ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด"
หลักเกณฑ์ของการ ป้องกันตัว โดยชอบ ด้วยกฎหมาย
1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย นั่นคือ
- ภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นผู้กระทำไม่มีอำนาจตามกฎหมายจะทำได้ หากผู้ก่อภัยนั้นมีอำนาจทำได้โดยชอบ ท่านก็ไม่มีสิทธิจะป้องกัน เช่น พ่อมีสิทธิว่ากล่าว/ลงโทษลูก ไม่ถือเป็นภยันตรายตามข้อ 1.
- แม้จะมีภยันตรายแล้วก็ตาม แต่ผู้ที่อ้างป้องกันได้ จะต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวขึ้นด้วย เช่น ไม่เป็นผู้ก่อภัยขึ้นในตอนแรก ไม่เป็นผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทกัน ไม่เป็นผู้ที่ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำต่อตนโดยสมัครใจ และ ไม่เป้นผู้ที่ไปยั่วให้คนอื่นเข้าโกรธก่อน
2. ภยันตรายนั้น ใกล้จะถึง แม้ท่านจะมีภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้น
ตามข้อ ๑ แล้วก็ตาม ก็อย่าเพิ่งนอนใจว่าท่านจะมีสิทธิป้องกันได้ กล่าวคือท่านจะมีสิทธิ ป้องกันตัว ได้ต่อเมื่อภยันตรายนั้น เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง คือภัยที่เกิดขึ้นกระชั้นชิดถึงขนาดที่ไม่มีหนทางอื่นที่จะขจัดปัดเป่าภัยนั้นได้ นอกจากการป้องกันตัวเอง
3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน ให้พ้นจากภยันตรายนั้น
4. การกระทำ ป้องกันตัว ตามสมควรแก่เหตุ ก็คือ แม้กฎหมายจะให้สิทธิแก่ประชา ชนผู้ประสบอันตรายป้องกันตนเองได้ แต่ก็ไม่ได้ให้เสียจนหาขอบเขตไม่ได้ จนกลายเป็นการป้อง กันผสมกับความโกรธแค้น บันดาลโทสะ หรือสะใจ เช่น เมื่อมีผู้ร้ายถือมีดจะทำร้ายท่าน ท่านได้ตอบโต้จนผู้ร้ายไม่สามารถจะถือมีด หรือไม่สามารถจะแทงท่านได้อีกแล้ว ถือว่าภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ถ้าท่านซ้ำเติมอีก จะถือว่าเกินกว่าเหตุ
อาจมีบางท่านสงสัยว่า กรณีท่านใช้เครื่องทุ่นแรง ท่านจะสามารถใช้มันได้ขนาดไหน เพียงไรนั้น มีทฤษฎีที่สำคัญ 2 ทฤษฎีคือ
1. ทฤษฎีส่วนสัด คือต้องพิจารณาว่าอันตรายที่จะพึงเกิดขึ้นหากจะไม่ป้องกันจะได้ส่วนสัดกับอันตรายที่ผู้กระทำได้กระทำเนื่องจากการป้องกันนั้นหรือไม่ เช่น มีคนมาตบหน้าท่าน ท่านจะใช้มีดแทงเขาตายไม่ได้ เพราะความเจ็บเนื่องจากถูกตบหน้า เมื่อมาเทียบกับความตายแล้ว ไม่มีส่วนสัดกัน ดังนั้น การเอามีดแทงเขาตายนี้ เป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ ผู้กระทำไม่มีอำนาจกระทำได้
2. ทฤษฎีวิถีทางน้อยที่สุด ตามทฤษฎีนี้ถือว่าถ้าผู้กระทำได้ใช้วิธีทางน้อยที่สุดที่จะทำให้เกิดอันตราย ก็ถือว่าผู้กระทำได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุแล้ว เช่น ก.เป็นง่อยไปไหนไม่ได้ ข.จึงเขกศีรษะก.เล่น โดยเห็นว่าก.ไม่มีทางกระทำตอบแทนได้เลย นายก.ห้ามปรามเท่าใดข.ก็ไม่เชื่อฟัง ถ้าการที่ก.จะป้องกันมิให้ข.เขกศีรษะมีวิธีเดียวคือใช้มีดแทงข. ต้องถือว่าการที่ก.ใช้มีดแทงนี้เป็นการกระทำไปพอสมควรแก่เหตุ เพราะเป็นวิถีทางน้อยที่สุดที่จะป้องกันได้
เมื่อท่านยิงไปแล้ว รอดชีวิตด้วย เพื่อป้องกันตัว ก็ต้องต่อสู้คดี
ถ้าศาลตัดสินว่าท่านได้กระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็น
ภยันตรายที่ใกล้จะถึง ท่านได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นของท่านเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย ท่านไม่มีความผิด"
รอดคุกครับ
แต่ คงจะ น่าจะโดนข้อหาพกพาอาวุธปืน อย่างเดียว
ยิงคนชีวิตเปลี่ยนไปครับ จากคำถาม
ท่านอยู่ห่างจากปากกระบอกปืนของแท๊กซีโจรไม่มากนัก เสียวหัว เสียวหน้าอก นาทีของความเป็นความตาย น่าจะเป็นภยันตรายที่ไกล้จะถึงแล้วครับ
รอ นักกฎหมายมาตอบอีกที่ ผม ตอบไปจากความเห็นของตัวเองเท่านั้น
