การจัดการด้านพลังงานของประเทศไทย อิงกับผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม มากกว่าประโยชน์โดยรวมของชาติและประชาชน
การผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นพื้นฐาน เหมือนเลือดเลี้ยงองคาพยพของประเทศ
การผลิตถูกผูกขาดโดยกฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชนในโครงการ
ประชาชนหรือเอกชนอื่นๆ ที่มีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าใช้เอง ถ้าจะขายก็ต้องขายเข้ากริดของกฟผ.
ซึ่งได้ราคาต่ำกว่าที่กฟผ.ไปขายต่ออยู่มาก ไม่คุ้มทุนและไม่เป็นธรรม ไม่เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเอง
จากกรณีเชอโนบิล...............และจากปัญหาวิกฤตการพลังงาน/การเมืองโลก
หลายประเทศในยุโรปลด/เลิกการใช้การผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ มาส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองโดยชุมชน
จากวัตถุดิบในพื้นที่ เช่นไฟฟ้าจากกังหันลม(ไทย/ความเร็วลมเฉลี่ยต่ำ-ไม่คุ้มทุน) ไฟฟ้าจากไบโอแก๊ซ ไฟฟ้าจากการแปรรูปของเหลือใช้RDFโดยวิธีGasification
-- ใครผลิตไฟฟ้าเหลือใช้ก็ขายผ่านGridในราคาสมเหตุสมผล....
ลองนึกภาพทุกชุมชนผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองจากวัตถุดิบในพื้นที่....ไม่พอก็ซื้อเพิ่ม...เหลือก็ขาย....Grid/ระบบส่งเป็นของประเทศอย่างแท้จริง
เราก็จะปลดแอกด้านพลังงานได้......
ประเทศมีวัตถุดิบทางเกษตรและธรรมชาติที่พร้อมแปรเป็นพลังงานที่ไม่มีหมด....แต่จำเป็นต้องทำเป็นหน่วยย่อยๆเหมือนแขนงแต่รวมเป็นมัดให้เข้มแข็ง
แต่ผมเห็นแนวทางการบริหารจัดการพลังงานของประเทศแล้วท้อใจ...
..เพราะผู้ครอบครองระบบจ่ายและระบบจัดหาพลังงานไม่รับที่จะเปลี่ยน..
......สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนองค์กรย่อยๆมาร่วมกันผลิตไฟฟ้า.....แล้วเก็บNGไว้ใช้ประโยชน์ให้สมค่ากับตัวเองกับลูกหลาน
เรากำลังใช้NGซึ่งสูงค่าเหมือนไม้สัก........เอามาเผาแทนฟืน

ผมอาจเป็นพวกหัวเก่าไดโนเสาร์........มองว่า..
ประสิทธิภาพการแปรNGเป็นพลังงานไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน.....ก็ยังพอทนในภาพรวมของการสงวนเงินตราต่างประเทศ
แต่การเอามาใช้ในยานยนต์ของบุคคล......รับไม่ได้จริงๆครับ.......
