พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของพันโทพโยม จุลานนท์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสูงระดับแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันในนาม "สหายคำตัน" กับนางอัมโภช จุลานนท์ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สมรสกับพันเอกหญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ (สันทัดเวช)
ประวัติ
จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์, โรงเรียนเซนต์คาเบรียลและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อนเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น ๑ และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น ๑๒ เริ่มรับราชการในยศร้อยตรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ จากนั้นจึงไปศึกษาต่อหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ที่สหรัฐอเมริกา และทำงานในหน่วยรบต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในขณะที่บิดาก็ยังเป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น
พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๓๑ เป็นนายทหารคนสนิทของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๑ - ๒๕๔๕ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
หลังจากเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ วางเป้าหมายไว้ว่าจะอุปสมบท และออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนายอารีย์ ตันติเวชกุล อดีต ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ท่านผู้หญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ต้นเครื่องพระกระยาหารไทยในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมรสกับคุณหญิงจินตนา ตันติเวชกุล อาจารย์ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การศึกษา
วชิราวุธวิทยาลัย
ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียตนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองเปลิเอ (Mont Pellier) ประเทศฝรั่งเศส
ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23
การทำงาน
พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
รางวัลเกียรติคุณ
รางวัลบุคคลตัวอย่างประจำปี 2537
รางวัลผู้บริหารราชการ ดีเด่น ประจำปี 2538
รางวัลบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
รางวัลบุคคล ดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์เกิด 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ณ กรุงเทพมหานคร) เป็นเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังก์ถัด (UNCTAD) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO)
บทบาทด้านการเมืองไทย
พ.ศ. 2529 ดร. ศุภชัย ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และต่อมาไปเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารทหารไทย หลังจากการปรับคณะรัฐมนตรีในปี [[พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535 ดร. ศุภชัย เข้าสู่แวดวงการเมืองอีกครั้ง ด้วยการดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ดูแลด้านเศรษฐกิจและการค้าจนถึงปี พ.ศ. 2538.
พ.ศ. 2540 ช่วงที่วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียเพิ่งเริ่มขึ้นไม่นาน ดร. ศุภชัยได้กลับมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน พร้อมกับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
บทบาทในสังคมโลก
พ.ศ. 2542 เดือนกันยายน ดร. ศุภชัยได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ ; WTO) โดยแบ่งกันดำรงตำแหน่งคนละ 3 ปี กับนายไมค์ มัวร์ เนื่องจากไม่สามารถหาข้อยุติด้วยการลงมติเป็นเอกฉันท์ได้ โดยขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2548 - มีนาคม นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เสนอชื่อให้ ดร. ศุภชัย ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) หลังจากหมดวาระในองค์การการค้าโลก และได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
ประวัติการศึกษา
ระดับประถม-มัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ระดับปริญญาตรีและโท สำเร็จการศึกษาด้าน เศรษฐมิติ (Econometrics) Development Planning จาก Netherlands School of Economics,Rotterdam โดยได้ทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย
ระดับปริญญาเอก ด้านการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยอีราสมุส เมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย