เอารู(ป)ไทยๆไปดูก่อนละกัน

โครงสร้างทางวิ่ง อุโมงค์คู่วางตามแนวราบ และซ้อนตามแนวดิ่ง
เส้นผ่านศูนย์กลางภายในอุโมงค์ 5.7 เมตร
ผนังอุโมงค์หนา 0.30 เมตร
ความลึกของอุโมงค์ประมาณ 15 - 25 เมตร
ทางเดินฉุกเฉิน กว้าง 0.6 เมตร
เอาเกณฑ์ที่
พิสูจน์แล้วว่าทำไม่ได้มาให้อ่านครับ
การอพยพประชาชนจากสถานีและจากอุโมงค์ ตามมาตรฐาน NFPA 130 ที่ รฟม. ใช้เป็นมาตรฐานกำหนดเวลาในการอพยพไว้ ดังนี้
กรณีที่ 1 การอพยพประชาชนจากจุดไกลสุดในชั้นชานชาลาขึ้นมาบนชั้นถัดไปจะต้องสามารถอพยพได้ในเวลา
ไม่เกิน 4 นาที กรณีที่ 2 การอพยพประชาชนจากจุดไกลสุดในชั้นชานชาลาขึ้นมาบนพื้นดินหรือ Point of Safety จะต้องสามารถอพยพได้ในเวลา
ไม่เกิน 6 นาที และบริเวณ Point of Safety จะต้องเตรียมระบบอุปกรณ์ทุกอย่างให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย เช่น ระบบอากาศ ระบบดับเพลิงทุกชนิด รวมถึงระบบช่วยชีวิตทุกอย่าง เป็นต้น.
นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในกรณีฉุกเฉิน ประกอบด้วย
- หน่วยงานหลักภายนอกที่เกี่ยวข้องคือ ตำรวจดับเพลิง กลุ่มอาสาสมัครกู้ภัยต่างๆ
- หน่วยงานภายใน รฟม. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับเหตุการฉุกเฉิน ได้แก่ ฝ่ายรักษาความปลอดภัยและกู้ภัยของ รฟม. ประกอบด้วย 2 กอง คือ กองกู้ภัย และกองรักษาความปลอดภัย โดยในการดำเนินงานจะมีการประสานงานกับตำรวจดับเพลิงในการดำเนินการจัดทำรายละเอียดต่างๆ ได้แก่
1) แผนปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉิน
2) จัดทำแผนกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสม
3) กรอบและแผนการฝึกซ้อมเป็นประจำเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
4) แผนมวลชนสัมพันธ์เพื่อชี้แจงประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า เป็นต้น