ผังมโนภาพหรือแผนที่ความคิด (Mind map)
คือรูปจำลองที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่องโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กัน
โดยปกติจะใช้รูปวงกลมแทนมโนภาพหรือความคิด
และเส้นลูกศรแทนลักษณะและทิศทางของความสัมพันธ์นั้น
มีคำกำกับไว้ว่าวงกลมแทนมโนภาพของอะไร
เส้นลูกศรแทนความสัมพันธ์ในลักษณะและทิศทางใด
ในบางครั้งมีการใช้การเน้นและแจกแจงเนื้อความด้วยสีและการวาดรูปประกอบ

การใช้งาน
ผังมโนภาพถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบันทึกความคิด
เพื่อให้เห็นภาพความคิดที่หลากหลายมุมมองที่กว้างและชัดเจน
มากกว่าการบันทึกที่โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใด ๆ
อีกทั้งเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับโครงสร้างทางการคิดของมนุษย์
ที่บางช่วงมนุษย์จะสูญเสียสมาธิและความจดจ่อไปโดยอัตโนมัติขณะที่กำลังคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การทำให้สมองได้คิด ได้ทำงานตามธรรมชาตินั้น
มีลักษณะเหมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านออกไปเรื่อย ๆ
ผังมโนภาพถูกใช้เป็นแนวคิดไร้รูปแบบตายตัวมาหลายศตวรรษแล้วเพื่อใช้ในการเรียนรู้,
การระดมสมอง, การจดจำข้อมูล, การจินตนาการและการแก้ปัญหา
โดยนักศึกษา, วิศวกร, นักจิตวิทยา รวมถึงบุคคลทั่วไป
ตัวอย่างของผู้คิดผังมโนภาพที่น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกคือนักคิดในคริสตศตวรรษที่ 3
นามว่า พอไพรี ผู้ที่จำแนกนิยามที่ถูกคิดโดยอริสโตเติลไว้โดยการมโนภาพ
ในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิวัติรูปแบบของผังมโนภาพโดยการบูรณาการคือ ดร.อัลลัน คอลลินส์
และนักวิจัยในช่วงทศวรรษ 60 (พ.ศ. 2500) เอ็ม.โรส ควิลแลนด์
โดยเผยแพร่วิธีการคิดแบบใหม่นี้โดยการลงบทความ
และทำการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และการมโนภาพ
ทำให้ ดร.อัลลัน คอลลินส์ ถือว่าเป็นบิดาแห่งผังมโนภาพสมัยใหม่ก็ว่าได้
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...