
สบายใจได้แล้วครับพี่สมชาย ทุกอย่างลงตัว
- หลังจากข่าวลือสะพัดไม่ทันข้ามคืน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ก็กลายมาเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนำกองทัพเข้ายึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
- ทั้งที่ก่อนหน้านี้ พล.อ.สนธิ ยืนยันมาตลอดว่ากองทัพจะต้องวางตัวเป็นกลาง และจะไม่มีทางออกมาปราบปรามประชาชนอย่างเด็ดขาด
- ความเคลื่อนไหวของ พล.อ.สนธิ ต่อกระแสการเมืองอันเชี่ยวกรากนั้น
เป็นไปด้วยความพยายามที่จะทำให้ความแตกแยกทางความคิด ความเชื่อ ไม่ขยายตัวบานปลายจนกลายเป็การเผชิญหามาโดยตลอด
- แม้เขาจะยอมรับว่า ช่วงจังหวะที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวปิดถนนราชดำเนินตั้งเวทีขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ และเสี่ยงต่อการเผชิญหน้า จะได้รับจดหมายจากประชาชนให้ทหารออกมาจัดการปัญหาการเมืองจนเกือบล้นลิ้นชัก
- รวมทั้งมีเสียงเรียกร้องจากทำเนียบรัฐบาลให้ทหารออกมารักษาความสงบเรียบร้อย
- แต่พล.อ.สนธิ ก็พยายามยืนในจุดที่กองทัพควรจะยืน
- รวมทั้งยืนยันกับฝ่ายรัฐบาลไปว่า หากทหารออกมาเมื่อใด ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์ใด จะส่งผลกระทบต่อรัฐบาลทันที
- ออกมาเมื่อไร รัฐบาลก็ไปเมื่อนั้น
- นั่นอาจเป็นจุดสำคัญที่สร้างความหวาดระแวงต่อฝ่ายทำเนียบรัฐบาล โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ
- 13 กันยายน 2549 ไม่เพียงยืนยันว่า ไม่มีการปฏิวัติ แต่ พล.อ.สนธิ ชี้ว่า ข่าวที่ออกมาเพื่อเร่งเร้าให้ทหารออกมาเคลื่อนไหว เพราะสุดท้ายหวังให้รับผิดชอบแทนการเมือง
- 17 พฤษภาคม 2549 เป็นอีกครั้งที่ พล.อ.สนธิ ยืนยันว่าจะไม่ใช้วิธีทางทหารเข้าไปแก้ไขปัญหาการเมือง
"ทหารอาชีพจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองก็อย่าเข้ามายุ่งกับทหาร"
- 19 กรกฎาคม ที่คำสั่งโยกย้ายนายทหารระดับกองพันนอกฤดูกาล อาจเรียกได้ว่า นี่คือการเตือน
เพราะเป็นการย้าย ผบ.พัน ที่คุมกำลังทหารในเมืองหลวงจากทั้ง พล.1 รอ. พล.ม.2 และพล.ปตอ. ซึ่งล้วนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนายทหารที่จบโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ
- ในการเดินทางเยือนพม่าอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พล.อ.สนธิ ก็ถูกเรียกตัวอย่างกะทันหันเพื่อให้ร่วมเดินทางไปด้วย ท่ามกลางกระแสข่าวความบาดหมางไม่ไว้วางใจกัน ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ ซึ่งช่วงนี้มีเรื่องแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารเข้ามาเป็นตัวประกัน ขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
- เพราะช่วงนั้นมีข่าวสะพัดเช่นกันว่า จะมีการปลด พล.อ.สนธิ ออกจากตำแหน่ง ผบ.ทบ.
ตรงนี้น่าจะเป็นสาเหตุหลักของคำสั่งให้ ผบ.ทบ.ร่วมคณะไปพม่า
- แต่ร้อยถี่มีห่างอยู่หนึ่ง การเดินทางไปต่างประเทศหนนี้ แม้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะพยายามสร้างภาพให้เห็นก่อนที่จะเดินทาง
ด้วยการไปพบกับ ผบ.พล.ม. 2 ซึ่งเป็นเพื่อนรัก ราวกับจะฝากฝังให้ดูแล
-แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะการยึดอำนาจนั้น ผบ.พล.ม.2 ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่จะต้องถูกควบคุมตัว
- ถามว่าอะไรที่ทำให้ พล.อ.สนธิ นายทหารม้าที่เคร่งในศาสนา ไม่นิยมความรุนแรง สายตรง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี "ลูกป๋า" ถึงนำกำลังออกมาจัดการปัญหาการเมือง
- คำตอบที่ว่าเพราะ "ชะตาลิขิต" อาจจะง่ายเกินไป
หากดูความเคลื่อนไหวของ พล.อ.สนธิ ต่อกรณีการเมืองในระยะหลัง แล้วจะเห็นสัญญาณบางอย่าง
- ครั้งการปะทะกันที่ สยามพารากอน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พล.อ.สนธิ ให้สัมภาษณ์แสดงถึงความไม่สบายใจอย่างชัดเจน
"ผมไม่ค่อยสบายใจเท่าไร ในฐานะที่ผมเป็นทหารในกองทัพจึงอยากเห็นประชาชนในชาติมีความรักมีความสามัคคีกัน ไม่อยากให้แบ่งฝ่ายแบ่งกลุ่ม
ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวของ พล.อ.สนธิ ก็สอดรับการเคลื่อนไหวของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ
ที่เดินสายปลุกสำนึกทหารให้รับใช้ชาติและพระมหากษัตริย์
- ความสำเร็จในการยึดอำนาจครั้งนี้ ส่วนสำคัญนั้นมาจากความเป็นเอกภาพของ เตรียมทหารรุ่น 6 ที่ล้วนอยู่ส่วนยอดของกองทัพ ทั้งบก เรือ อากาศ แม้กระทั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ขุมกำลังที่ใช้จาก 3 หน่วยหลัก
1.กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.)
2.กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.)
3.กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.)
ประวัติโดยย่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
- เกิดเมื่อวันที่ 2 ต.ค.2489 สำเร็จการศึกษาจาก ร.ร.วัดพระศรีมหาธาตุ กทม., ร.ร.ตท.รุ่นที่ 6, ร.ร.นายร้อยจปร.รุ่นที่ 17 ผ่านหลักสูตรด้านการทหารหลายหลักสูตร เริ่มรับราชการเมื่อ พ.ศ.2512 ตำแหน่ง ผบ.มว.ปล.ร้อย.อวบ.พัน.ร.ศร. เป็น ผบ.นสศ.เมื่อปี 2545 และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น ผบ.ทบ.เมื่อปี 2548