เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กรกฎาคม 29, 2025, 04:35:54 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศาลเยาวชนสั่งจำคุกสาวซีวิค 2 ปี รอลงอาญา 3 ปี ห้ามขับรถจนกว่าอายุ 25 ปี  (อ่าน 5782 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #30 เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 08:52:53 PM »

ลิงค์แจ่มมาก ขอแชร์ไปลงเฟซบุคครับ  เยี่ยม


เมื่อวันที่ 1 กันยายน ศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บออกแถลงการณ์คดี น.ส.แพรวพราว ( นามสมมุติ) อายุ 18 ปี จำเลย ในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท จนเป็นเหตุในผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายต่อร่างกายบาดเจ็บสาหัส และทรัพย์สินเสียหาย ที่ถูกศาลเยาวชนและครอบครัวกลางพิพากษาลงโทษจำคุก ระบุว่า ตามที่เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม  ที่ผ่านมา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำพิพากษาในคดีอาญากรณีอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์แล้วนั้น

 

คณะกรรมการกฎหมายเพื่อดูแลคดีที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้เสียหาย และได้แต่งตั้งทนายความของศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)ให้เป็นตัวแทนผู้เสียหายตามการร้องขอของผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ทางศูนย์นิติศาสตร์ มธ.จึงขอแถลงให้สาธารณชนได้ทราบถึงผลของการดำเนินคดีอาญาและแนวทางการดำเนินคดีต่อไป ดังนี้

 

1. คดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนในข้อหาขับรถ โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายแก่กายสาหัส และได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ รวมทั้งข้อหาขับขี่รถขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น หลังจากการสืบพยานเสร็จสิ้น ศาลเยาวชนฯ ได้มีคำสั่งในวันที่ 22 กรกฎาคม 2555 ให้มีการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายและจำเลยภายใน 30 วัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ยแจ้งว่าไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้และคู่กรณีประสงค์จะให้อ่านคำพิพากษา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555 ศาลเยาวชนฯ จึงได้อ่านคำพิพากษาซึ่งมีใจความโดยสรุปว่า “จำเลยมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและสาหัส จึงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี แต่ให้รอการลงโทษมีกำหนด 3 ปี” พร้อมกับกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติจำเลยหลายประการ

 

คณะกรรมการกฎหมายเพื่อดูแลคดีที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์ในนามของผู้เสียหายใคร่ขอขอบคุณพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพนักงานอัยการที่ได้ทำงานอย่างตรงไปตรงมา และขอบพระคุณศาลสถิตยุติธรรมที่ได้ให้ควายุติธรรมแก่ผู้เสียชีวิตทั้ง 9 คน รวมถึงขอขอบคุณพยานทุกท่านที่เข้าเบิกความตามความเป็นจริง ถึงแม้โทษจะเป็นเพียงการรอการลงโทษ แต่ผู้เสียหายยอมรับคำพิพากษาทุกประการ เนื่องจากผู้เสียหายมิได้ประสงค์ที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษจำคุกแต่ประการใด เพียงแต่ต้องการความเป็นธรรม เนื่องจากจำเลยมิได้ยอมรับผิดว่าได้ขับรถโดยประมาท และเชื่อมั่นว่าผลของคดีจะได้เป็นบรรทัดฐานสำหรับทุกฝ่าย รวมถึงผู้ปกครองจะได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการปล่อยให้ผู้เยาว์ในความปกครองของตนขับรถโดยไม่มีใบขับขี่ เพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยที่มีมากขึ้นบนท้องถนนของประเทศไทยต่อไป

 

2. ในส่วนของคดีแพ่ง ซึ่งผู้เสียหายโดยทนายความของศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง จำนวน 13 คดี โดยฟ้องเยาวชนผู้ก่อเหตุและบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายนั้น ศาลแพ่งยังไม่ได้พิพากษาเนื่องจากว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมผูกพันไปถึงคดีแพ่ง จึงต้องรอให้คำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดก่อน ซึ่งในขณะนี้คดีอาญายังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากคู่ความมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ภายใน 30 วันหลังจากมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 

3. สำหรับในเรื่อง ค่าเสียหายในทางแพ่ง นั้น ทนายความของศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เสียหาย ได้พิจารณาบนพื้นฐานของสิทธิตามกฎหมายของผู้เสียหาย ทั้งนี้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแก่ผู้เสียหายแต่ละราย โดยพิจารณาจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ได้เคยตัดสินเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ มิได้มีการใช้สิทธิเกินเลยไปจากที่กฎหมายกำหนด หรือเกินเลยไปจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินไว้แต่ประการใด ซึ่งเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วจะได้มีการแถลงให้สาธารณชนทราบในเรื่องนี้ต่อไป

 

ทั้งนี้คณะกรรมการกฎหมายเพื่อดูแลคดีที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์ และทนายความของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำหน้าที่โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายทุกประการ การดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นการเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ หรือการฟ้องคดีแพ่งให้ผู้เสียหาย มีความประสงค์แต่เพียงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย และต้องการให้เกิดบรรทัดฐานที่ดีในสังคม โดยมิได้มีความประสงค์จะทำให้จำเลยต้องถูกเกลียดชังแต่ประการใด จึงใคร่ขอให้การใช้สิทธิวิพากษ์วิจารณ์กันในเรื่องนี้ให้เป็นไปในขอบเขตของกฎหมายและการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสังคมที่ดีงามร่วมกันต่อไป
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
Boonsawad
Jr. Member
**

คะแนน 6
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 57



« ตอบ #31 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 09:13:21 AM »

บทความจาก "คลังกฎหมาย"  องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร/ความรู้ทางกฎหมาย


ตราบาป......... จากความไม่รู้ของสังคม???

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ได้มีคำพิพากษาในคดีที่อัยการฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นางสาวแพรว (นามสมมุติ) เป็นจำเลยในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท ...จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายต่อร่างกายบาดเจ็บสาหัส ทรัพย์สินเสียหาย และใช้โทรศัพท์ขณะขับรถยนต์

คำฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2553 เวลากลางคืน จำเลยซึ่งเป็นเยาวชนขับรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค ทะเบียน ฎว-8461 กรุงเทพฯ ขึ้นบนทางยกระดับโทลล์เวย์ ขาเข้า มุ่งหน้าถ.ดินแดง ด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนด จำเลยได้กระทำประมาทโดยปราศจากความระมัดระวัง ไม่ขับรถในช่องทางซ้าย เมื่อมาถึงบริเวณแยกทางลงบางเขน ช่วงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปลี่ยนช่องทางไปมา จากช่องทางขวาสุดมาทางซ้ายถัดมา และยังเปลี่ยนกลับไปยังช่องทางขวาอีกครั้ง เป็นเหตุให้รถยนต์ซีวิคของจำเลยพุ่งเข้าชนรถยนต์ตู้โดยสาร ทะเบียน 13-7795 กรุงเทพฯ วิ่งระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นคนขับ ทำให้รถยนต์ตู้เสียหลักหมุนไปชนขอบกั้นทางโทลล์เวย์ พลิกคว่ำพังเสียหาย คนขับรถตู้และผู้โดยสารภายในรถกระเด็นออกจากตัวรถตกจากทางด่วนเสียชีวิตรวม 9 ราย บาดเจ็บสาหัสจำนวนหนึ่ง ส่วนรถยนต์ของจำเลยแฉลบเลยจากรถตู้ประมาณ 50 เมตร นอกจากนี้ก่อนเกิดเหตุจำเลยยังใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์ มีหลักฐานเป็นรายงานการใช้โทรศัพท์มือถือของจำเลย ชั้นสอบสวนจำเลยปฏิเสธทั้ง 2 ข้อหา

ศาลเยาวชนฯ ได้มีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดอาญาฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุในผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายต่อร่างกายบาดเจ็บสาหัสจริง ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์จึงลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 2 ปี แต่ให้รอการลงโทษ 3 ปี พร้อมกับกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยปฏิบัติดังนี้
1. รายงานตัวทุก 3 เดือน
2. ตั้งใจศึกษา โดยการนำส่งผลการเรียนต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติพร้อมผลการตรวจปัสสาวะ
3. ห้ามคบผู้ที่เสี่ยงกระทำผิด
4. ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 48 ชม.
5. ห้ามขับรถถึงอายุ 25 ปี


ข้อเท็จจริงและที่มาคดีนี้เป็น ผู้อ่านหลายท่านต่างได้ทราบที่มาที่ไปเป็นอย่างดี ผู้เขียนจะไม่ขอกลาวย้ำอีก ประเด็นที่ “น่าตกใจ” ที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาคดีนี้ ไม่ใช่ผลของคำพิพากษาที่ให้รอการลงโทษจำเลย แต่เป็นกระแสคววามโกรธแค้น เกลียดชังของผู้คนในโซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่ส่วนมากไม่เห็นด้วยกับผลของคำพิพากษา โดยต่างได้แสดงออกด้วยเหตุผลส่วนตัวไปในทำนองที่ว่า “เกลียดกฎหมายรอลงอาญาจริงๆ เลิกๆไปเถอะ/รอลงอาญา เบื่อหว่ะ/ทุเรศมาก ทำคนตาย 9 คน ได้รับโทษแค่นี้ แล้วรอลงอาญาอีก/เออ ดีเนอะ กฎหมายไทย คุกไทยมีไว้ขังคนจนกับแพะอย่างที่หลายคนว่าจริง ฯลฯ”  ซึ่งผู้เขียนจะขออธิบายในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อทุกท่านจะได้มีความเข้าใจการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลให้ถูกต้องตามเหตุและผล

ในประเด็นข้อกฎหมายนั้น เนื่องจากคดีนี้ นางสาวแพรว (นามสมมติ) ได้ก่อเหตุขึ้นขณะที่ตนเองมีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนฯ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ  ตามมาตรา 4 “เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์”  และมาตรา 5  “คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้น”

การก่อเหตุดังกล่าว อัยการผู้ฟ้องคดีก็ได้ฟ้องอาญาฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุในผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท” ส่วนในขั้นตอนกระบวนพิจารณานั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

และประเด็นสุดท้ายคือขั้นตอนการกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 “ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมา ก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึง ถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว เห็นเป็นการสมควรศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการ ลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลา ที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดย จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้”


การพิจารณาคดีอาญาของเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ หมวด 10 มาตรา 119 “ในการพิจารณาและพิพากษาคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชน ซึ่งควรจะได้รับการฝึกอบรม สั่งสอน และสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดียิ่งกว่าการที่จะลงโทษ และในการพิพากษาคดีนั้นให้ศาลคำนึงถึงบุคลิกลักษณะ สภาพร่างกายและสภาพจิตของเด็กหรือ เยาวชนซึ่งแตกต่างกันเป็นคน ๆ ไป และลงโทษหรือเปลี่ยนโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชน และพฤติการณ์เฉพาะเรื่อง”


จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาที่ออกมานั้น สมเหตุสมผล มีวิธีการที่ถูกต้อง และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายทุกอย่าง เนื่องจากเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ คือการให้ความคุ้มครองสิทธิสวัสดิภาพ และวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว รวมทั้งในส่วนของกระบวนการ พิจารณาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นสำคัญโดยการคำนึงถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามมาตรา 119 เป็นสำคัญ ตามที่ได้กล่าวข้างต้น

หลักการตีความกฎหมายอาญานั้น ต้องตีความโดยเคร่งครัดตามตัวบท เรื่องจากกฎหมายอาญามีสภาพบังคับเด็ดขาดที่กระทบกระเทือนถึงสิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย เสรีภาพ ของจำเลย แต่ทั้งนี้หลักการที่เคร่งครัดดังกล่าวของกฎหมายอาญาจะถูกผ่อนปรนเพื่อความยืดหยุ่นในการปรับใช้ หลักดังกล่าวคือ “เจตนา”


ประเด็นที่ผู้อ่านควรพิจารณาในทางกลับกันก็คือ หากวันหนึ่ง ผู้อ่านขับรถด้วยความระมัดระวัง รถยางระเบิดแบบไม่คาดฝัน และเสียหลักไปชนรถทัวร์ เป็นเหตุให้รถทัวร์เสียหลักพลิกคว่ำ มีผู้เสียชีวิต 90 คน ซึ่งผู้อ่านไม่ตั้งใจและไม่อยากให้เกิด (ภาษากฎหมายเรียก ไม่มีเจตนา) ฝ่ายญาติผู้ตายฟ้องร้องผู้อ่านแบบเอาเป็นเอาตาย ตามอารมณ์ของสังคม ในลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ น.ส.แพรว (นามสมมติ) ต้องการฟ้องผู้อ่านด้วยความผิดโทษประหาร/ติดคุก20ปี หากศาลตัดสินให้ผู้อ่านมีความผิด และได้รับโทษหนัก ตามอารมณ์ที่สังคมต้องการ ในลักษณะเดียวกับที่อยากให้ น.ส.แพรว (นามสมมติ) ได้รับ ด้วยความผิดที่ผู้อ่านไม่มีเจตนา ผู้อ่านคิดว่ายุติธรรมหรือไม่???


และการที่อัยการฟ้องผู้อ่านในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายต่อร่างกายบาดเจ็บสาหัส ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ศาลกลับพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องของอัยการ เป็นโทษหนักเกินที่กฎหมายกำหนด ทั้ง ๆ ที่กฎหมายก็บอกอยู่แล้วว่า “ห้ามพิพากษาเกินคำขอ” ไม่ว่าจะพิพากษาเป็นประหารชีวิตก็ดี จำคุกตลอดชีวิตก็ดี ทั้ง ๆ ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามกฎหมายอาญามาตรา 291 ได้กำหนดความผิดฐานนี้เพียงจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาทเท่านั้น การประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ตามความเห็น ตามความรู้สึก ตามที่กระแสสังคมเรียกร้อง ผู้อ่านคิดว่าคือความยุติธรรมหรือไม่?Huh?


กฎหมายล้วนให้ความยุติธรรมกับทุกคน เเม้แต่ผู้กระทำผิด ไม่ให้ฝ่ายที่ทำผิดรับโทษเบาเกินไป และไม่ให้ฝ่ายที่ฟ้องร้อง ฟ้องขอให้ลงโทษเอาแก่จำเลยหนักจนเกินไปเช่นกัน กระแสสังคมต้องไม่นำมากระทบกับดุลพินิจในการวินิจฉัยคดี และเนื่องจากว่ากฎหมายได้แยกอายุของผู้กระทำผิดไว้ ซึ่งกรณีนี้ต้องใช้ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ และก็มีวิธีการสำหรับเยาวชนไว้ต่างหากแล้ว ตามมาตราการต่าง ๆ เช่นการส่งฝึกและอบรมที่สถานพินิจฯ ซึ่งส่วนมากการส่งเข้าสถานพินิจนี้ จะเป็นเยาวชนที่กระทำผิด “โดยเจตนาและข้อหาอุกฉกรรจ์” เช่นฆ่าคนตาย ข่มขืนกระทำชำเรา คดียาเสพติด และหากเป็นคดีประเภทอื่นต้องศาลจะดูในรายงานสถานพินิจฯ ถึงพฤติการณ์การกระทำของจำเลย การเยียวยาความเสียหาย สภาวะแวดล้อมความเป็นอยู่ของเด็ก ว่าหากปล่อยไปผู้ปกครองจะสามารถดูแลได้หรือไม่ จะสามารถกลับตนเป็นคนดีได้หรือไม่ เป็นต้น


การกระทำความผิดโดยประมาท เป็นการกระทำที่ไม่มีจิตใจชั่วร้าย ไม่ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล ไม่ได้เจตนาจะทำให้เกิดความเสียหาย ตามหลักแล้วน่าถูกตำหนิน้อยกว่าลักทรัพย์ หรือทำร้ายร่างกายโดยเจตนาเสียอีก หรือหากเป็นเครื่องบินตกมีผู้เสียชีวิต 300คน คนขับเครื่องบิน/ช่างซ่อมเครื่องบินก็ไม่จำต้องติดคุกเป็น10,000 ปีเช่นกัน หลักเจตนาในทางอาญานั้น สำคัญมาก การเจตนาฆ่าด้วยการไตร่ตรองแม้เพียงคนเดียว จะสำเร็จหรือไม่ จึงมีความผิดมากกว่า การกระทำโดยไม่เจตนาหลายเท่า เหตุการณ์ น.ส.แพรว (นามสมมติ) คือความประมาท ความประมาทย่อมไม่มีเจตนา และผลแห่งความประมาทนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ หรือมากกว่า ประเด็นคือจะเสียชีวิตอีกกี่ศพก็ตาม เหตุก็ยังคือความประมาทอยู่นั่นเอง จำนวนผู้เสียชีวิตจากการกระทำโดยประมาท จะไม่นำมาพิจารณาในทางกฎหมาย เนื่องจากการกระทำนี้เป็นการกระทำกรรมเดียว วาระเดียว ซึ่งในทางตรงข้ามจะพิจารณาจาก “การกระทำ” เป็นหลัก ว่า “เจตนา” หรือไม่เท่านั้น

กฎหมายอาญาจะมีลักษณะความรุนแรงของการบังคับ น้อยไปมาก เบาไปหนัก ความเข้มข้นของการบังคับโทษตามกฎหมายอาญา จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาพของการกระทำ และความรู้ผิดชอบของผู้กระทำ และความชั่วร้ายที่เกิดจากเจตนาภายใน ไล่สายตั้งแต่ไม่มีการกระทำ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา กระทำความผิดโดยเจตนา กระทำความผิดต่อทรัพย์ ต่อบุคคล ต่อทรัพย์สาธารณะ ต่อบุคคลสำคัญอันเป็นเหตุเพิ่มโทษ (บิดามารดา เจ้าหน้าที่ของรัฐ) กระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยมีอาวุธร้ายแรง เหล่านี้ มีกฎหมายบัญญัติความเข้มข้นของโทษ จากเบา ไปหนักขึ้นเรื่อย ๆ กระทำความผิดโดยประมาท กฎหมายกำหนดโทษไว้ต่ำ ๆ และศาลมักรอลงโทษเสมอ เป็นเรื่องปกติไม่ว่าคนรวยหรือคนจน และหลักกฎหมายจะต้องยืนหยัดพึ่งพิงได้และมั่นคงเพียงพอ

ส่วนการรอการลงโทษ บางท่านให้ความเห็นอย่างเมามันว่า “รอลงอาญาควรยกเลิกไปได้แล้ว มีไปทำไม” หากท่านกระทำความผิดอะไรก็ตามโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วถูกศาลพิพากษาให้จำคุกทันที ไม่มีการรอลงอาญา ท่านว่าเหมาะสมหรือไม่ ท่านไม่มีสันดานโจรแต่กระทำความผิดด้วยความไม่รู้ พลาดพลั้ง ประมาท หรือไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ที่ไม่ใช่การกระทำโดยเจตนา หากท่านออกมาใช้ชีวิตนอกเรือนจำ ท่านสามารถเป็นทรัพยากรบุคคลกลับมาทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ สังคม หรือครอบครัวอันเป็นที่รักได้ การรอลงอาญานั้นไม่ใช่ว่าจำเลยจะไม่ต้องรับโทษเลย ความหมายคือ จำเลยยังต้องรับโทษ ถ้ายังประพฤติตัวแบบเดิม ทำผิดซ้ำสอง และโทษที่รอลงอาญาในครั้งแรก จะถูกบวกเพิ่มจากโทษที่ได้กระทำความผิดครั้งที่สองนั่นเอง


การที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่พอใจผลของคำพิพากษา อาจเป็นเพราะหลังจากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น น.ส.แพรว (นามสมมติ)ไม่ได้ทำให้สาธารณชนส่วนใหญ่เห็นว่าเธอรู้ตัวว่าเธอกำลังทำความผิด เธอให้คนอื่นออกมารับหน้าแทนในหลายครั้ง และด้วยเหตุผลเหล่านี้นั้น กฎหมายไม่ถือเอาเป็นเหตุเพิ่มโทษ หรือลดโทษในทางอาญาแต่อย่างใด มิเช่นนั้นแล้ว หากมีโจรไปปล้นฆ่าผู้อื่น จนเสียชีวิต ต่อมาภายหลังกลับสำนึกผิด ไปงานศพผู้ตาย ไปขอขมา ฯลฯ ศาลพิพากษาว่าโจรผู้นั้นแสดงความรับผิดชอบแล้ว เห็นควรลดโทษให้ ทั้ง ๆ ที่การแสดงออกของโจรคนดังกล่าวไม่ได้สำนึกผิดจากใจจริง เพียงแค่แสดงออกเพื่อให้ได้รับการลดโทษเท่านั้น ท่านผู้อ่านคิดยุติธรรมหรือไม่ และศาลควรยึดหลักเกณฑ์การเพิ่ม/ลดโทษหลักเกณฑ์ใดเป็นสำคัญ เหตุลด/เพิ่มโทษของศาล คดีนี้ที่ศาลนำมาประกอบการพิจารณาพิพากษาก็คือการที่จำเลยให้การที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเป็นสำคัญ


อาจมีคำถามต่อมาว่า “ในเมื่อกฎหมายบอกว่า ห้ามพิพากษาเกินคำขอในฟ้อง ตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วเหตุใดอัยการจึงไม่ฟ้องฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาเล่า ศาลจะได้พิพากษาว่า ให้จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาได้ เพราะไม่เกินคำขอในคำฟ้อง” คำตอบในส่วนนี้คือ จากพฤติการณ์ก็ปรากฎข้อเท็จจริงก็แล้วว่าไม่มีเจตนาฆ่า หากแม้อัยการฟ้องในข้อหาเจตนาฆ่าไปแล้ว ศาลต้องพิพากษายกฟ้องแน่นอน และผลเสียอย่างใหญ่หลวงที่ครอบครัวผู้เสียชีวิตได้รับคือ ค่าเสียหายในคดีแพ่งที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งต่างหากไว้แล้ว โอกาสที่ศาลจะยกฟ้องโจกท์ มีมากกว่า 95% เลยทีเดียว เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 กำหนดว่า “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา” นั่นหมายความว่า คดีอาญารับฟังพยานหลักฐานกันมาอย่างไร ผลการพิจารณาพิพากษาในแต่ละประเด็นเป็นอย่างไร คดีแพ่งก็ “ต้องยึดถือตามคดีอาญาด้วย” หากอัยการฟ้องแล้วศาลยกฟ้อง ผลคือผู้เสียหายจะไม่สามารถได้รับค่าเสียหายจากจำเลยได้เลย หรือเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า “ตายฟรี” นั่นเอง ซึ่งในคดีอาญาของ น.ส.แพรว (นามสมมติ) นี้ ศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต คดีแพ่งที่ญาติของผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องไว้ ศาลแพ่งก็ต้องยึดถือตามด้วย ซึ่งผลคดีแพ่งจะออกมาในลักษณะที่ว่า “น.ส.แพรว (นามสมมติ) ได้กระทำความเสียหายต่อผู้เสียหายจริง พิพากษาใช้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายเป็นเงินจำนวน……….” ซึ่งจำนวนเงินค่าเสียหายนี้ จะเป็นจำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจริงเท่าใดเป็นสำคัญ ซึ่งก็กฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานการฟ้องเรียกค่าเสียหายขั้นสูงเอาไว้ ซึ่งในทางปฏิบัติ คดีในศาลแพ่งมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายกันเป็นหมื่นล้าน พันล้าน (เรียกว่าฟ้องขู่) มากมาย แต่ศาลจะพิจารณาพิพากษาเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่า โจทก์เสียหายเพียงใด และสามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้หรือไม่ เท่านั้น


ยกตัวอย่างคดีนี้ในทางแพ่ง ผู้เสียชีวิตรายหนึ่งเรียนจบปริญญาเอก หากมารดาของผู้เสียชีวิตรายนี้ เคยได้รับการส่งเสียค่าเลี้ยงดู (กฎหมายเรียกค่าอุปการะ) จากบุตรที่เสียชีวิตเป็นรายเดือน เดือนละ 50,000 บาท ในขณะเกิดเหตุ ผู้เสียชีวิตอายุ 30 ปี (สมมติ อายุ) การคิดค่าเสียหาย (กฎหมายเรียก ค่าขาดไร้อุปการะ) เบื้องต้นคือ จำนวนเงินที่ต้องส่งเสียแก่มารดารายเดือน 50,000 บาท คูณด้วย 12 (จำนวนเดือนในแต่ละปี) จำนวนที่ได้ต่อปีจะเท่ากับ 600,000 (หกแสน) บาท และนำเงินรายปีจำนวน 600,000 บาทนี้ คูณด้วย 30 (อายุงานที่เหลือจนกว่าจะเกษียร) จะได้เท่ากับ 18,000,000 (สิบแปดล้าน) บาท เป็นต้น เป็นอย่างน้อย อีกทั้งมีค่ารักษาพยาบาลก่อนที่จะเสียชีวิต (หากมิได้เสียชีวิตในทันที) ค่าปลงศพ รวมเข้าด้วยอีก และอย่าลืมคิดว่า ผู้เสียหายจากคดีนี้ มีอย่างน้อย 9 ราย แต่ละรายได้รับความเสียหายมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งค่าเสียหายที่ผู้เสียหายเรียกนี้ ต้องเป็นค่าเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับความเสียหายจริง ไม่เลื่อนลอย ศาลจึงจะพิจารณาพิพากษาตามที่ขอให้ได้ จะเห็นได้ว่า คดีนี้ผู้เสียหายต่างแยกกันฟ้องจำเลยความรับผิดฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายรวมกันเป็นเงินกว่า 120 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำเลยก็ได้รับการบังคับเอาจากกฎหมายอย่างเข้มข้นตามสมควรแล้วเช่นกัน


ในทางอาญาจำเลยจำต้องได้รับโทษตามสมควรแก่เหตุ และในทางตรงข้าม โจทก์ก็ต้องได้รับการเยียวยาเช่นกัน การดำเนินคดีในลักษะคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น จึงเป็นช่องทางออกที่ดีที่สุดในการอำนวยความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย
ดังภาษิตที่ว่า “กฎหมายอาจหลับในบางครั้ง แต่ไม่เคยตาย” (The LAW sometimes sleep, NEVER DIE) จึงขอให้ผู้อ่านทุกท่าน รับข้อมูลข่าวสาร และใช้วิจารณญาณด้วยความระมัดระวัง.

ผู้เขียน : คลังกฎหมาย
1 ก.ย. 2555

บันทึกการเข้า

........อนิจจัง.......ทุกขัง........อนัตตา........
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #32 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 10:12:41 AM »

ยกตัวอย่างคดีนี้ในทางแพ่ง ผู้เสียชีวิตรายหนึ่งเรียนจบปริญญาเอก หากมารดาของผู้เสียชีวิตรายนี้ เคยได้รับการส่งเสียค่าเลี้ยงดู (กฎหมายเรียกค่าอุปการะ) จากบุตรที่เสียชีวิตเป็นรายเดือน เดือนละ 50,000 บาท ในขณะเกิดเหตุ ผู้เสียชีวิตอายุ 30 ปี (สมมติ อายุ) การคิดค่าเสียหาย (กฎหมายเรียก ค่าขาดไร้อุปการะ) เบื้องต้นคือ จำนวนเงินที่ต้องส่งเสียแก่มารดารายเดือน 50,000 บาท คูณด้วย 12 (จำนวนเดือนในแต่ละปี) จำนวนที่ได้ต่อปีจะเท่ากับ 600,000 (หกแสน) บาท และนำเงินรายปีจำนวน 600,000 บาทนี้ คูณด้วย 30 (อายุงานที่เหลือจนกว่าจะเกษียร) จะได้เท่ากับ 18,000,000 (สิบแปดล้าน) บาท เป็นต้น เป็นอย่างน้อย อีกทั้งมีค่ารักษาพยาบาลก่อนที่จะเสียชีวิต (หากมิได้เสียชีวิตในทันที) ค่าปลงศพ รวมเข้าด้วยอีก และอย่าลืมคิดว่า ผู้เสียหายจากคดีนี้ มีอย่างน้อย 9 ราย แต่ละรายได้รับความเสียหายมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งค่าเสียหายที่ผู้เสียหายเรียกนี้ ต้องเป็นค่าเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับความเสียหายจริง ไม่เลื่อนลอย ศาลจึงจะพิจารณาพิพากษาตามที่ขอให้ได้ จะเห็นได้ว่า คดีนี้ผู้เสียหายต่างแยกกันฟ้องจำเลยความรับผิดฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายรวมกันเป็นเงินกว่า 120 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำเลยก็ได้รับการบังคับเอาจากกฎหมายอย่างเข้มข้นตามสมควรแล้วเช่นกัน

ถามหน่อยครับ มีการคิด NPV รึเปล่าครับ net present value Grin Grin Grin 18 ล้าน รับเต็มๆนี่ก็ได้จากดอกเบี้ยเพิ่มอีก 30 ปีนะครับ  หรือเขาก็คิดว่ามี inflation ด้วยเหมือนกัน
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
Boonsawad
Jr. Member
**

คะแนน 6
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 57



« ตอบ #33 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 11:50:43 AM »

ข้อความข้างต้นนั้น ผม copy บทความมาตามตัวอักษรเลยครับ.... Grin

ที่คุณ car ถามมานั้น  ผมเข้าใจว่าเป็นเพียงการยกตัวอย่างของเจ้าของบทความเท่านั้น    Smiley

สำหรับเรื่องการคิดทุนทรัพย์ในการฟ้องนั้น  ในคำขอท้ายฟ้องแพ่งนั้นฝ่ายโจทก์ย่อมที่จะคิดคำนวณอย่างรัดกุมอยู่แล้ว     คดีละเมิดแบบนี้บางอย่างขอดอกเบี้ยได้  บางอย่างก็ขอดอกเบี้ยไม่ได้ครับ   และโดยส่วนใหญ่โจทก์จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในจำนวนที่สูงๆเอาไว้ก่อน    ซึ่งต้องคิดเผื่อไปที่อนาคตด้วยแล้วอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม  เรื่องนี้ยังอยู่ในศาลชั้นต้นเท่านั้น   ในทางปฎิบัติจริงๆคงจะต้องสู้กันถึงศาลฎีกาครับ Grin
บันทึกการเข้า

........อนิจจัง.......ทุกขัง........อนัตตา........
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #34 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 12:08:58 PM »

ขอถามแบบไม่รู้ข้อกฎหมายนะครับ

คดีอย่างนี้ เพิ่งอยู่ในศาลชั้นต้น ยังต้องสู้อีก2ศาล ไม่รู้กี่ปี กว่าจะฟ้องแพ่งได้ ทางจำเลยและผู้ปกครอง(ที่ต้องร่วมรับผิด) มิยังย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปหมดแล้วหรือครับ?

เหมือนกันการฟ้องล้มละลายสมัยนี้ ถ้าจำเลยทำการยักย้ายทรัพย์สินไปเกือบหมดแล้ว  เจ้าหนี้ได้แต่ลม แถมอายุความสั้นแค่3ปี ก็ปลดจากการล้มละลายแล้ว ทีนี่จะได้อะไร ผมว่ามันยากมากนะครับ
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #35 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 03:03:00 PM »

ขอถามแบบไม่รู้ข้อกฎหมายนะครับ

คดีอย่างนี้ เพิ่งอยู่ในศาลชั้นต้น ยังต้องสู้อีก2ศาล ไม่รู้กี่ปี กว่าจะฟ้องแพ่งได้ ทางจำเลยและผู้ปกครอง(ที่ต้องร่วมรับผิด) มิยังย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปหมดแล้วหรือครับ?

เหมือนกันการฟ้องล้มละลายสมัยนี้ ถ้าจำเลยทำการยักย้ายทรัพย์สินไปเกือบหมดแล้ว  เจ้าหนี้ได้แต่ลม แถมอายุความสั้นแค่3ปี ก็ปลดจากการล้มละลายแล้ว ทีนี่จะได้อะไร ผมว่ามันยากมากนะครับ

                          ถามเหมือนจะเตรียมล้ม     ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #36 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 03:03:50 PM »


                อยู่เมืองไทยจะอ้างว่าไม่รู้กฏหมาย ฟังไม่ขึ้นนะ  เสร็จลูกเดียว  หึ หึ หึ

บันทึกการเข้า

                
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #37 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 03:36:34 PM »

อย่างไรก็ตาม  เรื่องนี้ยังอยู่ในศาลชั้นต้นเท่านั้น   ในทางปฎิบัติจริงๆคงจะต้องสู้กันถึงศาลฎีกาครับ Grin

ขอบคุณครับ. Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #38 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 03:38:15 PM »

                อยู่เมืองไทยจะอ้างว่าไม่รู้กฏหมาย ฟังไม่ขึ้นนะ  เสร็จลูกเดียว  หึ หึ หึ
จริงด้วยครับ Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #39 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 03:58:31 PM »

ที่นี่ยังดีครับ

ยังหยุดคิด หยุดรับฟังเรื่องราวอย่างที่มันเป็นจริง ยังยอมรับทราบว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นมาตลอดกับที่เราอยากให้เป็น"เฉพาะกรณีนี้"มันเป็นนั้นต่างกัน

ที่เห็นว่อนไปหมดคือมีแต่คนแหกปากโวยวายที่ไม่ได้อย่างใจ หลับหูหลับตาประชดเพราะไม่ได้ตามที่เชียร์



บอกไปเดี๋ยวก็มีคนเถียงอีก ว่ารถส่งน้ำ , รถเมล์ , รถส่งผัก ชนคนตายเยอะกว่ามาก .... ถ้าไม่พยายามหนีศาลก็จะสั่งรอลงอาญา2ปีเหมือนกัน ญาติคนตายได้แต่ทำใจ ว่าเอาอะไรกับมันไม่ได้ มันไม่มีจะให้

พอเป็นคนมีสตางค์ไปชนรถปาดหน้าตกถนนตาย แม่*จะเอา3ล้าน....




จะด่าเด็กที่ยังยืนจิ้มBBก็ด่ากันไป แต่ศาลท่านไม่ได้เอาBBมาพิจารณาด้วยซะหน่อย เวลาตัดสินคดี ศาลท่านเอาอารมณ์มาเกี่ยวด้วยได้ซะที่ไหน
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #40 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 04:06:17 PM »

ขอถามแบบไม่รู้ข้อกฎหมายนะครับ

คดีอย่างนี้ เพิ่งอยู่ในศาลชั้นต้น ยังต้องสู้อีก2ศาล ไม่รู้กี่ปี กว่าจะฟ้องแพ่งได้ ทางจำเลยและผู้ปกครอง(ที่ต้องร่วมรับผิด) มิยังย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปหมดแล้วหรือครับ?

เหมือนกันการฟ้องล้มละลายสมัยนี้ ถ้าจำเลยทำการยักย้ายทรัพย์สินไปเกือบหมดแล้ว  เจ้าหนี้ได้แต่ลม แถมอายุความสั้นแค่3ปี ก็ปลดจากการล้มละลายแล้ว ทีนี่จะได้อะไร ผมว่ามันยากมากนะครับ

ตระกูลนี้ไม่มีล้มฯ หรอกครับ เพราะสินทรัพย์มหาศาลมากแบบรวมทั้งเครือญาติแล้วไม่แน่ว่าจะมากกว่างบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลทั้งปีหรือเปล่านะครับ... ที่พูดนี่ไม่ใช่แค่ตระกูลเดียวตระกูลนี้นะครับ แต่ทุกตระกูลที่เก่าแก่สืบสายเกิด 8 สาแหรกย้อนไปถึง"ต้นรัตนโกสินทร์ฯ" เป็นอย่างนี้ทุกตระกูลครับ...

มันอยู่ที่ว่าคณะกรรมการตระกูลพิจารณาแล้วจะให้ได้แค่ไหนครับ...
บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #41 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 06:57:30 PM »

เดี๋ยวนี้เกิน8สาแหรกแล้วละพี่

แค่พวกลูกหลานเชื้อจีนที่ย้ายเข้ามาอยู่ ครอบครัวไหนอยู่ถึงร้อยปี เค้าก็นับได้ถึง5รุ่นแล้ว
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #42 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 07:36:06 PM »

เดี๋ยวนี้เกิน8สาแหรกแล้วละพี่

แค่พวกลูกหลานเชื้อจีนที่ย้ายเข้ามาอยู่ ครอบครัวไหนอยู่ถึงร้อยปี เค้าก็นับได้ถึง5รุ่นแล้ว

ลองอ่านเล่นๆครับ... http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2017960

สมมติว่าเอาแผนที่ประเทศไทยทั้งประเทศมากาง(Google Earth)แล้วจิ้มปุ๊ลงไป... ต้องโดนสินทรัพย์ของตระกูลเก่าแก่(ขุนนางเก่าหรือสูงกว่านั้น)เข้าสักตระกูลครับ ไม่โดนตรงๆก็โดนอ้อมๆ เช่นมีหุ้นฯ มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือเครือญาติ ฯลฯ...

กลุ่มนี้คือกลุ่มเดิมที่ปกครองประเทศไทยผ่านเครือข่ายใยแมงมุมตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชฯ มาจนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศกี่ครั้งก็เป็นคนกลุ่มเดิม ที่สามารถกลืนเข้ากับกลุ่มอำนาจใหม่ในช่วงเวลานั้น และขึ้นอยู่กับว่าส่งอำนาจการปกครองผ่านทฤษฎีการเมืองใดครับ... เครือข่ายโยงใยตลอดทุกองคาพยพตั้งแต่ระบบเศรษฐกิจ การเมือง การค้า การทหาร ฯลฯ ทุกอย่างทุกเม็ดที่ประกอบเข้าเป็นประเทศไทย...

ตระกูลเก่าแก่ทั้งหมดนี่มีสายสัมพันธ์ถึงกันหมดครับ เพราะในช่วงระยะเวลาอันยาวนานมีการประสานประโยชน์ สร้างบัญชีบุญคุญ บัญชีเครือญาติพี่น้องเชื่อมถึงกันหมด... ทั้งหมดอยู่ที่คณะกรรมการตระกูลเป็นผู้กุมบังเหียนครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2012, 07:37:57 PM โดย นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #43 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 07:39:37 PM »

รับทราบครับพี่ ระดับประเทศเป็นแบบนี้ ระดับภูมิภาคก็แบบนี้ ระดับจังหวัดก็ยังเป็นแบบนี้  Cheesy
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #44 เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 07:46:40 PM »

เดี๋ยวนี้เกิน8สาแหรกแล้วละพี่

แค่พวกลูกหลานเชื้อจีนที่ย้ายเข้ามาอยู่ ครอบครัวไหนอยู่ถึงร้อยปี เค้าก็นับได้ถึง5รุ่นแล้ว

ลองอ่านเล่นๆครับ... http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2017960

สมมติว่าเอาแผนที่ประเทศไทยทั้งประเทศมากาง(Google Earth)แล้วจิ้มปุ๊ลงไป... ต้องโดนสินทรัพย์ของตระกูลเก่าแก่(ขุนนางเก่าหรือสูงกว่านั้น)เข้าสักตระกูลครับ ไม่โดนตรงๆก็โดนอ้อมๆ เช่นมีหุ้นฯ มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือเครือญาติ ฯลฯ...

กลุ่มนี้คือกลุ่มเดิมที่ปกครองประเทศไทยผ่านเครือข่ายใยแมงมุมตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชฯ มาจนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศกี่ครั้งก็เป็นคนกลุ่มเดิม ที่สามารถกลืนเข้ากับกลุ่มอำนาจใหม่ในช่วงเวลานั้น และขึ้นอยู่กับว่าส่งอำนาจการปกครองผ่านทฤษฎีการเมืองใดครับ... เครือข่ายโยงใยตลอดทุกองคาพยพตั้งแต่ระบบเศรษฐกิจ การเมือง การค้า การทหาร ฯลฯ ทุกอย่างทุกเม็ดที่ประกอบเข้าเป็นประเทศไทย...

ตระกูลเก่าแก่ทั้งหมดนี่มีสายสัมพันธ์ถึงกันหมดครับ เพราะในช่วงระยะเวลาอันยาวนานมีการประสานประโยชน์ สร้างบัญชีบุญคุญ บัญชีเครือญาติพี่น้องเชื่อมถึงกันหมด... ทั้งหมดอยู่ที่คณะกรรมการตระกูลเป็นผู้กุมบังเหียนครับ...


 Shocked Shocked Shocked+ครับพี่
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.132 วินาที กับ 22 คำสั่ง