เนื่องด้วยกระแสของแรมยี่ห้อ KINGSTON ที่มีข่าวลือกันหนาหูว่าแรมยี่ห้อ KINGSTON ที่วางจำหน่ายกันตามห้างไอทีชื่อดัง บางส่วนเป็นแรมที่ถูก Remark มา ...
แรมที่ถูก Remark มานั้น
หมายความว่า มีผู้หวังผลประโยชน์บางราย ได้เอาแรมยี่ห้ออื่น หรือแรมไม่มียี่ห้อ มาทำการแปลงร่าง จับแต่งตัวซะใหม่ ให้เหมือนกับแรมยี่ห้อ KINGSTON และเอามาวางขายปะปนกัน ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ก็นึกว่าเป็นแรม KINGSTON แท้ๆ เลยซื้อแรมโนเนมในราคา KINGSTON มาใช้ ... ผลปรากฏว่า เจ้าแรมตัวการ เป็นต้นเหตุทำให้เครื่องแฮงค์ จอฟ้า รีสตาร์ทเอง หรือทำงานได้ไม่ตรงตาม spec ที่ระบุไว้ ... นั่นคือปัญหาที่มีการพูดถึงกัน ความจริงแรม KINGSTON ที่ถูก Remark มา ได้มีวางขายกันตามห้างพันธุ์ทิพย์ หรือห้างอื่นๆ กันมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่หลังๆ มานี่เริ่มมีคนพูดถึงกันมาก ผมเลยขอนำความกระจ่างมาสู่ท่านผู้อ่าน ดังบทความนี้นะครับ
ชื่อเสียงของแรมยี่ห้อ Kingston นั้น ถือว่าเป็นแรมที่มียี่ห้อที่คนไทยนิยมใช้กันเป็นอันดับต้นๆ นั่นอาจเป็นเหตุผลใหญ่ๆ
เหตุผลหนึ่งที่มีผู้หวังผลประโยชน์นำแรมโนเนมไปทำการปลอมแปลงให้เป็น Kingston ความจริงจะพูดว่ามันคือแรมปลอม ก็ไม่ค่อยจะถูกนักขอพูดว่ามันคือแรมที่ไม่ใช่ Kingston แต่มาวางขายในคราบ Kingston ราคา Kingston มากกว่า ...

แรมยี่ห้อ Kingston ที่วางขาย จะถูกบรรจุอยู่ในกล่องพลาสติก หน้าตาอย่างที่เห็น ซึ่ง Kingston ได้ใช้ package
แบบนี้มานานหลายปีแล้ว ตั้งแต่สมัย SDRAM เลยด้วยซ้ำ จึงไม่ยากที่จะมีผู้ปลอมแปลง ทำกล่องที่หน้าตา
เหมือนกันมาบรรจุว่า
แต่ว่า.... เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าแรมที่เราจะซื้อ (หรือซื้อมาใช้แล้ว) เป็นแรม Kingston แท้ๆ หรือว่า Kingston แค่กล่อง? ...
วันนี้ผมมีวิธีการสังเกต และเป็นข้อแนะนำในการเลือกซื้อแรม Kingston มาให้ชมกัน


แรม 2 กล่องด้านบนนี้ กล่องหนึ่งเป็นแรม Kingston แท้ๆ ส่วนอีกกล่องหนึ่งเป็นแรม Kingston ปลอม สังเกตไม่ยากหรอกครับ
ลองไปดูกันทีละขั้นดีกว่า


แหม... เหมือนกันยังกะแกะ สำหรับลาเบลหน้ากล่อง ดูดีดีจะรุ้ว่า font ไม่เหมือนกันนะ แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้อสังเกตอะไรมากมาย
หรอกครับ


ดูจากลาเบลหน้ากล่องแล้วไม่รู้ มาดูลาเบลบนตัวแรมดีกว่า .... เอาอีกแล้ว ต่างกันแค่ font ... มองไม่ออกแฮะ เอ๊ะๆ ตัวด้านขวา
ไม่มี ไฟ VDDR บอกนี่นา....

แต่ลาเบลนั่นไม่ใช่จุดสำคัญครับ จุดสำคัญจุดหนึ่งอยู่ตรงน ี้ คือแรมของ Kingston แท้ๆ จะไม่มีการพมิ พ์ตัวอักษร
หรือข้อความใดๆ ลงบนแผ่น PCB อย่างในรูปที่แสดงนี้ เห็นเต็มๆ ตา ว่า ปลอม แน่ แน่


อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชัวร์ที่สุดในการดูแรม Kingston ก็คือดูที่ serial number ครับ สังเกตที่สติ๊กเกอร์ s/n ของแรม จะมีอยู่ 3
บรรทัด ให้ดูตัวเลขชุดแรกของบรรทัดแรก ดูที่ 4 ตัวท้ายนะครับ (ตัวที่ผมทำกรอบสีแดงไว้) 4 ตัวนั้นจะเป็นชุดตัวเลขที่แรมแต่
ละแผงจะไม่เหมือนกัน และตัวเลขบนสติ๊กเกอร์ 4 ตัวนั้นจะต้องตรงกับตัวเลขที่พิมพ์ลงปลาย PCB ด้วย อย่างรูปซ้าย รูปซ้ายคือรูปของแรม Kingston แท้ ชุดตัวเลขจะตรงกัน ส่วนภาพขวา บนแผง PCB กลับไม่มีเลข serial number นั่นก็แสดงว่า ... ปลอม แน่ แน่
หมายเหตุ : วิธีการสังเกตจาก s/n นี้ ทาง Kingston ได้ให้ข้อมูลและวิธีวังเกตไว้ที่เวปของตนเองด้วย ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการสังเกต
ที่ง่าย และชัวร์ที่สุดครับ (
http://www.kingston.com/asia/VERIFY/default.asp)

แต่... ถ้าไม่อยากไปจ้อง ไม่อยากแกะแรมจากกล่องมาดูอย่างละเอียด กลัวเจ้าของร้านจะมองหน้า และคิดในใจว่า
"ไอ่นี่กลัวแรมปลอมมากเหรอวะ ร้านข้าขายแต่แรมแท้โว้ย..." วิธีสังเกตเบื้องต้นก็พลิกดูหลังกล่องก่อนเลยครับ ถ้า
หลังกล่องไม่มีพิมพ์ชุดหมายเลข container ซึ่งจะปั๊มเป็นตัวนูน อย่างในภาพ ก็บอกได้เลยครับ ว่าแรมด้านในก็
ปลอมแน่นอน เพราะแค่กล่องยังปลอมเลย นับประสาอะไรกับตัวแรม ... แค่นี้ก็เอากล่องแรมปลอมกระแทกร่อง
เหงือกของเจ้าของร้านได้แล้ว...


อ้อ บางคนเพิ่งจะซื้อแรม Kingston ไปนะครับ แล้วสังเกตเห็นว่าลาเบลหน้ากล่องของตัวเองไม่เหมือนกับรูปที่ผมเอามาให้ชม
ไปตั้งแต่แรกๆ ก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะแรมกล่องใหม่ๆ จะมีลาเบลเหมือนในรูปนี้แหละครับ

ที่สำคัญก็คือ ใต้กล่องต้องมีพิมพ์นูนนะจ๊ะ...
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ... จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่จะเลือกซื้อไม่มากก็น้อยนะครับ สำหรับกระบวนการ re mark แรมที่ผมว่าไปนั้น ต้องยืนยันว่ามีอยู่จริง ส่วนกลุ่มผู้หวังผลประโยชน์กลุ่มนี้เป็นใครนั้น ผมเองก็ไม่อาจทราบได้ เราก็ทำได้แค่เพียงระมัดระวัง และคอยเตือนกันและกันเท่านั้น ผมหวังว่าบทความการสังเกตแรมอันนี้ คงไม่มีผู้หัวหมอ ไปทำปลอมให้มันเหมือนยิ่งขึ้นอีกนะครับ คนไทยด้วยกัน อย่าหากินกันเองแบบนี้เลย แค่นี้เราก็โดนชาวต่างชาติหากินกับเราไปมากพอแล้ว ... ขอบคุณครับ

ขอบคุณทุกๆท่านที่เยี่ยมชมครับ