เมื่อ 40 ปี ก่อน ประเทศไทย ไม่เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ แต่หลายรัฐบาลก่อนได้ดันทุรังทูซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ (ตามตำราเขาเรียกว่า อุตสาหกรรมซับน้ำตา คือทำไป ซับน้ำตาไป เพราะหากำไรยากมาก ถ้ารัฐบาลไม่ตั้งกำแพงภาษีกีดกันรถยนต์นำเข้าจาก ตปท.) จน40 ปีผ่านไป ประเทศไทยก็เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์แหล่งสำคัญของโลกได้
เมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศไทย ไม่เห็นทางว่าจะเป็นศูนย์กลางการเดินเรือได้อย่างประเทศสิงคโปร์ แต่หลายรัฐบาล ได้ดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ถึงยังไม่เทียบชั้นสิงคโปร์ แต่ถ้าดันทุรังทู่ซี้ส่งเสริมอีกสัก 20 ปี ก็แซงหน้าสิงคโปร์ได้ เพราะเราสามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางเรือ กับทางบกได้ดีกว่าสิงคโปร์ (สิงคโปร์อาจได้เปรียบเรื่องน้ำทะเล แต่เสียเปรียบไทยเรื่องถนนทางบก ที่จะเชื่อมต่อกับอินโดจีน
เขาเรียกว่า นโยบายการส่งเสริมนะครับ

เอาเรื่องศูนย์กลางยานยนต์นะครับ... ตรงนี้เกิดเพราะค่าแรงถูก และรัฐบาลไทยสมัยนั้น(โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนช่วงนายสมพงษ์ วนาภาฯ - ที่จริงต่อเนื่องจากสถาพรฯ โดยมีนายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์เป็นมือทำรายงานสรุปฯ) โดย BOI แค่ตามน้ำในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังหาทางย้านฐานการผลิตไปที่ใหม่ที่ไหนก็ได้ ที่ต้นทุนค่าแรงต่ำ สาธารณูปโภคพื้นฐานพอไหว และมีท่าเรือสำหรับส่งออกได้เหมาะๆ และโควต้าส่งออกไปตลาดใหญ่คือ USA. นั่นเป็นของแถมครับ...
ปัจจุบันนี้สิ่งได้เปรียบตามข้างบนนั่นไม่ได้จูงใจเหมือนเดิมครับ ที่ยังทนอยู่ในไทย ก็เพราะมันมีค่าใช้จ่ายในการ Relocation แต่พอน้ำท่วมใหญ่ปุ๊บ... Honda ประกาศแล้วว่าจะยังไม่ย้ายไปที่อื่น แต่จะไม่ขยายแพลนท์, ส่วนยี่ห้ออื่นยังไม่ได้บอกอะไร แต่กลัวจะย้ายหนี
(สำหรับออโต้อัลลายแอนซ์ - ต้องถามคุณไดเมียวในเว็บนี้ครับ)...ทีนี้เอาเรื่องศูนย์การการเดินเรือ... ยูนิไทย ชิปยาร์ดคือบริษัทเดียวของไทยที่มีศักยภาพต่อเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ได้ แล้วปัจจุบันเมื่อหมดสิทธิประโยชน์ BOI ก้ไม่ได้เปิดโครงการใหม่ หรือขอขยายสิทธิประโยชน์อีกเลย, แล้วยิ่งไปกว่านั้น เมื่อยูนิไทยฯ ต่อเรือให้กองทัพเรือเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เกือบปิดอู่แห้ง เหลือแต่บริการซ่อมแซมครับ, ปัจจุบันธุรกิจขนส่งทางเรืออยู่ในช่วงขาลง จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง TTA, PSL, และ RCL อยู่ในขาลงได้นานแล้วครับ ทั้งกองเรือเทกอง และกองเรือขนตู้คอนเทนเนอร์(ทำให้ยูนิไทยมองไม่เห็นศักยภาพตลาดฯ)...
สำหรับยูนิไทยฯ ก็หันไปขยายตลาดด้านทำแท่นขุดเจาะน้ำมันได้นานแล้วครับ โดยร่วมทุนกับเชฟร่อน เป็นบริษัม CUEL เพิ่งได้งานที่ญี่ปุ่น แล้วเอาพื้นที่ของยูนิไทยที่แหลมฉบังไปผลิตแท่นฯ เต็มพื้นที่ เต็มกำลังการผลิตไปอย่างน้อย 3 ปีครับ... บริษัทอื่นของไทยที่มีศักยภาพได้ระดับนี้มองไม่เห็นเลยครับ...
แหะๆ.....Ford กะ Mazda...คู่แข่งผมครับ......
ตลาดรถยนต์บ้านเรา...ขับเคลื่อนโดยความต้องการของรถกระบะเป็นหลักครับ....
เมืองไทย ถือเป็นตลาดกระบะที่ใหญ่เป็นที่2ของโลก รองจากอเมริกา....
และเพราะรัฐบาลในอดีต...ให้สิทธิภาษีพิเศษกับรถกระบะ ทําให้มีราคาขายได้ถูกกว่ารถเก๋ง.....( ไปดูราคารถกระบะ 1ตันในต่างประเทศได้ว่า แพงกว่าเก๋งเยอะ...) แถม ตั้งกําแพงภาษีรถยนต์นําเข้าไว้สูงลิบ กีดกันสมบูรณ์แบบ ซึ่งแนวคิดนี้ ส่วนตัวผมถือว่าเป็นคุโนปการกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเราครับ....
เพราะรถกระบะเป็นรถอเนกประสงค์ ประเทศเกษตรกรรมแบบบ้านเรา...สามารถใช้บรรทุกพืชผลการเกษตร ใช้ขนส่งคน อุปกรณ์เล็กๆน้อยๆ ปุ๋ย ฯลฯ.....ขณะเดียวกัน ก็ทําให้อุตสาหกรรมรถยนต์บ้านเราเติบโต....
การย้ายฐานการผลิต...อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ...กับรถเก๋ง หรือ รถยนต์นั่ง....เพราะตลาดบ้านเราเล็ก.....มาเลเซีย กับ อินโดฯ ถือเป็นตลาดใหญ่ของรถเก๋งครับ....( เมืองไทย 60-65% เป็นกระบะ).....
สังเกตุง่ายๆครับ.....โฟลค์ กรุ๊ป.....แทนที่จะมาตั้งโรงงานผลิตในไทย กลับประกาศลงทุนในมาเลเซียไปเรียบร้อยแล้ว....เพราะเน้นรถยนต์นั่งเป็นหลัก.....