ลองอ่านดูนะครับของเทศบาลเมืองพัทยา แต่ละท้องที่ก็คงใกล้เคียงกัน

การดัดแปลงและรื้อถอนอาคาร
การดัดแปลงอาคาร
เหมือนการก่อสร้างอาคารใหม่ แต่ต้องนำใบอนุญาตรายการคำนวณ (ถ้าอาคารที่ขอดัดแปลงจัดอยู่ในประเภทอาคารถูกกำหนดให้มี) และแบบพิมพ์เขียวที่มีลายเซ็นเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาประกอบกรขออนุญาตด้วย
การรื้อถอนอาคาร
เหมือนการดัดแปลงอาคาร
*กรณีเป็นอาคารพักอาศัยที่สูงเกิน 2 ชั้น หรืออาคารประเภทอื่นๆ เหมือนกับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคารที่พักอาศัยที่สูงไม่เกิน 2 ชั้น ที่ไม่ใช้อาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสาธารณะ แต่มีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
- หนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวของวิศวกรผู้ออกแบบตามลักษณะ และประเภทที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาวิศวกรรม
- หนังสือรับรอง และสำเนาบัตรประจำตัวของสถาปนิกผู้ออกแบบตามลักษณะ และประเภทที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรม
- หนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวของผู้ควบคุมงาน ซึ่งอาจเป็นวิศวกร และ/หรือสถาปนิก ตามลักษณะและประเภทของอาคารที่ได้กำหนดไว้ตามกฎกระทรวง
กรณีเป็นอาคารควบคุมการใช้
เมื่อได้ก่อสร้าง ดัดแปลง ประเภทควบคุมการใช้แล้วเสร็จ ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งให้เมืองพัทยาทราบเป็นลายลักษณ์อักษร (ตามแบบฟอร์มคำร้องขอให้ตรวจสอบการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร) (ข.1) ก่อนการใช้อาคาร อาคารควบคุมการใช้ ได้แก่ อาคารที่ใช้เป็นคลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด สถานพยาบาล หรืออาคารสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข หรือกิจการอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
มาตรา 39 ทวิ ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้นถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็ได้โดยการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดพร้อมทั้งแจ้งข้อมูล
และยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อของผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ประเภทวุฒิสถาปนิก ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรม และจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับแจ้งเวียนชื่อตามมาตรา 49 ทวิ
(ข) ชื่อของผู้รับผิดชอบงานออกแบบ และคำนวณอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม และจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับการแจ้งเวียนชื่อตามมาตรา 49 ทวิ
(ค) ชื่อ ของผู้ควบคุมงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรม และเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม และจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับการแจ้งเวียนชื่อตามมาตรา 49 ทวิ
(ง) สำเนาใบอนุญาตของบุคคลตาม (ก) (ข) และ (ค)
(จ) หนังสือรับรองของบุคคลตาม (ก) (ข) และ (ค) ว่า ตนเป็นผู้ออกแบบอาคารเป็นผู้ออกแบบและคำนวณอาคาร หรือจะเป็นผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งรับรองว่าการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารนั้นถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทุกประการ
(ฉ) แผน ผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้าย ซึ่งมีคำรับรองของบุคคลตาม (ก) และ (ข) ว่าตนเป็นผู้ออกแบบอาคารและเป็นผู้ออกแบบและคำนวณนั้น
(ช) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการดำเนินการดังกล่าว
(2) ชำระค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ในกรณีที่เป็นการแจ้งว่าการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
ถ้า ผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในวันที่ได้รับแจ้ง และผู้แจ้งเริ่มต้นดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ให้ นำมาตรา 38 และมาตรา 39 มาใช้บังคับแก่ใบรับแจ้งตามมาตรานี้โดยอนุโลม (มาตรา 39 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535)