เมื่อมีนิติบุคคลแล้วไม่สามารถปฎิเสธการจ่ายค่าส่วนกลางได้
เพราะนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะสามารถฟ้องบังคับได้
เห็นมาหลายคดีแล้วครับว่าไม่มีที่ไม่ต้องจ่ายเลย
และระหว่างนั้นสามารถขอให้ทางที่ดินระงับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิได้
ปัญหาน่าจะอยู่ว่า เมื่อจ่ายค่าสาธารณูประโภคล่วงหน้าไปแล้ว ๕ ปี
แต่ในปีที่สองมีการจัดตั้งนิติบุคคล และโอนเงินที่เหลืออยู่ไปให้นิติบุคคล เราจะต้องจ่ายค่าส่วนกลางหรือไม่
คงต้องดูในสัญญาให้ละเอียดอีกครั้ง แต่ในความเห็นว่าสัญญานั้นต้องถือว่าทำโดยสุจริตทั้งสองฝ่าย
เจตนาของ จขกท. คือจ่ายค่าส่วนกลาง ๕ ปี ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจเช่นนั้น
เมื่อนิติบุคคลกำหนดค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางมาเดือนละเท่าไร
ก็ดูว่าเดิมที่เราจ่ายให้บริษัทเป็นเงินเดือนละเท่าไร
น่าจะจ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนต่างเท่านั้นนะครับ...
Ha Ha Ha ฮา "ฮั่นแน่" ฮา
ยายยังไม่เคยเห็น "นิติบุคล" ที่บริหาร โครงการ หรือ อาคารชุด เขาฟ้องใคร คร๊า
เพราะจำนวนเงิน มันนิดเดียว อ่ะ เมื่อเปรียบเทียบกับการนำเรื่อง เข้าสู่กระบวนการทาง "แพ่ง"
และไม่สามารถ ดำเนินการ "อายัด" ทาง "ทะเบียน" เหมือนคำสั่งศาล ได้คร๊า
นอกจากตอน จะโอน "ขาย" ต้องมีหนังสือยินยอมจาก กรรมการ อ่ะ
ทีนี้มาดูเรื่องการชำระ ค่าส่วนกลาง "ล่วงหน้า" 5 ปี
การทำสัญญาลักษณะนี้ กระทำโดย "สุจริต" เปิดเผย เป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย
ยายเชื่อว่ากฎหมายเขาคุ้มครอง คร๊า
เพราะ การนำทรัพย์ส่วนกลาง ไปใช้ประโยชน์ ในส่วนอื่น
ยายเห็นว่ามันเป็นการใช้เงิน "ผิดวัตถุประสงค์" ของพรบ. คร๊า
ส่วนจะมีการเรียกเก็บ แล้วมีการยอมจ่าย "เพิ่ม" มันเป็นการ "สมยอม" กันภายหลังคร๊า
เพื่อประโยชน์ "สาธารณะ" ส่วนกลาง อ่ะ ฮา
ยายยกตัวอย่าง ทรัพย์ที่นำออกขายทอดตลาด ในคดีแพ่ง
อาคารชุด หรือที่ดิน ที่ยังค้าง ค่า "ส่วนกลาง"
ราคาที่ประมูลขาย จะไม่รวม "หนี้" ก้อนนี้คร๊า
เป็นหน้าที่ของคนซื้อ ที่ต้องไปชำระ หรือ ไปตกลงกันเอาเอง
หากไม่จ่าย กรรมการ เขาก็ไม่เซ็นต์ยินยอมให้ ทำ "นิติกรรม" จดทะเบียนโอนคร๊า
หนี้ค่าส่วนกลาง ตรงนี้ บางที มันเป็นเงิน หลายแสนเลยคร๊า
ทีนี้กลับมาดูประเด็นของพี่ ZZR อ่ะ
ต้องตัดสินใจ พิจารณา ทั้งสองด้านคร๊า
การมีเรื่องทางคดี มันไม่เป็นการดีคร๊า
เหมือนอย่าง การ "เอามือ" ไปจับขี้หมาคร๊า
ยินดีต้อนรับ อาจารย์ "สาริน" ในหน้าหลังแนวยิง คร๊า