สงครามจรยุทธในอินเดียตอนกลางและความพ่ายแพ้ของการลุกขึ้นสู้
หลังเสียเมือง เดลี ลัคเนาและจันซี่แล้ว เมืองอื่นๆ ก็ทยอยเสียแก่ศัตรูตามลำดับ การลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของอินเดียจึงหัน
เข้าสู่การสู้รบแบบจรยุทธ ปี 1858 ในท้องที่ต่างๆ อย่างน้อยยังมีกำลัง 150,000 - 200,000 คนที่ถืออาวุธต่อสู้กับศัตรูต่อไป
กองกำลังลุกขึ้นสู้ที่นำโดย นานา ซาฮิบ และ ทานเตีย โทปิ เป็นกองกำลังที่เด่นที่สุดในบรรดากองกำลังทั้งหลาย
ทานเตีย โทปิ (Tantya_Tope) เกิดในครอบครัวของวรรณะศูทร เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นานา ซาฮิบ กองกำลังลุกขึ้นสู้
ที่เขาเป็นผู้นำได้สู้รบอยู่แถบลุ่มแม่น้ำคงคา เคยหนุนช่วยต่อการสู้รบในเมืองเดลี ลัคเนาและจันซี่ ทั้งได้ลอบจู่โจม
เมืองคอนพอร์หลายครั้ง ภายหลังเสียเมืองจันซี่แล้ว เขากับกองกำลังลุกขึ้นสู้ที่นำโดยเจ้าหญิง ลักษมี ไบ ก็เคลื่อนย้าย
ไปสู้รบอยู่แถบอินเดียตอนกลางและได้สถาปนาอำนาจรัฐชั่วคราวที่ กวาเลียร์

เล่นเอาล่อเอาเถิดกับกองทหารอังกฤษ สามารถตีการบุกของกองทหารอังกฤษล่าถอยไปหลายครั้ง
ต่อมาเจ้าหญิงตกม้าเสียชีวิตในสนามรบขณะกำลังล่าถอย ทานเตีย โทปิ นำกองกำลังลุกขึ้นสู้ใช้ยุทธวิธี
ทำทีจะตีทางตะวันออกแต่เข้าตีทางตะวันตก
(ใช้กลยุทธ์ที่ ๖ ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม ของซุนวู) ไปสู้รบ
กับกองทหารอังกฤษ เผาทำลายคลังเก็บอาวุธของกองทหารอังกฤษ แย่งยึดปืนใหญ่ของอังกฤษ มักทำการสู้รบวกวน
เป็นระยะทางวันละ 30-40 ไมล์เป็นเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ ทำให้กองทหารอังกฤษอับจนปัญญา
ขณะเดียวกับที่ดำเนินการปราบปรามด้วยกำลังอาวุธ อังกฤษยังใช้วิธีการแยกสลายทางการเมือง
เดือนพฤศจิกายน 1858 อังกฤษประกาศราชโองการของเจ้าหญิงวิคตอเรีย

โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ล่วงละเมิดต่อผลประโยชน์และอภิสิทธิ์ของเจ้าศักดินาน้อยใหญ่ ไปหว่านซื้อเจ้าศักดินา
ทำให้เจ้าศักดินาที่เคยเข้าร่วมการลุกขึ้นสู้มาชั่วขณะหนึ่งพากันทรยศยอมจำนนต่อศัตรูทั้งช่วยเหลือนักล่าอาณานิคม
ค้นหาตัวผู้นำการลุกขึ้นสู้ เดือนเมษายน 1859 ด้วยการขายความลับของผู้ทรยศ ทานเตีย โทปิ ถูกจับและพลีชีพ
นานา ซาฮิบ หนีเข้าไปในเนปาล การลุกขึ้นสู้ของประชาชนอินเดีย ได้ยืนหยัดต่อสู้จนถึงปลายปี 1859
ก็ถูกปราบปรามลงในที่สุด
นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้ทำการปราบปรามอย่างทารุณและแก้แค้นอย่างบ้าคลั่งต่อผู้ลุกขึ้นสู้
พวกเขาแหกปากตะโกนว่า
"ผู้ถืออาวุธต้องตาย ผู้บาดเจ็บต้องตาย ไม่จับเป็นเชลย"เมื่อพวกเขายึดได้เมืองหนึ่ง ก็จะทำการฆ่าเรียบ ปล้นเรียบ ที่เมืองอัลละฮาบาต เดลี

หลังจากผ่านการสังหารหมู่แบบล้างเมืองเป็นเวลา 3 วัน เดลีก็กลายเป็นเมืองร้างที่ไร้ผู้คน ที่เมืองลัคเนา
พวกเขาก็ทำการสังหารเป็นเวลา 12 วันติดต่อกัน นักล่าอาณานิคมอังกฤษได้ก่ออาชญากรรมล้นฟ้าล้นแผ่นดินในอินเดีย
เองเกลส์ได้เขียนถึงเรื่องนี้อย่างเดือดแค้นว่า
"ที่อยู่ในลัคเนานั้นมิใช่กองทหารของอังกฤษ หากเป็นกลุ่มโจรห้าร้อย
ที่หยาบกระด้างป่าเถื่อน ดื่มเหล้าเมาอาละวาดที่สุมหัวอยู่ด้วยกันและแยกย้ายกันออกก่อกรรมทำชั่วเยี่ยงโจรสลัด"(เองเกลส์ "รายละเอียดของการยึดเมืองลัคเนา")
แต่ว่าประชาชนที่มีเกียรติประวัติในการต่อสู้กับผู้รุกรานไม่ได้ถูกขู่จนหัวหด
พวกเขายังคงยืนหยัดต่อสู้ต่อต้านอังกฤษต่อไปการลุกขึ้นสู้ครั้งยิ่งใหญ่ทางประชาชาติของอินเดียแม้ว่าจะพ่ายแพ้ไปแล้ว แต่ว่ามันก็ได้ซัดกระหน่ำใส่การปกครอง
แบบอาณานิคมของอังกฤษอย่างหนักหน่วงทั้งด้านการเมือง การทหาร และการคลัง
กระแสสูงของการต่อสู้ปลดแอกประชาชาติของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19 เป็นการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธ
ของมวลประชาชนชั้นล่าง กำลังดันพื้นฐานของการลุกขึ้นสู้คือ ชาวนาและหัตถกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่สุด
ของประเทศต่างๆ ในเอเชีย
ภาระหน้าที่พื้นฐานของการลุกขึ้นสู้คือ คัดค้านการกดขี่ขูดรีดของ
ลัทธิอาณานิคมและศักดานิยม ช่วงชิงเอกราชของชาติ(ความเห็นส่วนตัวว่า ในปัจจุบันเมืองไทยก็กำลังเป็นแบบนี้แต่ด้วยระบบที่ซับซ้อนขึ้น
จึงต้องใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้สูงขึ้น มากกว่าที่จะสู้กันด้วยอาวุธหรือกำลังอย่างเดียว)มูลเหตุสำคัญที่การลุกขึ้นสู้พ่ายแพ้ก็คือ ภายใต้เงื่อนไขรูปธรรมของประเทศต่างๆ ของเอเชียในกลางศตวรรษที่ 19
ยังไม่มีการก่อตัวของชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นชนชั้นที่นำหน้า ดังนั้นจึงไม่มีการนำของชนชั้นที่ก้าวหน้า
ด้วยเหตุนี้ การลุกขึ้นสู้ของประเทศต่างๆ จึงมักเจือปนด้วยสีสันทางศาสนาในระดับต่างๆ กัน ผู้ลุกขึ้นสู้ไม่ได้
และก็ไม่อาจเสนอหลักนโยบายคัดค้านจักรวรรดินิยมและศักดินานิยมที่แน่นอนและถูกต้องได้ ไม่มีแนวทางการเมือง
และยุทธวิธีทางการเมืองที่ถูกต้อง ขาดการบัญชาที่เป็นเอกภาพและในประเทศบางประเทศที่ปลายหอกของการต่อสู้
มุ่งตรงต่ออำนาจรัฐอาณานิคมนั้น อำนาจการนำของการลุกขึ้นสู้ก็มักตกอยู่ในมือของเจ้าศักดินาที่ถูกกระแสคลื่น
การต่อสู้พัดพาเข้าไปร่วมอยู่ในขบวนการลุกขึ้นสู้ ก็มักตกอยู่ในมือของเจ้าศักดินาที่เป็นปฏิปักษ์กับมวลชนย่อมกำหนด
ให้พวกเขาจะต้องกดบีบลักษณะเอาการเอางานที่ปฏิวัติของมวลประชาชนในระหว่างเคลื่อนไหวปฏิวัติอย่างเต็มที่
จำกัดการขยายตัวและซึมลึกของการปฏิวัติอย่างสุดกำลัง การทรยศยอมจำนนต่อศัตรูของเจ้าศักดินาส่วนหนึ่ง
ก็ยิ่งทำให้กำลังปฏิวัติถูกบั่นทอนและทำลาย
การลุกขึ้นสู้ที่มีขนาดใหญ่โตของประชาชนในเอเชียครั้งนี้ ได้โจมตีอย่างหนักต่ออิทธิพลของลัทธิอาณานิคมตะวันตก
และอิทธิพลศักดินาภายในประเทศ เฉพาะสมรภูมิอินเดียของอังกฤษ นักล่าอาณานิคมอังกฤษก็ได้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ทางทหารไปเป็นเงิน 40 ล้านปอนด์สเตอลิง เจ้าหน้าที่และทหารอาณานิคมจำนวนมากถูกทำลาย ความสูญเสีย
ในด้านการค้าและภาษียิ่งหนัก การลุกขึ้นสู้เหล่านี้ได้ทำลายแผนการจัดวางกำลังของนักล่าอาณานิคมยุ่งเหยิงไปหมด
บั่นทอนกำลังทางเศรษฐกิจและการทหารของพวกเขาให้อ่อนแอลง สั่นสะเทือนการปกครองแบบอาณานิคมของพวกเขา(ความเห็นส่วนตัวว่า เป็นสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันดูเหมือนเราสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ
แต่เทียบกับระยะยาวถือว่าคุ้มกว่าการที่เราจะสูญเสียทั้งประเทศให้ต่างชาติ)กระแสสูงการต่อสู้ปลดแอกประชาชาติของเอเชียครั้งนี้ ได้ม้วนตลบไปในบริเวณพื้นที่อันกว้างใหญ่
ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียถึงประเทศจีน ขนาดที่ใหญ่และเวลาที่ยืดเยื้อยาวนานของการต่อสู้ด้วยอาวุธล้วนเป็นสิ่ง
ที่ไม่เคยมีมาก่อนทำให้ประชาชาติต่างๆ ของเอเชียได้ตื่นตัวขึ้น ดังที่เองเกลส์ได้พยากรณ์ล่วงหน้าไว้ว่า
"อรุโณทัยแห่งศักราชใหม่ของทั่วทวีปเอเชีย" (เองเกลส์ "เปอร์เซียกับประเทศจีน")
ในกระแสสูงของการต่อสู้ปลดแอกประชาชาติของเอเชียในครั้งนี้ ประชาชนของประเทศต่างๆ ในเอเชีย
ได้ก่อการโจมตีต่ออิทธิพลนักล่าอาณานิคมและอิทธิพลศักดินาภายในประเทศจากสมรภูมิที่แตกต่างกัน
เกิดบทบาทหนุนช่วยซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะคือการพัฒนาของการปฏิวัติ
ไท่ผิง ของจีน
ไม่เพียงแต่ได้ตรึงกำลังทั้งทัพบกและทัพเรือของอังกฤษไว้จำนวนมากเท่านั้น ทั้งยังบีบให้อังกฤษ
ส่งกำลังที่เตรียมไว้ปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของประชาชาติอินเดียไปยังประเทศจีน ฤดูร้อนปี 1857
ขณะที่ประชาชนอินเดียยึดได้เมืองเดลีนั้น ก็ได้บีบอังกฤษจำต้องถอนทหารที่เตรียมยกไปก่อสงคราม
รุกรานต่ออิหร่านและเคลื่อนย้ายกำลังทหารรุกรานที่อยู่ระหว่างเดินทางไปประเทศจีนไปที่กัลกัตตา

การต่อสู้ของพวกเขาก็เป็นการหนุนช่วยต่อการสู้ของประเทศอื่นในเอเชียเช่นกัน
มาร์กซกับเองเกลส์ได้สรรเสริญและเอาใจใส่ต่อการต่อสู้ของประชาชนเอเชียครั้งนี้อย่างเร่าร้อน
เสนอหลักทฤษฏีการปฏิวัติประชาชนของประชาชาติที่ถูกกดขี่ทางตะวันออกเป็นกองทัพพันธมิตร
ที่ยิ่งใหญ่ของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพในยุโรป การต่อสู้เพื่อปลดแอกประชาชาติของเอเชียครั้งนี้
ทำให้ตลาดโลกหดเล็กลงทันที ทองคำและเงินขาวของประเทศเมืองแม่หลั่งไหลออกนอกเป็นจำนวนมาก
ได้เร่งและทวีความรุนแรงให้กับวิกฤติการปกครองของชนชั้นนายทุน ปี 1857-1858 อังกฤษเกิดวิกฤติ
ทางเศรษฐกิจเป็นประเทศแรก วิกฤติเศรษฐกิจก็นำมาซึ่งวิกฤติการณ์ทางการเมือง ความไม่พอใจของ
ประชาชนที่มีต่อรัฐบาลนับวันเพิ่มสูงขึ้นโดยทั่วไป ทำให้รัฐบาลของ เฮนรี่ จอห์น พาล์มเมอร์สตัน ล้มคว่ำ

วิกฤติการณ์ของอังกฤษครั้งนี้ ได้ระบาดไปในประเทศต่างๆ ของแผ่นดินใหญ่ยุโรปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิด
วิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติทางการเมืองโดยทั่วไป ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ
ก็รุนแรงขึ้นอีกก้าวหนึ่ง มาร์กซชี้ว่า
"การปฏิวัติของประเทศจีนจะโยนประกายไฟใส่ทุ่นระเบิดของระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่กำลังจะระเบิดอยู่แล้ว
ทำให้วิกฤติทั่วไปที่คุกรุ่นมานานระเบิดขึ้น วิกฤติทั่วไปนี้เมื่อใดที่มันขยายไปถึงภายนอกประเทศ สิ่งที่จะติดตามมา
โดยตรงจะต้องเป็นการปฏิวัติทางการเมืองในแผ่นดินใหญ่ยุโรป...ประเทศจีนจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย
ในโลกตะวันตก" (มาร์กซ "การปฏิวัติประเทศจีนกับการปฏิวัติยุโรป")
"อินเดียทำให้คนอังกฤษสิ้นเปลืองกำลังคนและโลหะมีค่า ปัจจุบันจึงเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดของเรา"
(มาร์กซ "จดหมายของมาร์กซถึงเองเกลส์")