
เคยไปดูแถวๆริมฝั่งโขง บริเวณหนองคาย หายปีแล้วครับ สนุกดี คนเยอะ ดูเสร็จไปไหว้พระใส วัดโพธ์ชัย พระคู่เมืองของชาวอุดร หนองคาย เป็นสิริมงคลกับชีวิต นี่ถ้ามีโอกาสอยากจะไปอีกสักครั้งครับ
ประวัติของหลางพ่อพระใส คือ ท่านมีด้วยกันสามองค์ หล่อพร้อมกัน ได้แก่ พระสุก พระเสริม พระใส ประวัตินั้นไม่แน่นอน ในลักษณะตำนาน กล่าวคือ หลวงพ่อทั้ง ๓ องค์นี้ หล่อในประเทศลานช้าง โดยมีพระราชธิดา ๓ องค์ แห่งกษัตรย์ลานช้างเป็นเจ้าศรัทธา บ้างก็ว่าเป็นธิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช โดยพระราชธิดา มีพระนามว่า สุก เสริม และใส เมื่อสร้างพระแล้วโดยมีขนาลดหลั่นกันตาลำดับ และขนานนามพระพุทธรูป ๓ องค์ โดยฝากพระนามของตนไว้ คือ พระสุก ประจำพระองค์โต พระเสริม องค์กลาง และพระใส องค์เล็ก เมื่อสร้างแล้วก็ประดิษฐานไว้แห่งเดียวกัน และที่ได้เรื่องราวแน่นอนคือ ตอนที่มาประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทร์ นานเท่าไรไม่ปรากฏ ตราบจนถึง พ.ศ. ๒๓๒๑ ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรย์ศึก เป็นจอมทัพไปตีเวียงจันทน์ ทางเวียงจันทร์จึงอัญเชิญพระพุทธรูปไปไว้เสียที่เมืองเชียงคำ (เมืองตุลาคม) ครั้นต่อมาอัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดโพนชัยเวียงจันทร์อีก
ในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฏ จึงโปรดให้ไปปราบและอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ มายังหนองคาย แต่ไม่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์โดยตรง มาจากภูเขาควาย โดยชาวเมืองเอาไปซ่อนไว้วิธีเชิญมาก็นำประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ล่องลงมาตามลำน้ำงึม แต่พอถึงบ้านเวินแท่น ปรากฎว่าแท่นพระสุกแหกจมลงไปในน้ำ แต่แท่นพระเสริม และพระใสกับติดไปกับแพได้ โดยแพไม่ล่ม ได้อัญเชิญต่อมาจนถึงปากน้ำงึม ล่องสู่ลำโขง มาขึ้นที่หนองคาย พระเสริมไปประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสไว้ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐธรรมคุณ) จนมาถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนวรธานี อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนขุนวรธานี เมื่อมาถึงหนองคาย ได้ทราบว่า พระใส คู่มากับพระเสริม จึงได้อัญเชิญพระใส ขึ้นเกวียนจากวัดหอกล่อง เพื่อนำมายังวัดโพธิ์ชัย ไม่สามารถลากเกวียนให้เคลื่อนที่ต่อไปได้ ไม่ว่าจะช่วยกันลากจูงอย่างไรก็ตาม สุดท้ายเกวียนหัก และเมื่อเปลี่ยนเกวียนใหม่ก็ลากไม่ไปอีก จนต้องอธิฐานนิมนต์หลวงพ่อประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ไม่อัญเชิญไปกรุงเทพ ฯ แล้ว คราวนี้ใช้คน ๕ คน ลากเกวียนได้ อัญเชิญลงจากเกวียนสู่อุโบสถได้ ส่วนพระเสริมก็อัญเชิญมากรุงเทพ ฯ อยู่ที่พระวิหารวัดปทุมวนาราม
อนึ่งหน้าโบสถ์พระใส นั้นมีพระธาตุใหญ่ ชาวเมืองเรียกว่าธาตุยักษ์หรือธาตุกำพร้าผีน้อย ถือว่าบันดาลความสวัสดีให้ได้ โดยเฉพาะเมื่อเจ็บป่วย หรือจะเดินทางไปนมัสการพระใสแล้วก็นมัสการพระธาตุใหญ่เสียด้วย ดอกไม้ธูปเทียนมีจำหน่ายและให้บูชาที่หน้าโบสถ์ ไม่ให้เข้าไปข้างใน มีวัตถุมงคล และพระพุทธรูปหลวงพ่อใสให้เช่าบูชาที่ในโบสถ์