คำว่า ชายสามโบสถ์ ปรากฏอยู่ใน สุภาษิตอิศรญาณ
ซึ่ง ม.จ.อิศราญาณ ได้พระนิพนธ์ ไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์...ความว่า...
สัตว์ผอมฤษีพีนี้สองสิ่ง สามผู้หญิงรูปดีไม่มีถัน
กับคนจนแต่งอินทรีย์นี้อีกอัน สี่ด้วยกันดูเป็นเห็นไม่งาม
บรรพชาสามปางนางสามผัว ข้าเก่าชั่วเมียชังเขายังห้าม
มักเกิดเงี่ยงเกี่ยงแง่แส่หาความ กาลีลามหยาบช้าอุลามก
ซึ่งมีใจความสรุปโดยรวมว่า บุคคลที่มีลักษณะและประพฤติตามที่ระบุไว้
พึงไม่น่าคบหาด้วย...
และในข้อความที่เน้นสีแดง..จะหมายถึงว่า ชายที่บรรพชา (หรือบวชพระ) แล้วสึกถึงสามครั้ง
อันแสดงให้เห็นว่า จิตใจไม่มั่นคง รวนเร...อยากเป็นเณร (ภิกษุ) บ้าง...อยากเป็นฆราวาส บ้าง...
ความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตในปี 2542 เอง
ก็ให้ความหมายไว้เช่นเดียวกันกับ สุภาษิตอิศรญาณ เช่นกัน
ในส่วนตรงนี้ มีข้อสังเกตว่า ในสมัยพุทธกาล
ได้มีฆราวาสผู้หนึ่ง บวชแล้วสึก แล้วบวชใหม่ เวียนกันอยู่อย่างนี้หลายครั้ง
(มากกว่าสามครั้ง)
จนในที่สุดถึงได้บรรลุธรรมในการบวชครั้งสุดท้ายนั่นเอง ครับ

ในอีกความหายหนึ่ง ชายสามโบสถ์ หมายถึง...
คนที่ไม่ศึกษาอะไรให้ถ่องแท้...ใจรวนเร ใครว่าอะไรดี ก็ดีด้วยและทำตามเขาไปหมด
เทียบได้เช่น ตอนแรกเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
พอ...ศาสนาอื่นบอกว่า ล้างบาป ได้ ไถ่บาปได้...ก็ไปเข้าศาสนาอื่น
ครั้นถึงเวลา จะมีครอบครัว ก็ไปเข้าอีกศาสนาหนึ่ง เป็นต้น
เดี๋ยวมาต่อจ๊ะ ขอไปหม่ำข้าวกะเจ้าเจนก่อน...
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...