กรณีเพื่อนของท่านจขกท.เป็นอุทาหรณ์.....
หลายท่านรักถิ่นเกิด ไม่อยากแจ้งย้ายชื่อในทะเบียนราษฎร์ ทำให้ต้องเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อไปยื่นป.๑ ขอป.๓ป.๔
นายทะเบียนฯท่านมีหน้าที่ตรวจสอบว่าผู้ขอฯเป็นผู้มีคุณสมบัติและมิได้เป็นบุคคลต้องห้ามออกใบอนญาต
ข้อที่ต้องพิจารณาข้อหนึ่งตามมาตรา ๑๓ (๙) คือ ห้ามออกใบอนุญาตให้ "บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน"
จึงเป็นที่มาของการกำหนดเรื่องการต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติ โดยบุคคลที่นายทะเบียนฯเชื่อถือ
ในกทม.กำหนดให้นายทะเบียนฯเชื่อขรก.ซี๖ขึ้นไป ส่วนภูมิภาคก็ให้เครดิตกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือนายกเทศมนตรี
สำหรับ กทม.ถ้าหาผู้รับรองไม่ได้ ก็มีบันทึกให้นายทะเบียนฯทราบ นายทะเบียนฯก็จะมีหนังสือไปสอบถาม/ขอให้ตำรวจท้องที่ที่เรามีภูมิลำเนาอยู่ตรวจสอบ ซึ่งก็เป็นวิธีการทางปฏิบัติที่เป็นอยู่ แม้ว่าต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นในขั้นตอนนี้บ้าง แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร
ผมคิดว่าในส่วนภูมิภาค ก็น่าทำได้อย่างเดียวกัน ทำหนังสือแจ้งตรงๆว่าพบกำนันแล้ว ท่านไม่ประสงค์จะรับรองให้ นายทะเบียนฯท่านอาจเลือกที่จะมีหนังสือสอบถามกำนัน หรืออาจมีหนังสือสอบถามตำรวจท้องที่ หากเราเป็นผู้สุจริตมีความประพฤติเรียบร้อยก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร
การเหล่ลูกสาวกำนันยังไม่น่าจะเป็นการมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

และการไม่มีใบรับรองฯไม่ได้เป็นการขาดคุณสมบัติ ที่นายทะเบียนฯจะปฏิเสธการออกใบอนุญาต
ถ้าใครใส่ไคล้ ทำหนังสือแจ้งนายทะเบียนว่าเรามีความประพฤติชั่ว คงได้ลุยเรื่องหมิ่นประมาทกันสักตั้ง
แต่....ปัญหาคือหากปรากฎข้อเท็จจริงว่าเราไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่นั้นๆ นายทะเบียนฯก็ใช้เป็นเหตุผลปฏิเสธได้
คำแนะนำคืออยู่ที่ไหน ก็ย้ายทะเบียนราษฎร์ไปที่นั่น ทำอะไรๆก็สะดวก
แถมว่า.....เวลาให้ข้อมูลถ้อยคำกับเจ้าพนักงาน ต้องถูกต้องครบถ้วน มีปืนกี่กระบอก-เมียกี่คน ที่เขียนไม่พอให้ทำรายการแนบ
ตัวผมเองทำตามคำพ่อว่า..

...อย่าโกหกถ้าไม่จำเป็น เพราะโกหกมันเหนื่อยที่ต้องจำว่าโกหกอะไรใครไปบ้าง แต่ความจริงพูดเมื่อไรก็คือความจริง
ใช้เพื่อป้องกันฯก็ขอเพื่อป้องกันฯ ใช้เพื่อการกีฬาก็ขอเพื่อการกีฬา ข้อมูลมีอย่างไรก็ว่าตามจริง ...... ถึงเวลารบไม่มีใครตลบหลังได้ครับ
