เรื่องการเมือง การปกครอง...ผมมิค่อยถนัดครับ แฮ่ ๆ

...ขณะที่สงครามเวียดนามได้สร้างบาดแผลให้กับคนอเมริกัน
ทั้งในระดับปัจเจกชนและเกียรติภูมิของชาติ
ความทรงจำของชาวอเมริกันต่อสงครามเวียดนามไม่ใช่ความทรงจำของผู้ชนะ
ไม่ใช่สงครามที่นำเกียรติยศมาให้กับชาติ
...แต่สำหรับประเทศไทยที่เข้าสู่และออกจากสงครามเวียดนาม
ด้วยการเดินตามหลังสหรัฐอเมริกา
อีกทั้งเหตุผลเบื้องหลังของการส่งทหารเข้าสู่สมรภูมิเวียดนาม
ก็ไม่ใช่เหตุผลทางการทหาร
ทำให้มีความทรงจำที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากผู้นำของตน
แม้ว่าในยุคสมัยหนึ่งทหารไทยจะถูกชาวต่างชาติและคนไทยบางส่วน
เรียกว่า ทหารรับจ้าง
แต่สำหรับพวกเขา คำ ๆ นี้กลับไม่ปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์การทหารไทย
สมรภูมิเวียดนามกลายเป็นตรายางรับประกันคุณภาพให้กับทหารเหล่านั้น
เป็นเรื่องราวของความกล้าหาญ เสียสละ อดทน เก่งกาจในการรบ
ที่จะต้องนำมาบันทึกบอกเล่าต่อ ๆ กันให้ลูกหลานได้เคารพบูชา
เป็นเกียรติประวัติที่ผู้นำทหารไทยนิยมนำมาบรรจุไว้ในชีวประวัติของพวกเขา
จึงไม่น่าแปลกใจว่างานเขียนเกี่ยวกับบทบาทของไทยในสงครามเวียดนาม
ล้วนแต่เป็นผลงานของบุคคลในกองทัพ
ซึ่งเนื้อหาจึงเป็นเพียงการตอกย้ำวีรกรรมหาญกล้าของนักรบไทย
ทัศนะดังกล่าวได้กลายเป็นความทรงจำกระแสหลักของสังคมไทย
ที่มีต่อสงครามเวียดนามไปแล้ว
ทั้ง ๆ ที่บทบาทของประเทศไทยในสงครามเวียดนาม
ได้เคยเป็นประเด็นที่มีการต่อสู้ทางความคิดอย่างเผ็ดร้อนมาก่อน
และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของภาพสะท้อนจาก การจัดการความจริง
ของสังคมไทยในช่วงเวลาหนึ่ง ที่จะเป็นบทเรียนสำหรับอนาคต...
ข้อความเชิงวิเคราะห์ชิ้นหนึ่ง
ของ ดร. พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ครับ
ผมชอบมาก....สำหรับทหารไทย....
ผมชอบมาก....สำหรับ "การจัดการความจริง" ของคนไทย...
ผมชอบมาก....สำหรับ..."ความนิยม" ของไทย...
ผมชอบคำว่า "การจัดการความจริง" ม๊ก...ม๊าก....ครับ อิ อิ