ที่สงสัย เพราะแต่เดิมมา ปืนจะเป็นเหล็กทั้งหมด จึงไม่ค่อยจะมีปัญหาเรืองรอยร้าว ต่อมา มีวัสดุประเภทอัลลอย ซึ่งเปราะกว่าเหล็ก แต่ปัญหาที่เกิดมักจะเป็นส่วนที่เป็นอัลลอยจะแตกหรือทะลุ และต่อมาวัสดุเป็นพลาสติกโพลิเมอร์ ซึ่งประเภทหลังนี้โอกาสแตกร้าวมีมากกว่าเหล็ก ทีนี้ มาว่าถึงคำถามของท่านเข้าของกระทู้ที่ว่า ถ้ามีรอยร้าวแล้วจะไปซ่อมที่ไหน นั้น สำหรับผม เล่นปืนมาตั้งแต่ปี 2525 ยังไม่เคยมีกระบอกไหนมีรอยร้าว และถ้าปืนมีรอยร้าว ผมว่าไม่น่าจะซ่อมได้ และถ้าซ่อมได้ก็ไม่น่าใช้แล้ว เพราะอำนาจของกระสุนเปรียบได้กับอำนาจระเบิดขนาดย่อม ๆ เป็นการเสี่ยงอันตรายเกินไปที่จะนำปืนที่มีรอยร้าวแต่ได้ซ่อมแซมมาแล้วกลับมาใช้งานอีกครับ
เคยเห็นของเพื่อนรุ่นน้อง เพื่อนรุ่นน้องได้รับมรดกมาจากคุณพ่อเป็นปืนสมิทออโตเมติก รุ่น M 39 ขนาด 9 มม รุ่นแรกๆที่เข้ามาขายในเมืองไทย น้องเขายิงทั้งลูกซ้อมลูกจริงเขาว่าร่วมพันนัดเห็นจะได้ มาสังเกตุเห็นความผิดปกติที่รางใต้เฟรมมีรอยร้าวยาวประมาณร่วม 3 เซน เขาก็เลยเอาปืนไปปรึกษาช่างซ่อมดูว่าจะมีวิธีไหนที่จะหยุดรอยร้าวที่ร้าวใต้รางเฟรมรึไม่ ช่างซ่อมบอกว่ามีอยู่ 2 วิธีๆที่1 คือหยุดยิงก็จะไม่ร้าวอีก 2.เจาะรูดักหน้ารอยร้าวเพื่อหยุดการสั่นสะเทือนเพื่อไม่ให้มีรอยร้าวยาวต่อเนื่องไม่ให้เนื้อโลหะเกิดความเครียด(แต่ปืนจะมีรูกลมๆตรงใต้รางเฟรมเหนือโกร่งไกซึ่งดูแล้วก็คงจะไม่ค่อยสวยนัก) แต่ไม่รับรองว่าจะได้ผลรึไม่เพราะยังไม่เคยทำ สรุปคือเพื่อนรุ่นน้องยิงน้องลงและเก็บในที่สุดแล้วไปซื้อกระบอกใหม่ใช้แทน.
+15 และ +410 ให้ครับ ชัดเจนครับ