เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 26, 2025, 01:05:35 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของโครงการเกี่ยวกับปืนสวัสดิการ  (อ่าน 3326 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Jedth
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 858
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4607



« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 03:31:02 PM »

ผมไม่แน่ใจว่ามีการบันทึกไว้แน่นอนหรือไม่นะครับ ..................

แต่เริ่มแรกที่กองทัพบกก่อน ตั้งแต่กองทัพบกผลิตปืนที่ซื้อแบบจากต่างประเทศมาผลิตเอง เช่น สตาร์ .38 ซุบเปอร์ของสเปน และปรับเป็น ปพ.95 ขนาด .45 รวมทั้งซื้อ โคลท์ .38 ซุบเปอร์เข้าประจำการ ........................ต่อมากองทัพบกก้็รับปืน1911A1เข้าประจำการเป็นปพ.86

ปืน.38 ซุบเปอร์เหล่านี้และรวมทั้ง ปพ.95 บางส่วนก็ทำเป็นปืนสวัสดิการขายให้กำลังในกองทัพในราคาถูก ...................คิดว่าตรงนี้เป็นจุดเริ่มแรกๆของการจัดปืนสวัสดิการให้กับกำลังพล ......................

ต่อมาในส่วนราชการต่างๆที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธนอกจากกองทัพ เช่น ตำรวจ ราชทัณฑ์ ฯลฯ แม้กระทั่งภาครัฐวิสาหกิจที่มีความจำเป็นในบางภารกิจที่จะต้องใช้อาวุธ .............. ก็จัดทำโครงการปืนสวัสดิการขึ้นมา

ถ้าเริ่มแรกๆเลย หน่วยงานที่จัดทำโครงการปืนสวัสดิการก่อนใครๆจะเป็นทหารและตำรวจ ซึ่งมีมานานมากแล้ว ....................

ส่วนสาเหคุที่ทำก็มีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะอ้างว่าหน่วยงานจัดกาอาวุธให้กำลังพลได้ไม่เพียงพอ กำลังพลต้องจัดหาอาวุธส่วนตัวมาใช้ในราชการ(ซึ่งก้เป็นเช่นนั้นจริงๆ) ราคาปืนในท้องตลาดแพงเพราะนำเข้ามาได้จำกัดตามโควต้าประจำปี ...................เลยมีการจัดทำโครงการขึ้น...................และปืนที่นำมาจำหน่ายในสวัสดิการก็ถูกจริงๆ

ขั้นตอนในช่วงนั้น เริ่มจาก

1. หน่วยงานเป็นผู้ริเริ่มเอง เช่นกองทัพบกต้องการจัดทำโครงการปืนสวัสดิการให้กำลังพลของ ทบ. ก็เริ่มจากการประสานงานและขออนุญาตต่อมหาดไทยก่อน เพราะมหาดไทยเป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้นำเข้าอาวุธปืนเข้ามาในราชอาณาจักรได้ ..............เมื่อมหาดไทยอนุญาตก็ทำขั้นต่อไป

2. กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิและกำหนดแบบและราคาของปืนสวัสดิการ.....เรียกง่ายๆว่าตั้งโจทย์ก่อนว่า ใครซื้อได้ และมีปืนอะไรราคาเท่าไหร่?

3. ออกประกาสและระเบียบการดำเนินการทั้งหมด แจ้งให้ผู้มีสิทธิทราบและรับจอง ..................

4. เมื่อได้ยอดจำนวนปืนและแบบ ทั้งหมดแล้ว ......................ก็ขออนุญาตมหาดไทย สั่งปืนเข้ามาในราชอาณาจักร

5. เมื่อปืนเข้ามาแล้ว ก็แจกจ่ายให้ผู้ที่สั่งจองตามเงื่อนไขที่กำหนด ....................(ในขั้นตอนนี้เข้าใจว่าต้องขออนุญาตจำหน่ายให้แก่ผู้จองด้วย).........

ผมซื้อมาสอง-สามโครงการก่อนหน้านี้เป็นสิบปี .................... ลักษณะเป็นแบบนี้หมด(ในส่วนของกองทัพบก)

จนในปัจจุบันก็ยังจัดทำกันอยู่แต่ต่างจากเดิมมาก..................เรียกว่า มหาดไทยทำเองขายเอง Grin

ขออนุญาตเติมประเด็น ต้นทุนราคาปืนและภาษี ของปืนสวัสดิการสักนิด
ว่าเดิมเป็นการจัดสวัสดิการให้กับกำลังพลของแต่ละหน่วยงาน บางหน่วยได้ขอยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ
ต่อมาได้มีกรณีของทอ. ที่ศาลฎีกาตัดสินว่า การที่ทอ.นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของตนเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับส่วนราชการ
ถือไม่ได้ว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันอยู่ในข่ายที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13
ทอ.ต้องรับผิดเสียภาษีอากร......

ดังนั้น....ปืนสวัสดิการจึงมีค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับปืนร้านทั่วๆไป แถมภาษียังต้องอยู่บนฐานราคาที่ต้องสำแดงตัวจริงอีกด้วย

ต่อมามท.ได้จัดโครงการร่วมกับร้านค้าปืน ขยายฐานลูกค้าออกไป ก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการที่สูงขึ้นบวกเพิ่มไปในปืนแต่ละกระบอก
ปืนสวัสดิการจึงเป็นปืนที่มีต้นทุนตรงที่สูงกว่าปืนร้านค้า  แต่การที่มท.มีอำนาจในการจำกัดการนำเข้า ทำให้เป็นช่องทางในการปั่นราคาปืนร้านค้าขึ้นไป
เพื่อใช้ส่วนต่างราคาเป็นตัวกระตุ้นการขาย เมื่อโครงการที่มีเงื่อนไขห้ามโอนยกเว้นมรดกเริ่มขายฝืด ก็ออกโครงการโอนได้หลัง ๕ ปี ออกมา.....





ขอบคุณพี่ธำรงมากครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

Pragmatism
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง