.ความเห็นผมคล้ายๆท่านว่าเมื่อนาย ข.ถูกตำรวจจับกุมในคดีอาญาในฐานลักทรัพย์
และฐานอื่นๆ .ตำรวจก็จะต้องยึดปืนกระบอกนั้นเอาไว้เป็นของกลางในคดีอาญาเพื่อจะคืนให้ นาย ก.
เจ้าของแท้จริง
.
.
แต่ปัญหามันมีอีกว่า ถ้านาย ค.ไม่ยอมให้ตำรวจยึดปืนไปคืนแก่นาย ก..
และไม่ยอมฟ้องทางแพ่งกับนาย ข.ฐานละเมิดด้วย โดยไปอ้าง ประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ตามนี้ ในความเห็นของผมนะครับ...ว่าด้วยเรื่องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.
ในมาตรา 1332 บัญญัติว่า " บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา "ดังนั้น นาย ค.น่าจะมีสิทธิดีกว่าครับ
และในเรื่องคดีอาญาก็ต้องว่าด้วยเจตนา ถ้าไม่ทราบ ก็ไม่มีเจตนา ในความฐานผิดรับของโจร เพราะโจทกย์ตั้งมาว่าโดยสุจริตนี่ครับ
เป็นความเห็นนะครับ ต้องรอผู้รู้มาตอบต่อไปครับ
.จึงสงสัยว่า .นาย ค. จะอ้างแบบนั้นเพื่อให้นาย ก.มาใช้ราคาปืนที่ซื้อก่อนได้ไหม
.เพราะนาย ค.แกอ้างว่าซื้อมาจากร้านขายปืนในท้องตลาดจริง+สุจริตจริง
.นายก.จะต้องเสียเงินไหม. ถึงจะได้ปืนคืน
เพราะถ้าเข้าปพพ.มาตรา 1332 ข้างบน . นายค .ก็ไม่ยอมคืนได้ .หากนาย ก.ไม่
ยอมจ่ายเงิน.
..
..

.. ในเบื้องต้น นาย ค จะต้องถูกดำเนินคดี ในความผิดฐานรับของโจร.. แต่ในที่สุด พนักงาน
อัยการ อาจสั่งไม่ฟ้อง เนื่องเพราะ นาย ค ขาดเจตนาในการกระทำความผิด .
แต่ อาวุธปืน ถือเป็นของกลางในคดี ที่ได้มาจากการกระทำความผิด ฐานลักทรัพย์
ในคดีที่ นาย ข ก่อขึ้น เจ้าทรัพย์ คือ นาย ก.
ทรัพย์สินเมื่อมีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ครอบครอง อ้างเหตุขาดเจตนา เพื่อให้ตนพ้นจากความผิด.. แต่มิได้ทำให้
ทรัพย์นั้น เป็นทรัพย์ที่ถูกต้องไปด้วย.
เรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินคดีอาญา
ส่วนในเรื่องทางแพ่ง
เป็นเรื่องที่ นาย ค จะต้องโต้แย้ง และไปฟ้องเอากับผู้กระทำเมิด เอาเอง ครับ.
ในชั้นนี้ ศาลจะเป็นผู้พิจารณาให้ความเป็นธรรม ครับ.
ตาม ป.แพ่งฯ มาตรา ๑๓๓๒ เป็นการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่ง ของบุคคลที่สาม
ที่ไม่ได้เกี่ยวกับคดีอาญา และทรัพย์นั้น ไม่ใช่ ทรัพย์ที่ได้มา
จากการกระทำผิดในคดีอาญา .. ครับ.
เป็นเพียงความเห็น ในฐานะนักกฎหมาย คนหนึ่ง.
แต่ข้อเท็จจริง ในลักษณะนี้ น่าจะมีคำพิพากษาฎีกา ถ้าท่านใด พอทราบ
ช่วยนำมาเสริม ให้ด้วยครับ.
