... ตาม ... พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ...
... ระบุไว้ในบทเฉพาะกาล ว่า ... พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๒
_________________________________
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๔ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถมีและใช้อาวุธปืนได้เพื่อป้องกันทรัพย์สิน อันใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะและเป็นการลดภาระหน้าที่ของราชการตำรวจหรือทหาร และ ได้เปลี่ยนแปลงอัตราโทษตามกฎหมายเดิมให้สูงเพิ่มขึ้น การแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนั้นมี รายละเอียดต่าง ๆ ที่ไม่รัดกุมเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียด เกี่ยวกับชนิด ขนาด จำนวนการมีและใช้ การเก็บรักษา การพาติดตัว การซ่อมแซม ฯลฯ และการอื่นอันจำเป็นเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน เพื่อที่จะให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจบางประเภทสามารถมีและใช้ได้ ซึ่งอาจทำให้ หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีและใช้อาวุธปืนโดยไม่มีมาตรการควบคุมที่เหมาะสม
และนอกจากนั้น ในขณะนี้รัฐบาลได้ขยายโครงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ราชการของทหารและตำรวจมากขึ้น เพื่อการป้องกันและรักษาความมั่นคงของประเทศและ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ปลอดจากภัยต่าง ๆ ที่กำลังคุกคามอยู่ สมควรให้ประชาชน ผู้ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการดังกล่าวสามารถมีและใช้อาวุธบางประเภทและอาจพาติดตัวได้ ตามความเหมาะสม โดยไม่จำต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับสำหรับประชาชนทั่วไป
อนึ่ง การแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าวได้กำหนดโทษอาญา แก่การกระทำบางอย่างไว้สูงเกินความจำเป็นสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่ความร้ายแรง แห่งการกระทำความผิด และโดยที่การกำหนดหลักการให้กำหนดประเภทของอาวุธว่าอาวุธใด เป็นของสำหรับใช้เฉพาะในการสงครามนั้น ไม่สะดวกแก่ทางปฏิบัติ เพราะอาวุธต่าง ๆ มีมากมาย หลายประเภทเกินกว่าที่จะกำหนดให้ครบถ้วนได้ สมควรเปลี่ยนแปลงหลักการใหม่ โดยให้กำหนด แต่เฉพาะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดที่เอกชนอาจมีได้แทนการกำหนดอาวุธให้เป็น อาวุธที่ใช้เฉพาะในราชการสงครามและในประการสุดท้าย โดยที่กิจการอันเกี่ยวกับอาวุธที่เอกชน ไม่อาจมีหรือกระทำได้ ตลอดจนการให้กระทรวง ทบวง กรมและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ มีและใช้ อาวุธได้นั้น เป็นกรณีที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น สมควรให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม เข้ามามีส่วนในการควบคุมกิจการดังกล่าวโดยเป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการ ตามกฎหมายนี้ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
[รก.๒๕๒๒/๒๘/๑๓พ./๑ มีนาคม ๒๕๒๒]
... ตาม ... พระราชบัญญัติ ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ...
http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973955&Ntype=19... และตาม ... กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ...
... อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กลาโหม ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๐๑) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ศ. ๒๔๙๐
ข้อ ๒ อาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา ๗ หรือ
มาตรา ๒๔ ต้องเป็นอาวุธปืน ชนิดและขนาด ดังต่อไปนี้
(๑) อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน
๑๑.๔๕ มม.
(๒) อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียว ดังต่อไปนี้
(ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง ๒๐ มม.
(ข) ปืนบรรจุปาก ปืนลูกซอง และปืนพลุสัญญาณ
(๓) อาวุธปืนชนิดที่มีเครื่องกลไกสำหรับบรรจุกระสุนเองให้สามารถยิงซ้ำได้
ดังต่อไปนี้
(ก) ขนาดความยาวของลำกล้องไม่ถึง ๑๖๐ มม.
(ข) ปืนลูกซอง
(ค) ปืนลูกกรดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้อง ไม่เกิน ๕.๖ มม.
(๔) อาวุธปืนชนิดไม่มีเครื่องบังคับเสียงให้เบาผิดปกติ
(๕) อาวุธปืนชนิดที่ไม่ใช้กระสุนเป็นที่บรรจุวัตถุเคมีที่ทำให้เกิดอันตรายหรือ
เป็นพิษหรือไม่ใช้เครื่องกระสุนปืนที่บรรจุเชื้อโรค เชื้อเพลิง หรือวัตถุกัมมันตภาพรังสี
ข้อ ๓ เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา ๗
หรือมาตรา ๒๔ ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ ๒ ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้อง
ไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ข้อ ๔ วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา ๓๘
ต้องเป็นวัตถุระเบิดประเภท ชนิด และขนาดที่ใช้เฉพาะในกิจการก่อสร้างหรือกิจการอุตสาหกรรม
และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก เล็ก แนวมาลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
+----------------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๕ แห่งพระราช
บัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ
สิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติว่า ประเภท ชนิด และขนาดของอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ตามมาตรา ๗
มาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๓๘ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎ
กระทรวงนี้
[รก. ๒๕๒๒/๑๔๐/๑พ./๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๒]
___________________________________________________________
__________
... ข้อสงสัย ... ครับ ...

... เครื่องกระสุนในขนาด ......... .45 นิ้ว, 9 มม., .38 นิ้ว, .357 นิ้ว, .44 แมกนั่ม ... จะนับว่า เป็น อาวุธสงคราม หรือ อาวุธในราชการสงคราม ได้หรือไม่ ... เนื่องจากในราชการก็มีกระสุนในขนาดที่กล่าวมานี้ใช้งานดังเช่น ที่ เอกชนขออนุญาตได้ ...
... อ่านกฎหมายแล้ว เป็นงงๆ ครับ ... ด้วยความเคารพ ...