๑ รับจำนำอาวุธปืนและเครื่อง
กระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดเฉพาะตัวของจำเลยที่ ๑
ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๗ โดยเฉพาะความผิดตามมาตรา ๗ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความ
ผิดก็ต่อเมื่อมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ เมื่อ
ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนแล้วนำไปจำนำไว้
กับจำเลยที่ ๒ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนตามโจทก์ฟ้อง
ข้อสังเกต – ตามคำพิพากษานี้ได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่าผู้จำนำไม่มีความผิดฐานใด ๆ ด้วย
*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯจำนำ ต่างจากการฝากอาวุธปืนไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการสูญหาย กรณีนี้ ไม่มีความผิด ไม่อาจนำมาเทียบเคียง กับเรื่องจำนำอาวุธปืน
กรณีจำนำ ผู้จำนำ ต้องส่งมอบการครอบครองอาวุธปิืน
ผู้รับจำนำ เข้าครอบครองอาวุธปืน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดหน่วงที่จะไม่คืนให้ ถ้าผู้จำนำ ไม่นำเงินมาไถ่หนี้
ถือเป็นการครอบครองที่มีเงื่อนไข เพื่อตนเอง เป็นการครอบครองเฉพาะตัวอาวุธปืน โดยไม่สนใจที่ี่ ตนเองมีสิทธิตาม ป.๔ หรือไม่
จึงมีความผิด ตาม พรบ.อาวุธปืน ฯ มาตรา ๗ ตาม ฎีกาที่ ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘
ส่วน ผู้จำนำ ซึ่งเป็น เจ้าของปืน ตาม ป.๔ ไม่มีความผิดฐาน สนับสนุน