สงสัยจะดูช่อง3

หนังตะวันเดือดมากไปหน่อยนะขอรับ

ถูกครับ สื่อต่างๆมีผลต่อความคิดของคนมาก ไม่ว่าจะทางทีวีหรือ นสพ. คำศัพท์ทางจิตแพทย์เขาเรียกว่า พฤติกรรมเลียนแบบครับ ช่วงไหนที่มีข่าวการยิงกันเพื่อเคลียร์ปัญหา มีข่าวการจ้างวานมือปืน มีข่าวการปีนป่ายขึ้นที่สูงๆเพื่อเรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการ มีข่าวการโดดตึก ผูกคอ มีข่าวการราดนำมันจุดไฟเผา สาดนำกรด ฆาตกรรมหญิงที่ตนตามง้อ ออกตามสื่อต่างๆ พอไปสกิดใจดำ และกำลังอยู่ในช่วงที่ตนเอง ก็ประสพกับภาวะการณ์นั้นๆอยู่เข้าพอดี จึงพลั้งเผลอปฏิบัติตามกันหลายราย โดยเฉพาะเยาวชน หรือผู้ที่จิตรใจอ่อนไหวอยู่แล้วด้วยยิ่งไปกันใหญ่ คุณแม่ผมอยู่ทีประเทศสวิสเซอร์แลนด์ บอกว่าที่นั่นนานๆจะมีข่าวฆ่ากันตายลง นสพ.สักครั้งนึง ประมาณปีละสองรายเท่านั้นเองครับ
เทียบกันยากครับ สวิสกับไทย ที่โน่น จัดได้ว่าเป็นเมืองสวรรค์ ของโลก ระบบการจัดการดีมาก ความแออัดของประชากรก็ไม่มาก สภาพแวดล้อมก็ดี ทำให้แรงกดดันของผู้อยู่อาศัยน้อยมาก ลองเทียบไทยกับญี่ปุ่น ดูสิครับ แล้วจะเห็นภาพ ว่าไทย ยังน้อยกว่าเขาเยอะ
ส่วนเรื่องพฤติกรรมเลียนแบบในการฆ่าตัวตายหรือก่อคดี ภาพยนต์นั้นก็มีส่วนครับ แต่คงโทษภาพยต์ทั้งหมดก็คงไม่ถูก เพราะผมเชื่อว่าคนที่สวิสฯ คงไม่ได้ดูหนังดราม่าอย่างเดียวหรอกครับ มันมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกครับ
1. วุฒิภาวะของผู้ดู EQ และการศึกษา
2. ปัญหา สะสมเรื้อรัง ไม่มีทางออก
3 ความเห็นแก่ตัว ละโมภ ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง2 ฝ่าย
สรุป ปัจจัยปัญหาหลัก คือข้อ 1 มากที่สุด ส่วนภาพยนต์ เป็นแค่ การนำเสนอรูปแบบทางเลือกทางนึ่ง ซึ่งผู้ก่อเหตุสามารถคิดเองได้หรือตั้งใจอย่แล้ว โดยไม่มีภาพยนต์มากระตุ้นก็ได้ครับ