
.. ถ้าปืนกระบอกนั้น มีทะเบียนถูกต้อง.. จะไม่มีความผิด ตาม พรบ.อาวุธปืร ฯ ๒๔๙๐ ครับ..
ป.อาญา มาตรา ๖๘ "ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการ
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการ
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด".
แต่จะเข้าเป็น เรื่องป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ที่เป็นการป้องกันตัวตามกฎหมาย.. ตาม ป.อาญา มาตรา ๖๘
จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริง เป็นราย รายไป..
เป็นปัญหาใน ข้อเท็จจริง ครับ การยิงคนร้าย. ต้องเป็นกรณีที่คนร้ายมีอาวุธ.. ปืน มีด ไม้ ฯลฯ และอยู่ในขณะที่กำลังจะใช้อาวุธนั้นทำร้าย.
จะเป็นตัวเราเอง หรือบุคคลอื่นใด ก็ตาม .. และ ไม่อาจเลี่ยงหนีไปได้..
การยิงคนร้ายในอาการใดนั้น .. เจตนาของกฎหมาย เพียงเพื่อยับยั้งไม่ให้คนร้ายกระทำร้าย ต่อไปได้อีก..
ถ้าเขายอมหยุด หรือหมดสภาพ.. ตัวเราเองก็ต้องหยุด ไม่ซ้ำต่อ.. มิฉะนั้น จะเป็นการกระทำที่เกินสมควสรแก่เหตุได้..
การยิงคนร้ายที่มีอาวุธปืน .. จะยิงกี่นัดนั้น ตามพฤติการณ์ตราบเท่าที่ คนร้ายจะไม่สามารถใช้อาวุธปืนนั้นได้อีก..
ถ้าคนร้าย ยังสามารถ ใช้อาวุธปืนในมือ จะยิงทำร้ายได้อีก ท่านมีสิทธิที่จะยิงจนเขาสิ้นความสามารถนั้น..
ถ้าเขาหมดสภาพแล้ว ปืนหลุดไปจากมือ. .. ถ้าเรายังยิงซ้ำ .. จะเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุครับ..
การยิงป้องกันตัว .. ดูจากเหตุผลในความจำเป็นที่เข้าตาม มาตรา ๖๘ ..
ส่วนผลจะเจ็บ หรือตาย อย่างไร อาจไม่ใช่เรื่องสำคัญ ..
การป้องกันตัว .. กฎหมายไม่ได้บังคับให้ ต้องเอาแต่หนีถ่ายเดียว..
ในเหตุการณ์ที่คับขัน ไม่จำต้องหนีครับ .. สามารถหันกลับมาใช้อาวุธปืน
หรือสิ่งใดที่จะหยิบฉวยขึ้นมาป้องกันตัวได้ทั้งสิ้น..
ปัญหา เรื่องการป้องกันตัว .. มีอยู่ว่า ต้องไม่ใช่เรื่องทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ใช่เป็นเรื่องท้าทายกัน
และในเรื่องที่เข้ราไปมีส่วนร่วมในการกระทำผิดในครั้งนั้นด้วย...
กฎหมายใช้คำว่าป้องสิทธิของตน
สิทธิของตน คือ สิทธิในร่างกาย ในชีวิตของตนเอง และสิทธิในทรัพย์สิน..ครับ
...คำแนะนำของท่าน Ro@d มีประประโยชน์มากๆ เลยครับ แต่ผมว่าสิ่งที่ยากที่สุดเมื่อเผชิญสถานการณ์อย่างนั้นก็คือการตัดสินใจของตัวเราเอง เพราะเราอาจจะไม่มีเวลาพอให้เราตั้งสติเพื่อคิดอย่างรอบคอบน่ะครับ...