ทศพิธราชธรรม นั่นแหละครับ สมดุลแห่งการปกครอง
หรือย่อให้สั้นที่สุดก็ พรหมวิหารธรรม ครับ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แค่นี้เขายังไม่มีให้กับคนในประเทศเลย

ขอขยายความใน ทศพิธราชธรรม ดังนี้...
๑ ทาน คือ การบำเพ็ญตนให้เป็นผู้ให้ มิใช่เพื่อจะเอาอะไรจากผู้อื่น รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาราษฎร์ผู้อยู่ใต้ปกครอง ให้มีความสะดวกปลอดภัย...
๒ ศีล คือ ประพฤติดีงามทั้งทางกาย วาจา ประกอบแต่สิ่งที่สุจริต เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชน...
๓ ปริจาคะ คือ การยอมเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อดูแลทุกข์สุขแก่อาณา ประชาราษฎร์ โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย...
๔ อาชชวะ คือ มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีความจริงใจต่อทุกคน...
๕ มัททวะ คือ การมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งถือตัว และมีกิริยาสุภาพอ่อนโยน ต่อผู้ใต้ปกครองทุกชนชั้น...
๖ ตบะ คือ การมีจิตใจเข้มแข็ง รู้จักระงับยับยั้งข่มใจมิให้หมกมุ่น ในกิเลส ตัณหา หรือมัวเมากับความสุขสำราญต่าง ๆ...
๗ อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ ไม่เกรี้ยวกราด ไม่ทำการด้วยลุแก่โทสะ ตัดสินปัญหาต่าง ๆ ด้วยความสุขุมรอบคอบ...
๘ อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียน ไม่กดขี่ข่มเหงผู้ใต้ปกครองโดยไม่เป็นธรรม แต่มีความเมตตากรุณาและเที่ยงธรรมต่อทุกคน...
๙ ขันติ อดทนต่อความยากลำบากทั้งปวง อดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ คำสรรเสริญนินทาต่าง ๆ...
๑๐ อวิโรธนะ คือ การประพฤติตนมิให้ผิดไปจากทำนองคลองธรรม ทำการใด ๆ โดยถูกต้องตามนิติธรรม (ระเบียบแบบแผนการปกครอง) หลักยุติธรรม (ความเที่ยงธรรม) และหลักศาสนธรรม (ความถูกต้องดีงาม)...
ขอเทิดองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันล้ำเลิศ ไว้เหนือเกล้าฯ