ขึ้นอยู่กับสำนวน สอบสวน ของตำรวจ มั๊งครับ เพราะข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ศาลท่านมิได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ท่านตัดสินจาก สำนวน และ พยาน ครับ เห็นใจ ทุกฝ่ายครับ

.ขึ้นอยู่กับคำเบิกความของพยานอัยการโจทก์ +พิรุธขณะเบิกความ
+ระหว่างตอบคำถามค้านของทนายจำเลย.+ขึ้นอยู่กับการนำสืบของท่านอัยการ
+คำให้การของพยานปากต่างๆในชั้นสอบสวน.ที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำไว้
( .แล้วนำมาประกอบกัน )
.
กรณีนี้. หากคนตายกำลังถือมีดจะเข้ามาฟัน. คนยิงจำเป็นต้องยิง
เพื่อให้หยุด. แม้จะถึง ๔ นัด. แต่ก็อาจด้วยความตกใจในภัยอันตรายที่ใกล้จะถึง
ก็อาจเป็นป้องกันตัวได้. ทำให้ไม่มีความผิด
อย่างไรก็ตาม . หากข้อเท็จจริงเพี้ยนออกไปนิดเดียว.
การวินิจฉัยก็อาจเปลี่ยนแปลงไปได้อีก.
.แต่หากรูปเรื่องเป็นว่า . คนตายใช้มีดฟันไป ๑ ทีแล้วไปนั่งอยู่ที่โต๊ะ
เฉยๆ. ยังไม่ได้เข้ามาทำอะไรต่ออีก. การยิง ๔ นัดตอนหลัง ไม่น่าจะใช่การ
ป้องกันแล้ว แต่น่าจะเป็นการบันดาลโทสะ. ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยเพียงใดก็ได้.
ส่วน.ถ้าจะเป็นกรณีป้องกัน ที่เกินกว่าเหตุ. จะต้องเป็นกรณีว่า.
คนตายเดินถือมีดเข้ามากำลังจะฟัน. คยยิงยิงป้องกันไป ๑ - ๒ นัด
จนคนตายล้มลงแผ่หมดทางสู้ไปแล้ว. แม้ในมือถือมีด แต่ก็หงายท้อง
นอนแผ่หมดหนทางลุกแล้ว. คนยิงยังยิงซ้ำเข้าไปอีก ๑-๒ นัด ( รวม ๔ นัด )
อย่างนี้จะเป็นการป้องกัน. ที่ทำเกินกว่าเหตุ. ก็ลงโทษน้อยเพียงใดก็ได้
เป็นดุลพินิจ.. ของศาล.