เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: ps- 2000 ที่ กันยายน 07, 2011, 11:58:08 AM



หัวข้อ: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: ps- 2000 ที่ กันยายน 07, 2011, 11:58:08 AM
การรับจำนำปืนเขาทำกันยังไงบ้างครับ ถึงไม่ผิดกฏหมาย ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: kamikaze_13 ที่ กันยายน 07, 2011, 12:16:02 PM
บุคคลกับบุคคล = ปืนผิดมือ มีโทษทั้งผู้จำนำและผู้รับจำนำ
กรณีร้านปืน รอผู้รู้ครับ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ กันยายน 07, 2011, 04:24:16 PM
ผิดกฎหมายทั้งหมดครับ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหริอบุคคล...................

ครอบครองปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: พญาจงอาง +รักในหลวง+ ที่ กันยายน 07, 2011, 04:40:44 PM
เหตการณ์แบบนี้ ส่วนใหญ่ที่เคยได้ยินมาและประสบกับตัวเองคือเจ้าของปืนเดือดร้อนเรื่องเงินแบบปัจจุบันทันด่วน ประมาณว่าเพิ่งจะออกมาจากบ่อนอะไรทำนองนั้น แต่ก็มีเหตผลอื่นที่ดีๆอยู่เหมือนกัน เช่นร้อนเงินและมีความจำเป็นอย่างอื่น(เพื่อนที่รู้จักจะไปอบรมสารวัตร แฟนก็เพิงคลอดลูก ค่าใช้จ่ายก็เยอะช่วงนั้น มันโทรข้ามประเทศมาหาผมบอกว่าจะเอา 686 มาค้ำประกันเงินยืม ผมเลยให้พี่ปลัดที่นับถือกันโอนต่อจากมัน รอดตัวไป)แต่เขาไม่พูดว่าจำนำแต่จะพูดว่าจะโอนลอยไว้ก่อน ขอ ป.3ได้ค่อยมาตัดโอนกันอีกที อันตรายครับ ลีกได้ก็ลีกอย่าเข้าไปใกล้เรื่องแบบนี้ เห็นของถูกแล้วอยากได้ เดี่ยวจะเสียมากๆเอานะ ;D ::002:: ::014::


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: Victor&Sugus ที่ กันยายน 07, 2011, 04:44:08 PM
อย่ารับจำนำดีกว่าครับ ซื้อต่อไปเลยดีกว่า.......


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กันยายน 07, 2011, 06:27:09 PM
     ป.แพ่งฯ เขียนไว้ว่า
     มาตรา 747    อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

     พ.ร.บ.อาวุธปืนฯเขียนไว้ว่า
     มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
     
     


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: bignarak ที่ กันยายน 09, 2011, 11:42:00 AM
 ::014::
     ป.แพ่งฯ เขียนไว้ว่า
     มาตรา 747    อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

     พ.ร.บ.อาวุธปืนฯเขียนไว้ว่า
     มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
     
     
+1 ::002:: ::014::


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: Jakkaphat ที่ กันยายน 09, 2011, 01:10:12 PM
สรุปว่าไม่คุ้มทั้งสองฝ่าย  จำนำอย่างอืนดีกว่า  หุหุ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: Gumanba ที่ กันยายน 09, 2011, 01:24:38 PM
ทำสัญญากู้ยืมเงินแบบธรรมดา ระบุในสัญญากู้ยืมว่า ยินดีมอบอาวุธปืนหมายเลขทะเบียน....มอบให้
ดูแลรักษาไว้จนกว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้จนครบ  แล้วนำำตัวปืนพร้อมใบ ป.4ตัวจริง ให้เจ้าหนี้ไปครับ

แถวบ้านทำอย่างนี้.... :)




หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กันยายน 09, 2011, 03:34:08 PM
ทำสัญญากู้ยืมเงินแบบธรรมดา ระบุในสัญญากู้ยืมว่า ยินดีมอบอาวุธปืนหมายเลขทะเบียน....มอบให้
ดูแลรักษา
 ไว้จนกว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้จนครบ  แล้วนำำตัวปืนพร้อมใบ ป.4ตัวจริง ให้เจ้าหนี้ไปครับ

แถวบ้านทำอย่างนี้.... :)


         การมอบให้ดูแลรักษา มันเข้าองค์ประกอบของคำว่า จำนำหรือเปล่า คือเป็นการประกันหนี้หรือเปล่า ผมว่าการยินดีหรือไม่กฎหมายไม่ยินดีกับท่านหรอกครับ เจ้าหนี้ครอบครองปืนกระบอกนี้ในฐานะอะไรครับ ผู้ดูแล เจ้าหนี้ หรือว่าเจ้าของปืน ลองไปอ่าน ม.7 พ.ร.บ.อาวุธปืนดูก่อน นี่มาตราเดียวนะครับ ยังมีลักษณะต้องห้ามตามมารา 13 อีก ผมว่าการแนะนำเรื่องอย่างนี้ควรดูกฎหมายประกอบด้วยเพราะเป็นการให้ความเห็นในเรื่องกฎหมายและให้ความเห็นในที่สาธารณะ คนที่เข้ามาอ่านเขาอาจจะรับข้อมูลผิดๆไปได้ ครับ
         


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: Gumanba ที่ กันยายน 09, 2011, 04:19:42 PM
ทำสัญญากู้ยืมเงินแบบธรรมดา ระบุในสัญญากู้ยืมว่า ยินดีมอบอาวุธปืนหมายเลขทะเบียน....มอบให้
ดูแลรักษา
 ไว้จนกว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้จนครบ  แล้วนำำตัวปืนพร้อมใบ ป.4ตัวจริง ให้เจ้าหนี้ไปครับ

แถวบ้านทำอย่างนี้.... :)


         การมอบให้ดูแลรักษา มันเข้าองค์ประกอบของคำว่า จำนำหรือเปล่า คือเป็นการประกันหนี้หรือเปล่า ผมว่าการยินดีหรือไม่กฎหมายไม่ยินดีกับท่านหรอกครับ เจ้าหนี้ครอบครองปืนกระบอกนี้ในฐานะอะไรครับ ผู้ดูแล เจ้าหนี้ หรือว่าเจ้าของปืน ลองไปอ่าน ม.7 พ.ร.บ.อาวุธปืนดูก่อน นี่มาตราเดียวนะครับ ยังมีลักษณะต้องห้ามตามมารา 13 อีก ผมว่าการแนะนำเรื่องอย่างนี้ควรดูกฎหมายประกอบด้วยเพราะเป็นการให้ความเห็นในเรื่องกฎหมายและให้ความเห็นในที่สาธารณะ คนที่เข้ามาอ่านเขาอาจจะรับข้อมูลผิดๆไปได้ ครับ
        

ขออภัยครับ ผมคิดว่ามันก็ไมได้ถูกกฏหมายนะครับ เพราะกฏหมายไม่ได้เขียนบอกวิธีการจำนำปืนไว้ แต่อย่างที่บอก แถวบ้านทำอย่างนี้... :)


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กันยายน 09, 2011, 05:10:40 PM
         ผมไม่ได้มีเจตนาเป็นอื่น ครับ เพียงแต่บางเรื่องก็ขอติงกันบ้าง ขอบคุณที่เข้าใจครับ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กันยายน 09, 2011, 06:36:06 PM
ทำสัญญากู้ยืมเงินแบบธรรมดา ระบุในสัญญากู้ยืมว่า ยินดีมอบอาวุธปืนหมายเลขทะเบียน....มอบให้
ดูแลรักษาไว้จนกว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้จนครบ   แล้วนำำตัวปืนพร้อมใบ ป.4ตัวจริง ให้เจ้าหนี้ไปครับ

แถวบ้านทำอย่างนี้.... :)




ถือเป็นรับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้.....เมื่อเป็นการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
.........มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ

อ้างอิง.....คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7803/2543


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: tom ที่ กันยายน 11, 2011, 06:43:43 PM
สรุปว่าไม่ควรรับจำนำปืนไม่ว่าจะกรณีใดๆ ครับ ไม่มีข้อกฎหมายใดๆให้ข้อยกเว้นไว้หรือคุ้มครองผู้ที่รับจำนำหรือผู้ที่จำนำปืน พร้อมทั้งมีบทลงโทษทั้งจำทั้งปรับ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: paisan2 ที่ กันยายน 11, 2011, 06:45:26 PM
คุกเห็นๆ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: rung ที่ กันยายน 13, 2011, 08:57:44 PM
เห็นมีประกาศรับจำนำกันในหนังสือ ปืนด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: ทนาย หนุ่ม ที่ กันยายน 14, 2011, 10:53:31 AM
จำนำได้ครับ ไม่มีความผิด แต่ต้องเป็น อวป.ที่ถูกกฎหมายนะครับ

1.เนื่องการจำนำมิใช่การโอนปืน ตามความในมาตรา 59 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ  ดังนั้นผู้นำไปจำนำจึงไม่ผิด

2.ส่วนผู้รับจำนำ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ อวป. ก็ไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเพียงการยึดถือไว้ชั่วขณะ ซึ่งมิใช่กรณี การมี อวป.โดยไม่ได้รับอนุญาต (คำพิพากษาศาลฎีกา 1279/2508)

*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

 :VOV: :VOV: :VOV:


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: ไก่เฮง รักในหลวง ที่ กันยายน 14, 2011, 11:41:57 AM
...ถ้าเป็นโกลคัพ ถูกกฎหมาย จำนำราคาไม่เกิน 5000 บาท  ผมรับจำนำครับ  อิอิ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: ban.cha ที่ กันยายน 14, 2011, 12:15:03 PM
จำนำได้ครับ ไม่มีความผิด แต่ต้องเป็น อวป.ที่ถูกกฎหมายนะครับ

1.เนื่องการจำนำมิใช่การโอนปืน ตามความในมาตรา 59 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ  ดังนั้นผู้นำไปจำนำจึงไม่ผิด

2.ส่วนผู้รับจำนำ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ อวป. ก็ไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเพียงการยึดถือไว้ชั่วขณะ ซึ่งมิใช่กรณี การมี อวป.โดยไม่ได้รับอนุญาต (คำพิพากษาศาลฎีกา 1279/2508)

*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

 :VOV: :VOV: :VOV:
ได้ความรู้...ขอบคุณครับ ::014::


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 14, 2011, 12:42:07 PM
จำนำได้ครับ ไม่มีความผิด แต่ต้องเป็น อวป.ที่ถูกกฎหมายนะครับ

1.เนื่องการจำนำมิใช่การโอนปืน ตามความในมาตรา 59 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ  ดังนั้นผู้นำไปจำนำจึงไม่ผิด

2.ส่วนผู้รับจำนำ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ อวป. ก็ไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเพียงการยึดถือไว้ชั่วขณะ ซึ่งมิใช่กรณี การมี อวป.โดยไม่ได้รับอนุญาต (คำพิพากษาศาลฎีกา 1279/2508)

*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

 :VOV: :VOV: :VOV:
มาแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒  ให้แล้วกันครับ 
จากกระทู้นี้นะครับ http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=95867.0 (http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=95867.0)

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘  การที่จำเลยที่ ๑ รับจำนำอาวุธปืนและเครื่อง

กระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดเฉพาะตัวของจำเลยที่ ๑

ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๗ โดยเฉพาะความผิดตามมาตรา ๗ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความ

ผิดก็ต่อเมื่อมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ เมื่อ

ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนแล้วนำไปจำนำไว้

กับจำเลยที่ ๒ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนตามโจทก์ฟ้อง

ข้อสังเกต – ตามคำพิพากษานี้ได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่าผู้จำนำไม่มีความผิดฐานใด ๆ ด้วย



*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

จำนำ ต่างจากการฝากอาวุธปืนไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการสูญหาย กรณีนี้ ไม่มีความผิด   ไม่อาจนำมาเทียบเคียง กับเรื่องจำนำอาวุธปืน

กรณีจำนำ ผู้จำนำ ต้องส่งมอบการครอบครองอาวุธปิืน
ผู้รับจำนำ เข้าครอบครองอาวุธปืน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดหน่วงที่จะไม่คืนให้ ถ้าผู้จำนำ ไม่นำเงินมาไถ่หนี้
ถือเป็นการครอบครองที่มีเงื่อนไข เพื่อตนเอง   เป็นการครอบครองเฉพาะตัวอาวุธปืน โดยไม่สนใจที่ี่ ตนเองมีสิทธิตาม ป.๔ หรือไม่

จึงมีความผิด ตาม พรบ.อาวุธปืน ฯ มาตรา ๗  ตาม ฎีกาที่ ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘   

ส่วน ผู้จำนำ ซึ่งเป็น เจ้าของปืน ตาม ป.๔ ไม่มีความผิดฐาน สนับสนุน


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กันยายน 14, 2011, 03:22:14 PM
จำนำได้ครับ ไม่มีความผิด แต่ต้องเป็น อวป.ที่ถูกกฎหมายนะครับ

1.เนื่องการจำนำมิใช่การโอนปืน ตามความในมาตรา 59 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ  ดังนั้นผู้นำไปจำนำจึงไม่ผิด

2.ส่วนผู้รับจำนำ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ อวป. ก็ไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเพียงการยึดถือไว้ชั่วขณะ ซึ่งมิใช่กรณี การมี อวป.โดยไม่ได้รับอนุญาต (คำพิพากษาศาลฎีกา 1279/2508)

*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

 :VOV: :VOV: :VOV:
มาแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒  ให้แล้วกันครับ  
จากกระทู้นี้นะครับ http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=95867.0 (http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=95867.0)

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘  การที่จำเลยที่ ๑ รับจำนำอาวุธปืนและเครื่อง

กระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดเฉพาะตัวของจำเลยที่ ๑

ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๗ โดยเฉพาะความผิดตามมาตรา ๗ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความ

ผิดก็ต่อเมื่อมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ เมื่อ

ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนแล้วนำไปจำนำไว้

กับจำเลยที่ ๒ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนตามโจทก์ฟ้อง

ข้อสังเกต – ตามคำพิพากษานี้ได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่าผู้จำนำไม่มีความผิดฐานใด ๆ ด้วย



*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

จำนำ ต่างจากการฝากอาวุธปืนไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการสูญหาย กรณีนี้ ไม่มีความผิด   ไม่อาจนำมาเทียบเคียง กับเรื่องจำนำอาวุธปืน

กรณีจำนำ ผู้จำนำ ต้องส่งมอบการครอบครองอาวุธปิืน
ผู้รับจำนำ เข้าครอบครองอาวุธปืน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดหน่วงที่จะไม่คืนให้ ถ้าผู้จำนำ ไม่นำเงินมาไถ่หนี้
ถือเป็นการครอบครองที่มีเงื่อนไข เพื่อตนเอง   เป็นการครอบครองเฉพาะตัวอาวุธปืน โดยไม่สนใจที่ี่ ตนเองมีสิทธิตาม ป.๔ หรือไม่

จึงมีความผิด ตาม พรบ.อาวุธปืน ฯ มาตรา ๗  ตาม ฎีกาที่ ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘  

ส่วน ผู้จำนำ ซึ่งเป็น เจ้าของปืน ตาม ป.๔ ไม่มีความผิดฐาน สนับสนุน

       ตกลงท่านทนายว่าจำนำและรับจำนำได้ ไม่มีความผิดนะ ครับ ผมและสมาชิกจะได้เข้าใจตามนี้
       ถามหน่อยครับ การจำนำ มีการกำหนดหรือไม่ว่าจำนำได้นานเท่าไหร่ กี่ปีกี่เดือน ครับ อย่างผมจะรับจำนำปืนสัก 20 ปี อย่างนี้ได้หรือเปล่า ครับ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 14, 2011, 04:03:09 PM
จำนำได้ครับ ไม่มีความผิด แต่ต้องเป็น อวป.ที่ถูกกฎหมายนะครับ

1.เนื่องการจำนำมิใช่การโอนปืน ตามความในมาตรา 59 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ  ดังนั้นผู้นำไปจำนำจึงไม่ผิด

2.ส่วนผู้รับจำนำ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ อวป. ก็ไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเพียงการยึดถือไว้ชั่วขณะ ซึ่งมิใช่กรณี การมี อวป.โดยไม่ได้รับอนุญาต (คำพิพากษาศาลฎีกา 1279/2508)

*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

 :VOV: :VOV: :VOV:
มาแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒  ให้แล้วกันครับ  
จากกระทู้นี้นะครับ http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=95867.0 (http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=95867.0)

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘  การที่จำเลยที่ ๑ รับจำนำอาวุธปืนและเครื่อง

กระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดเฉพาะตัวของจำเลยที่ ๑

ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา ๗ โดยเฉพาะความผิดตามมาตรา ๗ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความ

ผิดก็ต่อเมื่อมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ เมื่อ

ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนแล้วนำไปจำนำไว้

กับจำเลยที่ ๒ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนตามโจทก์ฟ้อง

ข้อสังเกต – ตามคำพิพากษานี้ได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่าผู้จำนำไม่มีความผิดฐานใด ๆ ด้วย



*** เรื่องพวกนี้ ลองเทียบเคียง กรณีฝากปืน การครอบครองปืนไว้เพื่อมิให้สูญหาย หรือแม้กระทั่งการครอบครองปืนมรดก ฯลฯ

จำนำ ต่างจากการฝากอาวุธปืนไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการสูญหาย กรณีนี้ ไม่มีความผิด   ไม่อาจนำมาเทียบเคียง กับเรื่องจำนำอาวุธปืน

กรณีจำนำ ผู้จำนำ ต้องส่งมอบการครอบครองอาวุธปิืน
ผู้รับจำนำ เข้าครอบครองอาวุธปืน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดหน่วงที่จะไม่คืนให้ ถ้าผู้จำนำ ไม่นำเงินมาไถ่หนี้
ถือเป็นการครอบครองที่มีเงื่อนไข เพื่อตนเอง   เป็นการครอบครองเฉพาะตัวอาวุธปืน โดยไม่สนใจที่ี่ ตนเองมีสิทธิตาม ป.๔ หรือไม่

จึงมีความผิด ตาม พรบ.อาวุธปืน ฯ มาตรา ๗  ตาม ฎีกาที่ ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘  

ส่วน ผู้จำนำ ซึ่งเป็น เจ้าของปืน ตาม ป.๔ ไม่มีความผิดฐาน สนับสนุน

       ตกลงท่านทนายว่าจำนำได้ ไม่มีความผิดนะ ครับ ผมและสมาชิกจะได้เข้าใจตามนี้
       ถามหน่อยครับ การจำนำ มีการกำหนดหรือไม่ว่าจำนำได้นานเท่าไหร่ กี่ปีกี่เดือน ครับ อย่างผมจะรับจำนำปืนสัก 20 ปี อย่างนี้ได้หรือเปล่า ครับ

เข้าใจคลา่ดเคลื่อน  นะครับ

ความเห็นทางกฎหมายของผม คือ การจำนำปืน ผู้รับจำนำ มีความผิด  ตาม  พรบ.อาวุธปืน ม.๗ และต้องลงโทษตามความผิด  ที่เรียกว่าปืนผิดมือ
ตาม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๒๗๙ / ๒๕๐๘

พนักงานอัยการ ฟ้อง ผู้จำนำเป็นความผิดฐานเดียวกัน ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด ตาม ม.๗    
ผู้จำนำ ไม่มีความผิดในฐานนี้

การจำนำปืน ผู้รับจำนำต้องไปเสี่ยงภัยเอาเอง .. เป็นเรื่องตบมือข้างเดียวไม่ดัง และ ท่านได้ไปอยู่ฝั่งใด นะครับ..
และอีกฝ่ายนั้น เข้าใจข้อกฎหมาย นี้ แล้ว หรือยัง


 


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กันยายน 14, 2011, 05:03:00 PM
     ขออภัยท่านทนาย Ro@d - รักในหลวง ผมหมายถึงท่าน"ทนาย หนุ่ม" ครับ อ่านตามความเห็นของท่านทนาย Ro@d - รักในหลวงผมก็เข้าใจแบบท่าน ครับ     


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: ทนาย หนุ่ม ที่ กันยายน 15, 2011, 08:08:58 AM
กรณีนี้เป็นความคิดเห็นทางกฎหมาย ครับ และเป็นที่ยุติแล้วว่า ผู้ที่มีอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถนำไปจำนำได้ โดยไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น

ปัญหาคือผู้ที่รับจำนำนั้น จะมีความผิด อย่างไร มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัน เรื่องเดียวคือ การรับจำนำเป็นการ ครอบครองเพื่อตน  หรือเป็น กรณีครอบครองไว้เท่าที่จำเป็น  โดยประเด็นดังกล่าวจะเป็นเครื่องชี้ว่า ผู้รับจำนำจะถูกลงโทษหรือไม่?

ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เพื่อนๆ หลายท่านยกขึ้นว่า นั้น ศาลมองว่า เป็นกรณีการครอบครองไว้เพื่อตน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7 ประกอบมาตรา 72 โดยมีฎีกาเดินตามกันมาหลายฎีกา เริ่มจาก 1279/2508 ,4102/2535 ,6771/2542 และฎีกาสุดท้าย คือ 7803/2543 ตามที่ท่านธำรง ยกขึ้นสนับสนุน

ซึ่งประเด็น ผู้รับจำนำอาวุธปืน เป็นการครอบครองไว้เพื่อตน ด้วยความเคารพ ผมเห็นต่างจากคำพิพากษาศาลฎีกา เนื่องจากการรับจำนำ เป็นการรับมอบทรัพย์สินไว้เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้  อันทำให้ผู้รับจำนำเกิดสิทธิยึดหน่วงอาวุธปืนนั้นๆ ไว้จนกว่า เจ้าของจะมาชำระหนี้

ดังนั้น ผู้รับจำนำจึงเกิดหน้าที่ ที่จะต้องรักษาทรัพย์นั้นให้ปลอดภัย ไม่ชำรุดเสียหาย และยังไม่มีสิทธินำทรัพย์สินที่รับจำนำไปใช้สอยได้ประโยชน์ด้วย เว้นแต่ได้รับอนุญาต และหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำจะบังคับจำนำได้โดยวิธีการขายทอดตลาด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ........ดังนี้ผมจึงเห็นว่า การรับจำนำเป็นเพียงการครอบครอบไว้ชั่วคราว แม้จะเป็นการครอบครองไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ แต่ไม่ใช่การครอบครอบไว้เพื่อตน
เรื่องนี้มีอัยการท่านหนึ่ง มีความเห็นว่า การรับจำนำอาวุธปืนไม่เป็นความผิด  (สมพร พรหมหิตาธร : เล่นปืนไม่ให้ถูกจับ (พิมพ์ครั้งที่ 12 : กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2551) 

อย่างไรก็ตามเมื่อมีแนวฎีกา ออกมาอย่างนี้ คงสรุปได้แล้วว่า ผู้รับจำนำอาวุธปืนเป็นความผิด แต่ที่แปลกคือผู้นำไปจำนำกลับไม่เป็นความผิด ซึ่ง เราคงต้องติดตามแนวฎีกา ต่อไปว่าจะกลับ เรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะ ฎีกาล่าสุดนั้น คือ 7803 / 2543 ซึ่งเป็นฎีกาผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว  

ขอบคุณทุกความเห็นครับ ที่เห็นต่าง


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: pvjt ที่ กันยายน 15, 2011, 02:07:01 PM
     ขออภัยท่านทนาย Ro@d - รักในหลวง ผมหมายถึงท่าน"ทนาย หนุ่ม" ครับ อ่านตามความเห็นของท่านทนาย Ro@d - รักในหลวงผมก็เข้าใจแบบท่าน ครับ     

....สบายดีนะครับคุณพี่  อยู่แต่บนภู  ไม่ได้แวะเจอะเจอกันนาน ::014::

กรณีนี้เป็นความคิดเห็นทางกฎหมาย ครับ และเป็นที่ยุติแล้วว่า ผู้ที่มีอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถนำไปจำนำได้ โดยไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น

ปัญหาคือผู้ที่รับจำนำนั้น จะมีความผิด อย่างไร มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัน เรื่องเดียวคือ การรับจำนำเป็นการ ครอบครองเพื่อตน  หรือเป็น กรณีครอบครองไว้เท่าที่จำเป็น  โดยประเด็นดังกล่าวจะเป็นเครื่องชี้ว่า ผู้รับจำนำจะถูกลงโทษหรือไม่?

ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เพื่อนๆ หลายท่านยกขึ้นว่า นั้น ศาลมองว่า เป็นกรณีการครอบครองไว้เพื่อตน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7 ประกอบมาตรา 72 โดยมีฎีกาเดินตามกันมาหลายฎีกา เริ่มจาก 1279/2508 ,4102/2535 ,6771/2542 และฎีกาสุดท้าย คือ 7803/2543 ตามที่ท่านธำรง ยกขึ้นสนับสนุน

ซึ่งประเด็น ผู้รับจำนำอาวุธปืน เป็นการครอบครองไว้เพื่อตน ด้วยความเคารพ ผมเห็นต่างจากคำพิพากษาศาลฎีกา เนื่องจากการรับจำนำ เป็นการรับมอบทรัพย์สินไว้เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้  อันทำให้ผู้รับจำนำเกิดสิทธิยึดหน่วงอาวุธปืนนั้นๆ ไว้จนกว่า เจ้าของจะมาชำระหนี้

ดังนั้น ผู้รับจำนำจึงเกิดหน้าที่ ที่จะต้องรักษาทรัพย์นั้นให้ปลอดภัย ไม่ชำรุดเสียหาย และยังไม่มีสิทธินำทรัพย์สินที่รับจำนำไปใช้สอยได้ประโยชน์ด้วย เว้นแต่ได้รับอนุญาต และหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำจะบังคับจำนำได้โดยวิธีการขายทอดตลาด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ........ดังนี้ผมจึงเห็นว่า การรับจำนำเป็นเพียงการครอบครอบไว้ชั่วคราว แม้จะเป็นการครอบครองไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ แต่ไม่ใช่การครอบครอบไว้เพื่อตน
เรื่องนี้มีอัยการท่านหนึ่ง มีความเห็นว่า การรับจำนำอาวุธปืนไม่เป็นความผิด  (สมพร พรหมหิตาธร : เล่นปืนไม่ให้ถูกจับ (พิมพ์ครั้งที่ 12 : กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2551) 

อย่างไรก็ตามเมื่อมีแนวฎีกา ออกมาอย่างนี้ คงสรุปได้แล้วว่า ผู้รับจำนำอาวุธปืนเป็นความผิด แต่ที่แปลกคือผู้นำไปจำนำกลับไม่เป็นความผิด ซึ่ง เราคงต้องติดตามแนวฎีกา ต่อไปว่าจะกลับ เรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะ ฎีกาล่าสุดนั้น คือ 7803 / 2543 ซึ่งเป็นฎีกาผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว  

ขอบคุณทุกความเห็นครับ ที่เห็นต่าง

ประเด็นทีท่านอัยการสมพรมีความคิดเห็นแย้งจากคำพิพากษาว่า.. แม้จะเป็นการครอบครองไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ แต่ไม่ใช่การครอบครอบไว้เพื่อตน......

 
..เรื่องนี้คงต้องตีความคำว่า..มี..ตาม  พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ  มาตรา  ๔  (๖).... "มี" หมายความว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองแต่ไม่หมายความถึง การที่อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่มีไว้โดยชอบด้วยกฎหมายและตกอยู่ในความ ครอบครองของบุคคลอื่นซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้เท่าที่จำเป็นเพื่อ รักษาสิ่งที่ว่านี้มิให้สูญหาย
.....ถ้าไปดูคำวินิจฉัยเต็มของคำตัดสินของศาล  .....ตาม ป.พ.พ. ก็ให้อำนาจผู้รับจำนำทรัพย์ที่จำนำออกขายทอดตลาดได้ในกรณีที่ผู้จำนำไม่มาชำระหนี้ตามกำหนด จึงพอจะถือได้ว่าผู้รับจำนำยึดถือครอบครองอาวุธปืนไว้เพื่อตน  จึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต  ซึ่งแตกต่างจากกรณีการรับฝากปืนไว้  ซึ่งเห็นได้ชัดว่าผู้รับฝากมิได้มีเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนไว้เพื่อตน  เพียงแต่ดูแลให้เพื่อมิให้สูญหาย  ไม่มีสิทธิไปยึด... ยังไงเขาก็มารับคืนอยู่แล้ว
....ยกตัวอย่าง  เพื่อนจะต้องเดินทางไปตจว.. หรือตปท...  จึงนำปืนมาฝากไว้ให้ดูแล  กรณีนี้ถือว่า..คนรับฝากเพียงแต่ครอบครองอาวุธปืนไว้แทนเจ้าของที่แท้จริงเท่านั้น  ยังไม่ถือว่ามีเจตนาจะยึดถือเพื่อตน จึงไม่มีความผิด
…เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: jongrak52 ที่ กันยายน 15, 2011, 02:15:23 PM
ความรู้ครับผม ::002::


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กันยายน 15, 2011, 03:00:29 PM

.  ...สบายดีนะครับคุณพี่  อยู่แต่บนภู  ไม่ได้แวะเจอะเจอกันนาน ::014::

      สวัสดีครับ สบายดีครับ ท่านpvjt ไปทำอะไรบนภูหนอ หรือว่าไปรับงานติดตั้งกระจกกันกระสุนให้เซฟเฮ้าส์ใครหรือครับ  ;D


หัวข้อ: Re: การจำนำปืน
เริ่มหัวข้อโดย: TA881 ที่ กันยายน 15, 2011, 03:15:29 PM
ทนายเหมือนกันต่างความเห็น  แบบไหนถูกครับเนี่ยจะได้เอาเป็นตัวอย่างครับ  เพราะก็มีเพื่อนชอบมาประมาณนี้แต่ผมไม่รับครับ  เพราะมันกำกวมเดี๋ยวเค้าไม่คิดเหมือนเราซวยเลยตัดปัญหาไม่รับดีกว่า   หากมีใครยืนยันได้ว่าไม่ผิดบอกด้วยนะครับเป็นความรู้ใหม่ๆครับ ::014::