ส่วนระดับประเทศจะเป็นอำนาจของอธิบบดีกรมตำรวจแต่ปัจจุบันถูกยึดมาเป็นออำนาจ รมต.มหาดไทย
จะเรียกว่า
ยึด คงไม่ตรงนัก เพราะผู้บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้คือกระทรวงมหาดไทย เมื่อก่อนกรมตำรวจสังกัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมตำรวจก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้
ต่อมากรมตำรวจแยกไปเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มหาดไทยก็
ไม่ให้อำนาจนี้ติดตัวไปกับกรมตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ท่านว่าผบ.ตร. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทยให้ดูแลเรื่องนี้ (ป.๑๒) น่าจะคลาดเคลื่อนอยู่บ้างครับ

เพราะการเป็นเจ้าพนักงานของผบ.ตร.ถูกกำหนดไว้โดยกฎหมาย .... มาตรา ๒๒(๑) ของพ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ไม่ใช่มท.๑ มอบหมาย
ซ้ำร้ายมท.๑ เลี่ยงบาลีใช้อำนาจตามมาตรา ๕๗ มาระงับไม่ให้ผบ.ตร.ออกใบอนุญาตฯ
โดยมีเงื่อนไขว่า จะออกให้ใครได้ต้องให้ตัวอนุมัติก่อน .... เห็นได้ว่าเป็นความต้องการถ่ายโอนอำนาจนี้มาให้ตนเอง
ถ้าลงลึกเรื่องนี้ ..... สตช.มีโครงข่ายข้อมูลตร.ท้องที่ กองปราบ สันติบาล ปปส. คัดกรองคนได้เอง ....
.... ส่วนมท.ไม่มีฐานตรงนี้ .... แค่คัดกรองประวัติอาชญากรรมออกป.๓ มท.ก็ยังต้องยืมจมูกสตช.หายใจ
และตร.เป็นผู้ที่ต้องเผชิญเหตุ .... ติดอาวุธคนดี ก็เหมือนมีผู้ช่วย
ไม่ใช่คิดแบบมท.เพียงเอาอำนาจมาสร้างบุญสร้างคุณ เอาพวกพ้องตอบแทนกัน
