ขอบคุณอย่างสุดซึ้งครับพี่ อธิบายให้มือใหม่เข้าใจง่ายจริงๆครับ แต่สงสัยว่าห้ามแยงจากทางปากลำกล้องเพราะอะไรครับ รบกวนตอบอีกซักรอบครับ
ขอสารภาพว่าเคยทำอย่างที่พี่ห้ามอยู่2-3ครั้งครับ
ฟาดเคราะห์ไปแล้วกันนะท่านนะ
คืองี้ครับ เวลาเราแทงแส้เข้าไป ดอกแส้ในตอนแรก ตั้งแต่ปลายแส้ มีถึงโคน มันจะอ่อนตัวได้ ใช่ไหมครับ
ไม่ว่าจะเป็นดอกโลหะ หรือ ดอกไม้กวาด สีดำ ก็ตาม แต่พอแทงเข้าไปจนสุดขนแส้ อันต่อไป มันจะเป็นโคนเกลียวที่ไว้ขัน เข้ากับก้านแส้ ใช่ไหมครับ
ทีนี้ เวลาแทงเข้าไป ถ้าเราไม่ตั้งอก ตั้งใจ หรือพลาดพลั้งไปบ้าง ไอ้ส่วนที่มันไม่ใช่ขนแส้ นั้นแหละ มันไปโดนเกลียวปากลำกล้องเข้าให้
ถ้าท่านสังเกต มองจ้องไปที่ปากลำกล้องให้ดีๆ ท่านจะเห็นเกลียวปืน ยกตัวสูงขึ้นจากผิวลำกล้อง ขึ้นมาเป็นสันๆ จำนวน 6 แท่ง (หกเกลียวนั่นเอง)
ไอ้แท่งตัวนี้แหละ เป็นความสวยงาม และสมบูรณ์ของปืน ไม่ควรให้มันบิ่น หรือเป็นร่องรอยอันเกิดจากการแทงข้างหน้าของเรา
เราควรแทงจากท้ายรังเพลิงมาทะลุปากลำกล้อง เพราะด้านท้ายลำกล้อง มันไม่มีเกลียวอะไร มันเป็นรังเพลิงเกลี้ยงๆ อยู่แล้ว แถมออกแบบท้ายลำกล้องไว้รับการพุ่งเข้าชนของกระสุนขณะบรรจุอีกด้วย มันจึงมีการทำเหลี่ยมมุม หรือทางลาด (แรม) ให้เหมาะสมกับการพุ่งของกระสุนเข้ารังเพลิงอีกด้วย
ดังนั้น เมื่อเทียบการแทง จากด้านหน้า กับการแทงจากด้านหลัง การแทงจากด้านหลัง จะทำให้ความเสียหายกับลำกล้องเกิดขึ้นได้ยาก กว่าการแทงจากทางด้าานหน้า
มีปืนบางอย่าง บางประเภท ที่จำเป็นต้องแทงจากด้านหน้า เช่น ปืนลูกโม่ เนื่องจากมันถอดลำกล้องออกมาแทงอย่างรามี่ของท่านไม่ได้ มันจึงจำเป็นต้องแทงจากด้านหน้า
อยากจะบอกให้ว่า ฝรั่งเมืองนอก บางคนที่รักปืนลูกโม่ แต่ไม่สามารถแทงจากข้างหลังเหมือนรามี่ของท่านได้
จำเป็นต้องแทงด้านหน้า เห็นเขาพยายามคิดอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เวลาแทงแส้ แล้วก้านแส้ ไม่ไปโดนเกลียวปากลำกล้อง
พวกปืนยาวไรเฟิล ประเภทยิงระยะไกล ผมเคยเห็นเขาก็แทงจากข้างหลังไปออกข้างหน้าเหมือนกัน คนเล่นปืน รักปืนส่วนมาก เขาจะถนอมสันปากเกลียวลำกล้องมากๆ เลยนะครับ
ยิ่งแส้ล้างปืนสมัยก่อน เป็นลวดเกลียวๆ เวลาล้าง รูดไป รูดมา ทางปากลำกล้อง มันก็ตะไบดีๆ นี่เอง มันถูปากลำกล้องจนทำให้ปืนโบราณดีๆ เช่น เมาเซอร์ 1896 พาราเบลลั่ม 08 บางกระบอก ปากลำกล้องล้านเรียบไปเลย เสียของไปเลยก็มี เพราะคนล้างปืนสมัยก่อน ไม่เข้าใจ รูดไปรูดมาเสียงรูดของมัน บาดใจผมเหลือเกิน