ร่วมเปิดโปงกรณีล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร
หลังจากการประท้วงประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวไม่นาน ก็เกิดเหตุการณ์อันเป็นปมเงื่อนสำคัญที่นำไปสู่การประท้วงต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนในอีกหลายกรณีซึ่งสะสมความไม่พอใจต่อรัฐบาลจอมพลถนอมมากขึ้นเรื่อยๆจนประทุกลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั่นคือการเปิดโปงกรณีที่นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พร้อมทั้งพลเรือนอีกส่วนหนึ่งรวมประมาณ 60 คน ได้นำพาหนะและอาวุธยุทโธปกรณ์ของทางราชการไปตั้งค่ายล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี จนเป็นเหตุให้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตกที่อ.บางเลน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2516 มีผู้เสียชีวิต 6 คนและทรัพย์สินของทางราชการเสียหายจำนวนมาก ซึ่งในกรณีนี้ กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่า ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับชมรมอนุรักษ์และกลุ่มอนุรักษ์อีก 3 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสานกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและตีแผ่เรื่องออกมาสู๔สาธารณชน
จากหนังสือบันทึกลับจากทุ่งใหญ่ ระบุว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรมีพื้นที่ประมาณ 1 ล้านไร่กินอาณาเขต 2 จังหวัดคือกาญจนบุรีและจ.ตาก และใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี หากรวมพื้นที่ 2 เขตนี้เข้าด้วยกันจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงได้ส่งนายเกษม รัตนไชย เจ้าหน้าที่ป่าไม้เขตและทีมงาน เข้าไปสำรวจเพื่อเตรียมจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธูสัตว์ป่าให้เรียบร้อยตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 การสำรวจดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้พบการละเมิดพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ของบรรดาพรานบรรดาศักดิ์ซึ่งประกอบไปด้วยทหาร ตำรวจที่เข้าไปล่าสัตว์อย่างโจ๋งครึ่มไม่เกรงกลัวกฎหมาย ต่อมาจึงได้รายงานไปยังกรมป่าไม้ ในที่สุดข่าวนี้ก็ได้แพร่กระจายไปยังนิสิตกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และอีก 3 มหาวิทยาลัย รวมทั้งนักข่าวหนังสือพิมพ์บางฉบับในเวลาต่อมา
ต้นเดือนเมษายน 2516 บรรดาพรานบรรดาศักดิ์ ได้ไปซื้อกระสุนปืนเตรียมการล่าสัตว์ครั้งใหม่ข่าวจากร้านปืนรั่วมาเข้าหูอาจารย์เกษตรศาสตร์ที่เป็นนักเลงปืนคนหนึ่งจึงได้นำมาแจ้งผู้เกี่ยวข้องและวางแผนที่จะเปิดโปงเรื่องดังกล่าว ต่อมาคณะอาสาสมัครจากกลุ่มอนุรักษ์ฯ เกษตรศาสตร์รุ่นแรก 3 คนได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่และดักซุ่มอยู่บริเวณที่จะข้ามห้อวยเข้าสู่ทุ่งใหญ่ แต่ไร้วี่แววจึงได้ถอนตัวกลับ เพราะเกรงจะมีอันตรายเนื่องจาก 2 ใน 3 เป็นผู้หญิง จากนั้นจึงได้ชักชวนกลุ่มอนุรักษ์ฯอีก 3 มหาวิทยาลัย คือนายสมพงษ์ จิรบันดาลสุข และนายภราดร จากจุฬาฯ นายสวัสด์ มิตรานนท์ จากธรรมศาสตร์ นศพ.ทองประกอบ ศิริวาณิชย์ จากคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหิดล และอรรถ นักเรียนจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย บุกเข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยสมพงษ์และภราดร เดินทางล่วงหน้าไปก่อนตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน ส่วนสวัสดิ์ ทองประกอบ และอรรถเดินทางไปในวันที่ 26 เมษายน
จากหนังสือบันทึกลับจากทุ่งใหญ่ ระบุว่า ชุดสมพงษ์กับภราดรได้พบกับขบวนรถยีเอ็มซี.ของทหาร 2 คัน รถจิ๊ปทหาร 3 คันของป.พัน 9 ที่มีทหารชั้นผู้น้อยเป็นพลขับ กำลังข้ามแม่น้ำแควใหญ่โดยแพขนานยนต์เพื่อเตรียมไปสร้างแคมป์ในทุ่งใหญ่ ส่วน 3 คนในทีมหลังไปที่คลิตี้และได้ข่าวจากชาวบ้านวง่าคณะดังกล่าวจะมาล่าสัตว์อีกหลังจากล่าไปหลายครั้งแล้ว ต่อมาวันที่ 27 เมษายน จึงได้ออกติดตามคณะพรานบรรดาศักดิ์จนพบว่าตั้งแคมป์อยู่ริมห้วยเซซ่าโหว่ และยังเห็นเฮลิคอปเตอร์จอดอยู่ 1 ลำด้วยจึงเข้าไปสอบถาม แต่กลับถูกซักถามกลับว่าเป็นนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ฯใช่หรือไม่และสอบถามนายเกษม รัตนไชย ที่ร่วมเดินทางไปด้วยว่าเป็นผู้รายงานการเข้ามาครั้งก่อนของพวกเขาใช่หรือไม่
เหล่าพรานบรรดาศักดิ์ต่างชี้แจงว่ารู้ว่าการล่าสัตว์ในเขตนี้เป็นการละเมิดกฎหมาย แต่ทำไปเพราะต้องการผ่อนคลายอารมณ์ และกล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว เพราะสัตว์มีเป็นจำนวนมาก ล่าเท่าไหร่ก็ไม่หมด ซึ่งหลังจากถูกขอร้องแกมบังคับให้ร่วมรับประทานอาหารเย็นที่มีแต่เนื้อสัตว์ที่ถูกล่าแล้ว คืนนั้นยังพบว่ามีการจุดพลุและกระสุนส่องวิถีฉลองวันเกิดให้นายตำรวจระดับรองผู้กำกับคนหนึ่งด้วย ซึ่งในการพบกันดังกล่าว นักศึกษากลุ่มนี้ได้แอบถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานด้วย ขณะเดียวกันก็มีนักข่าวที่ได้ทราบข่าวกลุ่มหนึ่งพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ป่าไม้อีกกลุ่มหนึ่งที่เตรียมการจะเข้าไปจับกุมเดินทางสมสมทบ แต่เมื่อเผชิญกับกำลังคนและอาวุธครบมือ ก็ทำได้แต่เพียงเข้าไปสืบข้อมูลและแอบถ่ายรูปไว้เท่านั้น
วันที่ 29 เมษายน นายสวัสดิ์และนศพ.ทองประกอบต้องเดินทางกลับก่อนเนื่องจากนศพ.ทองประกอบต้องกลับมาประชุมที่มหิดล ระหว่างเดินทางกลับก็พบซากสัตว์ที่ถูกยิงตายจำนวนมาก ขณะที่กลุ่มที่ยังอยู่กลับไปยังจุดที่ตั้งแคมป์ของพรานบรรดาศักดิ์อีกรั้ง แต่ปรากฎว่าถูกรื้อหมดแล้ว คงเหลือแต่ร่องรอยซากสัตว์ เช่นกีบกระทิง หนังกวาง หนังชะมดถูกทิ้งไว้ วันรุ่งขึ้น 30 เมษายน เมื่อทั้งคระพากันเดินทางกลับ ได้พบอาจารย์และนิสิตเกษตรศาสตร์ที่ตั้งใจจะร่วมเดินทางมาตั้งแต่ทีแรกและได้ข่าวจากตำรวจว่าเมื่อบ่ายวันอาทิตย์ที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา มีเฮลิคอปเตอร์ตกที่นครปฐม มีคณะทหาร ตำรวจที่กลับจากาญจนบุรีบาดเจ็บและเสียชีวิตด้วย 6 คน พร้อมทั้งพบซากสัตว์จำนวนมาก
กรณีที่เกิดขึ้น หนังสือพิมพ์ที่เข้าไปร่วมสืบค้นได้เปิดโปงขบวนการดังกล่าว ขณะเดียวกันกลุ่มอนุรักษ์ 4 สถาบัน พร้อมทั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยก็ได้ออกแถลงการณ์เปิดโปง โดยมีหลักฐานทั้งบุคคลและภาพถ่ายยืนยันหนักแน่น ทำให้ประชาชนที่ได้รับทราบข้อมูลต่างไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่รัฐบาลจอมพลถนอม จอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจรกลับแก้ต่างให้คระพรานบรรดาศักดิ์ว่าทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ไปราชการลับบริเวณตะเข็บชายแดนกาญจนบุรี ในปัญหาความปลอดภัยระหว่างที่นายพลเนวินแห่งพม่าเดินทางมาเยือนไทย และชี้แจงว่ารูปถ่ายที่ทหาร ตำรวจเหล่านี้ยืนล้อมซากสัตว์ก็เป็นภาพเก่าและเป็นการยืนถ่ายโชว์โดยที่ไม่รู้ว่าใครยิง เป็นต้น
จากกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน 9 คน โดย 6 ใน 9 เป็นนายทหารและตำรวจมีนายกมล วรรณประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ซึ่งในที่สุดผลปรากฎว่า กรรมการเชื่อว่าการนำเฮลิคอปเตอร์ไปใช้ครั้งนี้เป็นไปตรามคำสั่งของผู้บัญชาการทหารบกเพื่อปฏิบัติราชการลับ โดยถือเอาป่าทุ่งใหญ่เป้นฐานปฏิบัติการแต่ภารกิจลับไม่ได้อยู่ที่ทุ่งใหญ่หากอยู่ห่างออกไปทางชายแดนที่ติดต่อกับพม่า และเชื่อว่าได้มีบุคคลในคณะที่พักอยู่ในแคมป์ทุ่งใหญ่กระทำการล่าสัตว์และมีซากสัตว์ป่าอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจริง
ดังนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงร่วมกับชมรมอนุรักษ์ 4 สถาบันดังกล่าวพิมพ์หนังสือบันทึกลับจากทุ่งใหญ่ออกเผยแพร่ ปรากฎว่ามีผู้สนใจแย่งซื้อจน 5,000 เล่มหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผลสะเทือนจากเรื่องนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ประยูร จรรยาวงศ์หวนกลับมาวาดรูปการ์ตูนการเมืองอีกครั้ง หลังจากหยุดไปเกือบ 2 ปี และจากข้อความในหนังสือเล่มนี้ที่เขียนว่า ด้วยสถานการณ์ในทุ่งใหญ่ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ จึงเสนอต่ออายุการทำงานของกระทิงจ่าฝูงเป็นเวลาอีก 1 ปีกระทิง จากสภารักษาความปลอดภัยแห่งชาติกระทิงซึ่งเป็นการล้อเลียนจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดเกษียณอายุเมื่อต้นปี 2516 แต่สภากลาโหมมีมติให้ต่ออายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปอีก 1 ปี โดยอ้างว่าสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ
สำหรับบทจบของกรณีทุ่งใหญ่นี้ คณะกรรมการได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังศาลกาญจนบุรี ซึ่งกระบวนการทางศาลใช้เวลาจนถึง 1 กันยายน 2517 ก็มีคำตัดสินให้ปล่อยตัว 9 จำเลย คงจำคุก 6 เดือน มีแต่พรานแกละ หมื่นจำปา ที่ต้องตกเป็นแพะรับบาปแต่ผู้เดียว ขณะเดียวกันนายกมล วรรณประภา ก็ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลสมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อีกด้วย
ลองเข้าไปอ่านดูครับ
http://www2.se-ed.net/poommahidol/information_1_6.htmlhttp://www.thungyai.org/thai/index.htm