เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 28, 2025, 05:16:02 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามท่านสมาชิก เราสามารถหิ้ว rifle scope ออกจากญี่ปุ่นมาไทยได้ไหม  (อ่าน 5639 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
surasak
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 20


« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 05:21:21 PM »

สอบถามท่านสมาชิก เราสามารถหิ้ว rifle scope จากญี่ปุ่นมาไทยได้ไหมจะมีปัญหากับศุลกากรของเรา หรือของญี่ปุ่นหรือเปล่า load มากับกระเป๋าเลย ท่านใดมีประสบการณ์ขอคำแนะนำด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ทนาย หนุ่ม
Jr. Member
**

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 44



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 08:47:49 PM »

ไม่แน่ใจครับ แต่ผมเคยสั่งเข้ามาทางอีเบย์ ก็ไม่มีปัญหานะ ..........รอผู้รู้มาตอบดีกว่า เยาะเย้ย เยาะเย้ย เยาะเย้ย
บันทึกการเข้า
ANAN - รักในหลวง
Jr. Member
**

คะแนน 5
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 90


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 10:07:41 PM »

มารอฟังด้วยคน
บันทึกการเข้า
RTCO
Full Member
***

คะแนน 50
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 286


Military Technical Training School


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 04:07:18 PM »

rifle scope ไม่มีห้ามนำเข้าตามพรบ.อาวุธปืนฯและพรบ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจเจอจะผิดตามพรบ.ศุลกากรโดนยึดของ

แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าหิ้ว 1-2 ชิ้นศุลกากรไม่ยึดหรอกครับ นอกจากไปเจอคนที่เขี้ยวจริงๆ

หากไม่ต้องการเสี่ยงดวงก็เดินเข้าช่องแดง แจ้งว่ามีของจะเสียภาษีก็จะโดนภาษีประมาณ 30 % ของราคาของ
บันทึกการเข้า

"สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปํณฑิโต ภเว"
ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 11:43:19 PM »

มันไม่ถูกเลยนะ Nikon กำลังขยายนิดเดียวหมื่นกว่า
บันทึกการเข้า
SigPro-รักในหลวง
Hero Member
*****

คะแนน 177
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3308



« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 11:35:39 AM »

rifle scope ไม่มีห้ามนำเข้าตามพรบ.อาวุธปืนฯและพรบ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจเจอจะผิดตามพรบ.ศุลกากรโดนยึดของ

แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าหิ้ว 1-2 ชิ้นศุลกากรไม่ยึดหรอกครับ นอกจากไปเจอคนที่เขี้ยวจริงๆ

หากไม่ต้องการเสี่ยงดวงก็เดินเข้าช่องแดง แจ้งว่ามีของจะเสียภาษีก็จะโดนภาษีประมาณ 30 % ของราคาของ
    ขอคำอธิบายตรง พรบ ศุลกากรณ์ด้วยครับ  ว่าผิด...ผิดอย่างไร  เพื่อที่จะได้เป็นความรู้ครับ
บันทึกการเข้า

แจกโคมใส ใว้ให้ครอบแทนกะลา
เบื่อเสียงหมา หาว่ากูไม่ใช่ไทย
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15855
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 12:31:52 PM »

rifle scope ไม่มีห้ามนำเข้าตามพรบ.อาวุธปืนฯและพรบ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจเจอจะผิดตามพรบ.ศุลกากรโดนยึดของ

แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าหิ้ว 1-2 ชิ้นศุลกากรไม่ยึดหรอกครับ นอกจากไปเจอคนที่เขี้ยวจริงๆ

หากไม่ต้องการเสี่ยงดวงก็เดินเข้าช่องแดง แจ้งว่ามีของจะเสียภาษีก็จะโดนภาษีประมาณ 30 % ของราคาของ
    ขอคำอธิบายตรง พรบ ศุลกากรณ์ด้วยครับ  ว่าผิด...ผิดอย่างไร  เพื่อที่จะได้เป็นความรู้ครับ

Ha Ha Ha   ฮา  คร๊า

หลักๆ  เขาดูเจตนา  และสถานะคร๊า   ถ้ามองแล้วไม่มีลักษณะ  เป็นการค้า  คือ  เอาเข้ามาหลายๆอัน  ฮา
ศุลกากร  เขาก็ไม่ได้เคร่งครัดหรอกคร๊า   ฮา

แต่ถ้าถามถึงเรื่องความผิด  มีความผิดฐาน  ลักลอบ  "ไม่สำแดงพิกัดศุลกากร"   ณ. ด่านตรวจคร๊า
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
SigPro-รักในหลวง
Hero Member
*****

คะแนน 177
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3308



« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 02:22:56 PM »

ของอะไรที่เราจะต้องสำแดงบ้างครับป้า
เพราะเข้าๆ ออกๆบ่อย กลัวเจอข้อหากำกวมแบบนี้
เพราะบอกตรงๆว่าผมเองไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย
เพราะถ้าจะโดนเล่นเพราะข้อหาลักลอบ ไม่สำแดงพิกัดศุลกากร
จะได้ระวังเอาไว้ ว่าอะไรควรจะเอาไป.  อะไรไม่ควรจะเอาไป
บันทึกการเข้า

แจกโคมใส ใว้ให้ครอบแทนกะลา
เบื่อเสียงหมา หาว่ากูไม่ใช่ไทย
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15855
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 08:28:33 PM »

Ha Ha Ha  ฮา  คร๊า  พี่ SigPro  ขร๊า

เรื่อง แรก  ชิ้นส่วนอาวุธปืน ตามประกาศ  ห้ามเข้าแน่นอนคร๊า  ฮา
สอง  สินค้าที่มีราคาสูง  และมีการนำติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวนมาก
       เกินกว่าความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต  เช่นกรณีบุคคล  เดินทางไปทำงาน
       ไปเรียนหนังสือ  แล้วนำของที่ "ใช้แล้ว"  ในต่างประเทศ นำกลับเข้ามา
       ทั้งนี้ต้องกรอกแบบ  ขอยกเว้น อัตราพิกัดศุลกากร

ยายแนะนำว่า  หากต้องการนำ xxx อื่นๆ  เข้ามาในราชอาณาจักร
ก็เดินเข้าช่องแดงเลยคร๊า  บอกเขาตรงๆ  ว่า  ..... น๊ะ

หากจะเดินออกช่องเขียว  เขาก็มีการสุ่มตรวจ ไฟล์คร๊า
เขาเลือกไฟลท์ทางยุโรปเป็นหลัก 

คำแนะนำ  หากแยก "แพ็คกิ้ง"  ได้  ควรแยก  ออกจาก สินค้า ที่ต้องสำแดง
ทำลักษณะนี้  ดูเหมือนประหนึ่งว่า  เอามาใช้เอง
ส่วนพิกัด  อัตราภาษีศุลกากร  เล่มเบ้อเร่อ  คร๊า


ศุลกากรไทย  ยืดหยุ่น  มากกว่า ชาติอื่นคร๊า
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
srimalai_รักในหลวง
คนธรรมดา
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 183
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3381


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 09:25:26 AM »

ถ้าเอามาใช้ อันเดียวจริงๆ แกะออกจากกล่อง ใส่เชือก ห้อยคอ ถ้าเขาถามก็บอกกล้องส่องทางไกล อิอิ เสียภาษีช่วยชาติดีแล้วครับ
บันทึกการเข้า

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก  แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนก็แคลนคลาย  เจ็บจนตายนั้นเหน็บให้เจ็บใจ
เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก  จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา  จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 10:02:42 AM »

กฎหมายต้องรู้ก่อนเข้าประเทศ



ศุลกากรไทย  การนำกระเป๋าสัมภาระให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจ ต้องปฏิบัติดังนี้

1.  ต้องกรอกรายละเอียดใน  “แบบสำแดงรายการสิ่งของผู้โดยสาร”  (แบบ 211-Passenger Declaration)
     ซึ่งพนักงานประจำเครื่องบินจะแจกให้ก่อนเครื่องบินจะถึงประเทศไทย
2.  กรณีไม่ต้องเสียภาษี  ให้ใส่เครื่องหมายถูก  ในช่องสี่เหลี่ยมสีเขียวใบแบบที่ 211 แล้วยื่นต่อเจ้าหน้าที่
     ศุลกากรในช่องตรวจสีเขียว
3.  กรณีของเสียภาษี  มีของต้องกำจัด หรือไม่แน่ใจว่าสิ่งของที่นำเข้ามานั้นเป็นของต้องเสียภาษีหรือเป็น-
     ของต้องจำกัดหรือไม่  ให้ใส่เครื่องหมาย x ในสี่เหลี่ยมสีแดงในแบบที่ 211 และกรอกรายละเอียดของ
     สิ่งของที่นำมาแล้ว ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรช่องตรวจสีแดง
4.  ช่องตรวจสีเขียว  คือ  ช่องตรวจสำหรับผู้โดยสารที่ไม่มีของต้องเสียภาษี ไม่มีของต้องห้าม ไม่มีของต้อง
     จำกัด
5.  ช่องตรวจสีแดง  คือ  ช่องตรวจสำหรับผู้โดยสารที่มีของต้องเสียภาษี มีของต้องจำกัดหรือไม่แน่ใจว่า
     สิ่งของที่นำมานั้น  เป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่  จึงนำมาให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเปิดตรวจ
6.  ของที่ได้รับการค่าภาษีศุลกากร มีดังนี้
     6.1 บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือ ซิการ์ หรือ ยาเส้น น้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม
     6.2 สุรา 1 ลิตร
     6.3 ของใช้ส่วนตัวพอสมควรแก่ฐานะ  ไม่มีลักษณะเป็นสินค้า และมีมูลค่าไม่เกิน 5,000 บาท
7.  ของต้องเสียภาษีศุลกากร  ของต้องห้าม  และของต้องจำกัด มีคำจำกัดความดังนี้
     7.1  ของต้องเสียภาษีศุลกากร คือ สิ่งของและสินค้าทุกชนิดนำเข้ามาในประเทศไทย  ซึ่งต้องเสียภาษี
     ตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
     7.2 ของต้องห้าม คือ ของที่ห้ามมิให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกประเทศไทย เช่น ยาเสพติดให้โทษ
     สิ่งพิมพ์  หรือ     วัตถุลามก  และสัตว์ป่าสงวน  เป็นต้น
     7.3 ของต้องจำกัด คือ ของบางชนิดที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกไป ซึ่งของต้องจำกัด
     จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และต้องนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรใน
     เวลาที่ นำเข้า – ออกด้วย เช่น อาวุธปืน พระพุทธรูป เครื่องวิทยุสื่อสาร และอุปกรณ์โทรคมนาคม พืชและ
     ส่วนต่างๆ ของพืช ยา และเคมีภัณฑ์บางชนิด
8.  การเสียภาษีศุลกากร
     8.1  การเสียภาษีศุลกากร ณ ที่ทำการศุลกากร  อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ  มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
              -   เป็นของที่นำมาใช้เอง มิใช่เพื่อการค้า
              -   มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน  40,000 บาท
              -   ผู้โดยสารชำระค่าภาษีอากร  เป็นเงินสดในวันที่นำเข้ามา
     8.2   กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม  ข้อ 8.1  ผู้โดยสารจะได้รับใบส่งของ และต้องไปปฏิบัติพิธีการชำระค่าภาษีอากร
             ที่งานของติดตัวผู้โดยสาร  คลังสินค้าที่ 1 อาคารคลังสินค้า  ด่านศุลกากร  ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ
9.      การนำเงินตราเข้าประเทศไทย  ผู้เดินทางสามารถนำเงินตราทุกสกุลเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่จำกัดจำนวน
10.   กรณีการได้รับยกเว้นภาษีอากร  เนื่องจากย้ายภูมิลำเนาเข้ามาในประเทศไทย  มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
       -    ต้องมีหลักฐานภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ  เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
       -    ต้องนำสิ่งของนั้นๆ เข้ามาใน 1 เดือน  ก่อนตนเองจะเดินทางเข้ามาถึง
       -    ต้องเป็นของใช้แล้ว และมีปริมาณพอสมควรแก่ฐานะ
       -    ของนำเข้าชั่วคราว  และจะส่งออกกลับออกไปโดยใช้เอกสารค้ำประกัน  เอ.ที.เอ  คาร์เนต์  ผู้เดินทางที่นำของ
            ดังกล่าวเข้ามา  ต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่องตรวจสีแดง  เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติพิธีการ
           ณ ที่ทำการศุลกากร อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ



จบ....
นานๆจะได้ทำตัวมีสาระสักที คราวนี้มีสาระเหมือนทำงานเลย  Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

SigPro-รักในหลวง
Hero Member
*****

คะแนน 177
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3308



« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 02:44:01 PM »

อ่านดูแล้วบอกได้คำเดียวเลยครับว่า...กำกวมมาก
 จากข้อ 1- 6 นั้นไม่เท่าไหร่. พอถึง 6.3 ละเริ่มเลย
  ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน. กะว่าวัดดวงเอา
บันทึกการเข้า

แจกโคมใส ใว้ให้ครอบแทนกะลา
เบื่อเสียงหมา หาว่ากูไม่ใช่ไทย
RTCO
Full Member
***

คะแนน 50
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 286


Military Technical Training School


« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 04:25:42 PM »

ฝากฉบับแก้ไขครับ ถ้ามีข้อสงสัยอะไรที่ผมตอบได้ก็ฝากคำถามไว้แล้วกัน

ป.ล. ของต้องห้าม ต้องกำกัดตามกฎหมายศุลกากรคือของที่มีกฎหมายอื่นควบคุมการนำเข้าการส่งออกเอาไว้


1. ระเบียบว่าด้วยการเดินทางเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร(ฉบับแก้ไข)

     การเดินทางเข้าหรือออกราชอาณาจักร
   ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักร
   สำหรับผู้โดยสารขาเข้า
           ช่องเขียว สำหรับผู้โดยสารที่นำของที่ไม่มีภาระต้องอากรติดตัวเข้ามา
           ช่องแดง สำหรับผู้โดยสารที่นำของต้องชำระอากร,ของต้องห้าม, และ/หรือ ของต้องกำกัด เข้ามา
           ข้อลงโทษหาก หลีกเลี่ยง การ สำแดง
           การฝากเก็บของไว้ในอารักขาศุลกากร (Customs Bond)
   นำของเข้า-ออกชั่วคราว ภายใต้เงื่อนไข เอ.ที.เอ คาร์เนท์ สำหรับ ของเป็นตัวอย่างสินค้า ฯลฯ
(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   การนำเงินตราเข้า-ออกประเทศ
   สำหรับผู้โดยสารขาออก
   การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT REFUND)
   พิธีการนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐาน(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   พิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   พิธีการนำเข้าของเอกสิทธิ์หรือของที่ได้รับบริจาค(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   การนำเข้าเพื่อจัดการประชุมระหว่างประเทศ(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
       
******************************************************************************
       กรมศุลกากรมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ป้องกันการลักลอบสินค้า ดูแลของต้องห้ามต้องกำกัดตามกฎหมายต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่อผู้ประสงค์จะเดินทางเข้า-ออก นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป กรมศุลกากรจึงมีความยินดีที่จะให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางเข้า-ออกซึ่งควรทราบในเว็บไซต์นี้เป็นความรู้เพื่อที่จะได้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ถูกต้อง

ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรมีดังนี้

   ก่อนการเดินทางท่านจะต้องเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อม พึงสนใจศึกษาระเบียบพิธีการศุลกากรเรื่องของด่านกักกันโรค การตรวจคนเข้าเมือง ชนิดของเงินตราของประเทศที่จะเดินทางไปและอัตราแลกเปลี่ยนตลอดจนชนิดและปริมาณของที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับยกเว้นภาษีอากรเมื่อนำเข้ามา
   หากมีของเกินกว่าปริมาณที่ได้รับยกเว้นภาษีอากร ให้สำแดงต่อศุลกากรเพื่อชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง ในกรณีที่ท่านสงสัยในชนิดและปริมาณของที่ได้รับยกเว้นอากร โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำการ ณ ช่องแดง
   อย่ารับฝากของใดๆจากบุคคลอื่น เนื่องจากท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถ้าเป็นของผิดกฎหมาย
   พึงสังวรว่าโทษในการครอบครองเป็นเจ้าของยาเสพติดมีโทษหนักมาก ทั้งค่าปรับ การถูกจำคุก หรืออาจถึงขั้นประหารชีวิต

กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศไทยทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ มีดังต่อไปนี้

สำหรับผู้โดยสารขาเข้า

            กรมศุลกากรได้จัดบริการการดำเนินการพิธีการศุลกากรให้แก่ผู้โดยสารขาเข้า ตามมาตรฐานสากล โดยจัดช่องผ่านพิธีการศุลกากรไว้
2 ช่องทาง ได้แก่
    ช่องเขียว "ไม่มีของสำแดง"สำหรับผู้ไม่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด
    ช่องแดง "มีของต้องสำแดง"สำหรับผู้ที่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้น ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่

ช่องเขียว
(Nothing to Declare)

เฉพาะ ผู้โดยสารที่นำของดังต่อไปนี้ติดตัวเข้ามา
      ของใช้ส่วนตัวที่มีปริมาณสมควรสำหรับใช้ส่วนตนและมีมูลค่ารวมทั้งหมดไม่เกิน 10,000 บาท (ซึ่งมิใช่ ของต้องห้าม ต้องกำกัด หรือเสบียง)
      บุหรี่ไม่เกิน 200 ม้วน หรือ ยาสูบ ไม่เกิน 250 กรัม หรือน้ำหนักรวมทั้งหมดทุกประเภท ไม่เกิน 250 กรัม
      เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตร ไม่เกิน 1 ลิตร
หากนำมาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด โปรดหย่อนใส่กล่องที่กรมศุลกากรจัดไว้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี

คำเตือน: กรมศุลกากรเน้นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยมิทำการตรวจสัมภาระผู้โดยสารทั้งหมดแต่ทำการสุ่มตรวจด้วยเครื่อง X-Ray ตามหลักมาตรฐานสากล

ช่องแดง
(Goods to declare)

1.ของที่มีภาระต้องชำระอากร
      ของที่ผู้โดยสารนำเข้ามามีปริมาณเกินกว่าที่จะใช้สำหรับส่วนตน และ/หรือมีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 10, 000 บาท
      สิ่งของที่นำมาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์ หรือ ทางการค้า หรือมีลักษณะทางการค้า

2.ของต้องห้าม
      หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
      สารเสพติด
      วัตถุหรือสื่อลามก
      ของลอกเลียนแบบละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
      ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ปลอม
      สัตว์ป่าสงวน
      การฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น มีไว้ในครอบครองหรือมีไว้เพื่อเสพ หรือเป็นผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ขนส่ง อาจมีโทษถึงประหารชีวิต

3.ของต้องกำกัด
           หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามา และการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่างเช่น
     
ประเภท
   
องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุม
* พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ    กรมศิลปากร
*อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด    กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
*พืช และส่วนต่างๆของพืช    กรมวิชาการเกษตร
*สัตว์มีชีวิต และซากสัตว์    กรมปศุสัตว์ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
*อาหาร ยา    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
*ชิ้นส่วนยานพาหนะ    กระทรวงอุตสาหกรรม
*บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์    กรมสรรพสามิต
*เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม    สำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช)
          หากของที่ผู้โดยสารนำติดตัวมามีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 200,000 บาท (เฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) 80,000 บาท (ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งอื่นๆ) ผู้โดยสารต้องทำเอกสารปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่ ส่วนบริการภาษีอากร
บันทึกการเข้า

"สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปํณฑิโต ภเว"
ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
T1
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 113
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 764



« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 04:38:31 PM »

จะให้แน่นอน แกะกล้องออกจากกล่อง ใส่ขอรัดกล้อง
เท่านี้ก็เป็นของใช้งานแล้วครับ

มีเพื่อนอยู่คนนึง เอาถุงกอล์ฟใส่ไม้ไม่กี่อันไปญี่ปุ่น
ขากลับขนไม้กอล์ฟมือสอง มือหนึ่งก็แกะห่อพลาสติกเดิมที่มีสติ๊กเกอร์ออก หุ้มด้วยพลาสติกหดแทน
มาเต็มถุง ไม่เสียภาษี
บันทึกการเข้า

สีอำพันเข้ม ล้อมความเยือกเย็น
RTCO
Full Member
***

คะแนน 50
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 286


Military Technical Training School


« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 04:43:16 PM »

ของอะไรที่เราจะต้องสำแดงบ้างครับป้า
เพราะเข้าๆ ออกๆบ่อย กลัวเจอข้อหากำกวมแบบนี้
เพราะบอกตรงๆว่าผมเองไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย
เพราะถ้าจะโดนเล่นเพราะข้อหาลักลอบ ไม่สำแดงพิกัดศุลกากร
จะได้ระวังเอาไว้ ว่าอะไรควรจะเอาไป.  อะไรไม่ควรจะเอาไป

ไม่กำกวมหรอกครับ โดยหลักกฎหมายของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรต้องเสียภาษีทุกอย่าง

แต่มีหลักก็มีข้อยกเว้นตามพรบ.หรือกฎกระทรวงอื่น

ว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ นำเข้าได้หรือไม่ได้ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือไม่

ของที่เอาเข้าได้หรือไม่ได้ศุลกากรไม่ได้เป็นคนกำหนดนะครับ คนกำหนดคือหน่วยงานอื่นๆ ศุลกากรก็ต้องตรวจตามที่กำหนดมาให้

ถ้าอ่านแต่พรบ.ศุลกากรก็จะงงว่าอะไรเอาเข้าได้หรือไม่ได้ ต้องอ่านพรบ.อื่นประกอบจึงจะเข้าใจที่มาที่ไป

คือง่ายๆถ้าไม่แน่ใจว่าอะไรนำเ้ข้าได้หรือไม่ได้ก็ถามศุลกากร เพราะกฎหมายที่ควบคุมการนำเข้าส่งออกมีเป็นร้อยฉบับ

ถ้าไม่ได้ทำงานด้านนี้โดยตรงก็คงไม่รู้หรอกครับ
บันทึกการเข้า

"สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปํณฑิโต ภเว"
ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 21 คำสั่ง