ผมเคยทำเสาธงมาหลายขนาดครับ
สาเหตุที่ต้องต่อก็เพราะนิยมทำเสาที่ฐานเป็น4"ยาว4ม. แล้วใส่ข้อลดกลมเกลียวใน4"ลดเหลือ3" ยาว3ม.
แล้วก็ลด3"เป็น2"ติดรอกและหัวเสาธงตรงปลาย เพื่อความสวยงาม
สาเหตุก็มาจากใช้ท่ออย่างบาง เพราะอย่างหนามันหนักยกตั้งยาก
หรือจะหนาก็เถอะเกลียวถูกออกแบบมาให้กันน้ำรั่วออก
ไม่ใช่เกลียวแบบสี่เหลี่ยมคางหมู ที่รับแรงหรือน้ำหนักได้มากกว่า
บอกตรงๆว่าเสียวครับ เพราะผมเห็นตอนป.6ได้ เสาธงหักเพราะแรงลม
เสียงดังและยังกระเด็นขึ้นอีกเป็นเมตร ตรงที่เข้าแถวพอดี
รร.ไหนอยากเซฟตี้ก็เอาลงมา ใส่ข้อลดเชื่อมใหม่จะดีกว่า
เพราะจุดที่เป็นเกลียวนั้นน่าจะหนาไม่เกิน1-1.2มม.
แล้วต้องรับน้ำหนักของตัวมันเอง ลมแรงหน่อยมีโอกาสครับ
Ha Ha Ha ฮา "ฮั่นแน่" พี่ Lek อ่ะ ฮา
แป๊บเหล็ก ชุบสังกะสี ที่วิศวกรเรียก "กัลวาไนซ์" Galvaniz อ่ะ ฮา
มันเป็นการชุบ เคลือบ ภายนอกและภายใน กันการกัดกร่อน เป็นสนิม อ่ะ ฮา
แป๊บประปา ที่เขาทำออกมาขาย ความยาวเส้นละ 6 เมตร มีสองสี
คือ เขาทำสัญญลักษณื "คาดสีเหลือง"เป็นอย่างบาง อ่ะ
อย่างหนา คาดสี "น้ำเงิน" อ่ะ ฮา
ทั้งสองอย่าง แตกต่างกันแค่ ชั้นความหนา ของเนื้อ แป๊บเหล็ก อ่ะ ฮา
การนำท่อ "แป๊บประปา" มาทำเสาธง ถ้ายายเจอ ยายจะแนะนำ
ให้เขา ใส่ "สลัก" สอดไว้ภายใน แล้วเชื่อมยึด อ่ะ ฮา
สลักที่ว่า ก็คือการตัด "แป๊บเหล็ก" หรือ ท่อเหล็ก นำมา ผ่ากลาง
ให้ขนาดเล็กกว่า ท่อด้านนอก ความยาว 50 - 60 เซ็นต์
แล้วใช้ "ก๊าซ" เจาะเป็นรู ระยะห่าง 20-30 ซม อ่ะ
เจาะเสร็จ ก็ใช้ เหล็กเส้น สี่ หรือ ห้า หุน ใส่เป็นสลัก เชื่อมยึด ตามแนวขวาง
ป้องกัน "เกลียวหัก" ล้มลงมา อ่ะ ฮา

ยายนับถือ เรื่อง "ช่างประปา" พี่ Lek อ่ะ ฮา
