
ขออนุญาตทำความเข้าใจครับ กฎหมายอเมริกา เป็นระบบใต่สวนครับ กล่าวคือจะต้องรวบรวมพยานหลัก
ฐานให้เพียงพอว่ากระทำความผิดจริงจึงจะจับกุม หรือฟ้องต่อศาล ยกเว้นความผิดซึ่งหน้าจะจับได้ทันทีถือว่าพบเห็นการ
กระทำความผิด
กฎหมายของประเทศไทย เป็นระบบกล่าวหาครับ การกระทำใดที่เป็นความผิดจะต้องถูกแจ้งข้อกล่าวหา
ถ้าตำรวจไม่แจ้งข้อกล่าวหาจะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนข้อต่อสู้ทางคดี ก็เป็นส่วนที่กฎหมายยกเว้นไว้คือ
การป้องกันตัวโดยสมควรแก่เหตุ การกระทำด้วยความจำเป็น การกระทำเพราะบันดาลโทสะ
กรณีนี้ ตำรวจจะต้องแจ้งข้อกล่าวหา และปล่อยตัวชั่วคราวไปโดยไม่มีประกันหากการสอบสวนปรากฎชัดว่าเป็น
การป้องกันตัวโดยสมควรแก่เหตุ และสั่งไม่ฟ้องนำสำนวนส่งพนักงานอัยการเพื่อมีความเห็นกลั่นกรองอีกครั้ง หาก
พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง คดีก็จบครับ แต่ถ้าพนักงานอ้ยการมีความเห็นแย้งของตำรวจ
สำนวนคดีก็จะต้องกลับมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดถ้าอยู่ต่างจังหวัดเพื่อมีความเห็นอีกครั้งหนึ่ง
ถ้ามีความเห็นแย้งกับพนักงานอัยการ ก็ส่งไปให้อ้ยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง นี่แหละครับขั้นตอบการดำเนินดคี
ความเห็นของอัยการสูงสุดเป็นที่สุดครับ จะเห็นได้ว่ากระบวนการสอบสวนจะมีขั้นตอนการกลั่นกรองเป็นชั้นๆ มันเป็นที่
ระบบของกฎหมายเมืองไทยครับ
การกระทำใดที่ว่าพอสมควรแก่เหตุหรือไม่ จะมีคำพิพากษาฎีกาเป็นบรรทัดฐานครับ โดยยึดถือคำ
พิพากษาของศาลที่เคยตัดสินคดีมาเป็นหลัก มีหลักในการพิจารณากว้าง ๆ คือ
หากภยันตรายยังไม่พ้นตัว ก็ยิงได้ไม่จำกัดกระสุนครับ แต่หากคนร้ายวิ่งหลบหนีแล้วถือว่าภยันตรายห่าง
ตัวแล้ว ถ้าเรายังยิงไปอีกอันนี้ไม่เป็นป้องกันครับ กล่าวคือถ้ายิงถูกบริเวณด้านหน้าอ้างป้องกันได้ แต่ถ้ายิงเข้าข้าง
หลังอันนี้อ้างป้องกันไม่ได้ ความร้ายแรงของอาวุธที่คนร้ายใช้ก็เป็นหลักในการพิจารณาได้เช่นกัน ถ้าคนร้ายถือปืน
ถือมีดเข้ามาทำร้ายเรา อันนี้ใช้อาวุธปืนตอบโต้ได้ แต่ถ้าไม่มีอาวุธเข้ามาชกต่อยเรากรณีทะเลาะวิวาทกัน ถ้าใช้
อาวุธปืนยิงก็ไม่เป็นป้องกันครับ
การป้องกันพอสมควรแก่เหตุหรือไม่นั้น มีคำพิพากษาฎีกาเป็นบรรทัดฐานครับ